การประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง โดยให้ปิดสถานที่ก่อสร้างและปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในสถานที่ก่อสร้าง รวมทั้งให้หยุดงานก่อสร้าง ห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายน ดูจะกลายเป็นมาตรการที่ส่งผลเป็นแรงสั่นสะเทือนสู่สังคมวงกว้าง มากกว่ามาตรการของรัฐที่เคยมีออกมาก่อนหน้าไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกกับการสั่งล็อกดาวน์ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณทลที่ออกมาควบคู่กัน
การสั่งล็อกดาวน์แบบไม่ล็อกดาวน์ตามมาตรฐานของกลไกรัฐไทยในการบริการจัดการกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ล่าสุดอยู่ที่การกำหนดมาตรการควบคุมโรคเฉพาะสำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยการสั่งห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านให้ซื้อกลับบ้านได้เท่านั้น รวมถึงการให้ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าให้ปิดบริการในเวลา 21.00 น. ขณะที่โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม เปิดดำเนินการได้ตามปกติ แต่ห้ามจัดประชุม สัมมนาหรือจัดเลี้ยง และห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันเกินกว่า 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ กำลังส่งผลกระทบด้านลบต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในสังคมไทยให้ทรุดต่ำหนักลงไปอีก
เนื่องเพราะการสั่ง “ปิดแคมป์และล็อกดาวน์” รอบใหม่ นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ต้องหยุดงานและห้ามเดินทางเคลื่อนย้ายแล้ว มาตรการดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยกลุ่มอื่นๆ ไม่น้อยเลย และกำลังส่งผลต่อชีวิตและประชาชนในวงกว้าง โดยมีการประเมินว่า การสั่ง “ปิดแคมป์และล็อกดาวน์” ครั้งนี้ คาดว่าจะมีผลกระทบต่อแรงงานไทยรวมไม่ต่ำกว่า 4.7 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีแรงงานรวมมากถึง 1.2 ล้านคนที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบในฐานะที่เป็นผู้เสมือนว่างงานหรือมีชั่วโมงการทำงานรวมน้อยกว่า 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์อีกด้วย
ข้อมูลตลาดแรงงานไทย
COVID-19lockdownปิดแคมป์ล็อกดาวน์แคมป์ก่อสร้างแคมป์คนงานโควิดโควิด-19 Read More