Home > ฝรั่งเศส

ปี François Mitterrand

Column: From Paris เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) เคยกล่าวระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกและรอบสองในปี 2017 ว่า แนวทางที่เขาต้องการบริหารฝรั่งเศสเป็นแนวทาง gaullo-mitterrandien กล่าวคือ แนวทางตามแบบประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกล (Charles de Gaulle) และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ด้วยเหตุนี้ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงจึงอุทิศปี 2020 เป็นปีชาร์ลส์ เดอ โกล จัดงานรำลึกถึงชาร์ลส์ เดอ โกลในวาระต่างๆ กล่าวคือ วันที่ 18 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบ 80 ปีที่นายพลชาร์ลส์ เดอ โกลประกาศตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่กรุงลอนดอน และเรียกร้องให้ชาวฝรั่งเศสลุกขึ้นต่อสู้พวกเยอรมันที่เข้าครอบครองประเทศ ชาวฝรั่งเศสหลายพันคนเดินทางไปสมทบกับนายพลเดอ โกล เพื่อก่อตั้งกองกำลังปลดแอกที่เรียกว่า Résistance อีกทั้งรำลึกถึงวันที่นายพลเดอ โกลประกาศแก่ชาวฝรั่งเศสว่า กรุงปารีสได้รับการปลดปล่อยแล้วในวันที่ 25 สิงหาคม

Read More

นิทรรศการ Paris romantique 1815-1848

Column: From Paris Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอ็กซ์โปนานาชาติปี 1900 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts de la Ville de Paris ขึ้นกับเมืองปารีส ในฤดูร้อนปี 2019 จัดนิทรรศการ Paris romantique 1815-1848 ปารีสโรแมนติก ระหว่างปี 1815-1848 อันช่วงที่นโปเลอง (Napoléon) หมดอำนาจจนถึงช่วงปฏิวัติปี 1848 Paris romantique 1815-1848 สะท้อนกรุงปารีสระหว่างปี 815-1848 ทั้งด้านสังคม ศิลปะ และความคิดอ่าน นิทรรศการนี้นำผลงานกว่า 600 ชิ้นมาแสดง มีทั้งภาพเขียน ประติมากรรม เครื่องเรือน objets d’art สะท้อนความเคลื่อนไหวด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการเมืองในยุคนั้น เริ่มจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuileries) ซึ่งเป็นพระราชวังที่กษัตริย์หลุยส์ 18

Read More

Notre-Dame de Paris, De Victor Hugo à Eugène Viollet-le-Duc

Column: From Paris ไฟไหม้ใหญ่วิหาร Notre-Dame de Paris ในวันที่ 15 เมษายน 2019 สร้างความตกตะลึงและปวดร้าวแก่ชาวฝรั่งเศสและประชาชนทั่วโลก เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความเสียหายแก่วิหารแห่งนี้อย่างมาก ลูกศร Flèche ซึ่งเป็นผลงานของ Viollet-le-Duc ไหม้ถล่มลงบนหลังคาวิหาร หลังจากนั้นเกิดการถกเถียงกันว่าจะสร้าง Flèche ตามรูปแบบเดิมหรือจะเปลี่ยนให้เข้ากับสมัย สถาปนิกหลายคนออกแบบให้ดู บางแบบสวยมหัศจรรย์ แต่ดูเหมือนไม่เข้ากับรูปแบบสถาปัตยกรรมของวิหาร จนในที่สุด ประธานาธิบดี Emmanuel Macron ได้ประกาศว่ายังคงรูปแบบเดิม ไฟไหม้ครั้งนั้นทำให้โบราณวัตถุในห้องใต้ดินของวิหาร Crypte archéologique ได้รับความเสียหายจากควันไฟ จนต้องมีการจัดระบบกันใหม่ Crypte archéologique ได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้อีกตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2020 พร้อมกับจัดนิทรรศการ Notre-Dame de Paris, de Victor Hugo à Eugène Viollet-le-Duc เล่าความเป็นมาของวิหารจาก Victor

