กองทุนประกันสังคม เม็ดเงินมหาศาล 2 ล้านล้าน
แนวความคิดการประกันสังคมเกิดขึ้นในยุโรปจากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต มีการค้นคิดเครื่องจักรทำให้มีการจ้างแรงงานมากขึ้น แต่เกิดปัญหาหลายอย่าง รัฐจึงต้องออกกฎหมายให้หลักประกันแก่คนงาน เริ่มจากการประกันด้านการเจ็บป่วย โดยเริ่มขึ้นที่ประเทศเยอรมนีในสมัยเจ้าชายบิสมาร์ค (Prince Otto Von-Bismarck) เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นขยายการประกันครอบคลุมมากขึ้น กลายเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา สำหรับภูมิภาคเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้กฎหมายประกันสังคมในปี 2454 ด้านประเทศไทย การตั้งกองทุนเงินทดแทนเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทยที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อปี 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ในปีแรกครอบคลุมเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ แล้วค่อยๆ ขยายจนครบทุกจังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ต่อมา รัฐบาลจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 มีนายอำพล สิงหโกวินท์ เป็นเลขาธิการคนแรก แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้น กลุ่มผู้นำนักศึกษา นักวิชาการ อดีตอธิบดีกรมแรงงาน กลุ่มผู้นำสหภาพแรงงาน ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องตั้งแต่ปลายสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม
Read More