Home > 2015 > มกราคม (Page 3)

นิโคล่ เปิดตัวสติ๊กเกอร์ไลน์ เอาใจแฟชั่นนิสต้ายุคโซเชียล กับคาแรกเตอร์ “Monkey James Ji”

ยูนิโคล่ ตอกย้ำผู้นำตลาดเสื้อผ้าและแฟชั่นระดับโลกจากประเทศญี่ปุ่น เปิดตัว “สติ๊กเกอร์ไลน์” (UNIQLO Thailand LINE Sticker) เอาใจแฟชั่นนิสต้ายุคโซเชียล ด้วยสติ๊กเกอร์ไลน์คอลเล็กชั่น ‘Monkey James Ji’ สุดน่ารักแสนซนที่นำเอาคาแรคเตอร์ของของลิงน้อยเจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข แบรนด์แอมบาสเดอร์ของยูนิโคล่ มาสร้างสรรค์ให้เข้ากับหลากหลายโอกาสการใช้งาน โดยแฟนๆสามารถดาวน์โหลดไปได้ฟรีตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2558 นี้ เพียงแค่ค้นหาสติ้กเกอร์ ‘Monkey James Ji’ ในหน้า Sticker Shop จากนั้นคลิก

Read More

ส. ขอนแก่น ส่งข้าวขาหมูยูนนานรุกตลาดลาว

ส. ขอนแก่น ส่งข้าวขาหมูยูนนานรุกตลาดลาว นายเจริญ รุจิราโสภณ (ที่ 5 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ส. ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SORKON ร่วมเปิดตัวร้านข้าวขาหมูยูนนานในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามแผนยุทธศาสตร์การรุกธุรกิจร้านอาหารบริการด่วนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการเปิด AEC โดยมีเป้าหมายในการขยายสาขาร้านข้าวขาหมูยูนนานอีก 15-20 สาขา ภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการแล้ว 22สาขา ในทำเลแหล่งชุมชนและในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทั้งในและต่างประเทศ ************************************* เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ โดยบริษัท มาสเตอร์ มายด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ในนามของ บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SORKON รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ: ฐิตารีย์ ภูมิพัฒน์อัคร(หญิง) โทร.081-700-2369 E-mail: [email protected]

Read More

“เด็กไทย” เมื่อมูลค่ามาก่อนคุณค่า กวดวิชา ตลาดชอปปิ้งทางการเรียน

  จากการจัดอันดับ “ระดับการศึกษา” ของไทยที่เป็นอันดับสุดท้ายในอาเซียน เป็นตัวบ่งบอกว่าระบบการศึกษาของไทยมีจุดอ่อนและเป็นปัญหาสะสมมานาน แม้ว่าภาครัฐจะให้ความสำคัญในการศึกษา โดยการทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาล เรียกว่าแทบชนเพดาน ให้กับงานด้านการศึกษา แต่เหมือนว่าไม่ได้เป็นการตอบโจทย์ที่จะพัฒนาเรื่องการเรียนของเด็กไทยได้ ในขณะที่การเติมความฝันที่จะเข้าเรียนไม่ว่าจะเริ่มจากระดับประถม มัธยม หรืออุดมศึกษา ยังมีการวางระบบการศึกษาเป็นแบบการแข่งขัน ทุกคนมุ่งเข้าสู่การแข่งขันเพื่อให้เข้าเรียนในสถาบันที่ตนเองต้องการ โรงเรียนกวดวิชาจึงตอบโจทย์ทั้ง “เด็ก” และ “พ่อแม่ผู้ปกครอง” ที่ถูกกำหนดเส้นทางไว้เบ็ดเสร็จจากการออกระบบการศึกษาที่มีจุดอ่อน ขาลงการศึกษา แต่กลับเป็นขาขึ้นโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ในปี 2556 พบว่า ประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชารวม 1,983 แห่ง แบ่งเป็นเขตกรุงเทพมหานคร 487 แห่ง และต่างจังหวัดอีก 1,496 แห่ง ซึ่งการศึกษาในโรงเรียนกวดวิชานั้นส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง และนักเรียนทุกคนต้องจ่ายเงินค่าเรียน จนทำให้โรงเรียนกวดวิชากลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรมหาศาล สถาบันกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่จะแยกสอนสถาบันละวิชาเดียวเท่านั้น เช่น เอ็นคอนเซ็ปต์ สอนเฉพาะภาษาอังกฤษ, เคมีอุ๊ สอนเฉพาะวิชาเคมี, แอพพลายฟิสิกส์ สอนเฉพาะฟิสิกส์ และมีเพียงบางสถาบันเท่านั้นที่สอนหลายวิชา เช่น เดอะติวเตอร์ เดอะเบรน เรื่องจริงที่น่าเศร้าและสะเทือนใจ ก็คือในช่วงเปิดเทอม เด็กต้องเรียนเนื้อหาคู่ขนานกับการเรียนในโรงเรียน เพื่อตอบโจทย์ที่ว่า

