Content

ภูวเรศ กองวัฒนาสุภา มืออาชีพที่ไม่เคยมีเจ้านายเป็นคนไทย

ปี 2000 (พ.ศ.2543) ที่สุกสะหมอน สีหะเทพ ได้ก่อตั้งบริษัทมะนียม ออโต กรุ๊ปขึ้นมานั้น เป็นปีที่ภูวเรศ กองวัฒนาสุภา เพิ่งเรียนจบบัญชีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภูวเรศเป็นชาวจังหวัดแพร่ที่เข้ามาเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ 4 ปีแรก หลังเรียนจบจากรามคำแหง เขาได้เข้าไปทำงานอยู่ในฝ่ายบัญชีของบริษัทหลายแห่ง แต่ทุกแห่งไม่ใช่บริษัทของคนไทย ล่าสุดก่อนย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทำงาน อยู่ใน สปป.ลาว ภูวเรศมีตำแหน่งเป็น CFO ให้กับออกซแฟม สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ในสังกัด มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เขาทำงานกับออกซแฟมอยู่ประมาณ 10 เดือน ทางบริษัท RMA Group ได้ติดต่อมาพร้อมเสนอตำแหน่งงานใน สปป.ลาวให้กับเขา (รายละเอียดของ RMA Group สามารถหาอ่านได้จากเรื่อง “RMA Laos สำหรับฟอร์ด ขอแค่ที่ 2” นิตยสารผู้จัดการ 360° ฉบับเดือนพฤษภาคม 2554 หรือใน

Read More

ธุรกิจที่เริ่มต้นจากมินิมาร์ท

ตามความเชื่อของนักธุรกิจชาวลาวส่วนหนึ่งนิยมนำชื่อของ ภรรยามาใช้เป็นชื่อของกิจการ เพราะเขาเหล่านั้นเชื่อว่าหากทำเช่นนี้แล้วกิจการที่ตั้งขึ้น จะเจริญรุ่งเรือง สุกสะหมอน สีหะเทพ ก็เช่นกัน ชื่อ “มะนียม” ที่เขานำมาใช้เป็นชื่อกิจการในธุรกิจรถยนต์ ของเขาก็มาจากชื่อของภรรยาเขาเอง สุกสะหมอนเป็นคนปากเซ เมืองหลักของแขวงจัมปาสัก ทางภาคใต้ของ สปป.ลาว จบการศึกษามาจากเวียดนาม ช่วงที่ สปป.ลาวเริ่มเปิดประเทศ ตามวิสัยทัศน์ “จินตนาการใหม่” ของท่านไกสอน พมวิหาร ในช่วงทศวรรษ 1990 นั้น สุกสะหมอนได้เริ่มต้นธุรกิจของตัวเองด้วยการเปิดร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดในลักษณะคล้ายมินิมาร์ท แต่ด้วยความที่มีใจชอบรถยนต์เป็นการส่วนตัว เขาหารายได้ เสริมด้วยการซื้อรถใช้แล้วในลาวขณะนั้นมาจอดขายหน้าร้านมินิมาร์ท “ตอนนั้นก็ซื้อรถมาทีละคันสองคัน มาจอดโชว์ที่หน้าร้าน พอทำแล้วก็เห็นว่าไปได้ดี ก็คิดว่าน่าจะถูกกับอาชีพนี้ ก็เลยแยกออก มาทำเป็นร้านซื้อขายแลกเปลี่ยนรถ”สุกสะหมอนเคยให้สัมภาษณ์ผู้จัดการ 360 ํ เอาไว้เมื่อปลายปี 2010 (พ.ศ.2553) ปี 1995 (พ.ศ.2538) สุกสะหมอนได้ตั้งบริษัทมะนียม ออโต้ เซอร์วิสขึ้นเพื่อทำธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถ นอกจากรถมือสอง แล้วยังขายรถใหม่ด้วยการเป็นซับดีลเลอร์ให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยี่ห้อต่างๆ ที่มีอยู่ในลาวขณะนั้น “สมัยก่อนร้านขายรถในเวียงจันทน์มีอยู่

