Home > 2015 (Page 24)

คืนวันพระจันทร์เต็มดวง

 เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สังคมไทยคงได้รำลึกถึงพระพุทธคุณเนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นวันพระใหญ่ โอกาสแรกของปี 2558 นี้ ท่ามกลางกระแสข่าวความเป็นไปในแวดวงพระศาสนา และวงการสงฆ์ ที่อาจทำให้ศาสนิกชนอย่างพวกเรารู้สึกกระอักกระอ่วนในใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ลองหันไปพิจารณาสังคมที่ถือศีลถือธรรมตามหลักพุทธศาสนาแห่งอื่นๆ บ้างดีไหมคะว่าพวกเขามีวัตรปฏิบัติในการทำนุบำรุงศาสนาที่พวกเขาเชื่อถือ ศรัทธากันอย่างไร โดยเฉพาะความเป็นไปของพุทธศาสนิกชนในศรีลังกา ซึ่งได้ชื่อว่ามีความเคร่งครัดในเรื่องเหล่านี้เป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ วันสำคัญทางศาสนาของชาวพุทธศรีลังกา นอกจากจะกำหนดขึ้นคล้ายคลึงกับบ้านเรา ทั้งวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ตามแบบประเพณีนิยมแล้ว ยังมีวันพระ วันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถ ไม่แตกต่างกัน แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คงเป็นเรื่องของการให้ความสำคัญกับคืนวันที่พระจันทร์เต็มดวงในแต่ละเดือน ซึ่งชาวพุทธที่นี่เรียกว่า Poya และนับเป็นวันหยุดราชการทั่วทั้งประเทศศรีลังกาด้วย ความเป็นมาของ Poya ในด้านหนึ่งมีรากฐานต้นทางมาจากคำในบาลี-สันสกฤตที่เกี่ยวเนื่องด้วยคำว่า อุโบสถ (Uposatha) ซึ่งมีความหมายตามคำได้ว่า การเข้าถึง (อุปะ) ยาแก้โรค (โอสถ) ที่ขยายความไปสู่การเข้าถึงธรรมซึ่งเป็นยาแก้โรคจากกิเลสนั่นเอง ด้วยเหตุดังนี้ Poya จึงเป็นวันที่ดำเนินไปสู่การลด การละ ซึ่งนอกจากหน่วยราชการและห้างร้านจำนวนมากจะหยุด ไม่ทำการแล้ว ร้านค้าเนื้อสัตว์และเครื่องมึนเมาทั้งหลายก็จะหยุดทำการค้าเป็นการชั่วคราวในวันสำคัญนี้เช่นกัน กิจกรรมของชาวพุทธศรีลังกาในวัน Poya นับเป็นสีสันและเรื่องราวให้ชวนศึกษาติดตามไม่น้อย เพราะในศรีลังกาไม่มีธรรมเนียมให้สงฆ์มาเดินบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามท้องถนนเหมือนกับที่พบเห็นเจนตาในบ้านเรานะคะ แต่ชาวพุทธที่นี่จะเข้าวัดไปฟังเทศน์ ฟังธรรม ด้วยเครื่องแต่งกายสีขาวกันตั้งแต่เช้า และด้วยเหตุที่

Read More

ยุทธการสร้างแบรนด์ ฉบับ นวลพรรณ ล่ำซำ

 ในบรรดาแวดวงนักธุรกิจสตรีที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงแถวหน้าในสังคมไทย ชื่อของนวลพรรณ ล่ำซำ ถือเป็นชื่อที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดชื่อหนึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไม่เฉพาะในมิติของการดำเนินธุรกิจ หากแต่ยังขยายไปสู่บริบทแวดล้อมอื่นๆ ที่ เธอคนนี้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในฐานะผู้จัดการทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ที่ประสบความสำเร็จได้ไปสำแดงฝีเท้าในสังเวียนฟุตบอลโลกหญิง ซึ่งถือเป็นการไปฟุตบอลโลกครั้งแรกของไทย โดยไม่ต้องรอถึงชาติหน้าชาติไหน อย่างที่ทีมฟุตบอลชายไทยกำลังพยายามลบคำปรามาสนี้ออกไป ความสำเร็จในการนำพาทีมฟุตบอลหญิงไทยไปแข่งขันรอบสุดท้ายในฟุตบอลโลกหญิง ทำให้มีหลายฝ่ายพยายามที่จะเรียกขาน นวลพรรณ ล่ำซำ ในฐานะที่เป็นนางฟ้าแห่งวงการฟุตบอลไทย ซึ่งอาจไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะผลงานในการแข่งขันฟุตบอลเท่านั้น แต่ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกและชาติตระกูลถิ่นกำเนิดก็อาจมีส่วนให้คำเรียกขานนี้ ไม่ได้ดูเกินจริง และแน่นอนว่าคงให้ความรู้สึกที่เป็นไปในทางที่ดีกว่าฉายา สวยประหาร ที่นวลพรรณ ล่ำซำ เคยได้รับมาก่อนหน้านี้ นวลพรรณ ล่ำซำ เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2509 เป็นบุตรีคนโตของโพธิพงษ์ ล่ำซำ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กับ ยุพา ล่ำซำ เจ้าของธุรกิจเมืองไทยประกันชีวิต และเมืองไทยประกันภัย มีน้องสาวและน้องชายประกอบด้วย วรรณพร พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี แลนด์สเคป จำกัด และ สาระ ล่ำซำ ผู้บริหารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ซึ่งทั้งหมดนับเป็นทายาทสายตระกูลล่ำซำ รุ่นที่

