Home > 2014 (Page 17)

อาหารญี่ปุ่น แผ่กว้างและซึมลึก

 ท่ามกลางมูลค่าทางการตลาดที่มีมากกว่า 2 หมื่นล้านบาทและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องปีละกว่า 10-15% ต่อปี ดูเหมือนว่าธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นจะกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมช่วงชิงโอกาสและทำให้ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นเต็มไปด้วยสีสันมากขึ้นไปอีก ก่อนหน้านี้กลุ่มร้านอาหารในเครือของเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ CRG ซึ่งจัดว่าเป็นหนึ่งในผู้นำ ร้านอาหารญี่ปุ่นในสไตล์ QSR (Quick Service Restaurants) จากเหตุที่มีแบรนด์หลากหลาย ทั้งแบรนด์ที่สร้างขึ้นเองหรือการได้สิทธิ์แฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาด ดูจะครองความได้เปรียบในมิติของหน้าสัมผัสที่สามารถรองรับการเข้าถึงของผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง โดยที่ผ่านมา ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือของ เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด CRG ไล่เรียงรายชื่อไม่ว่าจะเป็นร้านสเต๊กสไตล์ญี่ปุ่น ในนาม เปปเปอร์ ลันช์ (Pepper Lunch) ร้านราเมง ในนาม ชาบูตง (Chabuton) ร้านชาบู ชาบู สไตล์ญี่ปุ่น ในนาม ริว ชาบู ชาบู (RYU Shabu Shabu) หรือแม้กระทั่งร้านข้าวหน้าเนื้อแบบญี่ปุ่น ในนาม โยชิโนยะ (YOSHINOYA) รวมถึงร้านโอโตยะ

Read More

เคล็ดหย่าศึกพี่น้องทะเลาะกัน

 พี่น้องทะเลาะกันถือเป็นภาวะปกติ แต่ถ้าศึกสายเลือดยังดำเนินต่อไปไม่มีท่าทียุติลงได้ พ่อแม่คงต้องพึ่งตัวช่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การมีลูกหลายคนอาจทำให้คุณรู้สึกว่าต้องทำหน้าที่เป็นกรรมการห้ามศึกเกือบทั้งวันมากกว่าการทำหน้าที่พ่อแม่ คุณต้องฝึกความอดทนกับการที่ลูกๆ ทะเลาะกันไม่รู้จบว่า ใครควรได้อะไร และใครควรได้ก่อน หรือไม่ก็เสียงร้องงอแงพร้อมการตัดพ้อว่า “ไม่ยุติธรรมเลย” หรือ “แม่ (พ่อ) รักพี่ (น้อง) มากกว่าหนู” ซ้ำร้ายกว่านั้น คนเป็นพ่อแม่หัวใจแทบสลายเมื่อลูกๆ ถึงกับด่าทอใส่กัน หรือไม่ก็ลงมือตบตีชกต่อยกัน คุณจะทำอย่างไรเมื่อลูกๆ ตั้งหน้าตั้งตาทะเลาะกันมากกว่ารักใคร่กลมเกลียวกัน ที่สำคัญคุณอาจเป็นสาเหตุให้การทะเลาะเบาะแว้งเลวร้ายลงโดยไม่รู้ตัว ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้พ่อแม่มีแนวทางในการรับมือกับความขัดแย้งในหมู่พี่น้อง เบื้องหลังความขัดแย้งนักจิตวิทยาเด็ก Dr.Emma Little แห่งเมลเบิร์น ออสเตรเลีย อธิบายว่า “ความอิจฉา การแข่งขัน และการต้องแบ่งปันกัน เป็นเหตุผลหลักที่อยู่เบื้องหลังการทะเลาะเบาะแว้งของพี่น้อง เด็กส่วนใหญ่ต่างรักพี่รักน้อง แต่ในเวลาเดียวกัน พวกเขาเป็นคู่แข่งอย่างเอาเป็นเอาตายเพื่อแย่งเวลา ความเอาใจใส่ และทรัพยากรจากพ่อแม่ ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า พี่น้องที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี มีสถิติทะเลาะกันบ่อยครั้งถึงขนาดทุก 6–10 นาที/ครั้ง หรือประมาณวันละ 50 ครั้ง” Little ยังเตือนต่อไปว่า อย่าเพิ่งด่วนคิดว่า เมื่อลูกๆ เข้าโรงเรียนแล้ว