Read More

ย้อนดู “วันเด็ก” ผ่านคำขวัญสะท้อนยุคสมัย

 วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม หลังจากเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ ก็ถึงวาระแห่งวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการที่สหประชาชาตินำปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชนมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้นมาในปี 2498 ซึ่งประเทศไทยได้จัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 และได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติเรื่อยมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสม ด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมประเทศไทยยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็กไม่สะดวกในการมาร่วมงาน และที่สำคัญวันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัดด้วย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสนอ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนั้น ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ. 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เลยวันที่ควรจัดวันเด็กมาแล้ว สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับวันเด็กนอกจากกิจกรรมหลากหลายแล้วก็คือ “คำขวัญวันเด็ก” จากนายกรัฐมนตรีไทยในแต่ละสมัย ซึ่งถือเป็นภาพสะท้อนแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาของผู้นำไทยที่มีต่อเยาวชนได้ชัดเจนมากประการหนึ่ง มาร่วมพิจารณาคุณค่าความหมายของเด็กผ่านคำขวัญของแต่ละยุคสมัย และอาจไม่แปลกใจที่เด็กและสังคมไทยดูจะมีอนาคตที่ตีบแคบลงทุกขณะ   

Read More

AYUBOWAN Sri Lanka!

ก่อนอื่นขอกล่าวคำว่า สวัสดีปีใหม่ สำหรับผู้อ่านทุกท่าน เชื่อว่าตลอดช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านจะได้ใช้เวลากับครอบครัวและร่วมกิจกรรมการกุศลหลากหลายเพื่อเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ที่สดใสกว่าเดิมสำหรับดินแดนในมหาสมุทรอินเดียที่มีชื่อเรียกว่าศรีลังกานี้ คำกล่าวทักทายของที่นี่ดูจะเรียบง่ายแต่ให้ความหมายลึกซึ้งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคำว่า สวัสดี ในภาษาไทยเท่าใดนัก ผู้คนที่นี่ กล่าวคำว่า Ayubowan ซึ่งอ่านออกเสียงเป็นภาษาไทยแบบบ้านเราได้ว่า “อายุบวร” ซึ่งหมายถึงการอำนวยพรให้ผู้รับมีอายุที่ยืนยาว โดยสามารถกล่าวได้ทั้งในฐานะที่เป็นคำทักทายเมื่อได้พบกันและเป็นคำบอกลาในยามที่ต้องแยกย้ายจากกัน อายุบวร เป็นคำที่มีรากฐานมาจากภาษาสิงหลและมีความเกี่ยวเนื่องกับความเป็นสังคมพุทธของศรีลังกาไม่น้อยเลย ขณะที่ท่วงทำนองของการกล่าวคำทักทายนี้ประกอบส่วนด้วยการพนมมือแนบอก และค้อมตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ส่งสัญญาณแห่งความเป็นมิตรไมตรีที่สัมผัสได้ทันทีที่ได้พบเห็น ป้ายประชาสัมพันธ์และต้อนรับที่ปรากฏอยู่โดยรอบท่าอากาศยาน Bandaranaike International Airport หรือ Colombo International Airport ทำหน้าที่เป็นประหนึ่งด่านหน้าในการทักทายอาคันตุกะผู้มาเยือนจากต่างแดนให้ได้ซึมซับวัฒนธรรมของศรีลังกาตั้งแต่เริ่มเหยียบย่างเข้าสู่ดินแดนที่เปี่ยมด้วยอารยธรรมและวัฒนธรรมแห่งนี้ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ท่วงทำนองของวัฒนธรรมที่ว่านี้ไม่ได้สถิตนิ่งงันอยู่เฉพาะในแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ที่ไร้ชีวิต หากแต่ยังเป็นวิถีปฏิบัติที่พบเห็นได้จากผู้คนทั่วไปที่มีชีวิตอยู่จริงทั้งในท้องถนนและสถานที่ต่างๆ ความลื่นไหลของ Ayubowan ยังแผ่ออกไปไกลกลายเป็นชื่อของรายการสดของโทรทัศน์ภาคเช้า Ayubowan Sri Lanka ที่มีความยาวของรายการนานกว่า 4 ชั่วโมงในแต่ละวัน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Swarmavahini ซึ่งถือเป็นสถานียอดนิยมด้านข่าวและรายการบันเทิงชั้นนำของศรีลังกาในปัจจุบัน รวมถึงรายการ Ayubowan Subha Dawasak (Ayubowan, Have a nice day) รายการโทรทัศน์ของ Sri Lanka

