Home > ศรีลังกา (Page 2)

ไปดูขบวนแห่กันไหม?

 Column: AYUBOWAN หลังจากพ้นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในเดือนกรกฎาคม ทั้งวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา พร้อมกับขบวนแห่เทียนพรรษาที่ผ่านไป เชื่อว่าพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยอาจถือโอกาสนี้ตั้งจิตอธิษฐานหวังมุ่งก่อการบุญกุศลด้วยการหลีกหน้าห่างหายจากอบายมุข สร้างเสริมความสุขด้วยกุศลจิต โดยเฉพาะในสังคมไทยซึ่งดูเหมือนจะอ่อนไหวและเปราะบางกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึงขนาดรณรงค์ให้มีการงดเหล้าเข้าพรรษาเป็นเวลาสามเดือน หรือหากจะละเลิกไปได้เลยก็นับว่าประเสริฐยิ่ง ซึ่งก็ดูจะเป็นกิจกรรมที่รณรงค์ติดต่อกันมาหลายปี แต่ไม่แน่ใจว่าได้ผลบวกลบอย่างไร ในขณะที่เมืองไทยมีประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งถือเป็นหนึ่งกิจกรรมทางสังคมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ก่อนหน้าวันสำคัญที่ว่านี้ ในศรีลังกา โดยเฉพาะที่เมือง Kandy ก็มีประเพณีสำคัญที่ถือเอาวันเพ็ญแห่งเดือน Esala เป็นหลักหมาย โดยนับจากหลังวันเพ็ญนี้ไปอีก 15 ราตรีกาล เป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลใหญ่ในนาม Esala Perahera ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี ต่อเนื่องไปอีก 15 วันเลยทีเดียว Esala Perahera แห่งเมือง Kandy นี้ เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยพุทธศาสนาและอารามหลวง Sri Dalada Maligawa ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระเขี้ยวแก้วที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์และศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนในศรีลังกาด้วย ประเพณีการเฉลิมฉลอง Esala Perahera มีประวัติการณ์สืบย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ในอาณาจักรอนุราธปุระ โดยสันนิษฐานว่าเริ่มต้นจากพิธีกรรมขอฝนในห้วงเวลาแห่งวันเพ็ญเดือน Esala ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม ผนวกกับ Dalada Perahera ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว (Dalada)

Read More

มาเลือกตั้งกันเถอะ

 Column: AYUBOWAN ขณะที่ความเป็นไปในแวดวงการเมืองไทยยังมีสภาพประหนึ่งติดบ่วงให้ต้องละล้าละลังและชะงักงันไม่สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างตั้งใจ ภายใต้คำถามว่าจำเป็นต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ และจะปฏิรูปสิ่งใด อย่างไรให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งดูเหมือนว่ากำหนดการเลือกตั้งที่ผู้คนในสังคมจำนวนหนึ่งรอคอยจะไม่ได้ถูกบรรจุในปฏิทินไปอีกนานทีเดียว แต่สำหรับสังคมศรีลังกา ซึ่งเพิ่งผ่านการเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้นำในตำแหน่งประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตยครั้งใหญ่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา พวกเขากำลังเดินหน้าเข้าสู่คูหาเลือกตั้งอีกครั้งเพื่อลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 225 ที่นั่งมาทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติ ไม่ได้หมายความว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาศรีลังกา เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนที่ไม่ได้มีสภานิติบัญญัตินะคะ หากแต่ไมตรีพละ สิริเสนา (Maithripala Sirisena) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดมีการเลือกตั้งก่อนกำหนดครบวาระ โดยจะเลือกตั้งกันในวันที่ 17 สิงหาคม 2558 นี้ มูลเหตุที่ทำให้ศรีลังกามีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่เร็วขึ้นกว่ากำหนดถึงกว่า 10 เดือน โดยการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดคือเมื่อเมษายน 2010 และมีวาระ 6 ปีก็คือ คำมั่นสัญญาว่าด้วยการปฏิรูปทางการเมืองของไมตรีพละ สิริเสนา เมื่อต้นปี 2015 หลังจากครองชัยชนะในการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งสามารถโค่น Mahinda Rajapaksa ให้ต้องพ้นจากตำแหน่งไปท่ามกลางความแปลกใจของผู้สังเกตการณ์แต่ละกลุ่ม การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของไมตรีพละ สิริเสนา หลังการเลือกตั้งประชาธิปไตยเมื่อเดือนมกราคม 2015 ติดตามมาด้วยคำมั่นสัญญาและแผนปฏิรูป 100 วัน เพื่อแก้ไขข้อกำหนดบางประการในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะวาระและอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี ที่ก่อนหน้านี้

