Home > กองทุน

โอเพ่นสเปซ พร้อมผลักดันสตาร์ทอัพไทย เดินหน้าเพิ่มการลงทุนร่วมเสริมแกร่งอนาคตเทคโนโลยีไทย

โอเพ่นสเปซ (Openspace) กองทุนชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการยกระดับการเติบโตของสตาร์ทอัพในประเทศไทย พร้อมเผยวิสัยทัศน์ของบริษัทเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทย มุ่งผนึกกำลังกับสถาบันต่าง ๆ ในภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงผู้ร่วมลงทุน และชุมชนสตาร์ทอัพ เพื่อปลดล็อคศักยภาพของประเทศไทยในด้านเทคโนโลยีและส่งเสริมอีโคซิสเต็มที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โอเพ่นสเปซ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 ปัจจุบันเป็นกองทุนชั้นนำที่บริหารจัดการเงินทุนเกือบ 30,000 ล้านบาท ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุม 6 ตลาดหลัก ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โอเพ่นสเปซ ได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ลงทุนสำคัญในวงการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพอย่างรวดเร็ว ด้วยการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำมากกว่า 60 แห่งทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กุญแจสู่ความสำเร็จของโอเพ่นสเปซ คือการใช้ข้อมูลเชิงลึกและความเชี่ยวชาญระดับสูงของทีมงานเพื่อเสริมศักยภาพให้แก่บริษัทที่ได้เข้าลงทุนได้สร้างผลงานที่โดดเด่นพร้อมกับสร้างประโยชน์ให้กับสังคม โอเพ่นสเปซ ยังได้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยและส่งเสริมอีโคซิสเต็มอย่างต่อเนื่อง ความมุ่งมั่นนี้สะท้อนให้เห็นได้จากบทบาทของ คุณณิชาภัทร อาร์ค ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของกองทุนโอเพ่นสเปซ เวนเจอร์ส ซึ่งนอกจากบทบาทในกองทุนแล้ว ยังดำรงตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ ที่มุ่งส่งเสริมการเติบโตของประเทศไทย ได้แก่ บทบาทกรรมการสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Thai

Read More

SAA และ Life Path Choice ข้อเสนอที่ยังไร้บทสรุปจาก กบข.

ความพยายามของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่จะตอบสนองความพึงพอใจให้กับสมาชิกกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผลตอบแทนการลงทุน กำลังทำให้ กบข. ต้องแสวงหาหนทางในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุน ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องมีการแก้กฎกระทรวงที่เป็นเงื่อนบังคับการบริหารงานของ กบข. หรือแม้กระทั่งอาจขยายผลไปสู่การปรับแก้พระราชบัญญัติว่าด้วย กบข. ในอนาคตอีกด้วย มิติมุมมองเกี่ยวกับการปรับแผนการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation: SAA) ที่ได้จัดทำขึ้นใหม่ และอยู่ระหว่างการสรุปแนวทางการจัดทำแผนเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2555 และจะสามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่ต้นปี 2556 อยู่ที่การสร้างความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนสินทรัพย์การลงทุนได้ตามวงจรเศรษฐกิจ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้กับสมาชิกได้สูงขึ้น กรณีดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากการที่กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง เตรียมแก้ไขการจ่ายเงินบำนาญให้ข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ตามข้อเรียกร้องของข้าราชการที่บรรจุก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 ซึ่งไม่พอใจเงินก้อนที่ได้รับจาก กบข. หลังเกษียณ เนื่องจากเห็นว่าไม่เป็นไปตามสมมุติฐานเดิมที่ตั้งไว้ในช่วงแรกของการจัดตั้งกองทุน เหตุดังกล่าวทำให้กรมบัญชีกลางได้ข้อสรุปเพื่อยุติปัญหาต่างๆ โดยจะให้สมาชิกที่รับราชการก่อนปี 2540 สามารถเลือกได้ว่าจะรับบำนาญสูตร กบข. ต่อไป หรือจะกลับไปใช้บำนาญสูตรเดิม ตาม พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญ 2494 โดยหากสมาชิกส่วนใหญ่เลือกกลับไปใช้บำนาญสูตรเดิม แน่นอนว่าภาครัฐต้องมีภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว แต่ขณะเดียวกันมาตรการเยียวยาดังกล่าวย่อมส่งผลต่อสถานะ ภาพลักษณ์ และความเป็นไปของ กบข.

Read More