Home > 2016 (Page 24)

KALPITIYA: จุดหมายใหม่การท่องเที่ยว

 Column: AYUBOWAN ความเป็นไปของ Puttalam และภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกา ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการเร่งระดมสรรพกำลังในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในภาคการผลิต อุตสาหกรรมและพลังงานเท่านั้น  หากแต่ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่ประกอบส่วนด้วย Lagoon ขนาดใหญ่ ชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวกำลังได้รับการประเมินศักยภาพเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีจุดมุ่งหมายจะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศ พื้นที่เป้าหมายที่ได้รับการยกระดับและเร่งพัฒนาเพื่อเชื้อเชิญนักธุรกิจผู้ประกอบการการท่องเที่ยวจากทั้งภายในและภายนอกประเทศให้เข้ามาลงทุนในระยะที่ผ่านมาอีกแห่งหนึ่ง อยู่ที่เขต Kalpitiya หมู่บ้านชาวประมง ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากโคลัมโบทางทิศเหนือ 160 กิโลเมตร และมีประวัติการณ์เชื่อมโยงกับการค้าทางทะเลและการเป็นจุดพักเรือมาตั้งแต่อดีตกาล ยังไม่นับรวมถึงการเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้ทั้งโปรตุเกสและดัตช์ เจ้าอาณานิคมต่างลงหลักปักฐาน และสถาปนาให้ Kalpitiya เป็นที่มั่นที่อุดมด้วยป้อมค่าย พร้อมกับส่งผ่านอิทธิพลทางวัฒนธรรมและทิ้งร่องรอยแห่งมรดกทางประวัติศาสตร์นี้ไว้ในนาม Dutch Bay จนถึงปัจจุบัน ขณะที่ภูมิประเทศซึ่งเป็นแหลมทอดยาวไปกว่า 48 กิโลเมตรและมีความกว้าง 6-8 กิโลเมตรขนาบข้างด้วย Puttalam Lagoon ทางด้านตะวันออกและมหาสมุทรอินเดียทางชายหาดด้านตะวันตก ควบคู่กับการมีเกาะแก่งแวดล้อมอีกกว่า 14 แห่ง ทำให้ Kalpitiya กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีภูมิทัศน์แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ และกลายเป็นจุดขายที่น่าสนใจไม่น้อย  ความพยายามที่จะพัฒนาให้ Kalpitiya เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่หนึ่งใน 15 แห่งของศรีลังกานี้ ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติมาตั้งแต่เมื่อปี 2003 และเริ่มมีกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวและสันทนาการขยับขยายเข้ามาจับจองพื้นที่กว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งหมดใน Kalpitiyaในรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันไป กระบวนการไล่รื้อหรือผลักดันชาวบ้านดั้งเดิมออกจากพื้นที่ เพื่อรวบรวมที่ดินมาพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยกว่า 2,500

