Content

พลาสติกไทยในอาเซียน

บริษัท ดีแพค อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น หรือดีแพค (DPAC) บริษัทลูกของคิงส์แพ็ค อินดัสเตรียล จำกัด ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2550 เป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ฟิล์มและถุงพลาสติกประเภท HDPE, LDPE, LLDPE และอื่นๆ ภายใต้แบรนด์ “HERO” และ “D” ดีแพคกำหนดนโยบายไว้ว่า จะเน้นบริการด้านการขายครอบคลุมลูกค้าในทุกพื้นที่ที่บริษัททำตลาด เน้นการจัดส่งตรงตามกำหนด และมีการสำรองสินค้าให้ลูกค้า ในยามฉุกเฉิน บริษัทเชื่อว่าเป็นผลให้บริษัท เติบโตอย่างรวดเร็วจนมียอดขายเกือบ 1,000 ล้านบาทในปี 2554 ที่ผ่านมา และตั้งเป้ายอดขายเพิ่มเป็น 1,200 ล้านบาทในปีนี้ นอกจากนี้บริษัทดีแพคยังมีแนวคิดที่จะเจาะตลาดอาเซียนไปพร้อมกัน เพื่อรองรับ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC โดยมุ่งหวังที่จะเป็นบริษัทที่สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมที่ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์การใช้งาน ทวี จุลศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ ดีแพค ระบุว่า บริษัทเริ่มต้นตั้งสำนักงานตัวแทนที่พม่าและกัมพูชาเป็นแห่งแรกๆ และทำตลาดในลาว ฟิลิปปินส์

Read More

ยุทธศาสตร์แบรนด์ “เอ็มบีเค”

ปี 2556 ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ หรือที่เรียกกันติด ปากว่า “มาบุญครอง” จะมีอายุครบรอบ 30 ปี ซึ่งถ้าย้อนกลับไป เมื่อปี 2517 จากจุดเริ่มแรก บริษัท มาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด จนถึงวันนี้บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) มีธุรกิจมากถึง 8 กลุ่มธุรกิจ ขยายบริษัทในเครือมากถึง 54 บริษัท แต่ภาพลักษณ์ที่สื่อสู่สาธารณะและกลุ่มเป้าหมายกลับเข้าใจว่า เอ็มบีเค มีเพียงแค่ศูนย์การค้า โรงแรม และข้าวมาบุญครอง นั่นคือเหตุผลสำคัญในการเปิดยุทธศาสตร์ “Corporate Brand” เพื่อสร้างแบรนด์ “เอ็มบีเค” ในฐานะกลุ่มธุรกิจเพื่อการเติบโตและความสุขของชีวิตทุกวัย โดยตั้งเป้าภายใน 3 ปี ติดอันดับแบรนด์ไทยในใจของกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม สุเวทย์ ธีรวชิรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