Read More

คำแนะนำสั้นๆ เพื่อชีวิตที่ยืนยาว (1)

 บทความสั้นกระชับเกี่ยวกับปัญหาและการดูแลสุขภาพที่นำเสนอนี้ คัดเลือกจากหนังสือ A Short Guide to a Long Life เขียนโดยนายแพทย์ David B. Agus, MD ผู้เขียน The End of Illness ซึ่งเป็นหนังสือเพื่อสุขภาพเล่มแรกของเขา และติดอันดับหนึ่งหนังสือขายดีที่สุดของ  New York Times David B. Agus เป็นแพทย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งระดับแถวหน้าคนหนึ่งของโลก เขาเป็นศาสตราจารย์ด้านการแพทย์และวิศวกรรมประจำ University of Southern California (USC) และเป็นผู้อำนวยการ Westside Cancer Center และ Center for Applied Molecular Medicine ของ USC รวมทั้งเป็นคอลัมนิสต์ของสำนักข่าว CBS News เราประเดิมบทความแรกด้วยเรื่อง ...  ประโยชน์อเนกอนันต์ของยาลดไขมันกลุ่ม statin ปัจจุบันโรคหัวใจยังได้ชื่อว่าเป็นเพชฌฆาตหมายเลขหนึ่งที่คร่าชีวิตคนอเมริกันได้มากที่สุด

Read More

นวลพรรณ ล่ำซำ สร้างฐานใหม่ “เมืองไทยประกันภัย”

 หลังดีลประวัติศาสตร์ควบรวมกิจการ “เมืองไทยประกันภัย” กับ “ภัทรประกันภัย” เมื่อปี 2551 นวลพรรณ ล่ำซำ ใช้จุดแข็งจากฐานทางการเงิน ฐานการบริหาร ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และช่องทางการตลาด เปิดเกมรุกช่วงชิงส่วนแบ่ง เปลี่ยนสถานะจากบริษัทรั้งท้ายไม่ติดอันดับ กระโดดสู่กลุ่มท็อปไฟว์ กวาดเบี้ยประกันภัยทะลุหลักหมื่นล้านบาท และล่าสุดแซงหน้าบริษัทคู่แข่งยึดอันดับ 4 ในตลาด ดันกำไรพุ่งสูงสุดติดต่อกัน 3 ปี  แน่นอนว่าชื่อนวลพรรณ ล่ำซำ ฉายา “มาดามแป้ง” “สวยประหาร” และ “นางฟ้าท่าเรือ” ด้านหนึ่งสร้างสีสันให้องค์กรธุรกิจ แต่สำคัญมากกว่านั้น นวลพรรณมักย้ำกับสื่อทุกครั้งว่า เติบโตและเรียนรู้ธุรกิจประกันวินาศภัยมาตลอดชีวิต ตั้งแต่รุ่นพ่อ คือ โพธิพงษ์ ล่ำซำ จนเข้ามาบริหารงานนานเกือบ 10 ปี และเชื่อมั่นว่า ประกันภัย คือปัจจัยที่ 5 ของมนุษย์ ซึ่งหมายถึงโอกาสการเติบโตทางธุรกิจอีกมากมาย แต่ต้องสร้าง “จุดต่าง” จากคู่แข่ง  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์การประกันภัยหลากหลายรูปแบบตามสถานการณ์และไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย เพราะในอดีตผลิตภัณฑ์ในตลาดประกันวินาศภัยเหมือนถูกจำกัดไว้ไม่กี่ประเภท เช่น

