Home > 2015 (Page 3)

ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น “สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์”

  หากผ่านไปแถวถนนราชดำเนินกลาง ไม่ไกลจากเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศนัก คงคุ้นตากับลานกว้าง แวดล้อมด้วยไม้ประดับร่มรื่น ด้านหนึ่งมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้านเป็นที่ตั้งของพลับพลาที่สร้างอย่างวิจิตรงดงาม มีโลหะปราสาทที่สูงตระหง่านเป็นฉากหลัง สถานที่แห่งนี้คือ “ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์” นั่นเอง ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3แห่งราชวงศ์จักรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยตั้งชื่อตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์”  เดิมทีบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ “ศาลาเฉลิมไทย” โรงภาพยนตร์ล้ำสมัยแห่งแรกของไทย แต่เมื่อศาลาเฉลิมไทยปิดตัวลงเมื่อปี พ.ศ.2532 จึงได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทยและสร้างลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ขึ้นแทน ณ บริเวณเดิม อีกทั้งยังเป็นการเปิดทัศนียภาพให้เห็นความสง่างามของโลหะปราสาทที่อยู่ด้านหลังอีกด้วย พื้นที่โดยรอบของลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์นั้นเป็นลานกว้างประดับประดาด้วยไม้ดอกช่วยเพิ่มความร่มรื่นทางสายตา ภายในบริเวณประกอบด้วยพลับพลาที่ประทับสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรับแขกบ้านแขกเมืองของประเทศ อีกด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ประทับนั่งตรง มีฐานหินอ่อนรองรับ ฉากหลังเป็นรูปพระวิมานอันเป็นพระราชสัญลักษณ์และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พื้นฉากเป็นหินอ่อนจารึกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 3 ซึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทำนุบำรุงบ้านเมืองสร้างความเจริญมั่นคงทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา และศาสนา ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามรวมทั้งสิ้นถึง 53 วัด รวมทั้งวัดราชนัดดารามวรวิหาร และวัดเทพธิดารามวรวิหาร ที่อยู่ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ด้วยเช่นกัน จากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์เดินตัดมาด้านหลังจะพบกำแพงสีขาวทอดยาวมีถนนเล็กๆ คั่นกลาง ด้านในเป็นเขตของวัดราชนัดดารามวรวิหารและโลหะปราสาท พุทธสถานที่มีเพียง

Read More

ทุกค่ายพร้อมลุย Motor EXPO หวังภาษีใหม่ดันยอดขายปลายปี

 ความเคลื่อนไหวในแวดวงยานยนต์ไทยในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี ดูจะขยับมีหวังหลังจากโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่มีผลให้ราคารถยนต์เกือบทุกประเภทพร้อมปรับราคาขึ้นจากเดิมในระดับร้อยละ10-15 ซึ่งกลายเป็นประเด็นโหมกระแสที่ค่ายรถยนต์ทุกค่ายต่างนำมาขยายผลหวังสร้างอารมณ์ความรู้สึกผู้บริโภคให้เร่งตัดสินใจ และกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสัปดาห์นี้ต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์หน้าที่จะมีมหกรรมยานยนต์ Motor Expo ครั้งที่ 32 หรือ The 32nd Thailand International Motor Expo 2015 ระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม ภายใต้แนวคิด “มาตรฐานใหม่ ยานยนต์ไทยใส่ใจโลก” หรือ “NEW STANDARDS... THAI VEHICLES CARE ABOUT THE EARTH” ซึ่งคาดหวังว่าจะมียอดการจองรถยนต์ในงานรวมไม่น้อยกว่า 50,000 คันและจะมีเงินสะพัดในงานถึง 5.5 หมื่นล้านบาท ความคาดหมายดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปีหน้า และมีผลทำให้ราคาของรถยนต์แต่ละประเภทปรับสูงขึ้นในระดับร้อยละ 10-15 หรือปรับขึ้นจากราคาเดิมคิดเป็นเงินจำนวนหลักหมื่นถึงหลักแสนบาทต่อคันนั้น จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเร่งตัดสินใจซื้อรถยนต์ภายในปีนี้ และจะช่วยให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสุดท้ายของปีขยายตัวขึ้น ภายใต้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ซึ่งจะพิจารณาจัดเก็บจากอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ แทนการจัดเก็บตามปริมาณความจุกระบอกสูบ โดยรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย จะเสียภาษีต่ำกว่ารถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาก ทำให้แนวคิด “มาตรฐานใหม่ ยานยนต์ไทยใส่ใจโลก” ของงาน

