Home > ซีเรีย

ฤๅกำลังเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 ?

  ข่าวการลอบสังหารเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำตุรกีอย่างอุกอาจ ขณะกำลังกล่าวสุนทรพจน์เปิดนิทรรศการศิลปะ “รัสเซียในมุมมองของชาวเติร์ก” (Russia as seen by Turks) ภายในหอศิลป์กลางกรุงอังการา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงเหตุรถบรรทุกพุ่งเข้าชนตลาดคริสต์มาสกลางกรุงเบอร์ลิน กำลังส่งสัญญาณและสร้างความหวั่นวิตกในระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง เพราะในขณะที่รัฐบาลรัสเซียและตุรกี พยายามเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้เป็นปกติอีกครั้งหลังจากที่ทั้งสองประเทศมีเหตุบาดหมางกัน จากกรณีที่ตุรกียิงเครื่องบินรบของรัสเซียตกใกล้พรมแดนซีเรีย เมื่อปีที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้รัสเซียออกมาตรการคว่ำบาตรและกดดันตุรกีหลากหลาย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นการตอบโต้ เหตุการณ์ยิงสังหารเอกอัครราชทูตรัสเซียครั้งนี้ เกิดขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังการประท้วงใหญ่ในตุรกี ซึ่งผู้ประท้วงคัดค้านการที่รัสเซียเข้าแทรกแซงในซีเรียด้วย ทำให้ผู้นำของทั้งตุรกีและรัสเซียต้องออกมาแถลงยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ โดยต่างระบุว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นความจงใจที่จะยั่วยุและทำลายให้เกิดความร้าวฉานระหว่างรัสเซียและตุรกี ซึ่งความพยายามที่ว่านี้จะไม่มีวันสำเร็จ ขณะที่ Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย แถลงผ่านโทรทัศน์ระบุว่า เหตุดังกล่าวเป็นการยั่วยุที่มุ่งขัดขวางการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติที่กำลังดำเนินอยู่ รวมทั้งขัดขวางกระบวนการไปสู่สันติภาพในซีเรียด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม คณะเจ้าหน้าที่สืบสวนจากรัสเซียจะเดินทางไปยังตุรกี เพื่อร่วมสอบสวนกรณีดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ก่อนหน้านี้ ทั้งรัสเซียและตุรกีได้ร่วมมือกันเพื่อหาทางอพยพผู้คนออกจากเมืองอเลปโปของซีเรีย ควบคู่กับความพยายามที่จะนัดหารือครั้งสำคัญระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย ตุรกี และอิหร่าน เรื่องสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย เพื่อแสวงหาหนทางในการยุติภาวะสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานในซีเรีย ซึ่งมีรายงานว่า การหารือดังกล่าวจะยังคงเดินหน้าต่อไป แม้จะเกิดเหตุยิงทูตรัสเซียขึ้นก็ตาม ข่าวร้ายว่าด้วยการก่อร้ายในยุโรปไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านี้ หากแต่ในวันเดียวกันนี้ ด้วยเวลาไล่เลี่ยกันไม่ถึงชั่วโมง ก็เกิดเหตุรถบรรทุกวิ่งเข้าชนฝูงชนที่กำลังจับจ่ายและซึมซับบรรยากาศของตลาดคริสต์มาสกลางกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและทางการรัฐบาลเยอรมนีประเมินปรากฏการณ์นี้ให้มีสถานะเป็นการก่อการร้าย ขณะที่ยังไม่สามารถควบคุมตัวผู้ก่อเหตุได้ การโจมตีครั้งล่าสุดนี้ นอกจากจะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ก่อการร้ายครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายทศวรรษของเยอรมนีแล้ว ยังทำให้หลายฝ่ายนึกย้อนไปถึงเหตุโจมตีที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส

Read More

ปัญหาเรื่องการแต่งงานในค่ายลี้ภัยของชาวซีเรีย

 เมื่อเดือนที่แล้วได้กล่าวถึงปัญหาด้านจิตใจของเด็กซึ่งมีผลกระทบมาจากสงครามในซีเรีย ในฉบับนี้จะขอพูดถึงปัญหาการแต่งงานที่เกิดขึ้นภายในค่ายลี้ภัยของชาวซีเรียในประเทศจอร์แดน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องของการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย การแต่งงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการหย่าร้างที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ที่ค่ายลี้ภัย Zaatari ซึ่งเป็นค่ายลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดของชาวซีเรียอยู่ในประเทศจอร์แดน ค่ายนี้มีชาวซีเรียตั้งแต่เด็กไปจนถึงคนแก่เป็นจำนวนมากที่ลี้ภัยจากสงครามมาอยู่ที่นี่ และเพราะมีคนจำนวนมากย้ายมาอยู่ที่นี่ จึงไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ที่พ่อแม่หลายๆ คนต้องการให้ลูกแต่งงานกับคนที่ได้พบเจอกันในค่ายลี้ภัยแห่งนี้ เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องอยู่ที่นี่ไปอีกนานเท่าไหร่การแต่งงานที่เกิดขึ้นในค่ายลี้ภัยแห่งนี้ ทำให้เกิดปัญหาหลักๆ 3 เรื่องด้วยกัน ปัญหาแรกที่เกิดขึ้นคือ การบังคับให้เด็กแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างที่เราทราบกันดีว่า การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กนั้นเป็นเรื่องที่พ่อแม่บังคับให้เด็กผู้หญิงแต่งงานทั้งๆ ที่พวกเธออาจจะไม่ต้องการแต่งงาน และเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ไม่สามารถตัดสินใจได้เองว่าต้องการที่จะแต่งงานหรือไม่ สิ่งเดียวที่พวกเธอทำได้คือการเชื่อฟังพ่อแม่ ดังนั้นพ่อแม่ส่วนใหญ่จึงบังคับลูกสาวให้แต่งงานเมื่อตัวเองเห็นว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วและได้เลือกคนที่เหมาะสมไว้ให้ การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรีย The United Nations Children’s Fund (หรือที่เรียกย่อๆ ว่า UNICEF) ได้มีการเปิดเผยข้อมูลทางสถิติว่า มีเด็กผู้หญิงชาวซีเรียอย่างน้อย 3% ที่แต่งงานตอนอายุ 15 ปี และอีกประมาณ 13 % ที่แต่งงานตอนอายุ 18 ปี ซึ่งการบังคับให้เด็กแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยอยู่นี้เป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในเขตชนบท โดยเฉพาะในเขตชนบททางตอนใต้ซึ่งถือว่า การแต่งงานตั้งแต่ยังเด็กนั้นเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมา ในประเทศซีเรีย เด็กผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป และเด็กผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่

Read More

ปัญหาทางจิตใจของเด็กๆ ผลกระทบที่เกิดจากสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย

 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมปีที่แล้ว ได้เกิดเหตุการณ์การต่อสู้อย่างรุนแรงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1,300 คนเป็นอย่างน้อยภายในเวลาหนึ่งวัน เหตุการณ์นี้เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อประธานาธิบดี Bashar Al-Assad ได้สั่งการให้กองทัพทิ้งระเบิดเพื่อปราบปรามกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในเขตเมืองกัวตาห์ (Ghouta) ซึ่งเป็นเขตชานเมืองของกรุงดามัสกัส (Damascus) เมืองหลวงของประเทศซีเรีย (Syrian Arab Republic) หลังจากการสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยืดเยื้อมานานกว่า 29 เดือนแล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้ถือว่าเป็นสงครามกลางเมืองของประเทศซีเรียที่ใช้ความรุนแรงมากที่สุด  ชนวนเหตุของสงครามกลางเมืองในซีเรียเริ่มขึ้นจากการที่ประชาชนในหลายประเทศของกลุ่มตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกาเหนือได้ลุกขึ้นประท้วงรัฐบาลของตัวเอง เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีลงจากตำแหน่ง หลังจากที่ผูกขาดอำนาจในประเทศมานานหลายทศวรรษ การเรียกร้องในครั้งนี้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2553 เป็นต้นมา เริ่มตั้งแต่ประเทศตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และเยเมน เป็นต้น ประเทศซีเรียเองก็เป็นหนึ่งประเทศในตะวันออกกลางที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องในครั้งนี้เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้เรียกว่า Arab Spring (อาหรับสปริง หรือการปฏิวัติในประเทศอาหรับ) สงครามกลางเมืองซีเรียในครั้งนี้ยังคงดำเนินต่อไปและไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ จากการต่อสู้ในครั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม ปี 2556 มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด73,455 ราย

Read More