หลายคนมักเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก แม้ว่าจะยังคงควบคุมปริมาณอาหาร จำกัดแคลอรี ออกกำลังกายอย่างดี แต่ผลที่ได้กลับคงเดิม น้ำหนักนิ่ง สัดส่วนไม่ลดลง แม้ว่าการกินที่เริ่มปรับลดลง แต่ให้ความรู้สึกว่าอ้วนหรือน้ำหนักดีดกลับขึ้นมา เหตุการณ์เหล่านี้อาจทำให้หลายคนเกิดอาการเครียด และพยายามหาหนทางที่ยังผิดวิธี เช่น อาจจะกินน้อยลงไปอีก หรือออกกำลังกายหนักขึ้น ทว่า การกระทำเหล่านั้นล้วนส่งผลเสียโดยรวม
หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับใคร ขอให้เข้าใจว่า ระบบเผาผลาญในร่างกายคุณกำลังเริ่มมีปัญหา ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดิม เพราะการกระทำแบบเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารปริมาณเท่าเดิม การออกกำลังกายในท่าทางเก่าๆ หรือรูปแบบที่เคยเล่นเป็นประจำ วันนี้ “ผู้จัดการ 360 องศา” จะมาอธิบายเหตุผลและบอกเคล็ดลับที่น่าจะสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวบุคคลได้ไม่ยากนัก
1. ปรับปริมาณแคลอรีลดลงตามน้ำหนักของร่างกายที่ลดลง
เราอาจเผลอหรือเข้าใจผิดไป ทั้งการไม่ได้ชั่งน้ำหนักบ่อยๆ จึงทำให้ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้า และอาจทำให้เรายังไม่ปรับปริมาณสารอาหารลงให้เหมาะสมกับน้ำหนักและร่างกายในช่วงเวลานั้นๆ เมื่อน้ำหนักตัวเราเริ่มลดลง จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องปรับปริมาณแคลอรีลดลงให้พอเหมาะกับน้ำหนักตัวในปัจจุบัน น้ำหนักตัวที่ลดลงหมายความว่า ร่างกายต้องการปริมาณแคลอรีที่ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นไม่จำเป็นที่เราต้องบริโภคอาหารในปริมาณที่เท่าเดิมอีกต่อไป
2. คงปริมาณโปรตีนในสารอาหารไว้
แม้ว่าน้ำหนักตัวเราจะลดลงไปแล้ว แต่เรายังจำเป็นที่ต้องรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมต่อไป เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้ยังคงอยู่ แน่นอนว่าไม่ใช่แต่มวลกล้ามเนื้อเท่านั้นที่ต้องการสารอาหารจากโปรตีน กระดูกและอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายจำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารจากโปรตีนเช่นกัน นอกจากนี้ โปรตีนยังช่วยให้เราอิ่มท้องนานขึ้น และลดความอยากรับประทานของหวานลง ในแต่ละวันที่เรารับประทานอาหารที่มีโปรตีน ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3-4
healthระบบเผาผลาญสุขภาพเผาผลาญอาหาร Read More