Read More

เครื่องเงินวัวลายภูมิปัญญาล้านนา เสน่ห์แห่งหัตถศิลป์เชียงใหม่

 แม้ว่าเชียงใหม่จะมีสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองขึ้นชื่อหลายอย่าง ทั้งร่มจากบ้านบ่อสร้าง งานแกะสลักไม้ของบ้านถวาย ผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากอำเภอแม่แจ่ม แต่ยังมีอีกหนึ่งหัตถศิลป์ที่แอบซ่อนอยู่บนถนนสายสั้นๆ อย่างถนนวัวลาย คือเครื่องเงินที่หลายคนเรียกขานกันว่า “เครื่องเงินวัวลาย” นับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาจากล้านนาที่ถูกส่งต่อกันมาหลายร้อยปีแล้ว ตั้งแต่พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ในครั้งที่สร้างความสัมพันธ์กับดินแดนพุกาม พร้อมทั้งมีการเจรจาขอช่างฝีมือเพื่อฝึกอาชีพให้กับชาวเชียงใหม่ นับแต่นั้นช่างฝีมือหัตถกรรมพื้นเมืองได้รับการฝึกฝนและสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ช่วงปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้ากาวิละ พระเจ้าตากสินมหาราช และพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ร่วมกันขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่ ในเวลานั้นเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้างร่วม 20 ปี (พ.ศ. 2319-2339) เนื่องจากประชาชนหนีภัยสงครามไปอาศัยอยู่ตามป่าเขา นโยบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นการประกาศให้ประชาชนกลับเข้ามาอยู่ในเมืองเช่นเดิม หลังสงครามมีการกวาดต้อนผู้คนให้เข้ามาตั้งรกรากในเมืองเชียงใหม่ ทั้งหมอ โหร ช่างฝีมือ ทั้งนี้ยังมีการฝึกอาชีพให้ประชาชน ในครั้งนั้นเจ้าขันแก้ววัวลายในฐานะผู้นำของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกรอบๆ วัดหมื่นสาร ได้ส่งชาวบ้านวัวลายให้เข้าไปเรียนรู้การทำเครื่องเงินในคุ้มหลวงและทำสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในอดีตชาวบ้านในชุมชนวัวลายซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทั้งนี้เมื่อหมดช่วงฤดูทำนาชาวบ้านมักจะทำเครื่องเงินเป็นอาชีพเสริมซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากบรรพบุรุษ และแน่นอนว่าทำให้เกือบทุกหลังคาเรือนมีโรงงานขนาดเล็กที่เรียกว่า “เตาเส่า” สำหรับทำเครื่องเงิน ในยุคนั้นสมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำเครื่องเงินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อการค้า โดยหาซื้อแร่เงินจากพ่อค้าชาวจีนจากตัวเมืองเชียงใหม่นำมาตีขึ้นรูป ทั้งนี้ในระยะแรกผลิตภัณฑ์จากเครื่องเงินทำขึ้นเพื่อเป็นส่วยตามความต้องการของเจ้านาย ต่อมาเศรษฐกิจดีขึ้นมีการขยายตัวทางการค้ากับชาติอื่นมากขึ้น เครื่องเงินจึงถูกนำมาเป็นสินค้าแลกเปลี่ยน และเมื่อเจ้านายชั้นสูงเริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่องทอง ทำให้สามัญชนสามารถใช้เครื่องเงินได้ อย่างไรก็ตาม เครื่องเงินวัวลายในอดีตมักจะทำออกมาในรูปแบบของภาชนะ เช่น สลุง พาน

Read More

พีเอฟพีเปิดเกมรุก AEC ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง

 หลังจากที่ประมงไทยได้รับเทียร์ 3-ใบเหลือง จากคณะกรรมการจากสหภาพยุโรปไปเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 และให้เวลาในการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานการทำประมงไทย 6 เดือน ดังนั้นเป็นที่น่าจับตามองว่าระหว่างวันที่ 18-23 มกราคม 2559 ที่ผ่านมานั้น การตรวจสอบเพื่อประเมินผลงานการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู ฟิชชิ่ง อียูจะสรุปผลออกมาเป็นอย่างไร ขณะที่บริษัทชั้นนำอย่าง พี.เอฟ.พี. ออกมาแถลงข่าวและตั้งเป้าหมายทิศทางการดำเนินงานทางธุรกิจว่าจะทำให้กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งโตขึ้น 15-20 เปอร์เซ็นต์ พร้อมลุยตลาดอาเซียนอย่างเต็มตัวเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ทวี ปิยะพัฒนา ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท พี.เอฟ.พี. ออกมายอมรับว่าภาพรวมเศรษฐกิจของไทยไม่ค่อยสวยนัก พร้อมทั้งเข้าใจภาครัฐเพราะการแก้ปัญหาต้องใช้เวลา เพราะไม่ใช่ประเทศไทยประเทศเดียวที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลยังอัดเม็ดเงินเข้าระบบซึ่งทำให้มั่นใจมากขึ้นที่จะเดินหน้าธุรกิจต่อไป ซึ่งในปีนี้บริษัทยังตั้งเป้ายอดขายรวมที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท ที่มาพร้อมกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างให้ครอบคลุมและเข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยสัดส่วนการจำหน่ายภายในประเทศอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกต่างประเทศ 40 เปอร์เซ็นต์  แต่ทั้งนี้ประมาณการณ์ดังกล่าวไม่ใช่สิ่งตายตัว ซึ่งต้องอาศัยการคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจและสภาพคล่องของตลาดเป็นหลัก โดยสัดส่วนตัวเลขดังกล่าวยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามที่เห็นสมควร เมื่อดูคำอธิบายจากนายใหญ่ของ พี.เอฟ.พี. แล้วเห็นได้ชัดว่าลึกๆ แล้วก็ยังคงมีความไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก

Read More

โตชิบาเผยโฉมตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศใหม่ล่าสุด

นายมาซาอากิ คิมูระ ประธาน บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ร่วมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศใหม่ล่าสุด พร้อมแถลงนโยบายและ กลยุทธ์การตลาดปี 2559 ตอกย้ำการเป็นผู้นำเบอร์ 1 ด้านตู้เย็นมาตลอด โดยคำนึงถึงทั้งเทคโนโลยีและความใส่ใจ เพื่อตอบโจทย์ชีวิตคุณภาพของผู้บริโภคยุคใหม่

Read More

อิชิตันเดินหน้าเต็มกำลัง สร้างกลยุทธ์รุกทุกช่องทาง

  หลังจากโออิชิแถลงผลประกอบการ รวมไปถึงกลยุทธ์การตลาดสำหรับศักราชใหม่ไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสำหรับโออิชิแล้วยังคงมุ่งมั่นไปที่ตลาดชาผลไม้ที่มีอัตราการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อีกทั้งยังยืนยันความเป็นผู้นำตลาดรวมชาพร้อมดื่มด้วยส่วนแบ่ง 45 เปอร์เซ็นต์ และอีกค่ายที่ตัดสินใจแถลงข่าวตามมาติดๆ ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่เรียกได้ว่ามักจะสร้างสีสันให้กับวงการชาพร้อมดื่มได้อย่างสนุก อิชิตันเองออกมาประกาศเป้าหมายในปีนี้ รวมถึงการเคลมว่าตนเองนั้นก็เป็นผู้นำของตลาดชาพร้อมดื่มด้วยส่วนแบ่ง 43.4 เปอร์เซ็นต์  กระนั้นสิ่งที่น่าสนใจของอิชิตันคือเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ในเรื่องของยอดขาย 7,500 ล้านบาท ที่จะต้องทำให้ได้เมื่อสิ้นสุดปี 2559 ซึ่งปี 2558 อิชิตันสรุปรายได้ประมาณที่ 6,400 ล้านบาท หากดูจากเป้าประสงค์ของอิชิตันแล้ว คล้ายจะแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารของอิชิตันจะมั่นใจในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยภาพรวมการแข่งขันของตลาดชาพร้อมดื่มในช่วงปีที่ผ่านมาดำเนินไปอย่างเข้มขัน และพบว่าจากข้อมูลตัวเลขการบริโภคชาพร้อมดื่มล่าสุดตลอดปี 2558 มีปริมาณการบริโภคชาพร้อมดื่ม (Volume) 470.7 ล้านลิตร ซึ่งขยายตัวขึ้น 0.7 เปอร์เซ็นต์  แม้ว่าในแง่มูลค่าของตลาดชาพร้อมดื่มปี 2558 อยู่ที่ 15,574 ล้านบาท ลดลงจากปี 2557 ถึง 2.5 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอิชิตันถือครองส่วนแบ่งการตลาดไป 43.4 เปอร์เซ็นต์ โออิชิ 35.9 เปอร์เซ็นต์ เพียวริคุ 5.7 เปอร์เซ็นต์

