Home > พลังงานแสงอาทิตย์

เชลล์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างชุมชนเข้มแข็ง วางระบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

“ระบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชุมชน" คือแนวคิดที่เชลล์นำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปัญหาเรื่องการจัดการน้ำเป็นต้นกำเนิดของความท้าทายทางเศรษฐกิจของชุมชน พลังงานสะอาดที่กำลังเป็นที่นิยมในทุกภาคส่วน ถูกนำมาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน เชลล์ บริษัทพลังงานชั้นนำระดับโลก ผสานความร่วมมือพันธมิตรหลัก สำนักงานองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมันประจำประเทศไทย (GIZ) เทศบาลตำบลทุ่งหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด และวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ริเริ่มโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการน้ำและการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Shell Water Resource Management) เพื่อแก้ปัญหาการจัดการน้ำที่เป็นรากฐานความท้าทายทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นกลไกขับเคลื่อนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน นางสาวอรอุทัย ณ เชียงใหม่ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ถือเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรในปัจจุบัน ขณะเดียวกันเชลล์ก็ได้ปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว ภายใต้การดำเนินงานที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน (Powering Lives) โดยใช้การลงทุนทางสังคม (Social Investment) เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน มุ่งสร้างผลตอบแทนเชิงสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้สังคม เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและสร้างผลกระทบเชิงบวกระยะยาว” โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการน้ำและการเกษตรแบบยั่งยืนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นโครงการที่เชลล์ร่วมกับพันธมิตรพัฒนาระบบจัดการน้ำอย่างครบวงจร และยกระดับการทำการเกษตรเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชน มุ่งแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการพัฒนาการชลประทานผ่านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ สู่ระบบผลิตน้ำดื่มสะอาด ช่วยให้ชุมชนสามารถจัดสรรน้ำสะอาดได้อย่างทั่วถึง รวมถึงสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน ผ่านการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลระบบน้ำอย่างเป็นรูปธรรม

Read More

กลุ่มบี.กริม เพาเวอร์ ลงนามในสัญญาขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ กับภาครัฐนาน 25 ปี

กลุ่มบี.กริม เพาเวอร์ ลงนามในสัญญาขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ กับภาครัฐนาน 25 ปี กำลังผลิตรวม 323.3 เมกะวัตต์ เตรียมเดินเครื่อง COD ปี 2569 บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทย่อย และกิจการร่วมค้า ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะเวลา 25 ปี เพื่อร่วมพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar farms) กำลังการผลิตรวม 323.3 เมกาวัตต์ โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ตั้งแต่ปี 2569 ถึงปี 2573 ดร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะช่วยพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน

Read More

เอสพี กรุ๊ป เดินหน้าขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดของเบทาโกร ด้วยการติดตั้งโซลาร์รูฟท๊อปขนาดใหญ่

เอสพี กรุ๊ป (เอสพี) เดินหน้าสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดของภูมิภาคเอเชียด้วยโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (PV) ขนาดใหญ่ล่าสุดในประเทศไทย โดยกลุ่มสาธารณูปโภคชั้นนำและผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานที่ยั่งยืนในสิงคโปร์และเอเชียแปซิฟิกร่วมมือกับเบทาโกร บริษัทอาหารครบวงจรชั้นนำของประเทศไทยในการติดตั้งโซลาร์รูฟท๊อปกำลังการผลิต 8.2 เมกะวัตต์ (MWp) ณ โรงงานของเบทาโกร 7 แห่งในจังหวัดลพบุรี นครราชสีมา สงขลา ลำปาง และฉะเชิงเทรา เอสพีมีแผนจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เกือบ 13,000 แผง ซึ่งจะสามารถผลิตพลังสะอาดได้ประมาณ 11 กิกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเทียบเท่าประมาณร้อยละ 8 ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในโรงงานของเบทาโกรทั้ง 7 แห่ง โดยเมื่อดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบในไตรมาตรที่สามของปี 2567 จะสามารถช่วยเบทาโกรลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึง 4,400 ตัน และประหยัดต้นทุนด้านพลังงานได้ประมาณ 17 ล้านบาทต่อปี (หรือ 630,500 ดอลลาร์สิงคโปร์) เบทาโกรวางกลยุทธ์ดำเนินการเชิงรุกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและยกระดับการรักษาสิ่งแวดล้อมขององค์กร อีกทั้ง ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ บริษัทจึงตั้งเป้าที่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน นายแบรนดอน เจีย กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียของเอสพี กรุ๊ป กล่าวว่า “เบทาโกรเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย และเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับเบทาโกรในการเดินหน้าสู่ความยั่งยืน โดยเรามองเห็นศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