Read More

TRINCOMALEE: Profiles of the FUTURE?

 Column: AYUBOWAN หาก Arthur C.Clarke ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่ แห่งโลกวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ (science fiction) ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ภาพและแผนของโครงการลงทุนและพัฒนาที่ Trincomalee อาจบันดาลใจหรือกระตุ้นให้เกิดนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องใหม่ที่น่าติดตามไม่น้อยเลย เพราะพลันที่รัฐบาลของ Mahinda Rajapaksa ใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มติดอาวุธพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam: LTTE) อย่างรุนแรง จนได้ชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดพร้อมกับประกาศสิ้นสุดสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมานานกว่า 3 ทศวรรษ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ก็พร้อมจะหลั่งไหลเข้าสู่ Trincomalee ยิ่งกว่ากระแสคลื่นลมเหนือเวิ้งอ่าวแห่งนี้เสียอีก ด้วยความได้เปรียบในทำเลที่ตั้งซึ่งทำให้ Trincomalee เป็นหนึ่งในท่าเรือที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต แต่ด้วยผลของสงครามและความขัดแย้งที่ทำให้แม้ท่าเรือ Trincomalee จะไม่ได้ถูกทิ้งร้าง แต่ก็ไม่ได้พัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่มานานกว่า 4 ทศวรรษ ภายใต้เหตุผลทางการเมืองและความมั่นคงภายใน ความพยายามที่จะพัฒนาหรือขยายฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศซึ่งเป็นมรดกจากยุคสงครามโลกครั้งที่สองที่อังกฤษได้ส่งผ่านมาให้ และกระทรวงกลาโหมของศรีลังกายังคงใช้เป็นฐานทัพเรือหลักและฐานทัพอากาศอยู่ในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติและท่าเรือน้ำลึกสำหรับการขนส่งสินค้าเพื่อมุ่งหน้าสู่อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียใต้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะจากอินเดีย ที่กำลังรักษาบทบาทและสถานะการนำในภูมิภาค ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือท่าเรือที่ Trincomalee มีขนาดและอาณาบริเวณกว้างใหญ่ถึงกว่า 2,000 เฮกตาร์ ในขณะที่ท่าเรือ Colombo มีขนาดประมาณ 200

