Home > 2015 > กรกฎาคม (Page 3)

เมื่อนโปเลองที่ 3 ไม่ใช่หลานของนโปเลองที่ 1

 คอลัมน์ From Paris ทหารหนุ่มจากกอร์ส (Corse) หรืออีกนัยหนึ่งเกาะคอร์สิกา (Corsica) ในภาษาอังกฤษ เติบใหญ่ได้เป็นแม่ทัพในการสงคราม จนขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศฝรั่งเศส และตั้งตนเป็นจักรพรรดิด้วยการประกอบพิธีปราบดาภิเษกที่วิหารโนเทรอะ-ดาม เดอ ปารีส (Notre-Dame de Paris) ถือเป็นยุคจักรวรรดิที่ 1 (Premier Empire)  ช่วงที่นโปเลองเรืองอำนาจอยู่ระหว่างปี 1804-1814 หลังจากล่าถอยจากรัสเซีย อันหมายถึงความพ่ายแพ้หลังจากที่ชนะสงครามมาตลอด นโปเลองต้องสละบัลลังก์และถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา (Elba) แล้วหลบหนีกลับมาฝรั่งเศส นำทัพไปรบอีกในปี 1815 แล้วประสบความพ่ายแพ้ในสมรภูมิวอเตอร์ลู (Waterloo) หลังจากนั้นถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์-เฮเลนา และถึงแก่กรรมหลังจากนั้น 6 ปีด้วยมะเร็งกระเพาะอาหาร บ้างก็ว่าเพราะถูกวางยาพิษ หลุยส์ โบนาปาร์ต (Louis Bonaparte) น้องชายของนโปเลองมีลูกชื่อหลุยส์ นโปเลอง โบนาปาร์ต (Louis Napoléon Bonaparte) ซึ่งภายหลังได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่สอง (Seconde République) ภายหลังตั้งตนเป็นจักรพรรดินโปเลองที่ 3 (Napolélon

Read More

จับตา ปตท. ผนวก ราชบุรีโฮลดิ้ง พลังงานไทยในอาเซียน

 ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อสภาพอากาศทั้งไทยและทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ด้วยวิกฤตด้านพลังงานที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ ทำให้หลายหน่วยงานออกมาตรการหรือกิจกรรมเพื่อรณรงค์การประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการหาช่องทางที่จะนำพลังงานทดแทนทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานจากขยะ มาใช้ หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือการมองแหล่งพลังงานตามแนวตะเข็บชายแดนหรือประเทศเพื่อนบ้าน เช่นที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เพิ่งจรดปากกาลงนามความร่วมมือลงทุนด้านพลังงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา แม้หลักใหญ่ใจความของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว จะมีเนื้อหาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนโครงการด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับความต้องการใช้พลังงานของประเทศ เสริมสร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต และสร้างความเข็มแข็งในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศร่วมกัน ดูเหมือนบันทึกความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่สองบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน มากกว่าจะเป็นดั่งสโลแกนที่ได้ยินจนคุ้นหูว่า “พลังไทย เพื่อไทย”  แน่นอนว่าความร่วมมือของทั้งสองบริษัทจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอย่าง ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่นอกจากจะเป็นประธานในงานและพยานคนสำคัญแล้ว ยังให้ความเห็นที่เสมือนเป็นแรงสนับสนุนแก่บริษัทพลังงานและบริษัทไฟฟ้าของไทยที่เป็นไปเพื่อรองรับอนาคตของประเทศ การศึกษาเพื่อดำเนินโครงการด้านพลังงานที่สำคัญและเป็นทิศทางพลังงานในอนาคตที่จำเป็นของไทย ทั้งก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหิน “พลังความร่วมมือของแต่ละบริษัทจะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่อยู่ในไทยและในต่างประเทศได้ทั้งในวันนี้และอนาคต ที่สำคัญที่สุดคือเป็นการแสดงถึงศักยภาพของบริษัทพลังงานและบริษัทไฟฟ้าของไทย ที่สามารถสร้างโครงข่ายพลังงานในระดับชาติ ด้วยความมุ่งมั่นในบทบาทหน้าที่สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้านพลังงานของสังคมไทย” แนวความคิดดังกล่าวดูเหมือนจะตรงกับสโลแกนของ คสช. ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” การขยับของสองบริษัทที่มีธงนำด้านพลังงาน