Read More

“ล่ำซำ” ยึดธุรกิจประกัน เส้นทาง 80 ปีจาก “กวางอันหลง”

 เส้นทางธุรกิจประกันภัยของกลุ่ม “ล่ำซำ” ใช้เวลากว่า 80 ปี ต่อสู้ในสงครามการแข่งขันจนยึดกุมส่วนแบ่งติดอันดับ “ท็อปไฟว์” ทั้งตลาดประกันชีวิตและประกันวินาศภัย กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่อีกสายหนึ่งของตระกูล เม็ดเงินในตลาดมากกว่า 7 แสนล้านบาท  ต้องถือว่ากิจการประกันภัยของกลุ่มล่ำซำเกิดขึ้นพร้อมๆ กับกิจการธนาคารพาณิชย์และเป็นธุรกิจที่ฝังรากลึกตั้งแต่ต้นตระกูล แม้ล่ำซำรุ่นที่ 1 อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ตัดสินใจเดินทางจากตำบลส่งเค้าโป๊ อำเภอบ้วยกุ้ย จังหวัดเกี่ยเอ้งจิวฮู้ มลฑลกวางตุ้ง เข้าสู่ประเทศไทย โดยเริ่มทำมาหากินในร้านขายเหล้าของ “จิวเพ็กโก”     แต่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ศึกษาหาความรู้เปลี่ยนฐานะเป็นเถ้าแก่ เปิดร้านขายไม้ซุง ติดลำน้ำเจ้าพระยาแถวจักรวรรดิ สัมพันธวงศ์ ชื่อร้าน “ก้วงโกหลง” และทำสัมปทานป่าไม้แถวจังหวัดนครสวรรค์กับแพร่ ขยายการค้าทั้งในและต่างประเทศ เติบโตรุดหน้า ต่อมา อึ้งยุกหลง ล่ำซำ บุตรชาย เข้ามาดูแลรับผิดชอบธุรกิจของตระกูล ขยายกิจการโรงสีและรับซื้อข้าว รวมถึงสินค้าเกษตรตัวอื่นๆ ส่งขายต่างประเทศ  ปี 2475 อึ้งยุกหลงก่อตั้งบริษัทกวางอันหลงประกันภัย และธนาคารก้วงโกหลง โดยกิจการประกันภัยทำหน้าที่ดูแลและป้องกันวินาศภัยของการขนส่งสินค้า ส่วนธนาคารเป็นเพียงร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา แต่ต่อมาธนาคารต้องปิดตัว ผลพวงจากนโยบายของคณะราษฎร ส่วนกิจการประกันภัยมีการขยายธุรกิจต่อเนื่องและเปลี่ยนชื่อเป็น “ล่ำซำประกันภัย” ขณะที่จุลินทร์

Read More

ครัวสร้างชาติ ครัวไทยสู่โลก แบบ คสช.

 นโยบายสาธารณะจำนวนมาก ที่เคยถูกปรามาสว่าเป็นเพียงนโยบายขายฝัน หรือประชานิยม และเป็นมรดกของรัฐบาลในชุดก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย ครัวไทยสู่ครัวโลก (Kitchen of the World) รวมถึงการวาดหวังจะเป็นศูนย์กลางแฟชั่น ศูนย์กลางการบิน ฯลฯ ซึ่งเคยกำหนดให้เเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพสร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านมากว่าหนึ่งทศวรรษ และเปลี่ยนพ้นผ่านความเป็นไปมาหลายรัฐบาลจนถึงรัฐบาลยุคสมัยแห่ง คสช. ซึ่งประกาศท่าทีที่พร้อมสนับสนุนให้มีนโยบายกระตุ้นอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกอาหารไทยที่ยังคงให้การส่งเสริมนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย รัฐบาลชุด คสช. วางมาตรการที่จะเข้ามาสานต่อโครงการเพื่อให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักในในเวทีโลกมากขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ประการ คือ 1. การสร้างนวัตกรรมและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน 2. การพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารที่ล้ำสมัย เข้าถึงได้ง่ายและตอบสนองทันต่อเหตุการณ์ 3. การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการผลิตตลอดห่วงโซ่อาหารสู่สากล และ 4. การพัฒนาสมรรถนะสถาบันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ โดยมีแผนดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  ขณะที่เพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยปีนี้ว่ามีมูลค่า 1.08 ล้านล้านบาท ขยายตัว 6.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยปีนี้สถาบันเร่งผลักดันโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารของไทย และโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