Read More

TRINCOMALEE: จากฉากหลังแห่งสงครามสู่อนาคตเบื้องหน้า

 Column: AYUBOWAN ท่านผู้อ่านและผู้ที่สนใจติดตามความเป็นไปของศรีลังกา คงพอจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ โคลัมโบ แคนดี้ รัตนปุระ รวมถึงอนุราธปุระ ในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของศรีลังกามาไม่น้อย ขณะที่เมืองทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศ อย่าง Trincomalee อาจให้ภาพที่แตกต่างออกไปพอสมควร ในด้านหนึ่งอาจเนื่องเพราะ Trincomalee เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของชาวทมิฬ ซึ่งในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาถูกผลักให้จ่อมจมอยู่ท่ามกลางฉากหลังของสงครามกลางเมืองว่าด้วยชาติพันธุ์ และทำให้พัฒนาการของเมืองที่มีอดีตและศักยภาพในการเติบโตครั้งเก่าถูกฉุดให้ต้องหยุดชะงักไปโดยปริยาย ประวัติการณ์ของ Trincomalee สืบย้อนกลับไปได้ไกลตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล และถือเป็นเขตบ้านย่านเมืองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียอีกด้วย โดยเฉพาะความจำเริญในฐานะที่เป็นเมืองท่าและเขตการค้าสำคัญที่เชื่อมโยงศรีลังกาเข้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประชาชาติอาเซียนในปัจจุบัน คณะธรรมทูตจากกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำพุทธศาสนากลับไปประดิษฐานในศรีลังกาอีกครั้ง ซึ่งนำโดยพระอุบาลีมหาเถระเมื่อปี 2295 ก็ได้อาศัยฝั่งฟากของเมืองท่า Trincomalee เป็นที่ขึ้นฝั่งแผ่นดินศรีลังกา ก่อนจะเดินเท้าข้ามผ่านระยะทางไกลเข้าสู่แคนดี้ เมืองหลวงของอาณาจักรศรีลังกาในขณะนั้นด้วย หากแต่ความสำคัญและเก่าแก่ของ Trincomalee ซึ่งเป็นชุมชนชาวทมิฬและผูกพันกับศาสนาฮินดูทำให้ Trincomalee ได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็น “เขาไกรลาสแห่งดินแดนตอนใต้” ในขณะที่เจ้าอาณานิคมแต่ละรายที่ผลัดเปลี่ยนอิทธิพลกันเข้ามาต่างระบุถึง Trincomalee ว่าเป็นเขตอาณาที่ทรงคุณค่าที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องเพราะเมืองท่าแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวธรรมชาติที่กว้างใหญ่ และสามารถรองรับเรือเดินทะเลได้ทุกรูปแบบและในทุกสภาพอากาศ ประจักษ์พยานแห่งความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของ Trincomalee ที่ว่านี้ ทำให้เมืองท่าที่อุดมด้วยศักยภาพต้องตกอยู่ในสภาพที่เป็นสมรภูมิการรบพุ่งระหว่างเจ้าอาณานิคมแต่ละรายอยู่ตลอดเวลา ด้วยต่างหวังจะช่วงชิงพื้นที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการครอบครองความเป็นจ้าว เหนือน่านน้ำในมหาสมุทรอินเดีย และเชื่อมโยงไปสู่พื้นที่อื่นด้วย เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างโปรเตสแตนต์และคาทอลิกซึ่งนำไปสู่สงคราม 30 ปีในยุโรป (The Thirty Years’