Read More

ฝันของ Medical Hub กลางสมรภูมิอุตสาหกรรมยาไทย

  ความเจ็บป่วยเป็นสิ่งธรรมดาของมนุษย์ และเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องพยายามหาทางแก้ไข บำบัด เพื่อความอยู่รอด ยาถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์  ธุรกิจยาเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างใหญ่ และมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งแสนแปดหมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี ทั้งนี้ได้แบ่งเป็นตลาดยาในโรงพยาบาลประมาณ 80% และเป็นตลาดร้านขายยา ประมาณ 20% โดยที่ตลาดโรงพยาบาลนั้นแบ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐ 80% โรงพยาบาลเอกชน 20% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าตลาดยานั้นยังคงเน้นไปที่โรงพยาบาลรัฐเป็นส่วนใหญ่ และเป็นการใช้รักษาโรคต่อเนื่อง เช่น ยาเบาหวาน  ยาความดันโลหิต ยาโรคหัวใจ เป็นต้น ท่ามกลางการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งผู้ผลิตไทยและต่างชาติ ปัจจุบันบริษัทผลิตยาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริษัทผู้ผลิตยาข้ามชาติ (MNCs หรือ Multinational Companies)  อาทิ ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น และบริษัทยาที่ผลิตในประเทศ  ซึ่งส่วนมากจะเป็นยาสามัญทั่วไป ในขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาพบว่ายอดขาย 70% ของตลาดยามาจากบริษัทข้ามชาติเพราะมักจะเป็นยาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มีพื้นฐานมาจากการวิจัยพัฒนา ซึ่งมีการนำเข้าก็มี 2 แบบคือ การให้

Read More

อาชีพ โอกาส และการศึกษา

 Column: AYUBOWAN ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของศรีลังกาในช่วงที่ผ่านมา กำลังติดตามมาด้วยคำถามที่น่าสนใจมากประการหนึ่ง เป็นปัญหาพื้นฐานที่กำลังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อโครงสร้างและการพัฒนาในอนาคตของศรีลังกาเลยทีเดียว ศรีลังกาเป็นดินแดนที่มีเกียรติประวัติด้านการศึกษามาอย่างยาวนานนับย้อนกลับไปได้ไกลกว่า 2,000 ปี ขณะที่กระบวนการพัฒนาด้านการศึกษาสมัยใหม่ก็ส่งผลให้ศรีลังกาเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือในหมู่ประชากร (literacy rate) สูงถึงร้อยละ 98.1 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน และเป็นประเทศที่มีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียใต้ หรือแม้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียแห่งอื่นๆ ศรีลังกาก็จัดเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอยู่ในระดับแนวหน้าประเทศหนึ่งหากประเมินในมิติที่ว่านี้ การศึกษาของศรีลังกา มีบทบาทอย่างสำคัญในชีวิตของชาวศรีลังกาและแวดล้อมมิติทางวัฒนธรรมของสังคมศรีลังกาไว้อย่างแนบแน่นนับเนื่องตั้งแต่สมัยพุทธกาล และเมื่อผนวกรวมให้เข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ในช่วงที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ก็ยิ่งเป็นการเปิดพื้นที่กว้างให้กับนักคิดนักเขียนและนักวิชาการชาวศรีลังกาให้ได้แสวงหาองค์ความรู้ไปได้ไกลยิ่งขึ้น ภายใต้พื้นฐานการศึกษาสมัยใหม่ตามแบบของระบบจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ มิได้จำกัดความอยู่เฉพาะความได้เปรียบจากความสามารถในการสื่อสาร อ่านเขียนภาษาอังกฤษได้เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงรูปแบบการจัดระบบการศึกษาที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน และปกป้องให้อาชีพครูไม่ตกอยู่ภายใต้ค่าตอบแทนราคาต่ำหรือจากการบริหารที่ไม่เป็นธรรม ระบบโรงเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งและสถาปนาอย่างเป็นระบบระเบียบ และสามารถสร้างเสริมชื่อเสียงโดดเด่นในแวดวงวิชาการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตชนชั้นนำ เพื่อสนองตอบต่อพัฒนาการทางสังคมในเวลาต่อมา พัฒนาการด้านการศึกษาในช่วงหลังจากที่ศรีลังกาได้รับเอกราช ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากผลของความตื่นตัวว่าด้วยสิทธิ และแนวทางการพัฒนาที่ระบุให้การศึกษาเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่ต้องจัดสรรให้กับประชาชนทุกคน พร้อมทั้งบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้รัฐสร้างเสริมหลักประกันในการบริหารจัดการเพื่อให้ทรัพยากรที่ว่านี้กระจายสู่หมู่ชนทุกระดับ เมื่อการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในทรัพยากรที่รัฐต้องบริหารจัดการ ความสามารถในการกระจายโอกาสจึงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยที่ผ่านมาศรีลังกาพยายามที่จะส่งมอบโอกาสอย่างไม่จำกัดให้กับประชาชน โดยเยาวชนในระดับประถมและมัธยมศึกษาจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐให้การศึกษาดำเนินไปอย่างไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ขณะที่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นกว่านั้น เป็นการแข่งขันที่พิสูจน์ทราบกันด้วยความสามารถในการสอบแข่งขัน ภายใต้เงื่อนไขและข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจะได้รับการจัดสรรไปสู่บุคคลที่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการนี้ได้อย่างเต็มที่ และสามารถหนุนนำการพัฒนาให้กับสังคมในกาลอนาคต การแข่งขันเพื่อเบียดชิงทรัพยากรการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดในระดับที่สูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลให้เกิดสถาบันกวดวิชาเพื่อหนุนส่งความสามารถในการสอบได้คะแนนดีในหลายระดับชั้น ซึ่งธุรกิจสถานกวดวิชาเหล่านี้กลายเป็นธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางกระแสวิพากษ์ทางสังคมอย่างหนักว่าเป็นการทำร้ายความสดใส สุขภาพและจิตวิญญาณวัยเด็กของเยาวชน อย่างไรก็ดี การเกิดขึ้นของสถาบันกวดวิชาในด้านหนึ่งเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงของศรีลังกาที่อนุญาตให้เฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐเท่านั้นที่มีสิทธิเปิดการเรียนการสอนและประสาทปริญญาบัตร ขณะที่ความพยายามที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยโดยเอกชนได้รับการคัดค้านด้วยเหตุผลที่ว่า การเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยเอกชนจะทำให้ระบบการศึกษามีสถานะไม่แตกต่างจาก สินค้าชนิดหนึ่ง ที่สามารถใช้เงินตราและความสามารถทางเศรษฐกิจซื้อหามาได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการทำลายคุณภาพการศึกษาทั้งระบบของศรีลังกาในระยะยาว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีอยู่ 15 แห่งสามารถรองรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อได้เพียงร้อยละ 16-20