Read More

เจมาร์ท เปิดตัวสติกเกอร์ไลน์ “Jay Bird – น้อง Enjoy” เอาใจนักแชท

บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบสติกเกอร์ไลน์ น่ารักๆ เปิดตัว “Jay Bird และ น้อง Enjoy” สติ๊กเกอร์ไลน์ใหม่ล่าสุด เพื่อเป็นตัวแทนอารมณ์ ความรู้สึก และมิตรภาพดีๆที่มอบให้เสมือนเป็นตัวแทนของเจมาร์ท พร้อมคำพูดเก๋ๆ จำนวน 16 แบบ โดยเปิดให้ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทาง LINE Sticker Shop ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน – 20 กันยายน 2557 พร้อมติดตามข่าวสาร และโปรโมชั่นต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ Jaymart Line Official Account

Read More

ก้าวรุกแบบเซน

 จากจุดเริ่มต้นของการเป็นหุ้นส่วนในร้านอาหารญี่ปุ่น แบรนด์ดัง “ฟูจิ” ก่อนจะแตกแขนงออกมาเป็นส่วนหนึ่งในงานอดิเรกและธุรกิจส่วนตัว ที่สร้างรายได้ แต่วันนี้ สุทธิเดช จิราธิวัฒน์ กำลังหนุนนำธุรกิจให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอีกขั้น และเป็นก้าวย่างที่น่าสนใจ เพราะด้วยสายตาที่มองเห็นเทรนด์การเติบโตของอาหารญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ Zen Restaurant เติบโตขึ้นจากร้านแรกในซอยทองหล่อเมื่อ 22 ปีที่ผ่านมา สามารถขยายสาขาเพิ่มจำนวน และดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการขยายตัวของห้างเซ็นทรัลตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาไปโดยปริยาย เป็นการเติบโตภายใต้แนวความคิด “เรียบ ง่าย เข้าถึงง่าย แต่ใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ” ที่อาจเรียกได้ว่าถอดร่างมาจากคําว่า ZEN ได้เป็นอย่างดี ควบคู่กับ concept “วิถีแห่งคุณภาพ วิถีแห่งเซน” (Quality is our way of life) ที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันและผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน ZEN ได้ขยายกลุ่มเป้าหมายจากฐานลูกค้าญี่ปุ่นผ่านมายังกลุ่มลูกค้าชาวไทย ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ และเทรนด์การบริโภคอาหารญี่ปุ่นของคนไทยเพิ่มมากขึ้น และจากจํานวนสาขาที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้ธุรกิจที่เป็นงานอดิเรกของสุทธิเดช ต้องหันมาปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารเป็นรูปแบบจริงจังมากขึ้น โดย ZEN ปรับภาพลักษณ์ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา พร้อมเปิดเกมเชิงรุก ด้วยการตอกย้ำแบรนด์ ZEN

Read More

ช้าง” จัดแคมเปญ “” โพลล์ออนไลน์ชวนคนไทยเชียร์ฟุตบอลระดับโลก

นายวรรัตย์ จรูญสมิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในนาม “เครื่องดื่มตราช้าง” ในฐานะผู้สนับสนุนหลักการถ่ายทอดสดฟุตบอลระดับโลกในประเทศไทย ประกาศรุกดิจิตอลแคมเปญใหม่ล่าสุด “ช้างโพลล์”ชวนคนไทยเชียร์ฟุตบอลระดับโลก ผ่าน #ChangPoll [ช้างโพลล์] เพียงพิมพ์#ChangPoll (แฮชแท็ค ช้างโพลล์) ทุกครั้งที่โพสต์ หรือ คอมเม้นท์ หรือ แชร์สเตตัสในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ได้แก่ เฟสบุ๊ค, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม รวมถึงเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งนับเป็น ครั้งแรกในการรวบรวมความคิดเห็นของคนไทยเกี่ยวกับฟุตบอลระดับโลกในโลกออนไลน์ไว้ที่เดียว เรียกว่า

Read More

เอส จับมือซีพีเอ็น-บีอีซี-เทโร เปิดประสบการณ์อวกาศสุดขั้วของนาซาเป็นครั้งแรกในไทย

กรุงเทพฯ – 19 มิถุนายน 2557 – เครื่องดื่มเอส นำโดย นางปรางณี ไชยพิเดช (ที่สองจากซ้าย) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ประกาศความร่วมมือกับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) นำโดย นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา (ที่สามจากขวา) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) นำโดย มิสเตอร์นีล ธอมป์สัน (ขวา) รองกรรมการผู้จัดการ ในการจัดนิทรรศการอวกาศสุดขั้วระดับโลก “นาซา เอ ฮิวแมน แอดเวนเจอร์” (NASA -

