พืชมงคลและ Alibaba ความหวังเกษตรกรไทยยุค 4.0
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 ที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมและวันที่ 14 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร วันดังกล่าวยังถือเป็นวันเกษตรกรไทย ที่สะท้อนคุณค่าความหมายและความสำคัญของการประกอบสัมมาชีพกสิกรรมหล่อเลี้ยงสังคมอีกด้วย ผลของการเสี่ยงทายจากพระโค ที่ได้รับการแปลนิยามความหมายในแต่ละปีในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนหลักวิธีคิดของการเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาฟ้าฝน และดำเนินอยู่ท่ามกลางเหตุปัจจัยหลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งอาจอยู่นอกเหนือความสามารถในการบังคับควบคุม หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่เทคนิควิทยาการได้เจริญรุดหน้าไปมาก ดูเหมือนว่าวาทกรรมว่าด้วยการบริหารจัดการจะได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องไม่นับรวมกรณีว่าด้วย Smart Farming และการจัดการเกษตรแปลงใหญ่ที่เป็นกระแสครึกโครมในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในปีนี้ ดูเหมือนว่าเกษตรกรไทยจะได้รับความหวังและแนวทางการประกอบอาชีพครั้งใหม่ เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้าออนไลน์ในนาม อาลีบาบากรุ๊ป ลงนามกับรัฐบาลไทยในการนำพาผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายของไทยออกไปสู่ตลาดโลกผ่านช่องทางและเครือข่ายของ Alibaba ซึ่งดูเหมือนจะช่วยตอบรับกับความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านการค้าในระบบ e-commerce และการหนุนนำ digital economy ไม่น้อยเลย กระนั้นก็ดี ประเด็นปัญหาของเกษตรกรไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มิได้จำกัดอยู่เพียงประเด็นว่าด้วยช่องทางการจัดจำหน่าย หรือกรณีว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติ และการบริหารจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยชนิดและประเภทของผลิตผลทางการเกษตรเป้าหมายด้วย การมาถึงของอาลีบาบาในการแสดงบทบาทสถานะการเป็นช่องทางการค้าขนาดใหญ่ให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย ในด้านหนึ่งจึงอาจเป็นเพียงข้อต่อข้อสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรไทยเข้ากับตลาดขนาดใหญ่ของโลก แต่ย่อมไม่ใช่ข้อต่อที่สำคัญที่สุดในกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องถึงกันในฐานะที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ที่รัฐไทยควรจะตระหนักและดำเนินมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นจากฐานความคิดและภูมิปัญญาของสังคมไทยมากกว่าการรอหรือหวังพึ่งการช่วยเหลือจากภายนอก ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่ารัฐไทยประเมินและให้ความสำคัญต่อ “คุณค่า” ของผลิตผลทางการเกษตรของไทยไว้อย่างไร เพราะนอกจาก “คุณค่า” จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเสนอสินค้าหรือบริการให้กับผู้ที่ต้องการในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งแล้ว การวิเคราะห์มูลค่าของ “คุณค่า”
Read More