Read More

AEC 2015 หลักไมล์แห่งมิตรไมตรี

 การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอาเซียน สอดรับกับความพยายามที่จะผนึกอาเซียนให้ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ที่มีหมุดหมายในการรวมเขตเศรษฐกิจในอาเซียนให้เป็นฐานการผลิตและตลาดเดียวกันในปี 2015 ภายใต้ข้อเท็จจริงว่าด้วยจำนวนประชากรที่มีมากกว่า 600 ล้านคนและมีผลประโยชน์ทางการค้า-เศรษฐกิจมูลค่ารวมมหาศาลอย่างยากที่จะประเมินออกมาเป็นเพียงตัวเลขสถิติ พลวัตที่งอกเงยมาจากสายสัมพันธ์ในมิตินามธรรมในอดีตนี้ กำลังก่อรูปและรังสรรค์ให้เกิดความเชื่อมโยงและพัฒนาการที่สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต เป็นอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอาเซียนให้เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งหวังถึงความจำเริญมั่งคั่งที่ยั่งยืนสถาพร แผนพัฒนาและคณะกรรมาธิการหลากหลายคณะ ได้รับการจัดตั้งและมอบหมายภารกิจเพื่อประกอบส่วนในการศึกษาและแสวงหาหนทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อผนึกให้วิสัยทัศน์ในการเชื่อมโยงและสร้างให้เกิดอาเซียนหนึ่งเดียว ซึ่งนั่นย่อมมิได้หมายถึงความพยายามที่จะจัดวางและก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเพื่อเชื่อมประสานการเดินทางสัญจรทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศเท่านั้น หากความเชื่อมประสานโยงใยของอาเซียนยังหมายรวมถึงมิติด้านกิจการพลังงาน มิติทางการศึกษา ประเด็นว่าด้วยกฎระเบียบทางการค้า ระบบภาษี-ศุลกากร การสร้างฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และความเชื่อมโยงระดับประชาชนต่อประชาชนอีกด้วย ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันนี้ ได้ทำให้เส้นแบ่งของความเป็นขอบนอก ถูกกระชับให้เข้าใกล้กับศูนย์กลางมากขึ้นทุกขณะ และช่วยลดช่องห่างของระดับขั้นการพัฒนาและความแปลกแยกแตกต่างที่ดำรงอยู่ในอาเซียนให้หดแคบลง ก่อนที่สำนึกแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของการรวมกลุ่มอาเซียนจะได้รับการสถาปนาให้เกิดขึ้นมาแทนที่ ถนนหลากหลายเส้นทางที่กำลังได้รับการยกระดับมาตรฐานให้สามารถรองรับการสัญจรสำหรับทั้งผู้คนและสินค้า ที่กำลังไหล่บ่าและท่วมทะลัก เป็นประจักษ์พยานถึงพลวัตการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงผู้คนในอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ระบบโครงข่ายการคมนาคมทางบกไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะถนนสายหลักและสายรองที่กำลังถักทอประหนึ่ง ใยแมงมุม ที่แพร่กว้างไปทั่วภูมิภาคเท่านั้น หากยังมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและทางรถไฟคู่ขนานที่กำลังจะได้รับการพัฒนาให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งระบบเพื่อให้การเชื่อมโยงผู้คนในภูมิภาคที่ไพบูลย์นี้ ดำเนินไปอย่างไร้รอยต่อและข้ามพ้นข้อจำกัดในระยะยาว เส้นทางถนนภายใต้กรอบของโครงข่ายทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network) ที่มีความยาวรวมเกือบ 4 หมื่นกิโลเมตร กระจายครอบคลุมพื้นที่เชื่อมต่ออาณาบริเวณของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าไว้ด้วยกัน เป็นส่วนหนึ่งในรูปธรรมการพัฒนาเพื่อเชื่อมประสานโครงข่ายการสัญจรทางบก แม้จะมีเส้นทางบางส่วนยังไม่ได้รับการพัฒนาและมีสภาพเป็นจุดเชื่อมโยงที่ขาดวิ่น ด้วยเหตุผลของข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และสถานภาพด้านงบประมาณของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศอยู่บ้างก็ตาม โอกาสทางการค้า การหลั่งไหลของสินค้าและทรัพยากรทางการผลิตที่เคลื่อนผ่านเส้นทางหมายเลข 9 กำลังจุดประกายให้แผ่นดินที่เงียบสงบและหลบซ่อนอยู่ในชายขอบของประวัติศาสตร์อาเซียนถูกปลุกให้ตื่นขึ้น รับแสงอรุณแห่งความหวัง และอนาคตใหม่ที่กำลังจะเดินทางมาถึง ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกบนเส้นทางหมายเลข 9