Read More

“มะนียม กรุ๊ป” เมื่อตัดสินใจก้าวขึ้นเวทีระดับภูมิภาค

ต่อไปชื่อ “มะนียม” จะยิ่งสะดุดหูคนฟังที่กำลังสนใจตลาดรถยนต์ในลาวมากขึ้นในฐานะบริษัทที่เป็นเจ้าของโชว์รูม Chevrolet ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่ในเวียงจันทน์ จากเจ้าของมินิมาร์ทเล็กๆ ที่ใจรักเรื่องรถยนต์ เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจยานยนต์ด้วยการซื้อรถเก่า มาจอดหน้ามินิมาร์ทเพื่อขายต่อ ครั้งละคันสองคันเมื่อ 17 ปีก่อน 2 ปีมานี้ มะนียม ออโต กรุ๊ปได้เข้ามาสู่ช่วงของการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ประมาณมูลค่าเม็ดเงินที่สุกสะหมอน สีหะเทพ ประธานบริษัทมะนียม ออโต กรุ๊ปได้ควักกระเป๋าลงทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) และยังมีโครงการต่อเนื่องที่ยังต้องใช้เงินลงทุนอีกจำนวนมาก มะนียม ออโต กรุ๊ป เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2000 (พ.ศ.2543) ประกอบธุรกิจเป็นผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ โดยสั่งรถจากแหล่งผลิตทั่วโลกเข้ามาจำหน่ายใน สปป.ลาว (รายละเอียดอ่าน “ธุรกิจที่เริ่มต้นจากมินิมาร์ท” ประกอบ) ด้วยสภาพตลาดรถยนต์ในลาวที่เริ่ม ขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2005 (พ.ศ.2548) ส่งผลให้กิจการของมะนียมขยายตัวสูงขึ้นตามสภาพตลาด ก่อนปี 2010 (พ.ศ.2553) ชื่อมะนียม

Read More

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด

เป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋องและอาหารแมวบรรจุกระป๋อง โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ คือปลาโอดำ (Tonggol) และปลาโอลาย (Bonito) ผลิตประมาณ 6 ตันต่อวัน หรือ 3 ล้านกระป๋อง อย่างไรก็ดี บริษัทมีบทบาทในการผลิต 2 ส่วน คือรับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) และผลิตให้กับสินค้าในเครือ แบรนด์ Chicken of the sea ในสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการผลิตอย่างละครึ่ง 50:50 ผลิตภัณฑ์ 98% จะส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศเป็นหลัก ส่งออกไปทุกทวีปทั่วโลก สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และตลาดเอเชีย ส่วนในประเทศขายเพียง 2% ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋องตราซีเล็คในน้ำมัน น้ำเกลือ และปลาทูน่าพร้อมปรุงตามสูตรอาหารไทย เช่น แกงเขียวหวานทูน่า ทูน่าผัดพริก

Read More

แรงงาน ความเสี่ยงอนาคต

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทในเครือของ บมจ.ทียูเอฟมีแรงงานพม่า เขมร จำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ จากพนักงานทั้งหมด ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต อาจกลายเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด (TUM) ก่อตั้งเมื่อปี 2520 ในจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋องและอาหารแมวบรรจุกระป๋อง เป็นบริษัทในเครือของ บมจ.ทียูเอฟ ทำหน้าที่ส่งออกสินค้า 98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 2 เปอร์เซ็นต์จำหน่ายในประเทศ จากจุดเริ่มต้นของการผลิตบริษัทมีพนักงานเพียง 120 คน แต่ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานทั้งหมด 8,000 คน ซึ่งเติบโตไปตามการขยายธุรกิจของกลุ่มทียูเอฟที่มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะรายได้เติบโตปีละ 40 เปอร์เซ็นต์ หากมองในมุมการเจริญเติบโตของธุรกิจจะเห็นว่าค่อนข้าง ดี แต่มิได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เพราะสิ่งที่กลุ่มทียูเอฟกำลังเผชิญหน้าอยู่ขณะนี้คือค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และแรงงานต่างชาติ ค่าแรงขั้นต่ำกำลังส่งผลกระทบให้ต้นทุนการบริหารงานขยับตัวสูงขึ้น ในขณะที่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในโรงงานส่วนใหญ่จะมาจากประเทศพม่าและกัมพูชา อย่างเช่นบริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม

Read More

ไกรสร จันศิริ วัย 77 ปี ยังสนุกกับการทำงาน

แม้ว่าวัยของไกรสร จันศิริ จะ 77 ปีแล้วก็ตาม แต่เขาก็ยังสนุกกับการทำงานร่วมกับธีรพงศ์ ผู้บริหารรุ่น 2 ทำให้ทุกวันนี้ เขายังทำงานอยู่ ไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือทียูเอฟ แม้วัยจะล่วงเลย 77 ปี แต่ความจำและสุขภาพของเขายังแข็งแรง ทำให้เขายังร่วมทำงานกับธีรพงศ์ จันศิริ วัย 47 ปี ทายาทคนโต และมีความสุขกับการได้เห็นความ สำเร็จขององค์กรที่สามารถไปยืนอยู่ในตลาดโลกได้อย่างภาคภูมิ จนทำให้เขาได้รับรางวัลบุคคลแห่งปี 2554 จากมูลนิธิสัมมาชีพ ชีวิตของไกรสรผู้ก่อตั้งทียูเอฟผ่านความยากลำบาก มีทั้งหยาดเหงื่อและน้ำตา เริ่มจากเป็นเด็กชงน้ำชา หุงข้าว ส่งหนังสือ พิมพ์ และพนักงานขายผ้าในสำเพ็ง แต่ด้วยความขยันขันแข็งทำให้เขาสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวเริ่มมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก่อตั้งบริษัท มีโรงงานรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ธุรกิจเริ่มต้นจากพนักงาน 150 คน ปัจจุบันมี 30,000 คน รายได้จาก 1

Read More

วิถีโกลบอลแบรนด์

บมจ.ทียูเอฟต้องใช้เวลากว่า 20 ปี เพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเอง หลังจากอยู่เบื้องหลังรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ไม่เพียงเท่านั้นยังมีเป้าหมายปั้นแบรนด์องค์กร TUF ให้ติดตลาดโลก ความใฝ่ฝันของ บมจ.ทียูเอฟที่จะมีแบรนด์เป็นของตนเอง ของไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ มีมานานเท่ากับช่วงเวลา ทำงานของเขา แม้ว่าปีนี้จะมีอายุ 77 ปีแล้วก็ตาม อาหารทะเลแช่แข็งกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เป็นสินค้าส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ โดยบริษัทรับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) ให้กับผู้ประกอบการต่างๆ เป็นสิ่งที่ไกรสรคาใจมานาน และพยายาม แสวงหาหนทางเพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเองในตลาดโลก แม้ว่า บมจ.ทียูเอฟจะมีแบรนด์จำหน่ายสินค้าในประเทศบ้างแล้วก็ตาม เช่น ฟิชโช่ (fisho) ซีเล็ค (sealect) และอาหารสัตว์ เช่น อาหารกุ้งยี่ห้อนานามิ หรือดี-โกรว์ (d-grow) หรือ Aquafeed แต่ก็จำหน่ายอยู่ในประเทศ ในขณะที่ตลาดโลกต้องมีแบรนด์ใหม่ที่ต่างออกไป ทว่าหากจะเริ่มสร้างแบรนด์ใหม่โดยไม่มีใครรู้จักอาจเป็นหนทางที่ต้องใช้เวลาไม่น้อย ดังนั้นการเข้าซื้อกิจการบริษัทในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จอยู่ในตลาด ย่อมเป็นทางลัด จึงทำให้ทียูเอฟซื้อกิจการบริษัท Van Camp Sea-foods

Read More

TUF กระหายเติบโต

บมจ.ทียูเอฟ เป็นองค์กรเริ่มต้นจากธุรกิจเอสเอ็มอีเล็กๆ ขยายไปเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่สามารถไปยึดพื้นที่ในตลาดโลกได้สำเร็จ จนทำให้บริษัทหาญกล้าวางเป้าหมายว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า จะต้องมีรายได้ทะลุกว่า 2 แสนล้านบาท กว่า 35 ปี บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF) โลดแล่นอยู่ในธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลที่มีรายได้หลักกว่า 90 เปอร์เซ็นต์มาจากต่างประเทศ ทำให้วันนี้บริษัทอยู่ในระดับ TOP 5 ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 20-25 เปอร์เซ็นต์ และเป็นผู้ผลิตปลาทูน่ารายใหญ่ที่สุดในโลก การขึ้นไปอยู่ใน TOP 5 ตลาดโลกอาจเกินความคาดหมาย หากย้อนเวลาไปสู่รุ่นก่อตั้ง ไกรสร จันศิริ วัย 77 ปี ประธานกรรมการ บมจ.ทียูเอฟ เพราะธุรกิจในช่วงเริ่มต้นเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ เป็นผู้ผลิตกุ้งสดแช่แข็งส่งออกไปฮ่องกงและมีลูกค้าต่างประเทศ รายหนึ่งกล่าวว่า “จากนี้ไปธุรกิจอาหารจะมีความสำคัญ” หลังจากนั้นธุรกิจของบริษัทเริ่มขยายรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็งทุกชนิด กุ้ง ปลา หอย ปลาหมึก ในขณะนั้นมีโรงงานผลิตอยู่ 2 แห่ง

