กว่าจะมาเป็น CEYLON TEA
ในบรรดาของฝากของดีจากศรีลังกา เชื่อว่า Ceylon Tea คงเป็นตัวเลือกลำดับแรกๆ ที่ทุกคนคงนึกถึง เนื่องเพราะชาซีลอนได้สร้างชื่อและรุกทำตลาดในระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพน่าสนใจ และยังสามารถยืนหยัดเป็นผู้ส่งออกชาอันดับหนึ่งของโลก แม้ว่าหากพิจารณาในมิติของปริมาณที่ผลิตได้จะตามหลังทั้งจีนและอินเดียก็ตาม แต่กว่าที่ศรีลังกาจะกลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและมีตราประทับรับรองคุณภาพชาชั้นดี ในนาม Ceylon Tea เช่นทุกวันนี้ ต้องเรียนว่า ผืนแผ่นดินศรีลังกาถูกพลิกและแผ้วถาง เพื่อนำรากเหง้าแห่งพืชพันธุ์นานามีที่มาถึงก่อน เพื่อเปิดทางให้ชาจากต่างแดนเข้ามางอกเงยในดินแดนแห่งนี้ ประวัติการณ์แห่งความเป็นไปของชา ได้รับการระบุถึงต้นทางแหล่งที่มาว่า ถือกำเนิดในแผ่นดินจีน ในฐานะพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางยามาเนิ่นนานนับย้อนไปได้หลายพันปีก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว และส่งผ่านรากฐานทางวัฒนธรรมแห่งชาให้ขยายออกไปสู่การรับรู้ของอารยธรรมอื่นๆ ในซีกโลกตะวันออกให้ได้เก็บรับ แม้ว่าในระยะเริ่มแรกจะจำกัดวงอยู่เฉพาะกลุ่มชนชั้นนำ พระสงฆ์ และอภิสิทธิ์ชนทั้งหลายก็ตาม แต่นั่นก็ทำให้ชามีสถานะทางสังคมที่ผนวกแน่นอยู่กับแบบแผนและรากฐานความคิดความเชื่อแบบตะวันออกอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ชาเริ่มเข้าสู่การรับรู้ของผู้คนจากซีกโลกตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผ่านทางนักบวชและพ่อค้าชาวโปรตุเกส ที่มาตั้งสถานีการค้าอยู่ในมาเก๊า เพื่อบุกเบิกการค้ากับตะวันออกไกล แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงการส่งชากลับไปยังยุโรป กระทั่ง Dutch East India เริ่มนำใบชาเขียวจากจีนขึ้นสู่ฝั่งยุโรปที่อัมสเตอร์ดัม และทำให้ผู้คนในยุโรปได้ลิ้มลองรสชาติแห่งชามากยิ่งขึ้น แต่ดูเหมือนว่าอังกฤษจะกลายเป็นตัวแปรและกลไกสำคัญที่ส่งให้ชามีสถานะเป็นสินค้าและเครื่องดื่มที่แทรกตัวเข้าสู่วัฒนธรรมตะวันตกอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ความพยายามของอังกฤษที่จะแข่งขันและขจัดการผูกขาดการค้าชาจากจีน ทำให้อังกฤษนำเมล็ดพันธุ์ รวมถึงเทคนิคการปลูกและเก็บเกี่ยวชาจากจีน มาทำการส่งเสริมการปลูกชาบนดินแดนอาณานิคมอินเดีย ในรัฐอัสสัม และ Darjeering ในเบงกอลตะวันตก พร้อมกับให้สิทธิประโยชน์ในที่ดินทำกินให้กับชาวยุโรปรายใดก็ตามที่จะอพยพเข้ามา ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องปลูกชาเพื่อการส่งออกด้วย ในความเป็นจริง ชนพื้นเมืองในแคว้นอัสสัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชาว Singpho ก็ทำการเพาะปลูกชามาตั้งแต่ศตวรรษที่
Read More