Read More

Rimbaud-Verlaine

Column: From Paris Panthéon เป็นอาคารสไตล์ neo-classique ในเขต 5 (5ème arrondissement) ของกรุงปารีส ในย่าน Quartier latin และอยู่บนเขา Sainte-Geneviève ในศตวรรษที่ 18 เป็นโบสถ์ แต่พอยุคปฏิวัติ ให้เป็นสถานที่เชิดชูบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ยกเว้นทหารที่มีสถานที่ลักษณะเดียวกันนี้ที่ Hôtel des Invalides ใน Panthéon จึงมีโลงศพของบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ Pierre และ Marie Curie ผู้ร่างกฎบัตรสิทธิมนุษยชน René Cassin ผู้คิดอักษร Braille (บราย) สำหรับคนตาบอด Louis Braille นักการเมือง Jean Jaurès ผู้เข้าร่วมขบวนการปลดแอกฝรั่งเศสจากการยึดครองของเยอรมัน (Résistance) Jean Moulin นักเขียนดังได้เข้า Panthéon หลายคน

Read More

สถานการณ์ Covid-19

Column: From Paris Convid-19 นี่ร้ายจริงๆ ร้ายกว่าที่ใครๆ จะคาดคิด การระบาดที่รุนแรงทำให้เกิดการปิดประเทศทั่วโลก นอกจากวิกฤตด้านสาธารณสุขแล้ว ยังเกิดวิกฤตด้านเศรษฐกิจและสังคม ใช่แต่ไทย เศรษฐกิจฝรั่งเศสก็อิงการท่องเที่ยวด้วย เมื่อปราศจากนักท่องเที่ยวเสียแล้ว ธุรกิจแฟชั่นและสินค้าหรู โรงแรม ร้านอาหารต่างได้รับผลกระทบหมด การท่องเที่ยวฝรั่งเศสพึ่งนักท่องเที่ยวจากจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ฝรั่งเศสล็อกดาวน์ประเทศเป็นเวลา 2 เดือน ใครสายป่านสั้นก็หมดลมหายใจ เมื่อเลิกล็อกดาวน์ สิ่งที่เห็นทั่วไปคือร้านค้าหลายแห่ง โดยเฉพาะร้านอาหารถือโอกาสปรับปรุงร้านเพื่อเปิดใหม่ให้สดใสยิ่งขึ้นและเพื่อรองรับมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขจำนวนไม่น้อยปิดตัวถาวรเลย เห็นได้ชัดในย่านที่เคยคับคั่งด้วยนักท่องเที่ยว แถววิหาร Notre-Dame de Paris ร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกไม่มีทีท่าว่าจะเปิดใหม่ ร้านอาหารขนาดใหญ่ริมแม่น้ำแซน (Seine) ประกาศเซ้งร้าน ย่าน Saint-Germain-des-Prés แถวถนน rue Guisarde ซึ่งอยู่ในละแวกโบสถ์ Saint-Sulpice ร้านอาหารหลายแห่งปิดเงียบ ให้เสียดายร้านอาหารอิตาเลียน Alfredo Positano ที่เคยมีลูกค้าคับคั่ง กลับปิดตาย แต่อีกหลายร้านกลับมาเปิดใหม่อย่างคึกคัก ด้วยว่าปิดถนน แล้วตั้งโต๊ะกลางถนนเลย เหลือทางเดินนิดหน่อย เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสอนุมัติให้ร้านอาหารเปิดบริการได้ โดยต้องรักษาระยะห่างระหว่างโต๊ะ แรกทีเดียวให้แต่ละโต๊ะตั้งห่าง 2

Read More

นิทรรศการ Paris romantique 1815-1848

Column: FROM PARIS Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอ็กซ์โปนานาชาติปี 1900 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts de la Ville de Paris ขึ้นกับเมืองปารีส ในฤดูร้อนปี 2019 จัดนิทรรศการ Paris romantique 1815-1848 ปารีสโรแมนติก ระหว่างปี 1815-1848 อันเป็นช่วงที่นโปเลอง (Napoléon) หมดอำนาจจนถึงช่วงปฏิวัติปี 1848 Paris romantique 1815-1848 สะท้อนกรุงปารีสระหว่างปี 1815-1848 ทั้งด้านสังคม ศิลปะ และความคิดอ่าน นิทรรศการนี้นำผลงานกว่า 600 ชิ้นมาแสดง มีทั้งภาพเขียน ประติมากรรม เครื่องเรือน objets d’art สะท้อนความเคลื่อนไหวด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการเมืองในยุคนั้น เริ่มจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuileries) ซึ่งเป็นพระราชวังที่กษัตริย์หลุยส์ 18 และชาร์ลส์