Read More

ลอนจิ กรีน เอ็นเนอร์จี เทคโนโลยี เผยแผนสุดอลังการเพื่อขับเคลื่อน “เทคโนโลยี PV”

ลอนจิ กรีน เอ็นเนอร์จี เทคโนโลยี เผยแผนสุดอลังการเพื่อขับเคลื่อน “เทคโนโลยี PV” และโซลูชั่นพลังงานยั่งยืนใหม่ ๆ ณ ASEAN Sustainable Energy Week 2023 บริษัท ลอนจิ กรีน เอ็นเนอร์จี เทคโนโลยี จำกัด (ลอนจิ) ผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ระดับโลก พร้อมปฏิวัติวงการพลังงานหมุนเวียนด้วยเทคโนโลยีพีวีรุ่นบุกเบิกของแบรนด์ที่พร้อมรองรับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุม 5 กลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ เวเฟอร์โมโนคริสตัลไลน์ เซลล์และโมดูล โซลูชั่นพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายการผลิต โซลูชั่นสถานีผลิตไฟฟ้าและระบบพลังงานไฮโดรเจน ด้วยความมุ่งมั่นจะที่สนับสนุนการใช้งานพลังงานหมุนเวียน ลอนจิมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมงาน ASEAN Sustainable Week 2023 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 เพราะนับเป็นเวทีชั้นนำระดับอาเซียนด้านความก้าวหน้าภาคพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนรอคอย โดยมีองค์กรธุรกิจตบเท้าเข้าร่วมจัดแสดงนวัตกรรมล่าสุดของวงการการเข้าร่วมงานดังกล่าวฉายชัดถึงความมุ่งมั่นของลอนจิที่มีต่อตลาดอาเซียนและเข้าใจในความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละรายอย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลให้ลอนจิมีการบริการที่โดดเด่น ในงาน ASEAN

Read More

มหิดล ร่วมกับ ทีโอที รีไซเคิลตู้เก่าเป็น “ตู้ชาร์จโทรมือถืออัตโนมัติ…พลังแสงอาทิตย์”

วิศวะมหิดล ร่วมกับ ทีโอที รีไซเคิลตู้เก่าเป็น “ตู้ชาร์จโทรมือถืออัตโนมัติ...พลังแสงอาทิตย์” มอบแก่ 4 รพ. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม (ESR) ร่วมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในโครงการ “EGMU Mobile Battery Charger” นำตู้โทรศัพท์สาธารณะที่หมดความจำเป็นในการใช้งานแล้วมารีไซเคิลพัฒนาเป็นนวัตกรรม “ตู้ชาร์จโทรมือถืออัตโนมัติ...พลังแสงอาทิตย์” (Solar Mobile Battery Charger) ส่งมอบให้แก่ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และโรงพยาบาลต่าง ๆ รวม 4 แห่ง เพื่อบริการสังคมและประชาชน  พร้อมเปิดให้องค์กรหน่วยงานใดสนใจจะมีตู้แบบนี้แจ้งความจำนงได้ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการเพื่อสังคม “EGMU Mobile Battery Charger” ตอบรับยุคเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จากความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Read More

“QTC” พร้อมรับมือไวรัสโควิด-19 เดินหน้าคุยพันธมิตร ล่าสุดปิดดีลเซ็น MOU “LONGi Solar” รุกธุรกิจพลังงานขายแผงโซลาร์เซลล์

บมจ.คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ หรือ QTC ระบุปัญหาไวรัสโควิด-19 ระบาด กระทบการส่งสินค้าล่าช้าเล็กน้อย ด้าน CEO “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” ประกาศเดินหน้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเซ็น MOU บริษัท LONGi Solar Technology Co., Ltd. ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบ Monocrystalline อันดับหนึ่งของโลก ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ และให้บริการหลังการขาย หวังเพิ่มช่องทางการขยายธุรกิจพลังงาน รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) นายพูลพิพัฒน์ ตันธนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ QTC ผู้ผลิตจัดจำหน่ายและให้บริการหม้อแปลงไฟฟ้า เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID -19 ในปัจจุบัน บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัย และห่วงใยเรื่องสุขภาพของบุคลากรภายในองค์กร โดยบริษัทฯ ได้มีแนวทางปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 อาทิ

