กระแสรักษ์โลกสู่ภาษีคาร์บอน กระทบธุรกิจส่งออกไทย?
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปริมาณฝนที่เปลี่ยนแปลง ความถี่และความรุนแรงของพายุ และระดับน้ำทะเล ภัยแล้ง อุทกภัย ล้วนแต่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนแทบทั้งสิ้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม การบริโภคน้ำมัน หรือแม้แต่การดำรงชีวิตของผู้คน ล้วนแต่มีส่วนในการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทบทั้งสิ้น สภาพภูมิอากาศในปัจจุบันจึงกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ผู้คนในสังคมหันกลับมาให้ความสำคัญ กระแสการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance : ESG) โดยแต่ละประเทศล้วนมุ่งไปที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ตามกรอบเวลาที่ตั้งไว้ ล่าสุดสหภาพยุโรปประกาศแผน European Green Deal ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 55 ภายในปี 2573 และมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2593 โดยหลายแผนงานล้วนส่งผลต่อธุรกิจภายใน EU เป็นหลัก ขณะที่มาตรการเก็บภาษีคาร์บอนสินค้าข้ามแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ที่จะเริ่มใช้ในปี 2566 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่นำเรื่องการเก็บภาษีคาร์บอนมาใช้กับสินค้าของประเทศคู่ค้าเป็นครั้งแรก โดยสหรัฐอเมริกาอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางเดียวกันนี้มาใช้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุป 3 มาตรการที่ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมรับมือดังนี้ 1. สินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนสูงถูกเพ่งเล็งก่อน แต่สินค้าเหล่านี้ไทยไม่ค่อยได้ผลิตและส่งออกจึงไม่ได้รับผลกระทบทางตรงมากนัก โดยสินค้ากลุ่มนี้คงต้องเตรียมรับมือกับแผนงาน CBAM ของ EU
Read More