Read More

Japanese Restaurant: วัฒนธรรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

 ในบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วยมิติทางวัฒนธรรมนั้น ธุรกิจอาหารดูจะเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างมีพลวัตและการจำเริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมากที่สุดแขนงหนึ่ง และดูเหมือนว่าธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นที่กำลังเบ่งบานอยู่ในสังคมไทยด้วยมูลค่ารวมกว่า 2 สองหมื่นล้านบาทจะเป็นตัวอย่างที่ดีในมิติที่ว่านี้ ขณะเดียวกัน การเกิดขึ้นของร้านอาหารญี่ปุ่นที่กระจายตัวและครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทยอย่างกว้างขวางในขณะปัจจุบัน ก็เป็นประหนึ่งการรุกคืบทางวัฒนธรรมครั้งใหม่ที่กำลังแปลงสภาพเป็นมูลค่าทางธุรกิจที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในบริบทของธุรกิจร้านอาหารแต่โดยลำพังเท่านั้น หากยังหมายรวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ที่ย่อมมีมูลค่ารวมนับได้หลายหมื่นล้านบาทอีกด้วย ปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นกลับมามีสภาพคึกคักยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม หลังจากที่ครอบครองความนิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยมาอย่างยาวนาน ในด้านหนึ่งได้รับการประเมินว่าเป็นผลมาจากกระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาวะจากการบริโภคและวิถีในการปรุงอาหาร ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่ากรอบโครงทางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในแบบ Abenomics ก็มีส่วนไม่น้อยในการกระตุ้นให้วัฒนธรรมทางอาหารของญี่ปุ่น ได้รับการส่งเสริมให้เป็นกลไกในการกระตุ้นจักรกลทางเศรษฐกิจของประเทศในห้วงเวลานี้ คำประกาศกร้าวอย่างมั่นใจของ Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นต่อหน้านักลงทุนและผู้บริหารกองทุนน้อยใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange) เมื่อช่วงปลายปี 2013 ที่ผ่านมาว่า “ญี่ปุ่นกลับมาแล้ว” สะท้อนมิติมุมมองและทัศนะของภาครัฐที่พร้อมจะสนับสนุนการรุกคืบครั้งใหม่ของภาคเอกชนญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มกลับมาฟื้นตัวและมีความเชื่อมั่นมากขึ้นอย่างช้าๆ แต่มั่นคง ความพยายามของ Shinzo Abe ในการนำพาญี่ปุ่นออกจากวัฏจักรที่เสื่อมถอยด้วย Abenomics ซึ่งเน้นไปที่ภาคธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินควบคู่กับวาทกรรม Beautiful Japan ที่เป็นการสื่อสารกับสาธารณชนวงกว้าง โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา Shizo Abe ได้ใช้วาทกรรมว่าด้วย Beautiful Japan ขึ้นมาหนุนนำและสร้างเสริมคะแนนนิยม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ากรอบโครงความคิดและเบื้องหลังวาทกรรมที่ว่านี้จะยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมที่สามารถให้อรรถาธิบายให้จับต้องและเห็นจริงได้ก็ตาม สิ่งที่ญี่ปุ่นเผชิญก็คือ แรงงานญี่ปุ่นซึ่งถูกฝังอยู่ในกระบวนการผลิตที่ล้าสมัยและไม่สามารถดำรงความสามารถในการแข่งขันถูกผลักให้ต้องออกจากงาน ไปสู่งานในอุตสาหกรรมภาคบริการ และกว่าร้อยละ 40 ของแรงงานญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ภายใต้สถานะการจ้างแบบ

