ตลาดน้ำมันพืช โอกาสและความผันผวน
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์ราคาน้ำมันพืชทั้งไทยและทั่วโลกมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาอุปทานตึงตัวจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน การระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มของผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างอินโดนีเซีย และอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ปลายเดือนเมษายน 2565 ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด (Joko Widodo) ผู้นําอินโดนีเซีย ประกาศระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเพื่อการบริโภคในประเทศและควบคุมราคาน้ำมันประกอบอาหารไม่ให้สูงเกินไปจนส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของชาวอินโดนีเซีย โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เมษายน 2565 คำสั่งดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างหนักจากเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเพราะทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง เพราะเกษตรกรเสียโอกาสจากการทำกำไรตามกลไกของตลาดในช่วงเวลานั้นที่ราคาน้ำมันปาล์มกำลังปรับตัวสูงขึ้น จนในที่สุดรัฐบาลอินโดนีเซียต้องออกมายกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป แต่ถึงกระนั้นคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียได้สร้างความกังวลต่อประเทศผู้นำเข้าและสร้างความปั่นป่วนต่อตลาดน้ำมันพืชทั่วโลกอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่มีการบริโภคมากที่สุด โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 1 ใน 3 ของตลาดน้ำมันพืชทั่วโลก อีกทั้งอินโดนีเซียยังเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกถึง 60% รองลงมาคือมาเลเซียที่ตามมาเป็นอันดับที่สอง ด้านวิจัยกรุงศรีระบุว่า ปี 2564 การผลิตและการบริโภคน้ำมันปาล์มทั่วโลกมีปริมาณ 72.9 ล้านตัน และ 73.5 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 36.3% และ 36.5% ของปริมาณการผลิตและการบริโภคน้ำมันจากพืชทุกชนิดตามลำดับ แหล่งผลิตน้ำมันปาล์มที่สำคัญอยู่ในภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย มีผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ
Read More