Home > 2019 > สิงหาคม (Page 2)

เศรษฐกิจถดถอย คนไทยต้องอดทน

หลังการแถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ปี 2562 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทว่าตัวเลขดังกล่าวกลับสะท้อนทิศทางการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เป็นการชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 2.8 เปอร์เซ็นต์ ครึ่งปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.6 เปอร์เซ็นต์ ฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจไทยทุกตัวอยู่ในภาวะชะงักงัน เครื่องจักรทางเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเฉกเช่นเดิม นั่นเพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายด้านทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ฟาดฟันกันด้วยกำแพงภาษีสินค้านำเข้าของทั้งสองประเทศ สร้างความไม่มั่นคงให้กับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต่อประเทศคู่ค้าอื่นๆ และทำให้ภาคการส่งออกของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นติดลบ ผู้ประกอบการสินค้าเพื่อการส่งออกจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการมองหาตลาดใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังระส่ำระสาย เพราะสงครามการค้าไม่ได้มีเพียงสองคู่อริอย่างจีนกับสหรัฐฯ เท่านั้น ยังมีสงครามการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับสหรัฐฯ เรื่องภาษีดิจิทัล และสงครามการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แม้ว่าตำแหน่งที่ไทยยืนอยู่บนเวทีโลกจะไม่สามารถเป็นคู่ชกกับประเทศใดได้ แต่กลับได้รับผลกระทบทางอ้อมจากทุกสงครามที่เกิดขึ้น สงครามการค้าที่เกิดขึ้น หลายฝ่ายอาจจะมองในแง่ที่ว่า ไทยอาจสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์เช่นนี้ ทว่าเรื่องจริงกลับไม่สวยงามดังนิยาย เมื่ออิทธิพลของสงครามการค้าขยายไปสู่ภาคการลงทุน ผู้ประกอบการที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศเหล่านี้อาจเลือกย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงพิษสงกำแพงภาษีไปยังไปประเทศอื่น และแน่นอนว่าไทยมีข้อได้เปรียบมากมายที่อาจทำให้เข้าใจว่าอาจถูกเลือกเป็นฐานการผลิตใหม่ และนั่นหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่จะตามมา รวมไปถึงการจ้างงานที่จะเกิดขึ้นด้วย ทว่า อีกครั้งที่เหมือนการดับฝันภาคอุตสาหกรรมในไทย เมื่อเวียดนามกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ ทั้งความพร้อมด้านแรงงาน พื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเตรียมปักหมุดในเวียดนาม ที่เปรียบเสมือน “ตาอยู่” ในภูมิภาคนี้ แม้ว่ารัฐบาลไทยจะพยายามชูโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อหวังให้นักลงทุน ผู้ประกอบการ เล็งเห็นศักยภาพที่ภาครัฐกำลังนำเสนอและตัดสินใจย้ายฐานการผลิต หรือลงทุนในภาคอุตสาหกรรมบนพื้นที่ดังกล่าว แต่ถึงเวลานี้ด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายประการ ทั้งความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพของรัฐบาล ค่าเงิน อาจทำให้นักลงทุนมองว่ายังมีประเทศอื่นที่น่าจะสร้างโอกาสได้ดีกว่า นอกจากสงครามการค้าปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสภาพการณ์ของเศรษฐกิจไทยแล้ว

Read More

มาตรการแจกเงินไปเที่ยว ฟื้นเศรษฐกิจหรือร่วมกันอับปาง?

