Home > ประมงพื้นบ้าน

“คนจับปลา” จากชาวประมง ส่งตรงถึงผู้บริโภค คนอยู่ได้ ทะเลอยู่รอด

อาหารทะเลเป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่เคยสงสัยไหมว่า ปลาหนึ่งตัวที่อยู่บนโต๊ะอาหารนั้น มีที่มาอย่างไร ถูกจับมาจากที่ไหน โดยวิธีการอะไร และมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด นับเป็นความโชคดีที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่มีความหลากหลายและสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล ที่เป็นทั้งแหล่งอาหารให้กับคนในประเทศและสามารถส่งออกสร้างรายได้มหาศาล แต่ปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลที่มีอยู่กำลังถูกทำลาย ความอุดมสมบูรณ์ค่อยๆ ลดน้อยถอยลง การทำประมงเกินขนาดที่เน้นปริมาณและขาดความรับผิดชอบคือหนึ่งในตัวการที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล สัตว์น้ำวัยอ่อนที่สมควรได้เติบโตกลับถูกจับทั้งที่ยังไม่โตเต็มวัย ทำให้ทะเลไทยเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว และกำลังกลายเป็นวิกฤตอาหารทะเลที่ถูกซ่อนเอาไว้ จนผู้บริโภคไม่ทันได้ตระหนัก วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ได้เปิดเผยถึงสถิติการจับสัตว์น้ำทะเลที่น่าสนใจไว้ว่า “ปี 2562 ประเทศไทยมีปริมาณการจับสัตว์น้ำทะเลโดยรวมกว่า 1,500,000 ตัน มาจากการประมงพาณิชย์ 1,249,203 ตัน และจากประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้าน 161,462.36 ตัน จากปริมาณสัตว์น้ำจำนวนมหาศาลที่จับได้โดยการประมงพาณิชย์ พบว่ามีเพียง 50% เท่านั้นที่สามารถนำมาบริโภคได้ แต่อีก 50% กลับไม่ได้คุณภาพ เป็นสัตว์น้ำทะเลวัยอ่อนที่ยังไม่โตเต็มวัย ซึ่งจะถูกนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ในที่สุด นั่นทำให้อาหารทะเลมีราคาแพง ในขณะที่ผลผลิตจากการประมงพื้นบ้านเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณภาพถึง 90% แม้ผลผลิตที่ได้จะน้อยกว่ามากแต่กลับมีคุณภาพมากกว่า” ซึ่งนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทยมองว่า เราอาจไม่สามารถกล่าวได้ว่าประมงพาณิชย์คือตัวการสำคัญในการทำลายความสมบูรณ์ของทะเล แต่การทำประมงโดยใช้เครื่องมือที่ทำลายล้างและเกินขนาด อันเป็นการทำประมงที่ขาดความรับผิดชอบต่างหากคือตัวการแห่งความเสื่อมโทรมของท้องทะเลไทย คำถามต่อมาคือ เครื่องมือทำลายล้างเหล่านั้นมีอะไรบ้าง? เครื่องมือประมงที่ถือเป็นตัวทำลายล้าง ประกอบไปด้วย “อวนลาก”

Read More

“จิรศักดิ์ มีฤทธิ์” จากกองปราบปลา สู่ผู้พิทักษ์

“ผมเป็นชาวประมงอยู่กับทะเลมาตั้งแต่เกิด พ่อเป็นชาวประมง ตอนเด็กๆ เราเห็นเขาออกเรือหาปลาทุกวัน พออยู่ ป.5 ก็ตามพ่อไปออกทะเลหาปลากับเขาด้วย จนจบ ป.6 ก็ไม่ได้เรียนต่อแล้วครับ ออกมาเป็นชาวประมงเต็มตัวเหมือนพ่อ” ประโยคเริ่มต้นง่ายๆ ที่ จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ ชาวประมงอ่าวคั่นกระได จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แนะนำตัวเอง ก่อนที่บทสนทนาเกี่ยวกับเส้นทางชีวิตชาวประมงและจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเขาจะดำเนินต่อไป จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ หรือ “บุช” เป็นชาวเลแต่กำเนิด มีพ่อเป็นชาวประมง และเติบโตมากับการออกเรือหาปลาตั้งแต่เด็กๆ เขาเริ่มตามพ่อออกเรือไปหาปลาตั้งแต่ตอนอยู่ ป.5 อายุเพียง 11 ปี และหลังจากจบ ป.6 จิรศักดิ์ตัดสินใจไม่เรียนต่อ แต่เลือกที่จะออกมาเป็นชาวประมงเต็มตัว ซึมซับวิถีแห่งการประมงพื้นบ้านจากพ่อและพี่ชายเรื่อยมา ณ เวลานั้น หรือราวๆ 30 ปีก่อน ทะเลอ่าวคั่นกระได จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยังคงอุดมสมบูรณ์ ออกเรือไปเพียงแค่ 5 นาทีก็สามารถจับปลาได้แล้ว อีกทั้งยังไม่มีพ่อค้าคนกลาง เมื่อจับปลามาได้ แม่จะเป็นคนหาบปลาไปขายที่ตลาดในตอนตี 5 ของทุกวัน

Read More