Home > ศรีลังกา (Page 4)

พหุสังคม

 การเดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการขององค์พระสันตะปาปา Francis (Pope Francis) แห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก หากประเมินอย่างเพียงผิวเผิน ก็คงเป็นเพียงพิธีกรรมการเยือนที่ไม่น่าจะมีสิ่งใดให้ตื่นตาตื่นใจมากนัก และก็คงเป็นเพียงวงรอบของการเยือนที่ผูกพันอยู่กับแบบพิธีทางการทูตเท่านั้น แต่หากประเมินจากห้วงเวลาและสถานการณ์ระดับนานาชาติที่ปรากฏเป็นข่าวตลอดช่วงสัปดาห์ก่อนและหลังการเยือนเอเชีย 6 วัน (ศรีลังกาและฟิลิปปินส์) ดูเหมือนว่าทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับการเสด็จเยือนศรีลังกาขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาไม่น้อยเลย ในด้านหนึ่งเพราะศรีลังกาเพิ่งผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้าการเสด็จเยือนได้เพียง 3 วัน ซึ่งก่อนหน้านี้กำหนดการดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นความพยายามที่จะให้การรับรองและสร้างความชอบธรรมให้ผลการเลือกตั้งที่คาดหมายว่า Mahinda Rajapaksa อดีตประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอย่างง่ายดาย แต่ผลการเลือกตั้งกลับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันด้วยเหตุที่ศรีลังกาเป็นพหุสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งในมิติของเชื้อชาติ และความเชื่อทางศาสนาวัฒนธรรม แม้จะมีพื้นฐานจากสังคมพุทธที่แน่นหนาก็ตาม ทำให้ประเด็นการเยือนของสันตะปาปาในห้วงยามที่โลกกำลังระอุไปด้วยทัศนะที่แตกต่างทางความเชื่อและความชิงชังระหว่างผู้ที่อยู่ต่างวัฒนธรรมได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ความน่าสนใจของการเยือนครั้งนี้ในด้านหนึ่งอยู่ที่การเชิญผู้นำทางศาสนาหลักๆ ทุกศาสนาในศรีลังกาเข้าร่วมอยู่บนเวทีเดียวกับองค์สันตะปาปา โดยมีฉากหลังเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธ ฮินดู อิสลาม และคริสต์ ปรากฏอย่างเด่นชัดและเป็นภาพที่ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อความในสุนทรพจน์ที่องค์สันตะปาปามีต่อสาธารณชนที่ให้การต้อนรับ ได้สะท้อนวิถีความคิดว่าด้วยการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการสร้างความปรองดองท่ามกลางความแตกต่างในความเชื่อและวัฒนธรรมที่ทรงพลังและเป็นแรงบันดาลใจ ไม่เฉพาะกับศรีลังกาที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองมานานเกือบ 3 ทศวรรษเท่านั้น  หากแต่เป็นการสื่อสารไปถึงพลโลกในยุคพหุสังคม ที่กำลังขาดแคลนความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลายรอบข้างด้วย ประวัติการณ์แห่งความเป็นมาและเป็นไปของดินแดนที่เรียกว่าศรีลังกาในปัจจุบันที่สืบย้อนไปได้ไกลนับพันนับหมื่นปี ประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่เป็นประหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ในการเดินเรือตามเส้นทางการค้า ทำให้ศรีลังกากลายเป็นที่ต้องการและเป็นเวทีประลองกำลังของชาติมหาอำนาจมาอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงจากโปรตุเกส มาสู่ดัตช์ ก่อนที่อังกฤษจะเบียดแทรกเข้ามาครอบครองและดูดซับความมั่งคั่งจากดินแดนแห่งนี้อย่างยาวนาน ซึ่งต่างทำให้เกิดพหุสังคมที่มีความหลากหลายทั้งในมิติของชาติพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมบนดินแดนแห่งนี้ จำนวนประชากรศรีลังกาที่มีอยู่ประมาณ 22 ล้านคน ดำเนินไปท่ามกลางความหลากหลายทั้งในมิติของชาติพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยชาวสิงหล (ร้อยละ 74.88) ชาวศรีลังกาทมิฬ (ร้อยละ 11.2) ศรีลังกันมัวร์

Read More

ศรีลังกา: ชัยชนะของประชาชน?

 ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากำลังส่งสัญญาณให้ผู้มีอำนาจในหลายประเทศได้ตระหนักว่าการสืบทอดอำนาจทางการเมืองในห้วงเวลานับจากนี้ ไม่สามารถกระทำได้โดยผลของการเจรจาต่อรองอย่างลับๆ ในหมู่ชนชั้นนำ โดยปราศจากความเห็นชอบของประชาชนได้อีกต่อไปแล้ว เพราะในความเป็นจริงพลังของประชาชนต่างหากที่จะเป็นผู้กำหนดและเลือกหนทางเดินเพื่อความเป็นไปของประเทศชาติและพวกเขาเอง ก่อนหน้าที่ศรีลังกาจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้ อดีตประธานาธิบดี Mahinda Rajapaksa ซึ่งครองอำนาจมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2004 ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2005 และถือเป็นผู้นำทางการเมืองที่ครองตำแหน่งและบทบาทอำนาจยาวนานที่สุดคนหนึ่งในเอเชียใต้ในปัจจุบัน จะมีความมั่นใจเต็มเปี่ยมว่าจะสามารถครองชัยชนะ และสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งเป็นวาระที่ 3 ได้ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้อย่างง่ายดาย ความมั่นใจของ Mahinda Rajapaksa ที่ประกอบส่วนด้วยผลงานการยุติสงครามกลางเมืองกับกลุ่มทมิฬ จากผลของการปราบปรามรุนแรง และการดำรงอำนาจที่ต่อเนื่องยาวนาน สอดคล้องกับการประเมินของสื่อและนักวิเคราะห์การเมืองจากหลายสำนักที่ว่า หากไม่ใช่ Mahinda Rajapaksa แล้ว ศรีลังกามีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่ ซึ่งกลายเป็นคำถามที่ท้าทายมากในสังคมศรีลังกาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้ความนิยมในตัว Mahinda Rajapaksa อาจจะลดลงแต่ในฐานะผู้คุมกลไกอำนาจ Mahinda Rajapaksa คงไม่ยอมพ่ายแพ้การเลือกตั้งก่อนกำหนดที่เขาคาดหวังจะใช้เป็นโอกาสในการต่ออายุและหลีกหนีจากข้อจำกัดของการครองอำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ระบุให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้เพียง 2 วาระเท่านั้น และการเลือกตั้งครั้งนี้คงเป็นเพียงพิธีกรรมที่ทำรองรับความชอบธรรมให้ Mahinda Rajapaksa อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็น แต่การณ์กลับกลายเป็นการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันแหลมคมและใกล้เคียงอย่างที่สุด เพราะพลันที่ Mahinda Rajapaksa ประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2014 ให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 8 มกราคม

Read More

AYUBOWAN Sri Lanka!

ก่อนอื่นขอกล่าวคำว่า สวัสดีปีใหม่ สำหรับผู้อ่านทุกท่าน เชื่อว่าตลอดช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านจะได้ใช้เวลากับครอบครัวและร่วมกิจกรรมการกุศลหลากหลายเพื่อเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ที่สดใสกว่าเดิมสำหรับดินแดนในมหาสมุทรอินเดียที่มีชื่อเรียกว่าศรีลังกานี้ คำกล่าวทักทายของที่นี่ดูจะเรียบง่ายแต่ให้ความหมายลึกซึ้งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคำว่า สวัสดี ในภาษาไทยเท่าใดนัก ผู้คนที่นี่ กล่าวคำว่า Ayubowan ซึ่งอ่านออกเสียงเป็นภาษาไทยแบบบ้านเราได้ว่า “อายุบวร” ซึ่งหมายถึงการอำนวยพรให้ผู้รับมีอายุที่ยืนยาว โดยสามารถกล่าวได้ทั้งในฐานะที่เป็นคำทักทายเมื่อได้พบกันและเป็นคำบอกลาในยามที่ต้องแยกย้ายจากกัน อายุบวร เป็นคำที่มีรากฐานมาจากภาษาสิงหลและมีความเกี่ยวเนื่องกับความเป็นสังคมพุทธของศรีลังกาไม่น้อยเลย ขณะที่ท่วงทำนองของการกล่าวคำทักทายนี้ประกอบส่วนด้วยการพนมมือแนบอก และค้อมตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ส่งสัญญาณแห่งความเป็นมิตรไมตรีที่สัมผัสได้ทันทีที่ได้พบเห็น ป้ายประชาสัมพันธ์และต้อนรับที่ปรากฏอยู่โดยรอบท่าอากาศยาน Bandaranaike International Airport หรือ Colombo International Airport ทำหน้าที่เป็นประหนึ่งด่านหน้าในการทักทายอาคันตุกะผู้มาเยือนจากต่างแดนให้ได้ซึมซับวัฒนธรรมของศรีลังกาตั้งแต่เริ่มเหยียบย่างเข้าสู่ดินแดนที่เปี่ยมด้วยอารยธรรมและวัฒนธรรมแห่งนี้ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ท่วงทำนองของวัฒนธรรมที่ว่านี้ไม่ได้สถิตนิ่งงันอยู่เฉพาะในแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ที่ไร้ชีวิต หากแต่ยังเป็นวิถีปฏิบัติที่พบเห็นได้จากผู้คนทั่วไปที่มีชีวิตอยู่จริงทั้งในท้องถนนและสถานที่ต่างๆ ความลื่นไหลของ Ayubowan ยังแผ่ออกไปไกลกลายเป็นชื่อของรายการสดของโทรทัศน์ภาคเช้า Ayubowan Sri Lanka ที่มีความยาวของรายการนานกว่า 4 ชั่วโมงในแต่ละวัน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Swarmavahini ซึ่งถือเป็นสถานียอดนิยมด้านข่าวและรายการบันเทิงชั้นนำของศรีลังกาในปัจจุบัน รวมถึงรายการ Ayubowan Subha Dawasak (Ayubowan, Have a nice day) รายการโทรทัศน์ของ Sri Lanka