ความพยายามของรัฐบาลประยุทธ์ 2/1 ในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางตัวเลขและดัชนีบ่งชี้ถึงสภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่อง กำลังเป็นภาพสะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับสังคมเศรษฐกิจไทย หลังจากที่กลไกภาครัฐพยายามโหมประโคมและเอ่ยอ้างผลงานว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวและรัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมาในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ก่อนที่หัวหน้าคณะรัฐบาลคนปัจจุบันจะออกมายอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังมีปัญหา ก็เมื่อความเป็นจริงได้เคลื่อนมาประจันหน้าแล้ว การประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้อนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง เพื่อแจกเงินคนไทยจำนวน 10 ล้านคนที่ลงทะเบียนล่วงหน้า คนละ 1,000 บาท เพื่อใช้ในการท่องเที่ยว ซื้อสินค้าท้องถิ่น รับประทานอาหาร เข้าพักในโรงแรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ข้ามจังหวัดของตัวเอง ภายใต้โครงการ “ชิมชอปใช้” โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้กับประชาชนผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) คนละ 1,000 บาท ให้ใช้จ่ายท่องเที่ยวในจังหวัดที่ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่โดยพิจารณาจากบัตรประจำตัวประชาชน โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 10 ล้านคน หรือคิดเป็นวงเงินที่จะใช้ในมาตรการนี้รวม 1 หมื่นล้านบาท และจะเปิดให้ลงทะเบียนระหว่างวันที่ 1-22 กันยายนนี้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้สั่งให้ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้ดำเนินการ พร้อมกับเปิดแอปพลิเคชันเพื่อลงทะเบียนทั้งในฝั่งประชาชนและร้านค้า นอกจากนี้ ยังมีเงินสนับสนุนเงินชดเชย หรือ cash rebate จำนวนร้อยละ 15 จากยอดการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับค่าอาหารและเครื่องดื่ม

Read More

ททท. พลิกโฉมสินค้าการท่องเที่ยว เปิดตัว “ขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทย” ดันเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานราก

ททท. พลิกโฉมสินค้าการท่องเที่ยว เปิดตัว “ขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทย” (Tourism Treasures Throughout Thailand) ดันเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานราก นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประธานการแถลงข่าว กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวไทย จึงได้สร้างกลยุทธ์ดำเนินการส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวไทยเพื่อให้ตลาดท่องเที่ยวของประเทศมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยได้สร้างเม็ดเงินและความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศกว่า 3.08 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก ทั้งนี้ ในการดำเนินงานช่วงครึ่งปีหลัง ททท. จึงพลิกโฉมกลยุทธ์การนำเสนอขายสินค้าท่องเที่ยวด้วยการเจียระไนแหล่งท่องเที่ยวเดิม และค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ภายใต้กระบวนการพัฒนาแบบ 360 องศา เพื่อเป็นการกระจายข้อมูลด้านการท่องเที่ยวใหม่ ๆ และก่อให้เกิดการเดินทางในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเปิดตัวโครงการ "ขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทย" (Tourism Treasures Throughout Thailand) ที่จะใช้เป็นแผนในการดำเนินงานของ ททท.ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ สินค้าท่องเที่ยวภายใต้กระบวนการพัฒนาแบบ 360 องศา นี้แบ่งตามประเภทสินค้าการท่องเที่ยว ได้แก่ ประเภทที่ 1

Read More

SCG จับมือ KTC เพิ่มโอกาสการเข้าถึงเงินทุนของกลุ่มช่างและผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย ผ่านบัตรเครดิต “KTC-SCG VISA Purchasing”

SCG จับมือ KTC ส่งเสริมการเติบโตธุรกิจก่อสร้าง เพิ่มโอกาสการเข้าถึงเงินทุนของกลุ่มช่างและผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อย ผ่านบัตรเครดิต “KTC-SCG VISA Purchasing” “เอสซีจี” บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของช่างและผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อยในยุคดิจิทัล ผ่านบัตรเครดิต “KTC-SCG VISA Purchasing” บัตรแรกและบัตรเดียวของไทยที่เจาะกลุ่มช่างและผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อยโดยเฉพาะ ภายใต้แนวคิด “บัตรเดียวจบ ครบทุกเรื่องช่าง” บัตรเครดิตที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กลุ่มช่างและผู้รับเหมาก่อสร้างรายย่อยสามารถซื้อสินค้าผ่านร้านผู้แทนจำหน่ายของ SCG ทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ด้วยวงเงินอนุมัติสูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย พร้อมระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยนานสูงสุด 45 วัน และรับสิทธิพิเศษอื่นๆ ทุกการใช้จ่ายบนบัตรเครดิต อาทิ คะแนนสะสม บริการผ่อนชำระ เป็นต้น นายวิโรจน์ รัตนชัยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจจัดจำหน่ายและช่องทางการค้าปลีก บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง

Read More

วิกฤตภัยแล้ง และการจัดการที่ล้มเหลว?

