Home > เจแอลแอล

เจแอลแอล เผยดีมานด์พื้นที่เช่าสำนักงานในไทย สะท้อนเทรนด์การทำงานแห่งโลกอนาคต

เจแอลแอล เผยดีมานด์พื้นที่เช่าสำนักงานในไทย สะท้อนเทรนด์การทำงานแห่งโลกอนาคต การออกแบบพื้นที่ทำงานให้สอดคล้องกับการดึงดูดบุคลากรคุณภาพ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความยั่งยืน นับเป็นปัจจัยสำคัญในตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เจแอลแอล (NYSE: JLL) ประเทศไทย  เผยบทวิเคราะห์จากผลสำรวจ Future of Work 2024 ที่เจาะลึกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับโลกของการทำงาน ตั้งแต่เรื่องเทคโนโลยี การออกแบบ ไปจนถึงแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG: Environmental, Social, and Governance) จากการวิเคราะห์ของเจแอลแอลพบว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผู้เช่าพื้นที่สำนักงานในไทยหันมาย้ายไปเช่าอาคารสมัยใหม่มากกว่าอาคารที่เช่าอยู่ในปัจจุบันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคาดว่า แนวโน้มนี้จะดำเนินต่อเนื่องไปถึงปี 2571 โดยมีแรงหนุนจากการเปิดตัวอาคารสำนักงานใหม่ระดับพรีเมียมในย่านธุรกิจหลัก การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับองค์กรบริษัทในการทบทวนกลยุทธ์ Future of Work เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงาน พร้อมทั้งปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ESG ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง “พื้นที่สำนักงานรูปแบบใหม่ที่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภูมิทัศน์ของสถานที่ทำงาน” นายไมเคิล แกลนซี่ กรรมการผู้จัดการ เจแอลแอล ประจำประเทศไทยและอินโดนีเซีย กล่าว “นอกจากนี้ ยังนับเป็นโอกาสครั้งสำคัญสำหรับองค์กรต่าง ๆ

Read More

ความหลากหลายของซัพพลายเชนหนุนอุตสาหกรรมการผลิตไทยโตต่อเนื่อง

เทรนด์ซัพพลายเชนหนุนอุตสาหกรรมการผลิตไทยโตต่อเนื่อง ความหลากหลายของซัพพลายเชนกำลังเพิ่มโอกาสให้ตลาดการผลิตไทย โดยเทรนด์นี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อนักลงทุนเริ่มมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในหลากหลายปัจจัยรวมถึงการเลือกที่ดินที่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain หรือ ซัพพลายเชน) ได้ถูกคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นแบบก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษหน้า โดยจะมีการกระจายโรงงานการผลิตและแหล่งผลิตไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย รวมไปถึงทำเลอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย โดยข้อมูลของเจแอลแอล (NYSE: JLL) ระบุว่าฐานการผลิตอย่างประเทศไทยจะกลายเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ เนื่องจากขีดความสามารถในการผลิตที่หลากหลายซึ่งสามารถเสริมฐานการผลิตใหญ่อย่างจีน อย่างไรก็ดี บริษัทต่าง ๆ จะต้องมีความยืดหยุ่นในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งและทางเลือกในการระดมทุน เพื่อสร้างความได้เปรียบท่ามกลางความผันผวนของซัพพลายเชนในปัจจุบัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทต่าง ๆ เริ่มมองหาการย้ายฐานการผลิตนอกประเทศจีน สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แนวโน้มการย้ายฐานการผลิตไปประเทศใกล้เคียงอื่น ๆ ก่อให้เกิดกระแสกลยุทธ์ “China+1” โดยที่บริษัทต่าง ๆ พากันเพิ่มฐานการผลิตเพิ่มเติมนอกประเทศจีน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของซัพพลายเชนโดยลดการพึ่งพาประเทศใดเพียงประเทศเดียว “ประเทศไทยได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนที่สำคัญในการปฏิรูปซัพพลายเชนจากประเทศจีน โดยมีผู้มาลงทุนจำนวนมากในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า แนวโน้มนี้ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจาก ปี 2566 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยมียอดขายที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมสูงสุดในรอบ 17 ปีที่ผ่านมาเลยทีเดียว” นายไมเคิล แกลนซี่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์

Read More