Read More

ยุโรปอบรมผู้ลี้ภัย เน้นเคารพสิทธิสตรี

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว หลายประเทศในทวีปยุโรปต้องเผชิญปัญหาผู้อพยพลักลอบเข้ามาอยู่ในยุโรปมากเกินไป ทำให้หลายประเทศที่แม้จะมีฐานะทางเศรษฐกิจดีและสามารถรับผู้อพยพมาอยู่ในประเทศได้จำนวนหนึ่ง อย่างเยอรมนี สวีเดน และออสเตรีย ก็ยังต้องเผชิญปัญหา การที่มีผู้อพยพทั้งที่ขอลี้ภัยแบบถูกกฎหมายและที่ลักลอบเข้าประเทศมากเกินไป อาจส่งผลให้มีปัญหาอาชญากรรมและการว่างงานเพิ่มมากขึ้น และยังอาจเป็นโอกาสในการแฝงตัวแทรกซึมเข้ามาในประเทศต่างๆ ในยุโรปของผู้ก่อการร้ายอีกด้วย   สถานการณ์ผู้อพยพยิ่งแย่ลงไปอีกเมื่อสถานการณ์สงครามกลางเมืองในประเทศซีเรียมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีชาวซีเรียหรือคนมุสลิมจำนวนมากขอลี้ภัยไปอยู่ในหลายประเทศในยุโรป และมีจำนวนมากยอมเสี่ยงชีวิตเดินทางลักลอบเข้าทวีปยุโรป  องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า IOM) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ ได้เปิดเผยว่า ในช่วงเวลา 8 เดือนของปีที่แล้ว (พ.ศ.2558) มีคนอพยพเข้ามาอยู่ในยุโรปถึง 267,121 คน ในขณะเดียวกันก็มีผู้เสียชีวิตถึง 3,000 คน จากการลักลอบเข้ามาในทวีปยุโรป โดยส่วนใหญ่จะเดินทางข้ามทะเลมา และสาเหตุการเสียชีวิตมาจากเรือประสบเหตุอับปางลงกลางทะเล การขาดอากาศหายใจ และถูกรมด้วยควันพิษจากเครื่องยนต์ของเรือ เพราะมีผู้อพยพจำนวนมากที่ขออาศัยมากับเรือของพวกนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ และพวกเขาจะถูกขังรวมกันไว้ใต้ท้องเรือในสภาพที่แออัด จากการสำรวจจำนวนผู้อพยพครั้งหลังสุดพบว่า มีคนซีเรียที่อพยพเข้าไปอยู่ในยุโรปแบบถูกกฎหมายแล้ว 313,000 คน โดยเยอรมนีรับผู้อพยพไว้มากที่สุดประมาณ 89,000 คน และสวีเดนรับไป

Read More

PUTTALAM: จากนาเกลือสู่แหล่งพลังงาน

 Column: AYUBOWAN ฉากแห่งวิถีชีวิตบนทางหลวงหมายเลข A3 ที่เริ่มต้นจากชายขอบตอนเหนือของกรุงโคลัมโบเลียบเลาะชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของประเทศมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือก่อนสิ้นสุดสู่จุดหมายที่เมือง Puttalam รวมระยะทางกว่า 130 กิโลเมตรกำลังปรับเปลี่ยนโฉมหน้าและเพิ่มเติมบทบาทความสำคัญขึ้นอย่างช้าๆ แต่น่าสนใจยิ่ง Puttalam เป็นเมืองขนาดใหญ่ในเขตจังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ (North Western หรือ Wayamba Province) ที่มีประวัติการณ์ยาวนานนับเนื่องได้กว่า 2,500 ปี หรือตั้งแต่เมื่อครั้งที่เจ้าชายวิชัยอพยพผู้คนจากแผ่นดินใหญ่ในชมพูทวีปเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสถาปนาวงศ์กษัตริย์ ตัมพปาณี (Tambapanni หรือ Thambaparni) และถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งประวัติการณ์ชนชาติของศรีลังกาบนแผ่นดินลังกาทวีป ในอาณาบริเวณที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของ Puttalam ในปัจจุบัน ชื่อของ Puttalam เชื่อว่ามาจากรากฐานในภาษาทมิฬที่ว่า Uppuththalam โดย Uppu หมายถึงเกลือ และ Thalam มีความหมายว่า แหล่งผลิต ก่อนที่จะกร่อนเสียงเหลือเพียง Puttalam ในเวลาต่อมา แต่มรดกจากที่มาและต้นทางของชื่อบ้านนามเมืองที่ว่านี้ ไม่ได้หล่นหายหรือมลายสูญลงไป ด้วยเหตุที่ข้อเท็จจริงสำคัญก็คือ Puttalam เป็นแหล่งผลิตเกลือแหล่งใหญ่ของศรีลังกา และยังดำเนินความสำคัญอยู่อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตเกลือทะเลที่หล่อเลี้ยงสังคมศรีลังกาเลยทีเดียว อุตสาหกรรมการผลิตเกลือที่ Puttalam ได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เพราะนอกจากจะเป็นจักรกลในการขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารแล้ว ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือศรีลังกามีปริมาณการบริโภคเกลือมากถึง

