อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแม้ว่าจะเป็นเครื่องจักรสำคัญที่สร้างรายได้ให้เศรษฐกิจไทย โดยรายได้จากการท่องเที่ยวก่อนเกิดโรคระบาดโควิดคิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของ GDP
แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย ยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงเวลาก่อนเกิดโควิด แต่ทั้งผู้ประกอบการและภาครัฐต่างพอใจกับจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน และพยายามอย่างเต็มกำลังที่จะสร้างแรงดึงดูดเพื่อหวังเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในอนาคต
มีข้อมูลระบุว่า การท่องเที่ยวมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศประมาณ 8-11% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งโลกในปี 2562 นี่อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ ททท. จริงจังและปรับแผนการท่องเที่ยวไปสู่การท่องเที่ยวยั่งยืน ขณะที่ในช่วงปี 2562-2566 ตลาดการท่องเที่ยวยั่งยืนของโลกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% จากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญและตระหนักถึงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
นอกจากนี้ เป้าหมายดูจะไม่ใช่แค่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นตามความคาดหมาย แต่ยังปรับกลยุทธ์ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แต่ยังเป็นการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะธุรกิจในห่วงโซ่ที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนทั้งระบบ และไม่สร้างผลกระทบด้าน Climate Change
ตัวเลขการท่องเที่ยวในปี 2566 ที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 28 ล้านคน สร้างรายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.2 ล้านล้านบาท ทำให้ปีนี้การท่องเที่ยวตั้งเป้ารายได้การท่องเที่ยวน่าจะอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท และการท่องเที่ยวยั่งยืนที่ไม่ใช่แค่เทรนด์ หรือจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่ม แต่อาจจะเป็นกุญแจความสำเร็จของการท่องเที่ยวของไทย
“นี่จะเป็นภูมิคุ้มกันระยะยาวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ ททท. มุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาแบรนด์ Amazing Thailand
Tourismการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์น้ำฝน บุณยะวัฒน์ Read More