Read More

ฮอลล์ย้ำความเป็นผู้นำตลาด ปรับโฉมและรสชาติเอาใจผู้บริโภครุ่นใหม่

บริษัท มอนเดลีซอินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้นำด้านขนมและของว่างที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของตลาดลูกอม เปิดตัวแคมเปญใหม่จากฮอลล์ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เย็นเหลือเชื่อ รสชาติลงตัว” ปรับโฉมแพ็กเกจให้ดูทันสมัย พร้อมปรับปรุงสูตรให้มีรสชาติกลมกล่อมโดยยังมอบความสดชื่นทุกลมหายใจเพื่อเพิ่มความถี่ในการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มเดิมและขยายฐานไปสู่คนรุ่นใหม่ คุณกรกต วุฒิหิรัญธำรง ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมและหมากฝรั่ง บริษัท มอนเดลีซ อินเตอร์เนชันแนล “จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยพบว่า ผู้บริโภคนิยมบริโภคลูกอมเม็ดแข็งถึงร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับลูกอมชนิดอื่นๆ โดยมีฮอลล์เป็นผู้นำตลาด ทั้งนี้เพื่อครองความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง

Read More

โออิชิ” ปล่อยหมัดฮุค! รุกตลาด “อาหารพร้อมรับประทาน” เต็มสูบ

โออิชิ กรุ๊ป เจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่น ทุ่มงบฯกว่า 30 ล้านบาท รุกตลาดอาหารพร้อมรับประทานเต็มสูบ จัดแคมเปญการตลาด โออิชิ “ทริปตื่นตัว ทัวร์ตื่นเต้น” พร้อมดึง 3 นักแสดงขวัญใจวัยรุ่น กัปตัน-ชลธร คงยิ่งยง, ไวท์-ณวัชร พุ่มโพธิ์งาม, และ เงิน-อนุภาษ เหลืองสดใส จาก LOVE SICK THE SERIES มัดใจผู้บริโภค คาดรายได้กลุ่มอาหารพร้อมรับประทานโตมากกว่า 100% คุณแซม-ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป

Read More

“มาม่า” พลิกกลยุทธ์ บุก “ราเมน” สู้วิกฤต

 การเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารราเมนญี่ปุ่น “KAIRI KIYA (ไคริคิยะ)” ของ “ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์” เป้าหมายหนึ่งเป็นการเปิดกลยุทธ์แก้พิษเศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มรากหญ้าอย่างจังจนภาพรวมตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท เติบโตติดลบ และยอดขาย “มาม่า” เติบโตต่ำสุดในรอบ 42 ปี “มาม่า ซองละ 6 บาท ราเมน ชามละ 150 บาท เพิ่มมูลค่าตัวนี้ดีกว่า!!” เวทิต โชควัฒนา ในฐานะกรรมการรองผู้อำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และกรรมการบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” กล่าวกับ “ผู้จัดการ360  ํ”  แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบสถานการณ์การเติบโตทางธุรกิจ เวทิตยอมรับว่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือ “บะหมี่ซอง” ราคาซองละ 6 บาท มีลูกค้าระดับรากหญ้าเป็นกลุ่มหลักและเป็นสินค้าทั่วไปที่แมสมากๆ  แม้มาม่าพยายามใช้กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าสินค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น ออกสินค้ากลุ่มพรีเมียมอย่างมาม่าราเมง บะหมี่อบแห้ง “เมนดาเกะ”

Read More