Read More

อัตลักษณ์แห่งชา

 ความเป็นไปของชาจากศรีลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของเงินตราต่างประเทศ และหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจศรีลังกาด้วยสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อีกทั้งผูกพันเชื่อมโยงผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากธุรกิจนี้มากกว่า 1 ล้านคน ยังมีมิติที่น่าสนใจและควรบันทึกไว้เป็นข้อมูลอีกนะคะ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า Ceylon Tea มีคุณภาพหรือคุณลักษณะอย่างไรหรือ ถึงทำให้แปลกแตกต่างจากชาจากแหล่งอื่นๆ และสามารถสร้างเสริมอัตลักษณ์ของชา Ceylon ขึ้นมาได้ หากจะกล่าวอย่างรวบรัด ด้วยเพียงระบุว่า ปัจจัยด้านความชื้น สภาพอากาศที่เย็นสบาย ปริมาณน้ำฝนที่พอเพียง ส่งผลให้ชาซีลอนมีคุณภาพดี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่เราต้องอธิบายกันให้มากความ แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญมากไปกว่านั้น และอาจเป็นข้อต่อสำคัญที่ทำให้สามารถนำเงื่อนไขทางธรรมชาติมาปรับใช้ได้อย่างลงตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ เมื่อชาเดินทางมาถึงและเริ่มจะปักหลักฐานในศรีลังกานั้น ชาได้แพร่หลายและแตกยอดผลิใบอยู่ทั้งในจีน และอินเดีย โดยเฉพาะการเพาะปลูกเชิงพาณิชยกรรมใน Assam และ Darjeering มาก่อนหน้าแล้ว การเป็นผู้มาทีหลังในอุตสาหกรรมชาของศรีลังกา จึงดำเนินไปท่ามกลางข้อจำกัดทั้งในมิติของขนาดพื้นที่เพาะปลูกและการเบียดแทรกเข้าสู่การรับรู้ของตลาดในฐานะผู้ประกอบรายเล็กเจ้าใหม่ ยังไม่นับรวมถึงการช่วงชิงพื้นที่เพาะปลูกกับพืชเศรษฐกิจดาวรุ่งและกระแสวัฒนธรรมของกาแฟ ที่กำลังถั่งโถมเข้าสู่ยุโรปอีกด้วย ประเด็นและมิติที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งต้องยกประโยชน์ให้กับอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าอาณานิคม ที่ทำให้วัฒนธรรมแห่งชาแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ผู้มาใหม่อย่างศรีลังกาได้มีโอกาส “ผ่านเกิด” บนสังเวียนชาที่เข้มข้นระดับนานาชาติในเวลาต่อมา เพราะในขณะที่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ กำลังรื่นรมย์อยู่กับรสชาติของชาจากแหล่งผลิตใน Assam Darjeering และแหล่งอื่นๆ อย่างเอิกเกริก พร้อมๆ

Read More

การค้าวันอาทิตย์

เพียงหกเดือนหลังจากเข้ารับตำแหน่ง ความนิยมในตัวประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์(François Hollande) ก็ลดลงมากอย่างน่าใจหาย สองปีกว่าให้หลัง คะแนนนิยมต่ำกว่าร้อยละ 20 ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองของฝรั่งเศส สืบเนื่องมาจากชาวฝรั่งเศสพบว่าประธานาธิบดีไม่ได้ดำเนินนโยบาย “เปลี่ยนแปลง” ประเทศตามนโยบายหาเสียง แถมประเทศยังรุมเร้าด้วยปัญหาเศรษฐกิจ ไม่มีความเติบโต อัตราคนว่างงานมีแต่เพิ่มขึ้น แล้วก็ถึงเวลาปรับรัฐบาล ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่และรัฐมนตรีเศรษฐกิจคนใหม่ ซึ่งเป็นหนุ่มวัย 36 ปีชื่อ เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ซึ่งเคยเป็นรองเลขาธิการทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) เอ็มมานูเอล มาครงมีหน้าที่จัดแผนนโยบายที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หนึ่งในมาตรการคือการอนุญาตให้ร้านค้าเปิดทำการวันอาทิตย์ ในฝรั่งเศสห้ามทำการค้านอกเหนือจากร้านอาหารในวันอาทิตย์ ยกเว้นในย่านวัฒนธรรมและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดังเช่นย่านเลอ มาเรส์ (Le Marais) ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง เลอ มาเรส์จึงคับคั่งด้วยผู้คนในวันอาทิตย์ มีทั้งชาวปารีสและนักท่องเที่ยว แบร์นารด์ อาร์โนลต์ (Bernard Arnault) ประธานกลุ่ม LVMHมองเห็นหนทางหาเงินเพิ่ม จึงลักไก่เปิดร้านหลุยส์ วุตตง (Louis Vuitton) ถนนชองป์เซลีเซส์