Read More

ตามรอยพระอุบาลี

 Column: AYUBOWAN ท้องฟ้าที่ฉ่ำด้วยเมฆฝนและสายลมแรงทั่วทั้งแดนดินถิ่นเมืองไทยในห้วงยามนี้ คงทำให้หลายคนรู้สึก “อึดอัด” ระคน “หดหู่” กับความเป็นไปของบ้านเมืองอยู่ไม่น้อย ขณะที่อีกฝั่งฟากของมหาสมุทรอินเดีย ในดินแดนแห่งศรีลังกาซึ่งอยู่ในช่วงฤดูมรสุมเช่นกัน ปรากฏการณ์ธรรมชาติเหล่านี้แม้จะเป็นเป็นอุปสรรคต่อการสัญจรอยู่บ้าง แต่นั่นก็เป็นเพียงวิถีธรรมชาติที่ต้องประสบพบเจอท่ามกลางความฉ่ำเย็นที่มาประโลมชีวิตจิตวิญญาณ สำหรับพุทธศาสนิกผู้สนใจในธรรมและความเป็นไปแห่งพุทธศาสนา เชื่อว่าหลายท่านคงได้ผ่านการรับรู้ หรือได้ยินได้ฟังเรื่องราวแห่งสยามวงศ์ที่ได้มาลงหลักปักฐานในแดนดินศรีลังกาอยู่บ้างนะคะ และก็คงมีโอกาสได้จาริกตามรอยพระอุบาลี พระธรรมทูตจากประเทศไทยที่มาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกาเมื่อปีพุทธศักราช 2295 หรือเมื่อกว่า 263 ปีล่วงมาแล้ว ในความเป็นจริง ความจำเริญรุ่งเรืองแห่งพุทธศาสนาในดินแดนศรีลังกานั้น มีมานานก่อนที่พุทธศาสนาจะขจรจายไปยังสุวรรณภูมิเสียอีก โดยเฉพาะหากพิจารณาในบริบทของสังคมไทยซึ่งมีการจารึกไว้ว่าได้รับพุทธศาสนามาจากศรีลังกาจนเกิดเป็นพุทธศาสนาสาย “ลังกาวงศ์” ซึ่งเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นแผ่นดินสุโขทัย และฝังรากลึกลงไปทุกขณะ แม้ว่าบางครั้งบางหน ดอกผลแห่งพุทธศาสนาจะร่วงหล่นลงสู่พื้นล่าง และเสื่อมถอยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง แต่แกนหลักแห่งลำต้นก็ยังให้ร่มเงาพักพิงแก่สาธุชนผู้เลื่อมใสศรัทธาอยู่เสมอ ความจำเริญและเสื่อมถอย ย่อมเป็นปฏิภาคของด้านตรงข้ามอย่างยากจะปฏิเสธ เป็นอนิจลักษณะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้เป็นหลักธรรมให้ผู้คนได้เจริญสติอยู่มิได้ขาดมานานกว่า 2 สหัสวรรษ และความเป็นไปของพุทธศาสนาในดินแดนลังกาก็ไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นไปจากความเป็นจริงของโลกที่ว่านี้ ความพยายามที่จะฟื้นฟูพุทธศาสนาให้งอกเงยขึ้นมาใหม่จากซากที่ผุพังของศรีลังกาเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้ากีรติสิริราชสิงหะ กษัตริย์ศรีลังกา ซึ่งมีความศรัทธาแรงกล้าที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนสู่ศรีลังกาอีกครั้ง และส่งราชทูตมายังกรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช 2293 เพื่อให้กรุงศรีอยุธยาส่งคณะธรรมทูตไปรื้อฟื้นพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ คณะราชทูตจากศรีลังกาออกเดินทางจากเมืองท่าตรินโคมาลี (Trincomalee) เมืองท่าสำคัญทางตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกาด้วยเรือของฮอลันดา ข้ามผ่านมหาสมุทรอินเดียมาเมืองอะเจะ สุมาตรา และต้องหลบเลี่ยงมรสุมอยู่ที่มะละกาเป็นเวลานานกว่า 5 เดือน  เมื่อมาถึงอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาโปรดให้คัดเลือกพระสงฆ์ที่แตกฉานในพระไตรปิฎกและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยประกอบด้วยพระสงฆ์ 24