Read More

พิพิธภัณฑ์ในสถานการณ์ Covid-19

Column: From Paris เมื่อ Covid-19 เริ่มระบาดในฝรั่งเศส แปลกใจที่เห็นโรงภาพยนตร์และพิพิธภัณฑ์ยังเปิดให้บริการอยู่ จนประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ให้ประชาชนเก็บตัวอยู่แต่ในที่พักอาศัย และปิดสถานบริการทั้งมวล ยกเว้นซูเปอร์มาร์เกต ไฮเปอร์มาร์เกต และร้านที่ขายสินค้าบริโภค พิพิธภัณฑ์ก็อยู่ในข่ายที่ต้องปิดด้วย เสียดายก็แต่บรรดานิทรรศการจรที่ลงทุนลงแรงจัด ก็ต้องยกเลิกไป ไม่ว่าจะเป็น Turner ที่ Musée Jacquemart–André ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม-20 กรกฎาคม Monet, Renoir, Chagall … voyages en Méditerranée ที่ La Halle–Atelier des Lumières ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-31 ธันวาคม Otto Freundlich–La révélation de

Read More

ผลกระทบจาก Covid-19

Column: FROM PARIS ยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟู นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเต็มกรุงปารีส แล้วก็มาถึงยุคจีนเปิดประเทศ และเศรษฐกิจเติบโต ชาวจีนพ้นจากความยากจน เริ่มอยากใช้เงิน จึงสรรหาสินค้าต่างประเทศ แล้วพัฒนาไปถึงสินค้าแบรนด์เนม นักท่องเที่ยวจีนคลาคล่ำเต็มห้างสรรพสินค้าในกรุงปารีส และบูติกแบรนด์เนมทั้งหลาย แรกทีเดียว บรรดาแบรนด์เนมรังเกียจนักท่องเที่ยวชาวจีน หลุยส์ วุตตง ถึงกับขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวจีนคนละหนึ่งชิ้นเท่านั้น เพราะเกรงชาวจีนซื้อไปก๊อบปี้ออกมาขาย ทำเอานักท่องเที่ยวจีนมองหาใครก็ได้ที่จะอนุเคราะห์ซื้อให้ เคยได้รับการทาบทามขณะเดินเล่นในห้างกาเลอรีส์ ลาฟาแยต แต่ปฏิเสธไป กาลเวลาผ่านไป จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้มีกำลังซื้ออย่างแท้จริง แบรนด์เนมทั้งหลายจึงเปิดกว้าง ซื้อได้ไม่อั้น ตามห้างสรรพสินค้า ชาวจีนเข้าแถวรอซื้อแบรนด์เนม ยี่ห้อยอดนิยมคือ หลุยส์ วุตตง ชาแนล กุชชี รองลงมาคือลงชองป์ นอกจากสินค้าแฟชั่นแล้ว การหลั่งไหลมาของนักท่องเที่ยวจีนยังประโยชน์แก่ธุรกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมและร้านอาหาร เมื่อเกิดโรคระบาด Covid-19 จีนปิดประเทศ ห้ามชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ นั่นย่อมกระทบเศรษฐกิจโลก ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจีน เมื่อไร้ซึ่งชาวจีนแล้ว ห้างร้านเงียบเหงา เศรษฐกิจฝรั่งเศสเสียหายถึงสองพันล้านยูโร ห้างสรรพสินค้ากาเลอรีส์ ลาฟาแยตรับทัวร์เป็นหลัก จึงเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจีนในทุกแผนก มากจนต้องจัดแผนกรับลูกค้าชาวจีนโดยเฉพาะ ในวันนี้กาเลอรีส์ ลาฟาแยตหาหน้าเอเชียแทบไม่ได้เลย ห้างจึงค่อนข้างร้างจนน่าตกใจ