Read More

เกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน แนวทางสู่ความยั่งยืน

  สี่ปีที่ชาวบ้านชุมชนบ้านเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ในโครงการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชนบ้านเขาสมอคอน ได้ประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมด้วยการทำนาและปลูกพืชแบบอินทรีย์โดยมุ่งหวังว่าวิถีเกษตรแบบอินทรีย์จะนำพาพวกเขาไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง  ด้วยความทุ่มเทและความเอาใจใส่ของชาวบ้าน ประกอบกับความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจจากบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ทำให้ชาวบ้านสามารถพัฒนาแบรนด์ข้าวสินเหล็ก “ข้าวกล้องอินทรีย์สินเหล็ก เขาสมอคอน” เป็นของตนเองได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากภัยแล้งทำให้เกษตรกรไม่สามารถปลูกข้าวในปีนี้ จึงรวมกลุ่มกันปรับพื้นที่ทำนาให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ริเริ่มทำการเกษตรแบบผสมผสาน  เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้จัดกิจกรรมอบรม ในหัวข้อ “การทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสานและการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างมืออาชีพ” ให้แก่ชาวชุมชนบ้านเขาสมอคอน เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเพิ่มความรู้และเกิดแรงบันดาลใจจากเกษตรกรผู้มากประสบการณ์ในการนำแนวทางไปต่อยอดและประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเองได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์สภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่แน่นอน อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการทำการเกษตรแบบพอเพียงเพื่อการจัดสรรที่ดินของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน อุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “บ้านปูฯ เชื่อว่า พลังความรู้ คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา การศึกษาและการเรียนรู้ คือพลังสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนาที่ยั่งยืนของ “คน” และ

Read More

BMW เปิดแนวรุกรถพรีเมียม ส่งแฟลกชิป “ซีรีส์ 7 ใหม่” ชิงตลาด

 ข่าวการเปิดตัว The All New BMW 7 Series อย่างอลังการในประเทศไทยเมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ต้องถือเป็นจังหวะก้าวเชิงรุกของ BMW Thailand ในการชิงจังหวะเวลา พื้นที่และกำลังซื้อในกลุ่มรถยนต์พรีเมียมหรูหราที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย เหตุเพราะ BMW เพิ่งเปิดตัว BMW 740Li โฉมใหม่นี้ออกสู่สายตาสาธารณชนให้ได้ชื่นชมยนตรกรรมหรูหราในนิยามใหม่ ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในงาน Frankfurt Motor Show 2015 ที่ถือเป็นงานแสดงยนตรกรรมยิ่งใหญ่ประจำปี ก่อนที่จะข้ามฝั่งมาเปิดตัวในงาน Tokyo Motor Show ในเดือนตุลาคม ด้วยการนำเสนอควบคู่พร้อมกันถึง 2 รุ่น ทั้ง BMW 730i G11 และ BMW 740Li G12 ซึ่งต่างได้รับความสนใจและการต้อนรับจากทั้งสื่อมวลชนและผู้นิยมยนตรกรรมระดับพรีเมียมอย่างอบอุ่น ความต่อเนื่องของกิจกรรมเชิงรุกของ BMW 7 Series ที่ปรากฏให้เห็นตลอดช่วง 3 เดือนดังกล่าวนี้ สะท้อนความพยายามของ BMW

