2560 จุดเปลี่ยนประเทศไทย?
ความเปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีลักษณะเป็นอนิจจลักษณ์ที่ยากจะทัดทานต่อการเคลื่อนไปของกาลเวลา บางครั้งยังเป็นสิ่งที่ไม่อาจหยั่งรู้ถึงผลและนำมาซึ่งความแปลกแยกไม่น้อย กรณีว่าด้วยความพยายามของรัฐบาลภายใต้การนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ในการนำเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของสังคมผ่านนโยบายและวาทกรรมว่าด้วย ไทยแลนด์ 4.0 มาอย่างต่อเนื่อง ดูจะเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในประเด็นนี้ เพราะในมิติที่กว้างขวางและลึกลงไปนั้น หลายฝ่ายยังคงตั้งข้อสังเกตและแสดงความห่วงกังวลต่อรูปธรรมของการพัฒนาดังกล่าวไม่น้อย เพราะในขณะที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งกำเนิดเกิดขึ้นและมีวิถีชีวิตผูกพันกับยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างมาก จนอาจจะเรียกได้ว่า เป็น Native Digital generation พัฒนาการตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 กลับได้รับการกำหนดขึ้นจากกลุ่มผู้มากประสบการณ์ที่สั่งสมภูมิรู้และเติบโตมาจากสังคมในยุคอนาล็อกที่อาจเพิ่งข้ามพ้นเส้นแบ่ง 2G มาสู่ 3G ได้ไม่นาน ขณะเดียวกันประเด็นว่าด้วย ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดต่อเนื่องมาจากแนวการพัฒนากระบวนการผลิตใน Industry 4.0 ซึ่งเป็นแนวความคิดหลังยุคแห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมมาสู่ยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล ก่อให้เกิดคำถามว่าสังคมไทยได้เคลื่อนผ่านกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่ใช้ข้อได้เปรียบด้านแรงงาน หรือพัฒนาข้ามเข้าสู่ยุคหลังอุตสาหกรรมแล้วหรือยัง เพราะในขณะที่พัฒนาการทางเศรษฐกิจไทยกว่าร้อยละ 80 ยังดำเนินไปท่ามกลางวิถีการผลิตแบบไทยแลนด์ 1.0 และ 2.0 กล่าวคือ ภาคการผลิตไทยยังดำเนินอยู่ภายใต้วิถีแห่งเกษตรกรรม ขณะที่พัฒนาการของภาคอุตสาหกรรมไทยก็เพิ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต จากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า มาสู่การส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออก โดยพึ่งพาการหลั่งไหลของทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยไม่มีการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีการผลิตมากนัก กระนั้นก็ดี ในเอกสารของทางราชการจำนวนไม่น้อยต่างระบุว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่
Read More