Read More

ศรีลังกา บนจุดตัดของความมั่งคั่ง

 สำหรับผู้คนที่เคยผ่านตาภาพยนตร์เรื่อง Grand Hotel Budapest ซึ่งนำเสนอความเป็นไปของโรงแรมในท้องถิ่นห่างไกลในนครสมมุติบนเทือกเขา Alpine ที่เต็มด้วยเรื่องราวและผู้คนที่ดำเนินผ่านช่วงเวลาแห่งความสุข-ทุกข์ ท่ามกลางวัฏจักรของความรื่นรมย์และตกต่ำ ภาพของโรงแรม Grand Hotel ซึ่งหลบซ่อนอยู่ในเมือง Nuwara Eliya บนเขตทิวเขาและไร่ชาของศรีลังกาอาจให้ความรู้สึกที่ไม่ต่างกัน ความเป็นไปของ Grand Hotel Nuwara Eliya จากเดิมที่เป็นเรือนพักตากอากาศของข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำศรีลังกา ก่อนจะเปลี่ยนสถานะมาสู่การเป็นโรงแรมในปี 1891 หรือเมื่อ 123 ปีที่แล้ว เพื่อรองรับผู้สัญจรผ่านทางและนักธุรกิจชาจากต่างแดน สะท้อนความมั่งคั่งและอดีตที่รุ่งเรืองของสถานที่แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุที่เป็นพื้นที่ในเทือกเขาสูงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 16 องศาตลอดทั้งปี และเป็นแหล่งเพาะปลูกและผลิตชาที่กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของศรีลังกา ทำให้ Nuwara Eliya เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างพลวัตทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง รูปทรงของอาคารในแบบ Elizabethan ได้รับการบูรณะให้กลับฟื้นคืนมีชีวิตชีวา เป็นลมหายใจใหม่ที่พราวเสน่ห์และดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากมายหลั่งไหลเข้ามาเสพและเก็บรับห้วงยามแห่งความสุนทรีย์ ควบคู่กับการศึกษา เรียนรู้มิติในเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และธรรมชาติ ขณะเดียวกันวิถีที่ดำเนินไปใน Grand Hotel Nuwara Eliya ก็มีความน่าสนใจไม่แตกต่างจากภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูหรูหราอลังการ หากแต่ลึกลงไปในจิตใจของผู้คนในที่แห่งนี้ กลับเต็มไปด้วยความละเอียดประณีตในการหลอมรวมและการดูแลจิตวิญญาณของผู้คนได้อย่างลงตัว ผลของการเป็นไร่และแหล่งผลิตชาที่กว้างใหญ่ ทำให้ในอดีตที่ผ่านมามีการนำชาวทมิฬจากถิ่นอื่นเข้ามาเป็นแรงงานในไร่ชาในพื้นที่