Read More

ชะตาชีวิตท่านผู้นำสตรี

 Column: AYUBOWAN ข่าวความเป็นไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมรอบข้างจะให้ความสำคัญกับจังหวะก้าวของ “ผู้นำสตรี” ที่อาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สื่อแสดงให้เห็นอนาคตครั้งใหม่ในเมียนมา หรือแม้กระทั่ง “ผู้นำสตรี” ที่อาจถูกพิจารณาคดีจากผลแห่งนโยบายในอดีต ขณะเดียวกัน ถ้อยความในลักษณะ “คนคำนวณหรือจะสู้ฟ้าลิขิต” ก็อาจวาบแวบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกชะตาชีวิตว่าช่างไม่มีสิ่งใดแน่นอน และอาจกลับดำเป็นขาว เปลี่ยนความสว่างให้กลายเป็นความมืดบอด ได้อย่างง่ายดาย ราวกับการพลิกฝ่ามือของพระเป็นเจ้าที่มีอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งความเป็นไปของ Sirimavo Bandaranaike (17 เมษายน 1916-10 ตุลาคม 2000) ก็คงเป็นไปในท่วงทำนองที่ว่านี้ ในช่วงทศวรรษ 1960 ชื่อของ Sirimavo Bandaranaike ถือเป็นประหนึ่งแม่เหล็กที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนทั่วโลก เมื่อเธอก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของศรีลังกาและของโลก เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1960  แม้ว่า Sirimavo Bandaranaike จะเกิดในครอบครัวชนชั้นนำของศรีลังกาและมีความเกี่ยวพันกับการเมืองและความเป็นไปของศรีลังกามาอย่างยาวนาน หากแต่ภายใต้บทบาทสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ในฐานะภริยาท่านนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะเพียงพอและเป็นที่พึงใจสำหรับเธอแล้ว แต่พลันที่ Solomon West Ridgeway Dias (S.W.R.D.) Bandaranaike (8 มกราคม 1899-26 กันยายน

Read More

มุมมองของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ต่อโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย

 ช่วงเวลาท้ายปีหลายหน่วยงานมักนิยมจัดงานเสวนา งานสัมมนา และหัวข้อที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นหลักของงานคงหนีไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจไทย หรือความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่ไม่มั่นคง ซึ่งมีเหตุมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ และผลกระทบจากสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ทำให้หลายฝ่ายมีคำถามขึ้นในใจว่า ประเทศไทยพร้อมเพียงใด และยังรวมไปถึงแนวทางที่ควรปฏิบัติ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาและเสวนาพร้อมกันสองงาน ซึ่งหัวข้อของทั้งสองงานนี้คล้ายเป็นการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกัน ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่จัดสัมมนาในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยปี 2559 โอกาสและความท้าทาย” และนิโอ ทาร์เก็ตจัดเสวนาเรื่อง “ก้าวสู่เออีซี โอกาสและความท้าทาย” ซึ่งบุคคลที่เป็นแม่งานทั้งสองฝ่ายเล็งเห็นว่าผู้ที่จะให้คำตอบ แนวคิด หรือคำนิยามที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนและประธานสถาบันนวัตกรรมแห่งอนาคต (FIT)  “คนรุ่นใหม่เป็นความหวังของชาติ รู้จักแปรเปลี่ยนปรับวิธีคิด ท่ามกลางกระแสที่เกิดขึ้นรอบด้าน” ดร.สุรินทร์กล่าว อีกทั้งยังแสดงทัศนะต่อว่า อาเซียนเป็นโอกาสและเวทีในการแข่งขัน นับเป็นพื้นที่พิเศษที่ถูกบูรณาการเข้าหากัน ประเทศไทยต้องอาศัยความหลากหลายที่มี โดยเฉพาะตำแหน่งที่ตั้งของไทยที่อยู่กึ่งกลางของ GMS Corridors  ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าไทยอยู่ในขณะนี้เป็นผลมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นที่เมื่อประสบกับสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาเหล่านั้นจะมีผลต่อความมั่นคงทางการเมือง นอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจ ความพร้อมด้านภาษาของคนไทยถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง “เราต้องปรับตัว อย่ายึดติดกับอดีตมากเกินไป ไม่อย่างนั้นไทยจะไม่สามารถต่อสู้กับทั่วโลกได้”  คนไทยบางส่วนยังขาดความสามารถด้านภาษา ซึ่งภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาทางการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากแต่หลายคนยังให้คำตอบต่อประเด็นนี้ว่า เพราะประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใด ไม่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของใคร จึงไม่แปลกที่เราจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้  นี่เองที่ทำให้