Read More

พลิกวิถี หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน

ว่ากันว่า คน “แปดริ้ว” หรือชาวจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นเป็นนักประดิษฐ์ เพราะไม่ว่าจะเป็น “ควายเหล็ก” หรือเครื่องยนต์ “เรือหางยาว” ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวไทยในอดีต ล้วนมีจุดกำเนิดมาจากที่นี่ กลุ่มเกษตรพัฒนา ผู้คิดค้นนวัตกรรม “รถเกี่ยวนวดข้าว” ก็มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่แปดริ้วเช่นกัน รถเกี่ยวนวดข้าวได้เข้ามาพลิกวิถีชาวนาไทย จากวลีดั้งเดิมที่ว่าต้อง “หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน” เวลาลงแขกช่วยกันเกี่ยวข้าว มาสู่ธุรกิจรับจ้างเกี่ยวข้าวโดยเครื่อง จักร ชาวนาสามารถลดกระบวนการทำนาให้ใช้ระยะเวลาสั้นลง ในทางตรงกันข้าม สามารถเพิ่มผลผลิตได้ในปริมาณมากขึ้น “20 ปีที่ผ่านมา ถ้าประเทศไทยไม่ได้รถเกี่ยวข้าวจะไม่สามารถยืนเป็นอันดับ 1 ของผู้ส่งออกข้าวของโลกได้ เพราะเราไม่มีแรงงาน ไม่มีปัญญาที่จะทำให้ออกมาอย่างนี้ได้ เพราะรถเกี่ยวข้าวนี่แหละเป็นตัวหลักที่ทำให้ประเทศไทยสามารถยืนเป็น ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ได้ ขณะที่พม่าหรือเวียดนาม ก่อนหน้านี้ที่เขาไม่มีเครื่องมือยัง ใช้แรงคนอยู่ เขาจึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิต ได้” สมชัย หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัทเครื่องจักรกลเกษตรไทย ในกลุ่มเกษตรพัฒนา ให้ภาพกับ ผู้จัดการ 360 ํ จุดกำเนิดของกลุ่มเกษตรพัฒนา

Read More

เราเคยทำอะไรบ้างเพื่อรักษาแชมป์

สมชัย หยกอุบล กรรมการผู้จัดการ บริษัทเครื่องจักรกลเกษตรไทย ในเครือเกษตรอุตสาหกรรม ถ้าเราจะรักษาแชมป์ด้านการส่งออกข้าวนี่ ลำบากแน่นอน ต้องถามย้อนกลับว่า ที่ผ่านมา เราได้ทำอะไรเกี่ยวกับการรักษาแชมป์บ้าง การที่เราจะรักษาแชมป์ด้านการส่งออกนี่ เราก็ต้องดูแลเรื่องกระบวนการเพาะปลูกข้าวทั้งระบบ เรียกว่า... เราเคยไปดูไหมว่าชาวบ้านเขาปลูกข้าวกันอย่างไร เราเคยไปดูเรื่องกระบวนการจัดการเรื่องน้ำไหม เราเคยไปดูเรื่องเกี่ยวกับโรคพืชไหม เราเคยดูเรื่องของผลผลิตต่อไร่ไหม เคยมีใครเป็นเจ้าภาพในเรื่องต่างๆ เหล่านี้บ้าง แม้แต่คนที่ทำพันธุ์ข้าว ทุกวันนี้ข้าวพันธุ์ถังละ 25 บาท เกวียนละ 2.5 หมื่นบาท ทำข้าวพันธุ์ตอนนี้ลำบาก ต้นทุนสูง ทำเรียบร้อยแล้วเงินไม่มี ต้องถือไว้ 45 วัน ถึงจะไปปลูกต่อได้ พอเงินไม่มี ก็ต้องยอมขาย ไร่ละ 8 พัน ยังไม่หักต้นทุนวัตถุดิบ เราจะเป็นแชมป์ เราเคยศึกษากระบวนการที่เราจะดูแลทั้งกระบวนการนี้อย่างไร แล้วเรามาบอกเราจะเป็นแชมป์ ที่ผ่านมาเราเป็นแชมป์ได้เพราะอะไร เพราะโชคช่วย แล้วเราก็ไม่เคยคิดจะรักษาแชมป์ นักมวยยังต้องฟิตซ้อม ต้องมีตารางฝึก ต้องอดอาหาร ต้องฝึก ต้องวิ่งวันละกี่กิโล

Read More