Read More

String of Pearls ไข่มุกบนจานหยกมังกร

 ข่าวการเยือนประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นปรากฏการณ์ในแบบพิธีทางการทูตทั่วไปแล้ว การเดินทางเยือนดังกล่าว ยังเป็นกรณีที่บ่งชี้ถึงทิศทางและเข็มมุ่งแห่งวิสัยทัศน์ที่จีนกำหนดเป็นแนวนโยบายสำหรับอนาคตใหม่นี้ด้วย แม้ว่านักวิเคราะห์และผู้สันทัดกรณีจำนวนไม่น้อยจะให้ความสนใจและเฝ้ามองการพบกันของ Xi Jinping ผู้นำจีนและ Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย ในฐานะที่ต่างเป็นมหาอำนาจขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย แต่นัยความหมายของการเยือนมัลดีฟส์และศรีลังกา ก็มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากความมุ่งหมายของจีนในการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมืองในระดับนานาชาติ ผ่านกรอบโครงความคิดว่าด้วย 21st Century Maritime Silk Route ดูจะเอื้อประโยชน์และจุดประกายความคิดที่สอดรับกับสถานการณ์ความเป็นไปที่เกิดขึ้นในศรีลังกาอย่างเด่นชัด เพราะหลังจากที่ Mahinda Rajapaksa สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศด้วยการยุติสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้สำเร็จในปี 2009 และกำลังเดินหน้าสู่การเลือกตั้งเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2010 ได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาศรีลังกาให้ฟื้นคืนจากบาดแผลของประวัติศาสตร์สู่อนาคตใหม่ ภายใต้แนวนโยบายที่ได้รับการเรียกขานว่า Mahinda Chintana ด้วย “จินตภาพแห่งมหินทะ” ดังกล่าวนี้ ประกอบส่วนไปด้วยแนวความคิดที่จะพัฒนาและสร้างให้ศรีลังกาเป็น Regional 5 Hub หรือศูนย์กลางของกิจกรรม 5 ประการของภูมิภาค ไล่เรียงตั้งแต่การเป็นศูนย์กลางของการเดินสมุทร ศูนย์กลางของการเดินอากาศ ศูนย์กลางของความรู้ ศูนย์กลางด้านพลังงาน

Read More

ศรีลังกา เวทีประลองกำลังครั้งใหม่จีน-ญี่ปุ่น

 ขณะที่สังคมไทยกำลังให้น้ำหนักกับการคืนความสุขให้กับประชาชน และวาทกรรมบนแท่น Podium อีกฟากหนึ่งในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศเล็กๆ ที่มีจำนวนประชากรประมาณ 22 ล้านคน กำลังให้การต้อนรับผู้นำระดับสูงของชาติมหาอำนาจสำคัญ 2 รายในเวลาไล่เรียงกัน การเดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน ติดตามมาด้วยการเยือนของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน ได้สะท้อนภาพที่น่าสนใจในกลเกมยุทธศาสตร์และการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงถึงความมุ่งหมายของศรีลังกาที่จะสร้างแรงบันดาลใจและความรุ่งเรืองครั้งใหม่ผ่านโครงการ Colombo Port City ซึ่งจะเป็นประหนึ่งจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับการเดินทางใน 21st Century Maritime Silk Route ที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ อภิมหาโครงการลงทุนขนาด 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐนี้ ถือเอาโอกาสการเดินทางเยือนศรีลังกาของ Xi Jinping ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปฐมฤกษ์ในการเริ่มต้นก่อสร้างโครงการเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา และกลายเป็นหมุดหมายที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นปลุกพลังทางเศรษฐกิจของศรีลังกาให้กลับมาคึกคักอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน Colombo Port City จึงเป็นประหนึ่งไฮไลต์ของการเยือนศรีลังกาโดยผู้นำจีนในครั้งนี้ และกำลังจะเป็นการพลิกเปลี่ยนภูมิทัศน์ของศรีลังกาไปตลอดกาล โครงการที่ประกอบส่วนไปด้วยอาคารสำนักงาน กลุ่มโรงแรม อพาร์ตเมนต์