Read More

ความรวยเป็นเหตุ

เบอร์นารด์ กุกเกนไฮม์ (Bernard Guggenheim) นายธนาคารชาวนิวยอร์ก แยกออกจากครอบครัวมาพำนักในปารีส ทำธุรกิจสร้างลิฟต์ ผลงานเด่นคือลิฟต์ของหอเอฟเฟล (Eiffel) แต่แล้วเดินทางไปกับเรือไททานิก (Titanic) จนเสียชีวิตในที่สุด ทิ้งสมบัติให้ลูก เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์ (Peggy Guggenheim) ได้มรดกอีกส่วนหนึ่งจากลุงคือโซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim) เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์เกิดในปี 1898 เดินทางไปมาระหว่างนิวยอร์ก ปารีส และลอนดอน ได้รู้จักกับอาร์ทิสต์อย่างกงสต็องแตง บรองกูซี (Constantin Brancusi) ฌอง ก็อกโต (Jean Cocteau) มาร์เซล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) ซึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสะสมงานศิลป์ เธอไปเปิดอาร์ตแกลเลอรีที่ลอนดอน ในบั้นปลายชีวิตไปพำนักที่เมืองเวนิสริมฝั่ง Grand Canal และให้ทำบ้านของตนเป็นพิพิธภัณฑ์  เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์สะสมโมเดิร์นอาร์ต แอ็บสแทร็คและเซอร์เรียลิสต์ อันมีผลงานชิ้นเอกของปาโบล

Read More

จาก “ม้าพยศ” สู่ “แพะรับบาป” สัญญาณวิกฤตเศรษฐกิจไทย?

 หากปี 2557 ที่ผ่านมา จะเป็นปีนักษัตรแห่งม้า ที่ทำให้หลายฝ่ายคาดหมายว่าจะเป็นปีแห่งการพุ่งทะยานทางเศรษฐกิจ หากแต่ดูเหมือนว่าในความเป็นจริงที่ปรากฏตลอด หนึ่งขวบปี กลับกลายเป็นว่าปีแห่งจอมอาชาได้มีสภาพเป็นปีแห่งม้าพยศ ซึ่งไม่เพียงแต่จะสามารถผลักดันให้เดินหน้าไปตามเป้าประสงค์ ในหลายกรณียังไม่อาจควบคุมทิศทาง และอาจถึงกลับทำให้ผู้กุมบังเหียนตกจากหลังม้าได้รับบาดเจ็บอีกด้วย สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในยุค คสช. “คืนความสุขให้ประชาชน” ถูกโหมกระหน่ำด้วยภาวะราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำทั้งราคายางถอยหลังลงไปเป็นประวัติการณ์ ราคาข้าวทรุดต่ำหลังสิ้นยุคแห่งการประกันราคาและจำนำข้าว ที่ทำให้ถึงกับมีแนวความคิดจ้างชาวนาเลิกปลูกข้าวกันเลยทีเดียว แม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานและสถาบันคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของรัฐจะพยายามเร่งระดมความเชื่อมั่นด้วยการระบุว่าภาวะเศรษฐกิจไทยกำลังดำเนินไปด้วยดี หรืออย่างน้อยก็กำลังกลับมาสู่ร่องรอยที่พึงประสงค์ จากผลของทิศทางและความชัดเจนทางการเมือง แต่ดูเหมือนว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าจะไม่ได้สื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการไปในทางที่ดีอย่างที่กลไกรัฐพยายามประชาสัมพันธ์แต่อย่างใด และในทางกลับกันยิ่งสะท้อนภาพ “ม้าพยศ” ที่โพ้นไปจากความสามารถทางปัญญาที่จะควบคุมเสียอีกด้วย ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงกับระบุว่าจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและต่ำกว่าที่คาดการณ์ รวมถึงส่งออกที่ชะลอตัว การท่องเที่ยวที่อาจจะต่ำกว่าประมาณการ การดำเนินนโยบายการเงิน ยังจำเป็นต้องผ่อนคลายเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้มีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพในระยะยาว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากก็คือกลไกรัฐอย่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ตระหนักและออกจะเป็นกังวลในเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และอาจมีการผ่อนคลายเพิ่มเติม หากเศรษฐกิจไม่เป็นตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้งที่ในปัจจุบันก็ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนปรนอยู่แล้ว โดยดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 2% เท่านั้น ความหมายของการผ่อนคลายนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเป็นการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงและเป็นการยอมรับโดยนัยว่าภาวะเศรษฐกิจไทยที่เป็นจริงไม่ใช่มายาภาพนั้น อยู่ในภาวะที่เรียกว่าไม่ดีจริงๆ ขณะที่งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ก็ตั้งไว้ไม่สูงเช่นกัน เพราะคงไม่สามารถหาเงินมาอุดหนุนงบประมาณได้ ความถดถอยทางเศรษฐกิจไทยในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ภาคการส่งออกไม่สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งในระดับ 2 digit มาอย่างต่อเนื่องเหมือนในอดีต และไม่มีความสามารถที่จะสร้างให้เกิดการเติบโตในระดับแม้เพียงเลขหลักเดียวด้วยซ้ำ โดยในปี 2557 คาดว่าภาคการส่งออกจะมีผลสรุปอยู่ที่การเติบโตติดลบ ซึ่งคงไม่ใช่ประเด็นที่ควรมองข้ามแน่นอน ประเด็นที่ควรพิจารณาต่อไปจึงอยู่ที่ว่า

