หากประเมินและสังเคราะห์วิพากษ์ถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่เป็นประหนึ่งสัญลักษณ์และเชิดหน้าชูตาของสังคมไทย เชื่อว่า การบินไทย ในฐานะที่เป็นองค์กรธุรกิจและ Flag Carrier ที่โดดเด่นอยู่กลางห้วงเวหาคงเป็นภาพสะท้อนของไทยในเวทีระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการประกาศแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารขององค์กรแห่งนี้ ย่อมสะท้อนวิสัยทัศน์และกระบวนความคิดที่ดำเนินอยู่ ซึ่งย่อมมีผลต่อความเป็นไปของการบินไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตนับจากนี้ การเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) การบินไทยของจรัมพร โชติกเสถียร เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กำลังเริ่มส่งแรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ภายในองค์กรที่มีผู้เกี่ยวข้องในฐานะพนักงานไม่ต่ำกว่า 30,000 อัตรา และมีสินทรัพย์ให้ต้องบริหารจัดการมูลค่านับแสนล้านบาท พร้อมกับผลประกอบการขาดทุนที่ทำให้การบินไทยต้องเสนอแผนฟื้นฟูให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจพิจารณาเพื่อขยายวงเงินภายใต้แผนการบริหารหนี้ เพิ่มขึ้นจาก 14,186.34 ล้านบาท เป็น 155,507.31 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการก่อหนี้ใหม่ของ บมจ.การบินไทย ด้วยการเพิ่มวงเงินกู้ต่างประเทศ สำหรับซื้อเครื่องบิน A320-200 และ B777-300ER และเพิ่มวงเงินกู้ในประเทศ เพื่อดำเนินการทั่วไป 10,000 ล้านบาท เป็น 25,000 ล้านบาท รวมถึงการบริหารหนี้ ของ บมจ.การบินไทย ด้วยการเพิ่มวงเงินในการทำ Swap Arrangement จาก 4,120 ล้านบาท เป็น 86,370.50 ล้านบาทด้วย ปัญหาของการบินไทยในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่า
จรัมพร โชติกเสถียรบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) Read More