Read More

อาชีพ โอกาส และการศึกษา

 Column: AYUBOWAN ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา กำลังติดตามมาด้วยคำถามที่น่าสนใจมากประการหนึ่ง เป็นปัญหาพื้นฐานที่กำลังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อโครงสร้างและการพัฒนาในอนาคตของศรีลังกาเลยทีเดียว ศรีลังกาเป็นดินแดนที่มีเกียรติประวัติด้านการศึกษามาอย่างยาวนานนับย้อนกลับไปได้ไกลกว่า 2,000 ปี ขณะที่กระบวนการพัฒนาด้านการศึกษาสมัยใหม่ก็ส่งผลให้ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือในหมู่ประชากร (literacy rate) สูงถึงร้อยละ 98.1 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน และเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียใต้ หรือแม้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียแห่งอื่นๆ ศรีลังกาก็จัดเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับแนวหน้าประเทศหนึ่งหากประเมินในมิติที่ว่านี้ การศึกษาของศรีลังกา มีบทบาทอย่างสำคัญในชีวิตของชาวศรีลังกาและแวดล้อมมิติทางวัฒนธรรมของสังคมศรีลังกาไว้อย่างแนบแน่นนับเนื่องตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเมื่อผนวกรวมให้เข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ในช่วงที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ก็ยิ่งเป็นการเปิดพื้นที่กว้างให้กับนักคิดนักเขียนและนักวิชาการชาวศรีลังกาให้ได้แสวงหาองค์ความรู้ไปได้ไกลยิ่งขึ้น ภายใต้พื้นฐานการศึกษาสมัยใหม่ตามแบบของระบบจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มิได้จำกัดความอยู่เฉพาะความได้เปรียบจากความสามารถในการสื่อสาร อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงรูปแบบการจัดระบบการศึกษาที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน และปกป้องให้อาชีพครูไม่ตกอยู่ภายใต้ค่าตอบแทนราคาต่ำหรือจากการบริหารที่ไม่เป็นธรรม ระบบโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งและสถาปนาอย่างเป็นระบบระเบียบ และสามารถสร้างเสริมชื่อเสียงโดดเด่นในแวดวงวิชาการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตชนชั้นนำ เพื่อสนองตอบต่อพัฒนาการทางสังคมในเวลาต่อมา พัฒนาการด้านการศึกษาในช่วงหลังจากที่ศรีลังกาได้รับเอกราช ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากผลของความตื่นตัวว่าด้วยสิทธิ และแนวทางการพัฒนาที่ระบุให้การศึกษาเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่ต้องจัดสรรให้กับประชาชนทุกคน พร้อมทั้งบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้รัฐสร้างเสริมหลักประกันในการบริหารจัดการเพื่อให้ทรัพยากรที่ว่านี้กระจายสู่หมู่ชนทุกระดับ เมื่อการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในทรัพยากรที่รัฐต้องบริหารจัดการ ความสามารถในการกระจายโอกาสจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยที่ผ่านมาศรีลังกาพยายามที่จะส่งมอบโอกาสอย่างไม่จำกัดให้กับประชาชน โดยเยาวชนในระดับประถมและมัธยมศึกษาจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้การศึกษาดำเนินไปอย่างไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ขณะที่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นกว่านั้น เป็นการแข่งขันที่พิสูจน์ทราบกันด้วยความสามารถในการสอบแข่งขัน ภายใต้เงื่อนไขและข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจะได้รับการจัดสรรไปสู่บุคคลที่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการนี้ได้อย่างเต็มที่ และสามารถหนุนนำการพัฒนาให้กับสังคมในกาลอนาคต การแข่งขันเพื่อเบียดชิงทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดในระดับที่สูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลให้เกิดสถาบันกวดวิชาเพื่อหนุนส่งความสามารถในการสอบได้คะแนนดีในหลายระดับชั้น ซึ่งธุรกิจสถานกวดวิชาเหล่านี้กลายเป็นธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางกระแสวิพากษ์ทางสังคมอย่างหนักว่าเป็นการทำร้ายความสดใส สุขภาพและจิตวิญญาณวัยเด็กของเยาวชน อย่างไรก็ดี การเกิดขึ้นของสถาบันกวดวิชาในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงของศรีลังกาที่อนุญาตให้เฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้นที่มีสิทธิเปิดการเรียนการสอนและประสาทปริญญาบัตร ขณะที่ความพยายามที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยเอกชนได้รับการคัดค้านด้วยเหตุผลที่ว่า การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยเอกชนจะทำให้ระบบการศึกษามีสถานะไม่แตกต่างจาก สินค้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้เงินตราและความสามารถทางเศรษฐกิจซื้อหามาได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการทำลายคุณภาพการศึกษาทั้งระบบของศรีลังกาในระยะยาว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีอยู่ 15 แห่งสามารถรองรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อได้เพียงร้อยละ 16-20

