สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยดูจะสามารถควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดและได้ผลดีในการยับยั้งโรคอุบัติใหม่ หากแต่ในอีกมิติหนึ่งมาตรการทางการสาธารณสุขที่ได้นำมาใช้ในครั้งนี้กลับส่งผลลบเป็น ยาแรง ที่ทำให้สังคมเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปได้รับผลสั่นสะเทือนและนำไปสู่การที่รัฐต้องออกมาตรการเยียวยาอย่างต่อเนื่อง
การประกาศต่ออายุพระราชกำหนดฉุกเฉินออกไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 ในด้านหนึ่งสะท้อนความไม่มั่นใจในศักยภาพการบริหารราชการแผ่นดินด้วยกลไกปกติของรัฐ ขณะเดียวกันมาตรการผ่อนคลายกิจการ กิจกรรมบางประเภท หรือการผ่อนคลายล็อกดาวน์ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ติดเชื้อโรคโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะให้สังคมเศรษฐกิจไทยกลับมาขับเคลื่อนอีกครั้ง หลังจากที่ต้องหยุดชะงักไปพร้อมๆ กับการควบคุมโรค
กระนั้นก็ดี การผ่อนคลายซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคมดังกล่าวจะมีการประเมินผลอีกครั้งใน 14 วัน บนฐานความคิดที่ว่าหากมีตัวเลขคงที่ของการติดเชื้อแสดงให้เห็นถึงการร่วมมือ รู้วิธีการจัดการตัวเองและกิจกรรมของตัวเอง การผ่อนคลายก็อาจจะเลื่อนลำดับในกิจกรรมที่ผ่อนคลายได้มากขึ้น แต่หากในช่วง 14 วัน มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ก็อาจจะต้องถอยหลังกลับมาเข้มงวดในมาตรการต่างๆ ในกิจกรรมและกิจการใหม่ทั้งหมด
การผ่อนคลายมาตรการของรัฐเพื่อให้ผู้ประกอบการบางส่วนสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้ต่อและประชาชนสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุขมากขึ้นนี้ ในด้านหนึ่งได้นำไปสู่ข้อกังวลในขีดความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ของรัฐ เพราะภายใต้แนวความคิดว่าด้วย ชีวิตวิถีใหม่ หรือ new normal ที่กำลังโหมประโคมให้เป็นสำนึกใหม่ของสังคมไทยนั้น ดูเหมือนว่ากลไกภาครัฐยังย่ำเดินอยู่บนวิถีเดิมว่าด้วยการออกมาตรการควบคุมและขู่บังคับ มากกว่าการเอื้ออำนวยให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่ดำเนินไป
ทัศนะคิดที่ประเมินว่าประชาชนรวมถึงผู้ประกอบการอาจอาศัยมาตรการผ่อนคลายดังกล่าวกระทำการที่ไร้ความรับผิดชอบ หรือขาดวินัย เป็นทัศนะล้าหลัง ที่นำเสนอในมิติของความปรารถนาดีที่ไร้เหตุผลและในทางกลับกันทัศนะที่ว่านี้ยังมีลักษณะดูแคลนสติปัญญาของผู้คนในสังคมอย่างไร้ความรับผิดชอบที่สุด
ความสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ดำเนินอยู่ในทุกวินาทีและมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สิ่งที่กลไกรัฐและผู้บริหารนโยบายด้านการสาธารณสุขควรให้ความสำคัญและบริหารจัดการจึงควรอยู่ที่การขยายขีดความสามารถและศักยภาพในการรองรับผู้ป่วย ควบคู่กับการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าปัจจุบันมีเตียงหรือกลไกในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อทั่วประเทศได้มากน้อยเพียงใด
ความตื่นตัวในการป้องกันและหลีกเลี่ยงที่จะเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อของผู้คนในสังคมไทยดำเนินไปอย่างกว้างขวางมาตลอดช่วงเวลาเดือนเศษของการแพร่ระบาดโควิด-19 แล้ว ความวิตกกังวลว่าการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์อาจนำไปสู่การแพร่ระบาดครั้งใหม่ในลักษณะของ
COVID-19lockdownโควิด-19 Read More