Read More

คุณรู้จักไขมันในตัวคุณดีแค่ไหน

 Column: Well-being นิตยสาร GoodHealth นำเสนอข้อมูลล่าสุดที่น่าสนใจยิ่งว่า วงการวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อเท็จจริงที่น่าทึ่งเกี่ยวกับไขมันที่คุณต้องไม่พลาดที่จะรู้ เพื่อกำจัดออกจากร่างกายได้อย่างถูกวิธี แต่ก่อนอื่น อยากให้ทำความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับไขมันที่มีบทบาทต่อน้ำหนักตัวของเรา โดยบทความของนายแพทย์มานิตย์ วัชรชัยนันท์กล่าวว่า ขณะที่ออกกำลังกาย เซลล์กล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อการขับเคลื่อน โดยได้จากการเผาผลาญไขมันและน้ำตาลในร่างกายนั่นเอง กล้ามเนื้อที่ผ่านการบริหารเป็นประจำจะสร้างฮอร์โมน Irisin ขึ้นไหลเวียนในกระแสเลือด มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเซลล์ไขมัน ด้วยการทำหน้าที่สะสมไขมันเอาไว้ภายในเซลล์ เพื่อเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เซลล์ไขมันเหล่านี้เรียกว่า เซลล์ไขมันสีขาว (white fat cells) แต่ในร่างกายยังมีเซลล์ไขมันอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า เซลล์ไขมันสีน้ำตาล (brown fat cells) ไม่มีหน้าที่สะสมไขมัน แต่มีบทบาทในการใช้ไขมันที่สะสมภายในเซลล์ไขมัน ดังนั้น ถ้าต้องการลดน้ำหนักตัว คุณจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณเซลล์ไขมันสีน้ำตาล และลดปริมาณเซลล์ไขมันสีขาวลง บทความของ Thai Anti Aging ยังกล่าวถึงไขมันว่ามีประโยชน์มากมาย เช่น ให้พลังงานและความอบอุ่น ละลายวิตามินบางตัวที่ต้องทำละลายในไขมันเท่านั้น ได้แก่ เอ ดี อี เค เพื่อดูดซึมเข้ากระแสเลือด ภาวะอ้วนของคนเราเกิดจากมีไขมันสะสมตามกล้ามเนื้อและอวัยวะภายใน ในกรณีนี้คือการสะสมไขมันหน้าท้องซึ่งมี 2 ประเภทคือ ไขมันใต้ผิวหนัง

Read More

ครบรอบ 3 เดือนของ ดร.สมคิด กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจแบบ S-Curve

 สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกกำลังประสบกับภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มานั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อหวังจะใช้ความสามารถในด้านเศรษฐศาสตร์มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น  ปัญหาเศรษฐกิจที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยอุดมไปด้วยนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นการเติบโต และกลยุทธ์ที่จะสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุน กระนั้นการเข้ามาของ ดร.สมคิด ยังคงดำเนินไปในแนวทางเฉกเช่นเดิม  จนกระทั่งวันนี้ 23 พฤศจิกายน 2558 ครบรอบ 3 เดือนของการเข้ามาทำงานของคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ โดยมีภารกิจที่สำคัญประการแรกคือ หยุดยั้งภาวะการทรุดตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังถดถอย ภาวะปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ความมั่นใจของนักลงทุนและผู้บริโภคลดลง  ซึ่งทันทีที่ ดร.สมคิดเข้ามาทำงานก็มีทั้งมาตรการและนโยบายออกมาอย่างชัดเจน แต่กระนั้นนโยบายที่ออกมาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปในแนวทางเดียวกันว่า “นโยบายประชานิยม” ทั้งมาตรการเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน จัดสรรเงินให้แก่ตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท และเร่งรัดการลงทุนโครงการที่มีขนาดต่ำกว่า 1 ล้านบาท มาตรการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี และมาตรการสุดท้ายคือการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเบื้องต้นงบประมาณที่รัฐส่งเข้าระบบเศรษฐกิจสูงถึง 5 แสนล้านบาท และมีผลในการใช้จ่ายเศรษฐกิจถึง 2 เท่า โดย ดร.สมคิดกล่าวถึงกรณีดังกล่าวอย่างน่าสนใจไว้ในปาฐกถาพิเศษ “ยกเครื่องเศรษฐกิจใหม่ Thailand’s New S-Curve” ว่า

