Home > 2020 > พฤศจิกายน (Page 6)

Rimbaud-Verlaine

Column: From Paris Panthéon เป็นอาคารสไตล์ neo-classique ในเขต 5 (5ème arrondissement) ของกรุงปารีส ในย่าน Quartier latin และอยู่บนเขา Sainte-Geneviève ในศตวรรษที่ 18 เป็นโบสถ์ แต่พอยุคปฏิวัติ ให้เป็นสถานที่เชิดชูบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ยกเว้นทหารที่มีสถานที่ลักษณะเดียวกันนี้ที่ Hôtel des Invalides ใน Panthéon จึงมีโลงศพของบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ Pierre และ Marie Curie ผู้ร่างกฎบัตรสิทธิมนุษยชน René Cassin ผู้คิดอักษร Braille (บราย) สำหรับคนตาบอด Louis Braille นักการเมือง Jean Jaurès ผู้เข้าร่วมขบวนการปลดแอกฝรั่งเศสจากการยึดครองของเยอรมัน (Résistance) Jean Moulin นักเขียนดังได้เข้า Panthéon หลายคน

Read More

แบงก์เข้มงวดสินเชื่อ ส่งอสังหาฯ ทรุดหนัก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจหลากหลายได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะที่ความกังวลใจต่อการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้สถาบันการเงินจัดวางมาตรการที่เข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นและกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการชะลอตัวในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างหนัก การหดตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่หดตัวลดลง ควบคู่กับการหายไปของกลุ่มลูกค้าต่างชาติ และการสะสมของปริมาณสินค้าในตลาดจำนวนมาก ขณะที่ปัจจัยลบที่สำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายย่อยของสถาบันการเงิน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานาน และยิ่งทวีความเข้มงวดมากขึ้นในช่วงหลังๆ นับตั้งแต่การออกมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะเดียวกันผลพวงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในประเทศหรือธุรกิจส่งออก ซึ่งทำให้ธุรกิจหลากหลายต้องปิดกิจการไป ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นพนักงานในธุรกิจเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการถูกลดเงินเดือนลงหรือขาดรายได้จากการตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาสินเชื่อเมื่อผู้บริโภคยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย กรณีดังกล่าวเห็นได้ชัดจากยอดการปฏิเสธสินเชื่อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดอัตราการปฏิเสธสินเชื่อปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับร้อยละ 50-60 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยราคา 2-3 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัย 5-7 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 30-40 ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปอัตราการปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ 10-15 ซึ่งถือว่าสูงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เป็นต้นมา ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการปฏิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูงขึ้นดังกล่าวเกิดจากผลของการเข้มงวดการพิจารณาปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน และภาระการตั้งสำรองหนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยในช่วง

Read More

‘สไปรท์’ เปิดตัว ลุคใหม่! ‘ขวดใส’ รีไซเคิลง่าย อร่อยซ่าเหมือนเดิม

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัว ‘สไปรท์’ ลุคใหม่! เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากขวดพลาสติกสีเขียวเป็นพลาสติกใสเพื่อให้สามารถนำขวด ‘สไปรท์’ ไปรีไซเคิลหลังการบริโภคได้ง่ายขึ้น พร้อมประกาศความเป็นผู้นำตลาดน้ำใสซ่าซึ่งครองใจผู้บริโภคด้วยรสชาติความอร่อยซ่าสดชื่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งสูตรออริจินอลและสูตรไม่มีน้ำตาล โดยในการปรับลุคครั้งนี้ ทางกลุ่มฯ ได้เตรียมจัดเต็มกิจกรรมทางการตลาดเพื่อตอกย้ำเรื่องรสชาติที่มอบความสดชื่นอร่อยซ่าไม่เปลี่ยนแปลงด้วย นางสาวมัณฑนา หล่อไกรเลิศ ผู้อำนวยการการตลาด บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “’สไปรท์’ เป็นแบรนด์เครื่องดื่มระดับโลกของเดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี อีกแบรนด์หนึ่ง ที่สามารถครองใจผู้บริโภคชาวไทยมาได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยตำแหน่งผู้นำตลาดน้ำอัดลมกลิ่นเลมอนไลม์ตัวจริง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากถึง 78.4%[1] ในกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำใสซ่า ซึ่งการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่จากขวดพลาสติกสีเขียวเป็นขวดใสในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ World Without Waste ที่มุ่งใช้บรรจุภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบและส่งเสริมการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด แต่ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนสีของบรรจุภัณฑ์ไป ผู้บริโภคยังคงมั่นใจได้เสมอว่า ‘สไปรท์’ ทั้งสูตรออริจินอลและสูตรไม่มีน้ำตาลที่ผู้บริโภคชื่นชอบนั้น จะยังคงรสชาติส่งมอบความสดชื่นของเลมอนไลม์ผ่านความอร่อยซ่าอันเป็นเอกลักษณ์ไว้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง” เป้าหมายหลักของโคคา-โคล่า ภายใต้วิสัยทัศน์ระดับโลก