Read More

เชื่อหรือไม่ … เรามี 2 สมอง

 Column: Well – Being คุณอาจเคยได้ยินมาแล้วเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า สารสื่อประสาท “เซโรโทนิน” มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพจิต แต่ที่คุณอาจยังไม่รู้คือ จริงๆ แล้วปริมาณเซโรโทนินในร่างกายอย่างน้อยร้อยละ 90 ผลิตโดยกระเพาะอาหาร ไม่ใช่สมอง นิตยสาร GoodHealth อธิบายว่า สุขภาวะของระบบย่อยอาหารมีอิทธิพลสูงมากต่ออารมณ์ของคุณ รวมถึงต่อความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ที่เกิดจากความเชื่อมโยงกับภาวะเสียสมดุลของ “เซโรโทนินในกระเพาะอาหาร” เช่น โรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจ ดร. เจน มูร์ แห่งภาควิชาวิทยาทางเดินอาหาร (gastroenterology) มหาวิทยาลัยโมแนช กล่าวว่า “เราเพิ่งค้นพบว่า สุขภาพของกระเพาะอาหารมีอิทธิพลต่อสุขภาพของร่างกายโดยรวมมากเพียงใด และกระเพาะอาหารกับร่างกายมีความเกี่ยวโยงกันอย่างแนบแน่นกว่าที่เราเคยคิดกันมาก”  เปิดตัว “สมอง” ในช่องท้อง ความเกี่ยวโยงดังกล่าวแนบแน่นมากจนนักวิทยาศาสตร์ถึงกับสรุปว่า เรามีสองสมอง คือ สมองที่อยู่ในกะโหลกศีรษะกับสมองที่อยู่ในกระเพาะอาหาร การที่สมองที่สองที่ตั้งอยู่ในระบบทางเดินอาหารหรือที่เรียกกันในเชิงเทคนิคว่าระบบประสาทของลำไส้ (enteric nervous system) นั้น ต้องประกอบด้วยสารสื่อประสาทที่แตกต่างกันมากกว่า 30 ล้านเซลล์ และเซลล์ประสาทอีก 600 ล้านเซลล์ กิจกรรมของสมองที่อยู่ในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารก็จริง แต่สมองทั้งสองส่วนมีการติดต่อเชื่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อสมองส่วนหนึ่งเกิดความผิดปกติ สมองส่วนที่สองก็มีปัญหาตามไปด้วย

Read More

Thailand Tourism Festival เมื่อการท่องเที่ยวคือตัวช่วยสุดท้าย

 ข่าวการลงทุนในโครงการเพื่อสร้างสวนสนุกและศูนย์การเงินนานาชาติที่เขตเศรษฐกิจพิเศษท่าแขก แขวงคำม่วน สปป. ลาว ในนาม Thakhaek Ehsan International Financial Centre มูลค่านับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัท Akane Farm Sole เมื่อไม่นานมานี้ ดูจะกระตุ้นความสนใจและการรับรู้ในความเป็นไปของประเทศเพื่อนบ้านรับศักราชใหม่แห่ง AEC ไม่น้อยเลย แม้ว่ารายละเอียดของรายงานข่าวดังกล่าว จะยังไม่สามารถให้รายละเอียดที่บ่งบอกกำหนดระยะเวลาและรูปธรรมที่ชัดเจนของโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นได้มากนัก หากแต่กรณีที่ว่านี้สามารถบ่งบอกทิศทางของการพัฒนาในอนาคตได้อย่างชัดเจน เพราะนอกเหนือจากการยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระบบพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการเพิ่มผลผลิตแล้ว ดูเหมือนว่าการท่องเที่ยวได้กลายเป็นแหล่งรายได้ที่สามารถดึงดูดเงินตราต่างประเทศอย่างสำคัญของทุกประเทศใน AEC ไปแล้ว การเปิดพื้นที่ของเพื่อนบ้านใน AEC ซึ่งต่างมีทรัพยากรธรรมชาติและรากฐานทางศิลปะ วัฒนธรรมหลากหลายให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกได้ร่วมเก็บรับและเรียนรู้ประสบการณ์ความเป็นไปของชุมชนในภูมิภาคนี้ กำลังขยับใกล้เข้ามาท้าทายธุรกิจท่องเที่ยวไทยอย่างไม่อาจละสายตา เนื่องเพราะกรณีเช่นว่านี้ ไม่เพียงแต่จะช่วงชิงจำนวนนักท่องเที่ยวในตลาดระดับนานาชาติ หากยังพร้อมที่จะกลายเป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นรองรับกับตลาดภายในของ AEC ที่กำลังขยายตัวจากการก้าวสู่การเป็นประชาคม AEC ที่มีความเข้มข้นขึ้นด้วย กรณีดังกล่าวได้ส่งผลให้การแข่งขันในระดับสากลของธุรกิจการท่องเที่ยวมีสภาพไม่แตกต่างจากการแข่งขันเพื่อส่งออกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในเชิงธุรกิจอุตสาหกรรมชนิดอื่นๆ เพียงแต่ “การซื้อ” ในมิติของการท่องเที่ยวอาศัยการไหลเข้าของผู้คนในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของรายได้เข้าสู่ประเทศเท่านั้นเอง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของนักท่องเที่ยว มิได้จำกัดอยู่เฉพาะในมิติที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงรูปแบบเท่านั้น หากในอีกด้านหนึ่งกรณีดังกล่าวกำลังส่งสัญญาณให้เกิดการปรับเปลี่ยนในมิติของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวในระยะยาวด้วย สถิติของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวเอเชียด้วยกัน ซึ่งสามารถครองส่วนแบ่งได้มากถึงกว่า 45-50% ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศไทย โดยในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนมากถึงกว่า 20-30% เลยทีเดียว ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุว่า ในปี 2558 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศสูงถึง 1.44