Read More

โซลาร์เซลล์ครัวเรือน แสงสะท้อนความตื่นตัวของภาครัฐ

ในที่สุดนโยบายพลังงานทดแทนของรัฐบาลชุดปัจจุบันมีความชัดเจนขึ้น เมื่อกระทรวงพลังงานจัดทำกรอบนโยบายโครงการโซลาร์ภาคประชาชนเสร็จสิ้นเมื่อปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังออกข้อกำหนดกฎระเบียบเพื่อออกเป็นประกาศสำหรับการซื้อขายไฟฟ้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นภาคครัวเรือนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดตัวโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” นำร่อง 100 เมกะวัตต์แรกที่เจ้าของบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยซึ่งเข้าร่วมโครงการ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะรับซื้อในส่วนที่เหลือใช้เข้าสู่ระบบในราคาไม่เกิน 1.68 บาทต่อหน่วย ซึ่งมีระยะเวลารับซื้อ 10 ปี พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจลงทะเบียนและรับข้อเสนอในเดือนพฤษภาคม 2562 การเปิดตัวโครงการของกระทรวงพลังงานน่าจะทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ตระหนักและเห็นคุณค่าของพลังงานทางเลือกและดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาบ้านของตัวเองยิ้มออก เมื่อโครงการดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาครัฐต่อนโยบายพลังงานทดแทน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ท่าทีของกระทรวงพลังงานสร้างความไม่พอใจให้แก่นักลงทุนไม่น้อย เมื่อภาครัฐกลับลำให้ชะลอการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในช่วงเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2562-2565) โดยมีเหตุผลว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ซึ่งดูจะสวนทางกับความพยายามที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ความไม่พอใจของนักลงทุนที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากก่อนหน้านี้มีการออกนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ที่ภาครัฐเคยประกาศใช้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานหลักของประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันได้ในอนาคต เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในประเทศ และเพื่อวิจัยพัฒนาส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทนสัญชาติไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดสากล นั่นทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาลงทุนกับโครงการพลังงานทางเลือก ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ แต่ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก นักวิเคราะห์หลายคนให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวและใช้คำว่า “ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน” เพื่อปลอบใจตัวเอง ทั้งนี้ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการโซลาร์ภาคประชาชนว่า

Read More

บ้านปู อินฟิเนอร์จี ส่องสว่างอนาคตเยาวชนไทยด้วยพลังงานสะอาดในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเรียนรู้ ปูรากฐานสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน

หลังจากที่ได้เปิดตัวบริษัทฯ อย่างเป็นทางการไปเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา บริษัท บ้านปู อินฟิเนอร์จี จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการด้านการวางระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร One Stop Service ด้วยเทคโนโลยีสะอาดและทันสมัย เดินหน้าสานต่อเจตนารมณ์ด้านการพัฒนาสังคมของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิด “พลังความรู้ คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา” เสริมสร้างรากฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม โครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเรียนรู้ “LIGHT & LEARN” โดยนำความเชี่ยวชาญด้านการผลิตและการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มาช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศสำหรับชุมชนไทยภูเขา อันจะเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างต้นทุนทางปัญญาที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของชุมชนในระยะยาวได้อย่างแท้จริง โครงการพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเรียนรู้ “LIGHT & LEARN” มุ่งเน้นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนในชุมชนที่ห่างไกลและขาดแคลนไฟฟ้าในศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง จังหวัดตาก โดยทีมงานจาก บ้านปู อินฟิเนอร์จีฯ ได้เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ ออกแบบระบบให้เหมาะสมกับพื้นที่และกำลังการใช้สอย ตลอดจนทำการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมแบตเตอรี่ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่โรงเรียนในโครงการฯ ที่ยากต่อการเข้าถึงและขาดแคลนไฟฟ้าให้มีไฟฟ้าใช้ได้ตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังมอบและติดตั้งจานดาวเทียมและโทรทัศน์ เพื่อเป็นสื่อในการเข้าถึงข้อมูลการเรียนรู้ในการศึกษาทางไกล ซึ่งเป็นหนทางไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชน ให้ก้าวไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในภายภาคหน้า นางสมฤดี ชัยมงคล

Read More