Read More

ชีวิตอัตโนมัติ

 ท่านผู้อ่านระลึกถึงวัยเด็กหรือมีภาพจำเกี่ยวกับโหลของเล่นหยอดเหรียญ ที่ต้องมาคอยลุ้นว่าของเล่นที่บรรจุอยู่ในหุ้มพลาสติกหน้าตาเหมือนไข่ จะเป็นอะไรและใช่อย่างที่เราต้องการได้หรือเปล่าคะ เวลาที่ล่วงเลยมา นานมากจนทั้งผู้เขียนและท่านผู้อ่านอาจจะลืมหรือจำรายละเอียดได้ไม่ทั้งหมดหรอกนะคะ อีกทั้งด้วยวิทยาการและเทคโนโลยี ก็คงนำพาให้เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญพัฒนาไปไกลจนเกินกว่าที่จะจินตนาการได้ จากเดิมที่มีสถานะเป็นเพียงอุปกรณ์หลอกเอาสตางค์จากเด็กๆ ซึ่งไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าสินค้าที่จะได้รับคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายไปไหม มาสู่การเป็นเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่มีสรรพสินค้าแสดงให้เห็นและพร้อมที่จะให้เลือกซื้อได้ตามสะดวก เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติมีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นแผ่กว้างครอบคลุมในเกือบจะทุกกิจกรรมเลยทีเดียว ไม่เว้นแม้แต่ร้านอาหารแบบ อิ่มด่วน ที่ผู้บริโภคจะต้องสั่งซื้ออาหารผ่านเครื่องสั่งซื้อก่อนที่จะนำตั๋วที่ได้ไปส่งให้บริกรซึ่งจะจัดอาหารให้ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละราย ความสะดวกของเหล่าเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ หรือตู้หยอดเหรียญเหล่านี้ล่ะค่ะ ที่สร้างให้เกิดวัฒนธรรมการบริโภคอย่างหนักหน่วงในสังคมญี่ปุ่น เพราะนอกจากจะมีร้านสะดวกซื้อกระจายอยู่ทั่วทุกหัวมุมถนนแล้ว เครื่องจำหน่ายสินค้ายังเข้าไปเติมเต็มช่องว่างในระดับตรอกซอกซอยให้ครบถ้วนกระบวนความของการบริโภคอย่างสะดวกสบายอีกด้วย เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญไม่ได้มีภาพลักษณ์ว่าด้วยความสะดวกสบายเท่านั้นนะคะ เพราะในหลายกรณีเครื่องมือที่ว่านี้ยังกลายเป็นอุปกรณ์ในการดูดซับกำลังซื้อที่ทรงอานุภาพอย่างยิ่งยวด และบางครั้งดูจะกลายเป็นคู่แข่งขันที่น่าเกรงขามสำหรับร้านสะดวกซื้อไปในคราวเดียวกันเสียด้วย เพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง เธอทำงานในสำนักงานที่มีเครื่องหยอดเหรียญสำหรับจำหน่ายเครื่องดื่มสารพัดชนิดอยู่ภายในบริเวณอาคาร ซึ่งนั่นทำให้เธอสมัครใจเป็นแฟนคลับของเครื่องหยอดเหรียญไปโดยปริยาย และมีค่าใช้จ่ายผ่านเครื่องมือที่ว่านี้วันละหลายพันเยนเลยทีเดียว จริงๆ แล้วจะเรียกเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเหล่านี้ว่าเครื่องหยอดเหรียญก็คงจะเป็นการดูแคลนไปสักหน่อย เพราะนอกจากจะมีช่องให้หยอดเหรียญ 100 และ 500 เยนแล้ว เครื่องอัตโนมัติเหล่านี้ยังมีช่องสำหรับใส่ธนบัตรอีกด้วย ลำพังมูลค่าของเงินเยน ที่มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ 100 เยน ต่อ 30 กว่าบาทไทย ท่านผู้อ่านคงจินตนาการได้นะคะว่า เครื่องดื่มกระป๋องหรือขวด ที่มีสนนราคาขั้นต่ำเริ่มที่หน่วยละ 150 เยน จะสร้างให้เกิดการแพร่สะพัดของเงินในระบบอย่างไร มูลค่าการค้าที่ดำเนินผ่านช่องทางของเครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญ เฉพาะในหมวดเครื่องดื่มเพียงลำพังก็มีมูลค่าหลายหมื่นหลายพันล้านเยนต่อปีแล้วล่ะค่ะ และหากสำรวจให้ครบทุกหมวดสินค้าก็คงเป็นตัวเลขที่มากมายชวนให้เวียนศีรษะเป็นแน่ และทำให้เครื่องจำหน่ายสินค้าหยอดเหรียญมีสถานภาพเป็นดัชนีชี้วัดและกำหนดทิศทางเศรษฐกิจอย่าง อ้อมๆ ไปด้วย ขณะเดียวกันเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ยังมีมิติของการประดิษฐ์สร้างนวัตกรรมให้กับสังคมญี่ปุ่นไปด้วยพร้อมกัน ก่อนหน้านี้ไม่นาน ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะได้เห็นภาพข่าวเครื่องจำหน่ายสินค้ารุ่นใหม่ ที่สามารถประเมินผลบุคลิกภาพของผู้ซื้อ ก่อนที่จะแสดงตัวอย่างสินค้าที่คาดว่าจะถูกใจกับลูกค้าที่เป็นเป้าหมายขึ้นมาให้เลือก เรียกได้ว่าทำรายการสินค้าเสนอขายให้ตรงกับโปรไฟล์ของผู้ซื้อกันเลยทีเดียว หากมองในมิติของรูปแบบการตลาดสมัยใหม่ ก็ต้องบอกว่านี่เป็นการเก็บรวมรวบประพฤติกรรมของผู้บริโภค และนำไปสู่การสร้างข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่แยบคาย