Read More

ขวบปีของท่านผู้นำ

 Column: AYUBOWAN วันเวลาหมุนผ่านและแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเหลือเกินนะคะ ผู้เขียนขออนุญาตกล่าวสวัสดีปีใหม่กับท่านผู้อ่านในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2559 ขอขอบพระคุณที่ติดตามและให้ความอนุเคราะห์คอลัมน์ AYUBOWAN และผู้จัดการ 360  ํ ด้วยดีตลอดมานะคะ สำหรับศรีลังกา ขวบปีที่ผ่านมา ดำเนินไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจเก่า-ใหม่ ด้วยการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของ Maithripala Sirisena ที่มีชัยชนะเหนือ Mahinda Rajapaksa ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม 2015 อย่างพลิกความคาดหมายของผู้สังเกตการณ์และผู้สันทัดกรณีทางการเมืองไม่น้อย ขวบปีที่ผ่านมาของ Maithripala Sirisena เริ่มต้นด้วยความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางกฎหมายให้สามารถรองรับกับพัฒนาการทางสังคมใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้มีกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจและการคานอำนาจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะกระบวนการพัฒนาทางการเมืองของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา ได้รับการประเมินว่าเปิดช่องทางให้มีการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่มิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งหรือแม้กระทั่งขจัดคู่แข่งขันทางการเมือง การใช้อำนาจเอื้อหรือแสวงประโยชน์จากกลุ่มทุนที่กำลังรุกคืบเข้ามาในศรีลังกาผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ยังไม่นับรวมถึงความพยายามที่จะส่งผ่านและสืบต่ออำนาจในกลุ่มเครือข่ายที่ใกล้ชิดนักการเมืองด้วย ความคาดหมายของสาธารณชนต่อบทบาทและผลงานของ Maithripala Sirisena มิได้จำกัดอยู่เฉพาะประเด็นว่าด้วยการกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมของศรีลังกามาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ แผนการปฏิรูป 100 วันของ Maithripala Sirisena ที่ประกาศหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ล่าช้าผิดเป้าหมายไปท่ามกลางความกังวลว่าถึงที่สุดแล้ว การสร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่ให้กับศรีลังการวมถึงคำมั่นสัญญาหลากหลายที่ Maithripala Sirisena ได้ประกาศในช่วงรณรงค์หาเสียงอาจกลายเป็นเพียงสายลมพัดผ่านที่ไม่สามารถจับต้องได้ Maithripala Sirisena อาจเริ่มต้นดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามแผนปฏิรูปที่วางไว้ได้ช้าไปสักหน่อย เพราะผู้คนที่เคยคุ้นชินกับระบอบเดิมต่างไม่แน่ใจว่าหนทางใหม่ที่ Maithripala Sirisena

Read More