Read More

2558 ปีทองธุรกิจอาหาร? ทุกแนวรบพร้อมแข่งเดือด

 ปี 2558 หรือปีแพะนี้ ถือได้ว่าเป็นปีที่ท้าทายสำหรับธุรกิจอาหารในประเทศไทย ท่ามกลางกระแสการแข่งขันอย่างรุนแรงของผู้ประกอบการน้อยใหญ่ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่พาเหรดเข้ามาในสมรภูมิอาหาร ในขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ามูลค่าของร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 267,000-275,000 ล้านบาท เติบโตอยู่ในอัตราร้อยละ 2.9-5.9 จากในปี 2557 และหากครอบคลุมถึงเชนร้านอาหารและร้านอาหารทั่วไป น่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ในระดับ375,000-385,000 ล้านบาท เติบโตอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 4.0-6.8 นับว่าส่งผลให้การแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารเป็นไปอย่างรุนแรงขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากลยุทธ์การขยายสาขาของเชนร้านอาหารในปี 2558 จะเปลี่ยนแปลงไปจากปี 2557 กล่าวคือจากการให้ความสำคัญกับการขยายสาขาจำนวนมากในทำเลที่ตั้งที่เป็นห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ และคอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ เพื่อให้แบรนด์ร้านอาหารมีความโดดเด่น และสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมได้มากกว่าคู่แข่งขันมาสู่การให้ความสำคัญกับการคัดเลือกทำเลที่ตั้งที่จะขยายสาขามากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจง      อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการนำเสนอรูปแบบอาหารที่แปลกใหม่และสอดคล้องกับรูปแบบการรับประทานอาหารนอกบ้านของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอีกด้วย ไม่ว่าจะด้านรสชาติอาหาร ความแตกต่างและความหลากหลายของอาหาร การตกแต่งร้าน การให้บริการนอกเหนือจากการจัดโปรโมชั่น การรับส่วนลดได้ ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านอาหารไม่น้อยไปกว่าปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว ในขณะที่ธุรกิจร้านอาหารถ้าจะแบ่งคร่าวๆ โดยทั่วๆ ไป อาจแบ่งได้ 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ (1) ร้านอาหารต่างชาติ เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น อาทิ เซนหรือฟูจิ ร้านอาหารอิตาเลียน (2)

Read More

ชาวเกาะฝ่าวิกฤต ลุยตลาดโลก

 “การขาดแคลนวัตถุดิบหรือมะพร้าวเป็นปัญหาที่กังวลมากที่สุด ปัญหาด้านการเมืองนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็ต้องส่งออก ผมไม่กังวล ผมกังวลเรื่องไม่มีวัตถุดิบในการผลิตมากกว่า” อภิศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพผดุงพร จำกัด ผู้ผลิตกะทิชาวเกาะ กล่าวในวันแถลงผลประกอบการปี 2556  ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ทำให้ในปี 2557 บริษัทฯ หันมาบริหารวัตถุดิบโดยนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และบริหารวัตถุดิบในประเทศโดยประเมินผลผลิตโดยรวมในแต่ละช่วงเวลา จากแปลงทดลองของบริษัทฯ รวมถึงการใช้กลไกราคารับซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ทั้งในช่วงที่มะพร้าวมีปริมาณมากและช่วงขาดแคลน ทำให้ในปีต่อมาบริษัทมีวัตถุดิบคงคลังเพื่อผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จากการแถลงผลประกอบการปี 2557 บริษัทฯ มียอดขายรวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2556 มียอดขาย 4,500 ล้านบาท นับเป็นยอดขายที่โตแบบก้าวกระโดด ด้วยอัตราการเติบโตทะลุเป้า 30% และเป็นยอดขายที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ตั้งบริษัทฯ มา อีกทั้งเป็นการสร้างยอดขายที่สวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่กำลังซบเซาอีกด้วย แม้ชาวเกาะจะสามารถขจัดปัญหาวัตถุดิบให้หมดไป แต่ปีนี้ชาวเกาะพบปัญหาใหม่ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา และกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวดี ซึ่งอาจมีผลกระทบบ้างเล็กน้อยกับธุรกิจ แต่กระนั้นปัจจัยสำคัญหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรง คือการแข็งค่าของเงินบาท   ขณะที่ยอดขายส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ สัดส่วนการส่งออกต่างประเทศกับการจำหน่ายในไทย ในอัตราร้อยละ 80

Read More