Read More

AMBALANGODA: เมืองหน้ากาก

 Column: AYUBOWAN สังคมทุกวันนี้ ดูจะอยู่ยากขึ้นเป็นลำดับนะคะ แม้นว่าก่อนหน้านี้จะมีถ้อยความเปรียบเทียบประหนึ่งว่าโลกนี้เป็นโรงละครโรงใหญ่ที่ทุกสรรพชีวิตต่างมีบทบาทซับซ้อนซ่อนเงื่อน แต่ในสมัยปัจจุบัน นอกจากจะยอกย้อนอย่างยิ่งแล้ว สังคมมนุษย์ยังยั่วแยง ย้อนแย้งหนักหนาขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ยังไม่นับรวมถึงหน้ากากคุณธรรมและความดี ที่หลายท่านพยายามใส่ทับหัวโขนให้ต้องลำบากตรากตรำทั้งศีรษะและใบหน้าอย่างน่าฉงน จนบางครั้งแอบนึกสงสัยไม่ได้ว่าเมื่อส่องกระจกเห็นเงาตัวเองแล้ว แต่ละท่านจะตะลึงในภาพเบื้องหน้าเหล่านั้นบ้างไหมและอย่างไร เมื่อกล่าวถึงหน้ากาก ทำให้นึกถึงเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งของศรีลังกา ซึ่งขึ้นชื่อเรืองนามว่าเป็นถิ่นฐานที่ผลิตหน้ากากไม้และหุ่นกระบอก หนึ่งในศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนฐานคติและแนวความคิด ความเป็นไปของสังคมศรีลังกาในยุคที่ตกอยู่ใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคมได้เป็นอย่างดี Ambalangoda เมืองชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศรีลังกา ห่างจากโคลัมโบลงไปทางใต้ประมาณ 100 กิโลเมตร คือเมืองที่ว่านี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของทั้งพิพิธภัณฑ์หน้ากาก และสำนัก Maha Ambalangoda School of Kolam และ Nambimulla School of Kolam ซึ่งต่างเป็นสำนักที่ช่วยสืบทอดประเพณีการเต้นรำหน้ากากให้ยืนยาวมาจนปัจจุบัน จากพื้นฐานที่ผูกพันอยู่กับวิถีความเชื่อว่าด้วยเรื่องภูตผี เหล่ามารร้าย โรคภัยไข้เจ็บและเทพผู้พิทักษ์แล้ว หน้ากากเหล่านี้ยังแนบแน่นกับการร้องเล่นเต้นรำ ที่เป็นไปเพื่อประกอบส่วนในพิธีสำคัญของราชสำนักและมีประวัติการณ์สืบย้อนไปในอดีตได้นานกว่า 4 ศตวรรษ หลังจากที่คณะนาฏศิลป์จากอินเดียใต้เดินทางเข้ามาในศรีลังกาในช่วงที่โปรตุเกสเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนแถบนี้ และดูเหมือนว่า หน้ากากจะถูกสงวนไว้ให้กับราชสำนัก มากกว่าที่จะเป็นไปเพื่อประชาชนทั่วไป แต่เมื่อสังคมอาณานิคมซึ่งทอดยาวต่อเนื่องท่ามกลางการเปลี่ยนมือระหว่างชาติตะวันตก ทั้งโปรตุเกส ดัตช์ และอังกฤษ ควบคู่กับความเสื่อมถอยลงของราชสำนักศรีลังกา การเต้นรำหน้ากาก (mask

