น้ำท่วมปี’64 จมนาข้าวนับล้านไร่ เสี่ยงหนี้ครัวเรือนภูมิภาคสูงขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนเป็นต้นมา ทั้งผลพวงจากร่องความกดอากาศต่ำที่เกิดจากพายุโกเซิน พายุเตี้ยนหมู่ ก่อให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดของประเทศไทย แม้บางพื้นที่สถานการณ์จะคลี่คลายและกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้วก็ตาม แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่ยังต้องรับมือกับมวลน้ำในครั้งนี้ แม้ว่าปริมาณน้ำจะยังไม่เท่ามหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 ก็ตาม ความแปรปรวนของสภาพอากาศของโลกก่อให้เกิดพายุขึ้นอีกหลายลูก แม้ว่าความรุนแรงของพายุเหล่านั้นจะลดลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศกำลังแรงแล้วก็ตาม แต่อิทธิพลนั้นทำให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ หากจะมองในแง่มุมของภัยธรรมชาติที่ไม่มีใครสามารถกำหนดหรือหยุดยั้งได้ ทว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเรือกสวนไร่นาที่เพียงรอเวลาเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คงเป็นเรื่องยากที่จะทำใจยอมรับความสูญเสียครั้งนี้ เพราะสำหรับบางครอบครัวนั่นอาจหมายถึงรายได้หลักที่เกษตรกรรอคอยมาทั้งปี สถานการณ์ความยากลำบากที่เกิดจากมหันตภัยโรคระบาดอย่างโควิด-19 สร้างบาดแผลให้แก่ทุกชนชั้น ทุกอาชีพ แต่เหล่าเกษตรกรและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำตอนนี้คงคล้ายกับถูกโชคชะตากระหน่ำซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายหนักกว่าอีกหลายเท่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ประเมินความเสียหายจากน้ำท่วมในครั้งนี้ว่า น่าจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหรือจีดีพีประมาณ 0.1-0.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งความเสียหายแบ่งเป็นพืชเกษตร 6,349.51 ล้านบาท สิ่งสาธารณะ 4,972.20 ล้านบาท การค้า 1,316.10 ล้านบาท บ้านเรือน 1,320.30 ล้านบาท ปศุสัตว์ 753.90 ล้านบาท และอื่นๆ อีก 324 ล้านบาท ขณะที่นาข้าวจมน้ำไปกว่า 2 ล้านไร่ เกษตรกรได้รับผลกระทบประมาณ 3 ล้านคน ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปต่างรอคอยให้ภาครัฐออกมาตรการผ่อนปรน โดยหวังว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ เช่น
Read More