ภาพผืนดินแตกระแหง ชาวนานั่งกอดเข่าทอดตามองต้นข้าวยืนต้นตาย ที่เคยเป็นภาพจำในอดีต บัดนี้ภาพเหล่านั้นหวนกลับมาในโลกยุคดิจิทัล ยุคที่สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้เพียงปลายนิ้ว ยุคที่มนุษย์สามารถออกคำสั่งให้น้ำในแปลงเพาะปลูกพืช ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตามบนโลกนี้ เป็นยุคที่มนุษย์สามารถจะรับรู้และคาดการณ์ปริมาณน้ำฝน ว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะเพียงพอต่อการเพาะปลูกหรือไม่ รวมไปถึงปริมาณน้ำในเขื่อนที่จะสามารถจัดสรรสำหรับให้ประชาชนในพื้นที่ใช้อุปโภคบริโภค เป็นอีกปีที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตภัยแล้ง ที่หลายฝ่ายเตือนภาครัฐให้เฝ้าระวังและหามาตรการแก้ปัญหาความต้องการน้ำกินน้ำใช้ โดยเฉพาะสำหรับภาคการเกษตร เมื่อสถานการณ์ล่าสุดที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญคือ วิกฤตภัยแล้งที่คาดว่าจะหนักสุดในรอบ 50 ปี โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคเหนือและภาคอีสาน ที่นอกจากฝนจะทิ้งช่วงแล้วน้ำในเขื่อนหรือในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภค สมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในครั้งนี้ว่า ไทยจะเจอกับสภาพอากาศร้อนที่ยาวนานขึ้น และภัยแล้งหนักกว่าทุกปี หรือเรียกว่าแล้งผิดปกติ ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2562 ปริมาณฝนจะน้อยหรือทิ้งช่วง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังประสบกับภาวะภัยแล้ง ประเทศในแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ปากีสถาน พม่า ต่างประสบวิบากกรรมไม่ต่างกัน แน่นอนว่าภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่แต่เพียงผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรเท่านั้น ที่น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพาะปลูก เมื่อปริมาณน้ำน้อยพืชผลการเกษตรย่อมมีจำนวนน้อยลง สินค้าเกษตรบางชนิดจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด นับเป็นงานหนักสำหรับรัฐบาลที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง เมื่อต้องเข้ามาทำงานด้วยการแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ซึ่งการแก้ปัญหาภัยแล้งนอกฤดูเป็นเรื่องที่เหนือการควบคุมไม่น้อย เมื่อส่วนหนึ่งของภัยแล้งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางธรรมชาติ ทว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอนั้น เป็นเรื่องของการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด ว่าจะทำอย่างไรให้เพียงพอต่อความต้องการ เมื่อไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และพืชผลการเกษตรคือสินค้าส่งออกหลักของประเทศ ล่าสุด รัฐบาลได้ประชุมเพื่อติดตามและแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม

Read More

ไฟนอลแฟชั่นโชว์จากสองแบรนด์ดังฝรั่งเศส ELLE และ ELLE HOMME

เดินทางไปเปิดตัวให้เหล่าสาวกและแฟนคลับได้ชื่นชมกันทั่วประเทศมาแล้ว ล่าสุด ELLE (แอล) และ ELLE HOMME (แอลฮอม) แบรนด์เนมชื่อดังจากฝรั่งเศส ได้ถือฤกษ์งามยามดี จัดงาน “ELLE Paris Atelier” (แอล ปารีส อะเทริเย่ร์)” ใจกลางกรุงเทพมหานคร มหานครเมืองเอกของประเทศไทยเป็นครั้งแรก ภายใต้คอนเซปต์ “ไฟนอล โชว์ (Final Show)” เมื่อค่ำของวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2562 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น M ศูนย์การค้า เทอร์มินอล 21 อโศก กรุงเทพฯ คุณรมิดา รัสเซลล์ มณีเสถียร กรรมการบริหารและผู้อำนวยการฝ่ายบูติคสตรี บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ว่า “บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้มีแนวคิดที่จะส่งเสริมและพัฒนาผลงานการออกแบบเสื้อผ้าภายใต้แบรนด์