Read More

เดือนมงคลแห่งวิสาขะ

 Column: AYUBOWAN ตลอดเดือนพฤษภาคมที่กำลังจะผ่านไปสำหรับพุทธศาสนิกชนในศรีลังกา ถือเป็นเดือนมงคลแห่ง Vesak หรือวิสาขะ ซึ่งถือเป็นเดือนเริ่มต้นแห่งวิถีของ Poya ในศรีลังกา ที่เชื่อว่ามีมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Arahant  Mahinda Thero หรือ อรหันต์มหินทะเถระ นำพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแห่งนี้ และถือเป็นเดือนแห่งการรำลึกถึงพุทธคุณ 3 ประการ คือประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ธงฉัพพรรณรังสี ซึ่งเป็นสื่อสัญลักษณ์ของความเป็นชาวพุทธ และเกี่ยวเนื่องด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง จึงได้รับการประดับตกแต่งอยู่ทั่วทุกเขตย่านร้านถิ่น ขณะเดียวกันก็มีการเฉลิมฉลอง Vesak กันอย่างเอิกเกริก ทั่วทั้งเขตเมืองและชนบท ประเพณีการจัดงานเทศกาลวันวิสาขบูชาของศรีลังกานั้น เป็นวิถีที่สืบเนื่องติดต่อกันมาเนิ่นนาน และสามารถสืบย้อนทางกลับไปได้นับตั้งแต่ที่พระมหินท์ ซึ่งเป็นพระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในดินแดนแห่งนี้เลยก็ว่าได้  แต่หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าทุตถคามนี (Dutthagamini) ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 382-406 และได้ทรงโปรดให้มีการจัดเทศกาลเฉลิมฉลองประเพณีนี้ขึ้นประจำทุกปีตลอดรัชสมัยของพระองค์ ความเป็นไปของการเฉลิมฉลองวิสาขะ ในฐานะพุทธศาสนิกชนที่จำเริญในธรรมของชาวศรีลังกา ได้รับการสนับสนุนเกื้อกูลและให้ความสำคัญจากราชสำนัก ดังจะเห็นได้จากการที่กษัตริย์องค์ต่อมาได้สานต่อกิจกรรมเฉลิมฉลอง และหนุนนำให้การจัดงานวันวิสาขบูชาเป็นไปอย่างใหญ่โตและเอิกเกริก พร้อมกับมีการเพิ่มกิจกรรมที่เป็นการกุศลเข้ามาอย่างชัดเจน ทั้งการถวายจีวรให้กับคณะสงฆ์ รวมถึงประเพณีให้ทานแก่ผู้ยากไร้ ซึ่งในด้านหนึ่งเพื่อสะท้อนภาพการเป็นราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมั่นคงในหนทางธรรม แต่สรรพสิ่งย่อมเป็นไปตามกฎแห่งอนิจจัง และประเพณีการจัดเทศกาลวันวิสาขบูชาของศรีลังกาก็ไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นแต่อย่างใด เพราะพลันที่มหาอำนาจจากตะวันตกได้ยกทัพกรีธาพลขึ้นสู่ชายฝั่งศรีลังกา และขยายแผ่อิทธิพลเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่เมื่อพุทธศตวรรษที่ 22 ไล่เรียงจากโปรตุเกส ดัตช์