Read More

แบร์นารด์ กาซเนิฟ ความหวังของพรรคสังคมนิยม

Column: From Paris เมื่อครั้งเกิดการก่อร้ายในกรุงปารีสในเดือนพฤศจิกายน 2015 ซึ่งเกิดในหลายจุด จุดแรกที่สนาม Stade de France ซึ่งกำลังมีการแข่งฟุตบอลกระชับมิตรระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ประธานาธิบฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ไปชมด้วย เห็นภาพเจ้าหน้าที่ไปกระซิบฟรองซัวส์ โอลลองด์ ซึ่งลุกไปรับฟังสถานการณ์ และกลับมานั่งชมการแข่งขันต่อจนจบ เพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต ระหว่างการแข่งขันมีเสียงระเบิดนอกสนาม แต่ผู้คนในสนามเข้าใจว่ามีการจุดประทัด อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หากมีการแข่งฟุตบอลนัดสำคัญ จึงไม่ได้เอะใจ ฟรองซัวส์ โอลลองด์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเลือกที่จะไม่ประกาศเลิกการแข่งขัน เพราะเกรงจะเกิดความโกลาหล และอาจเกิดวามเสียหายถึงชีวิตก็ได้ ความตื่นตกใจอาจทำให้เหยียบกันตายได้ ในตัวกรุงปารีสเองผู้ก่อการร้ายบุกเข้าไปยิงผู้ที่กำลังชมคอนเสิร์ต Eagles of Death Metal ในโรงมหรสพ Bataclan อีกทั้งร้านอาหารในบริเวณใกล้เคียง เป็นการก่อร้ายที่รุนแรงมาก มีผู้เสียชีวิตนับ 100 คน อีกทั้งผู้บาดเจ็บอีกมากมาย ชาวฝรั่งเศสชื่นชมการบริหารวิกฤตการณ์ของประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ และรัฐมนตรีมหาดไทย แบร์นารด์ กาซเนิฟ (Bernard Cazeneuve) เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นความเงียบ สุขุมของรัฐมนตรีผู้นี้ และคิดว่าแบร์นารด์

Read More

ชองป์เซลีเซส์อาดูร

Column: From Paris ถนนชองป์เซลีเซส์ (avenue des Champs-Elysées) เป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีสที่ชาวฝรั่งเศสภาคภูมิใจ จุดเด่นอยู่ที่ประตูชัย (Arc de triomphe) ด้านหนึ่ง ซึ่งข้างใต้มีหลุมฝังศพของทหารนิรนาม และมีเพลิงไฟที่จุดอยู่ตลอดเวลา ณ ที่นี้เป็นสถานที่รัฐบาลฝรั่งเศสประกอบพิธีรำลึกที่เกี่ยวกับทหาร นอกจากนั้นชองป์เซลีเซส์ยังเป็นถนนที่ประธานาธิบดีทุกคนที่เมื่อได้รับมอบตำแหน่งแล้วจะนั่งรถยนต์ออกมาพบปะกับประชาชนที่มารอเฝ้าชมโฉมหน้าประธานาธิบดีคนใหม่ ประธานาธิบดีบางคนลงจากรถเพื่อไปสัมผัสมือกับประชาชน สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าแก่หน่วยรักษาความปลอดภัย เมื่อถึงวันชาติฝรั่งเศส 14 กรกฎาคม จะมีการสวนสนามไปตามถนนชองป์เซลีเซส์ ไปจบสิ้นที่ปลาซ เดอ ลา กงกอร์ด (Place de la Concorde) อันเป็นที่ตั้งปะรำพิธี และเมื่อมีการฉลองที่เป็นความยินดีของชาวฝรั่งเศสทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นวันฉลองปีใหม่ การรวมตัวเพื่อแสดงความยินดีที่ฝรั่งเศสได้เป็นแชมป์บอลโลก หรือการแห่ถ้วยบอลโลกล้วนแต่มาที่ชองป์เซลีเซส์ทั้งสิ้น การแข่งจักรยาน Tour de France จะมาสิ้นสุดที่ชองป์เซลีเซส์ หรือแม้แต่การรวมตัวในวาระต่างๆ ถนนชองป์เซลีเซส์ก่อสร้างในยุคสมัยของกษัตริย์หลุยส์ 14 ที่ประสงค์จะเดินทางจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Palais des Tuileries) ไปยังแวร์ซายส์ (Versailles) ได้สะดวก เพราะกำลังก่อสร้างปราสาทที่แวร์ซายส์อยู่

Read More