Read More

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย รับรางวัลบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดแห่งปี จากเอชอาร์ เอเชีย

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย รับรางวัลบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดแห่งปี จากเอชอาร์ เอเชีย ตอกย้ำพลังจาก 4 นโยบายหลักด้านทรัพยากรบุคคลของไมโครซอฟท์ ในการคำนึงถึงความสำเร็จแบบเป็นทีม การส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างและอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม การสนับสนุนการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด และการดูแลพนักงานอย่างครอบคลุม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด รับรางวัลบริษัทดีเด่นที่น่าทำงานมากที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2562 โดย เอชอาร์ เอเชีย (HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2019 – Thailand Edition) ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีนายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับรางวัลในงานที่จัดขึ้น ณ โรงแรม แบงค็อก แมริออท เดอะ สุรวงศ์ เมื่อเร็วๆ

Read More

เน็ตฟลิกซ์ ลงนามในข้อตกลงกับสภาเศรษฐกิจโลก มุ่งพัฒนาทักษะดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ในอาเซียน

เน็ตฟลิกซ์ ลงนามในข้อตกลงกับสภาเศรษฐกิจโลก มุ่งพัฒนาทักษะดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ในอาเซียน ข้อตกลงในการร่วมพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งความสร้างสรรค์ ความปลอดภัยในโลกออนไลน์ และแนวทางบริหารจัดการเพื่อความคล่องตัว เน็ตฟลิกซ์ ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับคณะทำงานด้านดิจิทัล อาเซียนของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาขีดความสามารถและทักษะด้านดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ และเตรียมพร้อมสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ข้อตกลงดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "ASEAN Digital Skills Vision 2020" โดยสภาเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและกลุ่มบริษัทเอกชน ภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกฝน พัฒนาทักษะดิจิทัลแก่แรงงาน 20 ล้านคนในอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 โครงการดังกล่าวนับเป็นภารกิจที่เร่งด่วน เนื่องจากการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในอาเซียนกว่า 56,000 คนโดยสภาเศรษฐกิจโลกพบว่า เยาวชน 52 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าพวกเขาต้องหมั่นพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในตลาดแรงงาน โดยเยาวชนผู้ตอบแบบสอบถาม ไดัจัดอันดับให้ความคิดสร้างสรรค์และศักยภาพเชิงนวัตกรรม เป็นทักษะที่สำคัญอันดับหนึ่งที่ต้องมีในอนาคต นายยู-ชวง เคว๊ก กรรมการผูัจัดการประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของเน็ตฟลิกซ์ กล่าวว่า “ในขณะที่ธุรกิจของเน็ตฟลิกซ์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราได้ร่วมมือกับรัฐบาลในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพันธมิตรร่วมอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์

Read More

นักวิจัยมช.พบพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก ‘พรหมจุฬาภรณ์’ รอต่อยอดยาต้านมะเร็ง

นักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม ได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในนครศรีธรรมราช พร้อมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเพื่อขยายพันธุ์ให้มากขึ้นและพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งต่อไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการแถลงข่าวพืชชนิดใหม่ของโลกในสกุลมหาพรหม (Mitrephora (Blume) Hook.f. & Thomson) ซึ่งได้รับพระราชทานนาม “พรหมจุฬาภรณ์” จากศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ อาคาร ๔๖ ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการภารกิจจัดสรรงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมแถลงข่าว คณะนักวิจัยนำโดย ดร.ธนวัฒน์ เชาวสกู สังกัดภาควิชาชีววิทยา

Read More

จากกรุงเทพฯ ถึงฮ่องกง บทเรียนและราคาที่ต้องจ่าย?!