Read More

นิเทศจุฬาฯ จัด Thailand’s Reputation Awards ประเดิมมอบรางวัลด้านชื่อเสียงแก่ 14 องค์กรธุรกิจ

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัด “Thailand’s Reputation Awards รางวัลองค์กรธุรกิจที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย” ถือเป็นการจัดโครงการมอบรางวัลครั้งแรกของคณะฯ เดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาการทางสังคม หนุนสร้างต้นแบบธุรกิจและการแข่งขันที่ยั่งยืน ต่อยอดสู่องค์ความรู้ทางวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีมอบรางวัลและโล่เกียรติยศ “รางวัลองค์กรธุรกิจที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ประจำปี 2562” (Thailand’s Reputation Awards 2019) ซึ่งถือเป็นการจัดโครงการมอบรางวัลด้านชื่อเสียงเป็นครั้งแรกของคณะนิเทศศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจไทย ให้ความสำคัญและมีการจัดการที่ดี ไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและมีคุณค่า รวมถึงเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ พัฒนาตัวชี้วัดที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับบริบททางสังคมไทยในด้านการประเมินชื่อเสียงองค์กร ความโดดเด่นของรางวัลนี้ คือ กระบวนการสรรหาและประเมินความมีชื่อเสียงขององค์กรธุรกิจผ่านกระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยที่รัดกุม เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า การวัดผลชื่อเสียงขององค์กรทั้งชื่อเสียงโดยภาพรวมและชื่อเสียงในแต่ละด้าน มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นอย่างสูงสุดตามหลักวิชาการ ซึ่งรางวัลนี้เกิดขึ้นโดยเริ่มต้นจากความร่วมมือของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาชีพ นักวิชาการ ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการประเมินความมีชื่อเสียงขององค์กร โดยทำการศึกษาวิจัยจากแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนิยาม ความหมายของชื่อเสียงองค์กร การพัฒนาชื่อเสียงองค์กรหรือการสร้างชื่อเสียงองค์กร การจัดการเกี่ยวกับชื่อเสียงองค์กร กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์องค์กร ภาพลักษณ์องค์กร ที่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเสียงองค์กร ประกอบกับการใช้แนวคิดทางการประเมินวิธีการวัดผลความมีชื่อเสียงขององค์กร เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความมีชื่อเสียงใน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านสินค้าและบริการ ด้านนวัตกรรม

Read More

น้ำยาบ้วนปากฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม?

Column: Well – Being   นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนส่วนใหญ่พากันยกระดับอนามัยส่วนบุคคลกันยกใหญ่ ตั้งแต่หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคพื้นผิวต่างๆ ราวกับเป็นมืออาชีพ และมีเจลแอลกอฮอล์ใกล้มือตลอดเวลาเพื่อป้องกันไวรัสโคโรนา กับคำถามที่ว่า น้ำยาบ้วนปากสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม? ดูจะซับซ้อนกว่าที่คุณคิด ซึ่งนิตยสาร Shape ได้ให้ข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องรู้อย่างน่าสนใจทีเดียว ได้ความคิดน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาจากไหน? บทวิจารณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Function วิเคราะห์ว่า น้ำยาบ้วนปากมีศักยภาพสามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 ในระยะแรกของการติดเชื้อได้หรือไม่ สิ่งที่นักวิจัยอธิบายคือ เชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 เป็นไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม หมายความว่ามันมีเยื่อหุ้มเซลล์อยู่ชั้นนอกซึ่งมีลักษณะเป็นไขมัน และจนกระทั่งบัดนี้วงการยังไม่ได้ถกกันว่า คุณจะมีศักยภาพในการเพียงแค่ “บ้วนปาก” (ด้วยน้ำยาบ้วนปาก) แล้วจะสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอกนี้ และทำให้ไวรัสอ่อนแรงลงขณะที่มันอยู่ในปากและลำคอของผู้ติดเชื้อได้หรือไม่ นักวิจัยให้ความสนใจผลการศึกษาครั้งก่อนๆ ที่เสนอแนะว่า ส่วนผสมร่วมที่พบในน้ำยาบ้วนปากทั่วไป คือ เอทานอล (แอลกอฮอล์), โพวิโดน-ไอโอดีน (ยาฆ่าเชื้อที่มักใช้ฆ่าเชื้อบนผิวหนังก่อนและหลังการผ่าตัด) และเซทิลพิริดิเนียม คลอไรด์ (ส่วนประกอบของเกลือที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย) ที่สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของไวรัสที่มีเปลือกหุ้มชนิดอื่นอีกหลายชนิด อย่างไรก็ตาม แต่คราวนี้เราไม่รู้ว่าองค์ประกอบที่อยู่ในน้ำยาบ้วนปากเหล่านี้จะสามารถส่งผลต่อไวรัส SARS- CoV- 2 หรือไม่ ถึงจุดนี้ต้องบอกว่าทุกอย่างยังเป็นทฤษฎี