Read More

ศรีลังกา: บนรอยทางแห่งความรุ่งเรืองครั้งใหม่

 ขบวนรถบัสสองชั้นเปิดประทุนหลังคาเคลื่อนตัวผ่านศาลาว่าการแห่งเมืองโคลัมโบ ไปตามเส้นทางรอบเมือง เพื่อให้ผู้คนจำนวนมากมายได้ร่วมชื่นชมความสำเร็จของนักกีฬา cricket ทีมชาติศรีลังกา ที่เพิ่งได้รับชัยชนะเหนือคู่ชิงชนะเลิศยักษ์ใหญ่จากอินเดียในการแข่งขัน ICC World Twenty20 ซึ่งจัดขึ้นที่บังกลาเทศและสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา ก่อนที่ทีมนักกีฬา cricket ของศรีลังกา จะเดินทางกลับสู่มาตุภูมิในวันที่ 8 เมษายน ท่ามกลางการต้อนรับเยี่ยงวีรบุรุษที่นำพาความรู้สึกอิ่มเอมและภาคภูมิใจกลับมาให้ผู้คนในประเทศที่มีประชากรเพียง 20 กว่าล้านคนแห่งนี้ ชัยชนะของทีม Cricket ศรีลังกาในการแข่งขันครั้งล่าสุดนี้ เป็นความต่อเนื่องหลังจากที่ศรีลังกาเพิ่งครองความชนะเลิศในการแข่งขัน Asia Cup ซึ่งเป็นการแข่งขัน Cricket ภายในกลุ่มประเทศเอเชียใต้ร่วมกับอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ และอัฟกานิสถาน ด้วยการชนะรวดทุกนัดเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ความเป็นไปของ cricket ในศรีลังกาในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนที่ไม่ต่างไปจากความเป็นไปของศรีลังกาในภาพรวมมากนัก พวกเขาเริ่มเข้าสู่การแข่งขันในฐานะทีมรองบ่อนหรือ underdog ที่มีสถิติแพ้มากกว่าชนะมาเนิ่นนาน ก่อนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นทีมลำดับต้นๆ และคู่แข่งขันที่น่าเกรงขามสำหรับคู่ต่อสู้ ในช่วงเวลา ไม่ถึง 20 ปีมานี้เอง สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 3 ทศวรรษได้ฉีกกระชากชีวิตผู้คน ทรัพย์สินและโอกาสของดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีทัศนียภาพงดงามและมีความจำเริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ให้ต้องตกอยู่ในภาวะตีบตันและไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ความมั่งคั่งได้อย่างมั่นคง ตลอดระยะเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของดินแดนที่เรียกขานว่าศรีลังกาในปัจจุบัน ซึ่งสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลเกินกว่าสมัยพุทธกาล ศรีลังกาได้ผ่านเรื่องราวของความรุ่งเรือง-สูญเสียและการต้องตกอยู่ในอาณัติและการปกครองจากมหาอำนาจภายนอกมาอย่างยาวนาน

Read More

AVURUDU Sri Lanka

 ในขณะที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองรื่นเริงเนื่องในวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่แบบไทย ด้วยความรู้สึกระคนกันทั้งความกังวลเรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะบีบรัดและเขม็งเกลียวหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับ สอดรับกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สามารถแสวงหาทางออกจากภาวะชะงักงันได้อย่างชัดเจน อีกฟากฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ในดินแดนที่เรียกว่าศรีลังกา ผู้คนที่นี่ก็กำลังเฉลิมฉลอง Aluth Avurudda หรือ Avurudu ซึ่งก็คือเทศกาลขึ้นปีใหม่ของชาวสิงหล (Singhalese) ที่เกี่ยวเนื่องในเชิงวัฒนธรรมกับเทศกาลสงกรานต์และการเถลิงศกใหม่ของทั้งภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามการยึดถือปฏิทินตามแบบสุริยคติไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ที่จะแตกต่างกันไปบ้างสำหรับช่วงเวลาสำคัญแห่งปีนี้ ก็คือ ดูเหมือนว่าชาวศรีลังกาส่วนใหญ่มีโอกาสได้เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ ท่ามกลางความรู้สึกที่รื่นเริงและเปี่ยมความหวังสำหรับอนาคตที่กำลังจะงอกเงยขึ้น มากกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ ควบคู่กับความหวังถึงสันติภาพและความจำเริญที่ยั่งยืนไปพร้อมๆ กับโอกาสครบวาระ 5 ปีของการสิ้นสุดสงครามกลางเมืองในเดือนพฤษภาคมที่กำลังจะมาถึงนี้ ภาวะสงครามกลางเมือง (Civil War) ที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ระหว่างรัฐบาลศรีลังกาที่เป็นตัวแทนของเสียงส่วนใหญ่ชาวสิงหล กับชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬ ที่ทอดระยะเวลาเนิ่นนานกว่า 3 ทศวรรษนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 1983 จนถึงเมื่อรัฐบาลประกาศชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือกองกำลังติดอาวุธพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam: LTTE) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ได้สร้างบาดแผลและร่องรอยเจ็บลึกลงไปในสังคมศรีลังกา ซึ่งเป็นพหุสังคมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ไม่น้อยเลย ความสูญเสียในเชิงสังคมตามการประเมินของสหประชาชาติ (UN) ซึ่งนับเป็นจำนวนชีวิตของประชาชนนับแสนคน ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐและพลเรือนที่ต้องเสียชีวิตไปในความขัดแย้งที่ยาวนานนี้ ย่อมไม่สามารถคำนวณเป็นมูลค่าใดๆ ได้ หากแต่ย่อมเป็นบทเรียนและกรณีศึกษาที่มีคุณค่าและนัยความหมายอย่างยิ่งสำหรับการก้าวเดินไปข้างหน้าในอนาคต ขณะที่มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งยาวนานเกือบ 3 ทศวรรษได้รับการประเมินว่ามีมากถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

Read More