Home > นโยบายเศรษฐกิจ

ปากท้องคนกรุงเทพฯ กับนโยบายเศรษฐกิจของผู้ว่าฯ คนใหม่

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ที่หลายคนนิยามว่าเป็นดินแดนศิวิไลซ์ แหล่งการค้าการลงทุน ศูนย์รวมธุรกิจความบันเทิง ความเจริญของโครงสร้างพื้นฐาน อัดแน่นไปด้วยป่าคอนกรีต พื้นที่ตรงนี้จึงกลายเป็นจุดหมายปลายทางของใครหลายคนที่แบกความหวัง หอบความฝัน ทั้งในด้านของรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยพื้นที่ 1,569 ตารางกิโลเมตรโดยประมาณ แบ่งเป็นเขตปกครอง 50 เขต กรุงเทพฯ จึงกลายเป็นเวทีสำคัญในการวัดสรรพกำลังของเกมการเมือง ทั้งจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ไปจนถึงพรรคขนาดเล็ก ที่พร้อมจะโชว์ของฟาดฟันกันด้วยกลยุทธ์ชูนโยบาย เพื่อช่วงชิงคะแนนเสียงให้ได้เข้ามาบริหารจัดการเมืองหลวงแห่งนี้ และแม้ว่าผลการเลือกตั้งพ่อเมืองจะเป็นที่สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่ง ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ ในนามอิสระ ได้คะแนนโหวตไปสูงถึง 1 ล้านกว่าคะแนน ทิ้งห่างผู้สมัครรายอื่นชนิดไม่เห็นฝุ่น นัยหนึ่งของผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ในครั้งนี้อาจหมายถึงความต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นของประชาชน หลังประกาศผลคะแนนการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อย่างไม่เป็นทางการ กระแสของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อยู่บนหน้าสื่อแทบทุกสำนัก ทุกช่องทาง โดยเฉพาะความแข็งแกร่งของว่าที่ ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ที่ถูกกล่าวขานอยู่เสมอ โดยเฉพาะภาพการเดินเท้าเปล่าถือถุงแกง ปัญหาที่สั่งสมมานานหลายปีของเมืองหลวงไทย ทั้งการจราจรติดขัด ฝนตกน้ำท่วม ปัญหาขยะ

Read More

ส่องอนาคตของ EEC บนนโยบายเศรษฐกิจใหม่รัฐไทย

การปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลประยุทธ์ ในช่วงที่ผ่านมาได้จุดประกายของการตั้งคำถามในบริบทว่าด้วยความต่อเนื่องและทิศทางของนโยบายที่กำลังจะมุ่งไปนับจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของอนาคตและความเป็นไปในการพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ที่เป็นประหนึ่งผลงานน่าพึงใจที่รัฐบาลประยุทธ์พยายามโหมประโคมในฐานะโครงการพัฒนาทางเศรษฐกิจหลักตลอดระยะเวลาของการบริหารรัฐนาวามายาวนานกว่า 6 ปี การพ้นออกจากตำแหน่งไปของรัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมผลักดันและโหมโฆษณาโครงการพัฒนา EEC ในช่วงก่อนหน้านี้และแทนที่ด้วยรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบชุดใหม่ทำให้หลายฝ่ายเพ่งมองไปที่แนวทางการพัฒนาและนโยบายที่จะเกิดมีขึ้นว่าจะมีความชัดเจนและรูปธรรมอย่างไร ความกังวลใจของนักลงทุนต่างชาติในมิติของความชัดเจนและแนวทางการพัฒนา EEC ในห้วงเวลานับจากนี้ในด้านหนึ่งสะท้อนความเปราะบางของแผนพัฒนา EEC ที่ดำเนินอยู่ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินมานานมากกว่า 5-6 ปี หากแต่โครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการพัฒนาในพื้นที่กลับดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและในหลายกรณีขาดการบูรณาการที่มีเอกภาพอีกด้วย การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่รับผิดชอบและกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในด้านหนึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนหัวรถจักรในการขับเคลื่อนพัฒนาการของ สกพอ. หากแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ก็คือ สกพอ. มีกรอบกำหนดเป็นประหนึ่งรางให้เคลื่อนไปในทิศทางที่วางไว้ก่อนแล้ว ประเด็นที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่เข้ามารับผิดชอบครั้งใหม่นี้จะมีวิสัยทัศน์และความสามารถในการเร่งความเร็วหรือกำหนดทิศทางใหม่ของการพัฒนา EEC ไปในรูปแบบใด โดยไม่ทำให้การพัฒนา EEC ต้องสะดุดหรือตกรางไปในที่สุด ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในช่วงที่ผ่านมาในด้านหนึ่งคือการแสวงหาช่องทางของหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) เพื่อเข้าพบและหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐมนตรีที่ดูแลงานด้านเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อสอบถามถึงนโยบายเศรษฐกิจและแผนพัฒนา EEC ที่จะมีขึ้นนับจากนี้ แม้ว่าพวกเขาจะเชื่อว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ใน EEC จะเดินหน้าต่อเนื่องเพราะมี พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 มารองรับอยู่แล้ว และขณะนี้หลายโครงการก็คืบหน้าไปมากทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา แต่ประเด็นในเชิงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจและ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างชะลอตัวเป็นกรณีที่นักลงทุนต้องการความชัดเจนอย่างยิ่ง ความเชื่อมั่นที่ว่าโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จะเดินหน้าต่อไปโดยรัฐบาลจะสานต่อโครงการนี้อย่างแน่นอนแม้ว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่

Read More