บี.กริม รุกคืบจาก CLMV สู่ AEC ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา
หลังการสร้างความเชื่อมั่นด้วยชื่อชั้นของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 100 ปี ประกอบกับการเลือกหมากในการเดินเกมธุรกิจในแต่ละครั้งได้ถูกจังหวะ แม้ว่าเคยล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวมาไม่น้อยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดทอนลงไปแม้แต่น้อย แม้ในช่วงยามนี้ที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังมองหาเสถียรภาพมั่นคงได้ยากเต็มที กระนั้น บี.กริม ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการที่นับว่าเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเองไม่น้อย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจการไฟฟ้าที่มีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นเจ้าตลาดยึดครองพื้นที่ส่วนแบ่งอยู่เดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ที่เริ่มเสนอตัวเข้ามาในสนามประลองแห่งนี้ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เลือกปักหมุดโรงไฟฟ้า 13 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของไทยและเวียดนาม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เบียนหัว ความมั่นใจในศักยภาพและผลงานของ บี.กริม ดูจะเข้าตาบรรดานักลงทุนจากต่างแดน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านไม่น้อย ที่อาจเป็นก้าวย่างสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นการปลดล็อกและเปิดโอกาสให้บี.กริม ที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือสัมปทานและพัฒนาโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะใน สปป.ลาว ที่ความเอื้ออำนวยของทรัพยากรและเป้าประสงค์ของรัฐบาลลาวที่ต้องการจะเป็น Battery of Asean ทำให้บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าไปรับผิดชอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวได้หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปณิธานของผู้บริหารอย่าง ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม
Read More