Read More

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย รับรางวัล ‘บริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดแห่งปี’ ประจำปี 2563 จาก เอชอาร์ เอเชีย

ตอกย้ำความสำเร็จจากกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของไมโครซอฟท์ ทั้งการส่งเสริมการยอมรับสร้างความเข้าใจในความต่างเพื่อสร้างผลงานอันยอดเยี่ยม และสนับสนุนให้พนักงานสร้าง growth mindset เพื่อพัฒนาตนเอง บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับรางวัลบริษัทดีเด่นที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย โดย เอชอาร์ เอเชีย ติดต่อกันเป็นเวลาสองปีซ้อน จากความมุ่งมั่นในการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคล ด้วยการสนับสนุนกรอบแนวคิดแบบ growth mindset และการมีส่วนร่วมของพนักงานเพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องขององค์กร โดยมีนายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด รับรางวัลในงานที่จัดขึ้น ณ โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค เมื่อเร็วๆ นี้ นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผมรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ไมโครซอฟท์ได้รับรางวัลนี้ติดต่อกันเป็นเวลาสองปีแล้ว ผมขอขอบคุณ เอชอาร์ เอเชียสำหรับรางวัลในครั้งนี้ เมื่อพูดถึงพนักงานของเรา เราเชื่อว่าทุกคนและทุกความคิดมีความหมาย เราได้เรียนรู้จากคนในองค์กรกับแนวคิดแบบ growth

Read More

“มองให้ขาด มีมายด์เซ็ตที่ดี บนพื้นความรู้ที่แน่น” กูรูแนะเคล็ดลับความสำเร็จบนสนามอีคอมเมิร์ซ

“มองให้ขาด มีมายด์เซ็ตที่ดี บนพื้นความรู้ที่แน่น” กูรูแนะเคล็ดลับความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการบนสนามอีคอมเมิร์ซ ภายในงาน Lazada University: Smart Campus Day ในยุคที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซกำลังแบ่งบาน แม้ผู้ประกอบการจะมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก แต่ก็มีความท้าทายรออยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สูงขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้โลกของอีคอมเมิร์ซหมุนไปไวยิ่งขึ้น รวมไปถึงปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมอย่างโรคระบาด แล้วเราจะเอาชนะความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร ภายในงาน Lazada University: Smart Campus Day เพื่อเปิดตัว Lazada University แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ของลาซาด้าที่ปรับโฉมใหม่เพื่อช่วยเสริมศักยภาพผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีไทย ดร. ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ผู้ก่อตั้ง SOdAPrintinG.com ธุรกิจรับพิมพ์ภาพลงบนแคนวาสเพื่อเป็นของขวัญชิ้นเดียวในโลก หนึ่งในวิทยากรที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ให้คำตอบว่าการจะชนะความท้าทายได้นั้น ผู้ประกอบการต้องมองให้ออกว่าตัวเองถนัดอะไร และลูกค้าคือใครกันแน่ ดร.ธีรศานต์กล่าวว่า “คุณต้องรู้มากกว่าแค่ลูกค้าคุณคือผู้หญิง อายุ 18-35 ปี แต่ต้องรู้เจาะลงไปว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน ใช้แบรนด์อะไร สไตล์เป็นอย่างไร เพื่อที่จะเจาะกลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด และต้องรู้จักจุดแข็งตัวเองและเลือกสิ่งที่เหมาะที่สุด อย่างทุกวันนี้มีโซเชียลมีเดียและเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจมากมาย เราต้องเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ของเรา และต้องเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันให้ได้” ตัวอย่างความสำเร็จของ SOdAPrintinG

Read More

AWC จับมือสภาหอการค้า ผลักดันโครงการ “AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION” ศูนย์กลางการค้าส่งใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุด

แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จับมือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมด้วย 11 สมาคมการค้า ผลักดันโครงการ “AEC TRADE CENTER - PANTIP WHOLESALE DESTINATION” ศูนย์กลางการค้าส่งใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟรีค่าเช่า 6 เดือน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนผู้ประกอบการด้วยช่องทางการค้าส่งภายในประเทศ พร้อมเชื่อมโยงสู่ตลาดนานาชาติอย่างครบวงจร สร้างระบบนิเวศให้กับธุรกิจค้าส่งไทยอย่างยั่งยืน แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทยที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมด้วยสมาคมการค้า รวม 11 หน่วยงาน ในการผลักดันโครงการ “AEC TRADE CENTER - PANTIP WHOLESALE DESTINATION” ให้เป็นศูนย์กลางการค้าส่งใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีช่องทางการค้าส่งภายในประเทศ รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงสู่ตลาดค้าส่งนานาชาติอย่างครบวงจร ตลอดจนสร้างระบบนิเวศให้กับธุรกิจค้าส่งไทยอย่างยั่งยืน พร้อมเสริมทัพความแข็งแกร่งด้วยความร่วมมือกับ Yiwu - CCC Group

Read More

การผสานพลังจาก 5 เทคโนโลยีหลักเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Digital Hub แห่งอาเซียน

ภาวะการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญในขณะนี้ หนึ่งในกุญแจสำคัญที่อาจเป็นคำตอบสำหรับเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระดับประเทศได้คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศหรือที่เรียกกันว่า “เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)” ซึ่งนอกจากจะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยพัฒนาประเทศ ยังเปิดโอกาสให้ไทยก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลหรือ Digital Hub ของภูมิภาคอาเซียนได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การจะยกระดับศักยภาพประเทศไทยให้ไปถึงขั้นนั้นได้จำเป็นต้องอาศัยการผสานพลังจาก 5 เทคโนโลยีหลัก ทั้งนี้ นายวรกาน ลิขิตเดชาศักดิ์ รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจในไทยและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้แก่ประเทศมาตลอด 21 ปี ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของการผสานพลังของ 5 เทคโนโลยีซึ่งประกอบด้วย Connectivity, Computing, Cloud, AI และ Applications เพื่อผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ดังนี้ เทคโนโลยีแขนงแรกคือ การเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Intelligent Connectivity) เน้นการเชื่อมต่อแบบอัจฉริยะและความเร็วสูง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการนำไปใช้ในรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย ด้วยการเชื่อมต่อในความเร็วระดับมากกว่า 100 Mbps นี้ จะทำให้มีการใช้งาน

Read More

AWC เจ้าสัวเจริญมองไกล ตั้งกองทุนหมื่นล้านซื้อโรงแรม

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างมาก เพราะจากสถิติการท่องเที่ยวของไทยในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท และประมาณ 63 เปอร์เซ็นต์เป็นรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือ 1.9 ล้านล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวเป็นเครื่องยืนยันว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจำเป็นต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติ รายได้ที่หดหายไปส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมและแรงงานในภาคการบริการอย่างมาก ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมบางรายประกาศปิดกิจการชั่วคราวไปจนถึงขั้นประกาศขายกิจการ ข้อมูลจากสมาคมโรงแรมไทยพบว่า ธุรกิจโรงแรมเลิกจ้างพนักงานไปแล้วประมาณ 1 ล้านคน พร้อมทั้งวอนขอให้รัฐช่วยเหลือด้วยการออกมาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง ค่าจ้างงาน ค่าสาธารณูปโภค เมื่อยังไม่มีวัคซีนออกมาและยังไม่มีใครตอบได้ว่า การแพร่ระบาดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แม้ผู้ติดเชื้อในประเทศไทยจะอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ และคนไทยสามารถเดินทางท่องเที่ยวกันได้แล้วก็ตาม ทว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวของคนไทยยังคงเงียบเหงา อันเป็นผลมาจากการระมัดระวังในการใช้จ่าย เพราะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะเปราะบาง กำลังซื้ออ่อนแอ แม้ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยว อย่างโครงการ “เที่ยวด้วยกัน” แต่สัดส่วนที่เกิดขึ้นยังมีจำนวนไม่มาก ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่สายป่านไม่ยาวพอจำเป็นต้องตัดสินใจขายกิจการทิ้งเพื่อความอยู่รอด กระทั่งนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของกลุ่มทุน บริษัท จำกัด (มหาชน) หรือ AWC มองการณ์ไกลด้วยการจัดตั้งกองทุนที่มีวงเงินสูงถึงหมื่นล้านบาท เพื่อเตรียมซื้อโรงแรมที่มีผู้เสนอขาย วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป

Read More