Read More

20 เมกะโปรเจกต์ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย

 เมกะโปรเจกต์ภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคมซึ่งจะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้กรอบ S-Curve ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งต้นทุนของการผลิต การบริการ ความสะดวกในการคมนาคมที่เป็นความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้  ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศโดยหลักๆ อยู่ที่ธุรกิจการท่องเที่ยว และการลงทุนของภาครัฐ ทั้งที่เป็นโครงการเก่าที่ยังคงค้างอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน รวมไปถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งไทยจะต้องพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดนี้จะให้ความสำคัญต่อเมกะโปรเจกต์ทั้งที่กำลังก่อสร้าง หรือโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติ ซึ่งเส้นทางคมนาคมที่กำลังเกิดขึ้นจะเชื่อมต่อโยงใยพื้นที่ต่างๆ ของประเทศสร้างให้เกิดความสะดวกสบายและร่นระยะเวลาในการเดินทาง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมหมายถึงต้นทุนโลจิสติกต์ที่จะลดลงในอนาคตสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พยายามผลักดันโครงการต่างๆ ให้ผ่านขั้นตอนแรก ซึ่งคือขั้นตอนการอนุมัติโครงการ ทั้งนี้ผลดีจากการลงทุนของภาครัฐนั้นย่อมก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจได้  เมื่อภาคเอกชนเห็นว่านโยบายใดของรัฐบาลที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว นักลงทุนจะเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากราคาที่ดินบริเวณเส้นทางระบบขนส่งมวลชนแบบรางนั้น ราคาประเมินถีบตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว โดยภาคเอกชนที่ตอกหมุดจับจองพื้นที่กันอย่างรวดเร็ว รอเพียงการพัฒนาไปสู่ที่พักอาศัยแนวตั้ง หรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่  กระนั้นโครงการเมกะโปรเจกต์ที่อาคมเล็งเห็นและให้ความสำคัญนั้นคือเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และระบบราง ทั้งนี้ 20 โครงการจะถูกดำเนินงานภายใต้กรอบระยะเวลาการทำงาน 8 ปี ตั้งแต่ปี 2558–2565 ซึ่งจะดำเนินการภายใต้แผนงาน 5 แผน 1. โครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2. โครงข่ายขนส่งสาธารณะ แก้ปัญหาการจราจร 3. ความสามารถของทางหลวงในการเชื่อมโยงฐานการผลิตของประเทศ 4. โครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ

Read More

ฟิวเจอร์พาร์ค ทุ่มงบบกว่า 150 ลบ. เปิด “สเปลล์ แอท ฟิวเจอร์พาร์ค” ศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในไทย

ฟิวเจอร์พาร์ค เปิดเกมรุกตลาดค้าปลีกโค้งสุดท้าย ทุ่มงบกว่า 150 ล้านบาท ฉลองเปิด “ZPELL @ FUTUREPARK” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Never Regular เพราะชีวิตไม่ธรรมดา” ชูจุดแข็งศูนย์การค้า ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บนพื้นที่ก่อสร้าง 600,000 ตารางเมตร ตอบรับไลฟ์สไตล์คนเมือง พร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2558 นี้ พิมพ์ผกา หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการ

Read More