Read More

ป๋อ ซีไหล

  ก่อนที่การถ่ายโอนอำนาจครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหนึ่งทศวรรษ ของกลุ่มผู้นำจีนจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2555 เรื่อยไปจนถึงปี 2556 ไม่มีข่าวใดสั่นสะเทือน เสถียรภาพของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมากไปกว่าชะตากรรมของชายที่มีชื่อว่า “ป๋อ ซีไหล”   ข่าวคราวเกี่ยวกับ ป๋อ ซีไหลกลายเป็นประเด็นทางหน้าหนังสือพิมพ์ต่างประเทศอย่างครึกโครมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เมื่อรองนายกเทศมนตรี นครฉงชิ่ง และมือขวาของป๋อ นาม “หวัง ลี่จวิน” พยายามหลบหนีเข้าไปในสถานกงสุลอเมริกันที่นครเฉิงตู มณฑลเสฉวนที่อยู่ติดกับฉงชิ่ง ก่อนป๋อจะสั่งให้เจ้าหน้าที่ของฉงชิ่งยกกำลังไปปิดล้อมสถานกงสุลอเมริกันเพื่อให้ส่งตัวหวัง ลี่จวินออกมา   ในความเป็นจริง สื่อมวลชน ประชาชนและคนทั่วไป ไม่มีใครทราบ “ข้อเท็จจริง” ว่าหวัง ลี่จวินเข้าไปทำอะไรในสถานกงสุลอเมริกัน มีข่าวหลุดออกมาว่าหวังขอลี้ภัยทางการเมือง เนื่องจากความขัดแย้งถึงขั้นแตกหักกับป๋อ ซีไหล ผู้เป็นนาย ทว่า แกรี ล็อก เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงปักกิ่งได้ตอบปฏิเสธคำขอลี้ภัยของหวังโดยอ้างถึงการตัดสินใจของทำเนียบขาว อย่างไรก็ตาม หลังการต่อรอง เอกอัครราชทูตอเมริกันได้ประสานไปยัง รัฐบาลกลางจีนเพื่อแก้ปัญหา โดยในที่สุดเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากรัฐบาลที่ปักกิ่ง 8 คน ก็บินมารับตัวหวังกลับไปยังกรุงปักกิ่ง   ร่ำลือกันว่า หวังในฐานะมือขวาของป๋อ ซีไหล กุมความลับต่างๆ ของป๋อและครอบครัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมาไว้มากมาย ไม่ว่าจะข้อมูลเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น ปัญหาการใช้อิทธิพลมืดเพื่อปราบปรามกลุ่มมาเฟียในนครฉงชิ่ง รวมถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจของครอบครัว ดังนั้นเมื่อหวังแตกหักกับป๋อ ข้อมูลและความลับของป๋อต่างๆ จึงถูกส่งต่อไปยังรัฐบาลกลางจีน

Read More

Arab Spring สิ้นมนต์ขลัง

การลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับผ่านไป 1 ปีแล้ว แต่ประชาธิปไตยกลับยังคงไม่อาจลงหลักปักฐานในโลกอาหรับได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น   1 ปีผ่านไปแล้ว สำหรับการลุกฮือของประชาชนในหลายประเทศในโลกอาหรับ ที่เรียกกันว่า Arab Spring ซึ่งเคยทำให้โลกต้องจับตามองภูมิภาคนี้อย่างตื่นเต้น และจินตนาการบรรเจิดว่า จะต้องได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีในโลกอาหรับ แต่มาบัดนี้ ดูเหมือนว่า Arab Spring จะไม่ได้ให้ความหวังที่งดงามเท่าที่คิด ความหวังที่จะเห็นการเกิดใหม่ของเสรีภาพในภูมิภาคตะวันออก กลาง ดูหม่นหมองลงไปมาก เมื่อเทียบกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นซึ่งมีแต่ความยุ่งยากลำบาก โดยเฉพาะในอียิปต์ ซึ่งมีทั้งการทำร้าย ชาวคริสต์ ทำร้ายเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ต่างชาติจากตะวันตก และทำร้ายผู้หญิง ยิ่งเมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีในอียิปต์กำลัง ใกล้เข้ามาทุกที เราได้เห็นผู้สมัคร 2 คนที่ล้วนแต่มาจากพรรคการ เมืองมุสลิม คือ Khairat al-Shater และ Hazem Salah Abu Ismail โดยคนแรกเป็นพวกสายกลาง ส่วนคนหลังเป็นพวกหัวรุนแรง แม้ว่าสิ่งที่เราเห็นว่ากำลังเกิดขึ้นในโลกอาหรับในขณะนี้ อาจเป็นเพียงความสับสนอลหม่านเพียงชั่วคราว ซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้ หลังจาก การสิ้นสุดยุคเผด็จการที่ครองอำนาจมานานหลายทศวรรษ และการที่เพิ่งผงาดขึ้นมาของพลังที่ถูกกดขี่ไว้มานาน แต่คำถามมีอยู่ว่า ทำไมจึงดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากนักที่ประชาธิปไตยจะลงหลักปักฐานลงในโลกอาหรับ   ศาสตราจารย์ Eric Chaney ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐ-ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Harvard ได้ทำการศึกษาที่อาจช่วยตอบ คำถามข้างต้นได้ Chaney ตั้งคำถามว่า ทำไมจึงเกิด “ประชา ธิปไตยขาดดุล” (democracy deficit) ขึ้นในโลกอาหรับ และได้หักล้างทฤษฎีหลายอย่างที่ไม่ใช่คำตอบของคำถามข้างต้น

Read More