“คนละครึ่ง” โครงการจากรัฐ กระตุ้นเศรษฐกิจลึกถึงฐานราก
ต้องยอมรับว่าปีพุทธศักราช 2563 ประเทศไทยเผชิญวิกฤตรอบด้านในหลายมิติ โดยมีสาเหตุหลักจากเชื้อไวรัสโควิดที่อุบัติขึ้นเมื่อปลายปีที่แล้ว และแพร่ระบาดหนักในช่วงไตรมาสแรกของปี ส่งผลกระทบเลวร้ายและรุนแรงกว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างสึนามิ มหันตภัยโรคโควิด-19 ขยายวงการทำลายล้างไปในทุกวงการ ทุกภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลของแต่ละประเทศที่ประสบกับวิกฤตครั้งนี้ ต่างระดมสรรพกำลังและสมองเพื่อแก้ไขปัญหาที่ตามมาอย่างต่อเนื่องดุจระลอกคลื่น และสร้างยุทธวิธีฝ่าวงล้อมของศัตรูตัวฉกาจนี้ไปให้ได้ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจที่ถูกแช่แข็งไปในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นที่ทราบกันดีว่า วิกฤตครั้งนี้ไม่ง่ายเลยที่จะเอาชนะ ในด้านเชื้อไวรัสโควิด การยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส นั่นหมายถึงการมีวัคซีนที่พร้อมสำหรับประชากรโลก แม้ว่าปัจจุบันวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะเริ่มฉีดแล้ว แต่ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในบางประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอาจต้องใช้เวลารออย่างเร็วภายในปีหน้ากว่าจะได้รับวัคซีน ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยพึ่งพาตลาดต่างชาติในหลายอุตสาหกรรม ทั้งการส่งออก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุน นี่อาจเป็นโอกาสเหมาะสำหรับภาครัฐที่จะหันกลับมามองตัวเองและรังสรรค์นโยบายที่เหมาะสมที่สุดในห้วงยามนี้ ด้วยโครงการที่ต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากประชากรในประเทศ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลายแคมเปญ ทั้งโครงการ ชิม ช้อป ใช้ โครงการช้อปดีมีคืน ที่เชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้จ่าย และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทว่าโครงการดังกล่าวดูเหมือนจะจำกัดวงอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ในระดับที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ในขณะที่ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการล่าสุดอย่าง “คนละครึ่ง” ที่มุ่งเน้นไปเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤตโควิดโดยเฉพาะ และมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ประชาชนระดับกลางถึงล่าง โครงการคนละครึ่ง ภาครัฐช่วยออกค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ภายใต้วงเงินอุดหนุน 30,000
Read More