Read More

ฉัพพรรณรังสี

 Column: AYUBOWAN ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินคำว่า ฉัพพรรณรังสี และคงนึกสงสัยว่ามีความหมายว่าอย่างไรบ้างไหมคะ รากฐานของฉัพพรรณรังสี มีที่มาจากคำสมาสในภาษาบาลี โดย “ฉ” หมายถึง หก และ “วณฺณ” หมายถึง สี และ “รํสี” หมายถึง รังสีหรือรัศมี รวมความก็จะได้ความหมายว่า รังสี 6 สี ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นรังสีที่แผ่ออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า  หากประเมินจากกรณีที่ว่านี้ อาจเรียกได้ว่าฉัพพรรณรังสี ก็คือ Aura’s Spectrum ของพระพุทธเจ้านั่นเอง ซึ่งแสงและสีทั้ง 6 นี้ ถือเป็นสีมงคลของพุทธศาสนิกชนอีกด้วย เมื่อฉัพพรรณรังสี เป็นสีมงคล สำหรับพุทธศาสนิกชนแล้ว การที่ได้รับรู้ว่าสีทั้งหก ที่เรียกว่าฉัพพรรณรังสีนี้ ประกอบด้วยสีใดและมีความหมายอย่างไรกันบ้าง ก็คงเป็นสิ่งที่ศาสนิกชนผู้สนใจในธรรมควรได้ศึกษาต่อเนื่องออกไปอีกใช่ไหมคะ เริ่มจากสีนีละ ซึ่งหมายถึงสีเขียวเหมือนดอกอัญชัน หรือสีน้ำเงินนั่นเอง เป็นสีที่เป็นตัวแทนและสื่อความหมายไปถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแผ่ไพศาลไปทั่วสากลจักรวาล สีปีตะ หรือ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง ซึ่งสื่อแสดงถึงมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ การหลีกเลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง ติดตามมาด้วย สีโรหิตะ หรือ สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน สื่อถึงการอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จ

Read More

มหัศจรรย์แห่งเอเชีย

 Column: AYUBOWAN ความเป็นไปของศรีลังกาในชั่วโมงนี้ อาจทำให้ผู้คนจากต่างแดนจำนวนมากรู้สึกแปลกใจ ในขณะที่ประชาชนชาวศรีลังกาเองก็เริ่มแอบมองย้อนถึงการตัดสินใจ เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด และเป็นสิ่งที่พึงใจต้องการจริงหรือไม่ ปัญหาหลักของศรีลังกาที่เผชิญกับการก่อการร้ายและภาวะสงครามกลางเมืองมาอย่างยาวนานกว่า 3 ทศวรรษอยู่ที่การขาดแคลนเสถียรภาพและความมั่นคงที่จะดึงดูดใจให้ผู้ลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ขณะที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก็อยู่ในภาวะชะงักงัน ความพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งจึงจำเป็นต้องยึดโยงอยู่กับรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้และนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาหนุนนำระบบเศรษฐกิจของศรีลังกาได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ภายหลังจากที่ Mahinda Rajapaksa สามารถกระชับและครองอำนาจสูงสุดในปี 2004 เรื่อยมาพร้อมกับการดำเนินมาตรการปราบปรามรุนแรง เพื่อยุติสงครามกลางเมืองกับกลุ่มทมิฬ ซึ่งสิ้นสุดลงในปี 2009 เขาได้ประกาศแนวทางในการพัฒนาประเทศไว้อย่างน่าสนใจ ความมุ่งหมายในการพัฒนาภายใต้วลีปลุกเร้าว่าด้วย “The Emerging Wonder of Asia” กลายเป็นถ้อยความที่สื่อสารออกไปทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อโหมประโคมประชาสัมพันธ์บริบทใหม่ของศรีลังกาในยุคแห่งการเดินหน้าสู่สังคมสันติสุขและยุคสมัยแห่งการปรองดอง กลไกหลักที่นำถ้อยความนี้ออกสู่สาธารณะและเวทีประชาคมโลก นอกเหนือจากหน่วยงานของรัฐในทุกระดับระนาบแล้ว กระทรวงการท่องเที่ยวของศรีลังกาดูจะเป็นหน่วยงานที่สามารถสื่อสารข้อความนี้ให้เกิดภาพจำและความประทับใจได้อย่างลงตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่สิ้นสุดเหตุรุนแรงจากสงครามกลางเมืองในปี 2009 จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนศรีลังกาก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงศรีลังกาปีละ 4.38-4.48 แสนคนต่อปี ในช่วงปี 2008-2009 แต่ในปี 2010 จำนวนนักท่องเที่ยวทะยานขึ้นสู่ระดับ 6.5 แสนคน และเป็น 8.5 แสนคนในปี 2011 ก่อนที่จะก้าวไปทะลุสู่ระดับ 1

Read More