Read More

รู้รักษ์ภาษาไทย ท่ามกลางภาษาอาเซียน

 “สวัสดี” ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ด้วยคำทักทายอย่างเป็นทางการ อีกทั้งยังเป็นการเปิดประตูบ้านต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะพร้อมหรือไม่ก็ตาม การรวมตัวของ 10 ประเทศในอาเซียน แน่นอนว่า ย่อมต้องมีข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังผลให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นการเพิ่มจุดแข็งของประเทศในภูมิภาคอาเซียนบนเวทีโลก กฎบัตรสำคัญที่ประเทศในอาเซียนได้ทำข้อตกลงกันไว้คือ ภาษาอาเซียน (ASEAN Language) ที่เหล่าประเทศสมาชิกมีมติร่วมกันว่าให้ภาษาอังกฤษทำหน้าที่เป็น “ภาษาราชการของอาเซียน” หมายถึงการดำเนินธุรกิจภายในภูมิภาคอาเซียนจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งข้อตกลงนี้นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อประเทศในอาเซียนนั้นล้วนแล้วแต่มีภาษาแม่เป็นของตัวเอง และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ แม้แต่ประเทศบรูไน ที่มีภาษาบรูไนเป็นภาษาแม่ กระนั้นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีภาษาแม่ของตัวเอง แต่กลับใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารเฉพาะในแวดวงธุรกิจเท่านั้น ซึ่งนับเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยเมื่อเทียบความสามารถด้านภาษาอังกฤษกับประเทศเพื่อนบ้าน สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ได้ให้ความเห็นเรื่องภาษาอาเซียนสำหรับประเทศไทยไว้ว่า “ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ต้องปรับตัวตั้งรับการแข่งขันในระดับประเทศ ต้องหาความรู้ ปรับปรุงเรื่องการสื่อสารของตนเอง คือต้องรู้ภาษาอังกฤษ และถ้าเป็นไปได้ควรรู้ภาษาที่ 3 ภาษาในอาเซียนอีกหนึ่งภาษา” ซึ่งนั่นอาจหมายความถึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่อาจจะเพิ่มความหวังใหม่ให้กับอนาคตของประเทศ แต่ดูจากห้วงเวลาปัจจุบันแล้วก็ยังห่างไกลจากความเป็นไปได้ การที่ประเทศไทยจะก้าวขึ้นมายืนแถวหน้าของภูมิภาคนี้อย่างเต็มภาคภูมินั้น ไทยยังต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษซึ่งเรียกได้ว่าควรจะเป็นภาษาที่สอง ก่อนที่จะมองข้ามสเต็ปไปยังภาษาที่สาม แม้ในบางเรื่องประเทศไทยจะได้เปรียบหากเทียบกับสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ทั้งในเรื่องระบบโลจิสติกส์ ความชำนาญการในวิชาชีพเฉพาะด้าน หากแต่การอ่อนด้อยด้านภาษาที่แม้แต่กับภาษาไทยเองยังไม่แตกฉานนัก  ภาษาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อสร้างความชำนาญ ซึ่งดูแล้วหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังรณรงค์การใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำให้ถูกต้องดูจะไม่ใช่เรื่องลำบากนัก แต่หากต้องรณรงค์เพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษสำหรับคนไทย อาจต้องรณรงค์กันอย่างหนักพอสมควร

Read More