ฟื้นตำนานพม่ากุลาร้องไห้ 30 ปี พลิกท้องทุ่งหอมมะลิ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดวิกฤตอาหารทั่วโลก องค์การสหประชาชาติจึงริเริ่มโครงการปฏิวัติเขียว ซึ่งประเทศไทยถือเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ คนไทยทำไร่นามาอย่างยาวนาน ปี 2493 รัฐบาลอเมริกาส่งผู้เชี่ยวชาญ 2 คนมายังประเทศไทย เพื่อช่วยปรับปรุงพันธุ์ข้าว มีการส่งพนักงานข้าว 30 คนที่เข้าอบรมแยกย้ายไปเก็บรวบรวมตัวอย่างข้าวพันธุ์ดีจากทั่วประเทศ ศึกษาทดลองและคัดเลือกพันธุ์ เมื่อการคัดพันธุ์และปลูกทดลองข้าวหอมมะลิเป็นผลสำเร็จ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์จึงประกาศให้ใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ที่ 105 ขยายพันธุ์ได้ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2502 ใช้ชื่อว่า “ขาวดอกมะลิ 4-2-105” ซึ่ง 4 หมายถึงอำเภอที่ 4 คือ อำเภอบางคล้า 2 หมายถึงพันธุ์ข้าวที่ 2 และ 105 คือ รวงข้าวที่เลือกพันธุ์ออกมา แต่มักเรียกกันว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปี 2502 กรมการข้าวเริ่มโครงการทำนาสาธิตแปลงใหญ่นับร้อยไร่รอบๆ ทุ่งกุลา ซึ่งขณะนั้นเป็นทุ่งร้างกว้างใหญ่ ครอบคลุมเขตรอยต่อ 5 จังหวัด คือ สุรินทร์
Read More