การชุมนุมประท้วงของชาวฮ่องกงที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นสัปดาห์ที่ 10-11 และทวีความตึงเครียดขึ้นไปเมื่อมีการบุกรุกเข้าไปยังสนามบินนานาชาติ จนเป็นเหตุให้ต้องมีการยกเลิกเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกในช่วงก่อนหน้านี้ โดยที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะก้าวไปสู่บทสรุปสุดท้ายอย่างไร ทำให้หลายฝ่ายเริ่มประเมินถึงผลกระทบจากกรณีดังกล่าวไปในทิศทางที่เป็นลบ และกังวลว่าอาจเป็นฟางอีกเส้นที่ส่งให้เศรษฐกิจในภูมิภาคถดถอยลงกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องเพราะการชุมนุมประท้วงที่ยืดเยื้อในฮ่องกงส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจนำเงินเข้าไปลงทุนในฮ่องกงของบรรดานักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนชาวฮ่องกงโดยตรง ขณะที่การชุมนุมประท้วงที่ส่งสัญญาณความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะนำไปสู่การปิดสนามบินในช่วงกลางเดือน นับเป็นการท้าทายต่ออำนาจของทางการและรัฐบาลจีนในกรุงปักกิ่งอย่างไม่อาจเลี่ยง การชุมนุมที่มีจุดเริ่มต้นจากการคัดค้านการที่คณะผู้ปกครองฮ่องกงเตรียมนำเสนอและผ่านร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากฮ่องกงไปจีน ก่อนที่จะยกระดับไปสู่การชุมนุมที่สนามบินจนเป็นเหตุให้ต้องปิดการจราจรทางอากาศ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในฮ่องกง กลายเป็นการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สหราชอาณาจักรส่งมอบอธิปไตยของฮ่องกงคืนให้กับจีนเมื่อปี 2540 เค้าลางแห่งความไม่พึงพอใจจนนำไปสู่การชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ ในด้านหนึ่งเป็นผลพวงมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า สถานะของฮ่องกงหลังการส่งมอบคืนจีนเมื่อปี 2540 นั้น ดำเนินไปภายใต้ข้อตกลงพิเศษระหว่างจีนและสหราชอาณาจักร ที่ทำให้แม้ฮ่องกงจะเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ก็ยังมีสิทธิปกครองตนเอง แบบ “1 ประเทศ 2 ระบบ” โดยสิทธิพิเศษและเสรีภาพที่ฮ่องกงได้รับนี้จะสิ้นสุดลงในปี 2590 ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลจีนไม่ต้องการรอจนถึงเวลานั้น ขณะที่ประชาชนชาวฮ่องกงจำนวนไม่น้อยก็เริ่มกังวลใจต่ออนาคตที่กำลังคืบคลานใกล้เข้ามา ความพยายามที่จะประท้วง คัดค้าน และแสดงออกซึ่งเสรีภาพทางการเมืองของชาวฮ่องกง เป็นกรณีที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เมื่อปี 2546 โดยชาวฮ่องกงจำนวนหลายแสนคนประสบความสำเร็จในการประท้วงและสามารถล้มร่างกฎหมายที่ห้ามวิจารณ์จีนได้สำเร็จ และต่อมาเมื่อปี 2557 ชาวฮ่องกงหลายหมื่นคนก็ปักหลักชุมนุมยืดเยื้อหลายสัปดาห์ เพื่อต่อต้านจีน ที่ใช้อิทธิพลต่อการเลือกตั้งของฮ่องกง ซึ่งประชาชนจำนวนมากใช้ร่มเป็นอุปกรณ์ป้องกันฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา จนถูกขนานนามว่า “การเคลื่อนไหวร่ม” (Umbrella Movement) ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจและเกิดขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษหลังจากที่ฮ่องกงกลับคืนสู่อ้อมอกของจีนอยู่ที่คนหนุ่มสาวชาวฮ่องกงเริ่มตระหนักและตื่นตัวเรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยอัตราการลงทะเบียนเลือกตั้งของคนอายุ

Read More