Read More

72 ปี สหพัฒนพิบูล ยิ่งแก่ ยิ่งเก๋า? จาก Manufacturer สู่ Retail Outlet

 อาณาจักรสหพัฒนพิบูลที่ถูกบุกเบิกและสร้างรากฐานโดย ดร.เทียม โชควัฒนา ในปี พ.ศ. 2485 ช่วงเวลาที่ไทยประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศไทยในเวลานั้น หายากนักที่จะมีใครกล้าเสี่ยงกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์  หากแต่นายเทียม โชควัฒนา อาศัยความเก๋าบวกกับแนวคิดก้าวกระโดดใจกล้า สั่งกาแฟเข้ามาเก็บไว้ในสต๊อกมากถึง 3,000 กระสอบ แม้จะต้องจ่ายราคาทุนถึง 100 บาทต่อกระสอบ จากปกติที่ซื้อขายกันเพียง 85 บาทต่อกระสอบ กระนั้นเสียงคัดค้านของบุคคลในครอบครัวก็ยังเบาบาง ไม่ทำให้นายเทียมหวั่นไหวได้ ซึ่งช่วง 7 วันแรก เหมือน 7 วันอันตราย ร้านเฮียบฮะ ต้องยอมขายกาแฟขาดทุนซึ่งขายออกในราคา 95 บาท เพราะหลายๆ ร้านก็ยังคงมีสินค้าในสต๊อกเพื่อจำหน่าย กระทั่งสงครามและสถานการณ์คุกรุ่น เกิดภาวะสินค้าขาดตลาด ร้านเฮียบฮะที่ยังคงมีสินค้าเหลืออยู่ในโกดังจำนวนมากทำให้ขายกาแฟได้กระสอบละ 300 บาท ภายในเวลาเพียง 90 วัน กำไรที่ทำได้สูงถึง 200 เปอร์เซ็นต์  ความสำเร็จขั้นต้นที่ได้รับนั้นเอื้ออำนวยมาจากภาวะวิกฤตสงคราม ที่ไม่มีร้านค้าใดมีสินค้าค้างสต๊อกเหลือในเวลานั้น และถ้าหากนายเทียมหยุดคิดและพอใจเพียงแค่นั้น สหพัฒนพิบูลคงไม่เกิด นับเป็นการมองเห็นโอกาสในช่วงเวลาวิกฤตก็ว่าได้ หลังจากเปิดร้านเฮียบฮะได้แค่ 6 เดือน

Read More

Monuments men

Monuments men ภาพยนตร์ของจอร์จ คลูนีย์ สร้างจากหนังสือชื่อเดียวกันของโรเบิร์ต เอม เอดเซล (Robert M. Edsel) ที่พิมพ์ในปี 2009 Monuments men เป็นกลุ่มที่นายพลไอเซนฮาวร์ (Eisenhauer) ตั้งขึ้นเพื่อค้นหางานศิลป์ที่พวกนาซียึดไปจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ อาร์ตแกลเลอรีและครอบครัวชาวยิว เมื่อเยอรมันยึดครองฝรั่งเศส ก็ได้ “ปล้น” ทรัพยากรของฝรั่งเศส รวมทั้งงานศิลป์ด้วย ฮิตเลอร์เองนั้นอยากเป็นจิตรกร แต่ความสามารถไม่ถึง จึงได้แต่ชื่นชมงานศิลป์อยู่ห่างๆ ในปี 1939 ฮิตเลอร์สั่งให้สร้างพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวที่เมืองลินซ์ (Linz) ในออสเตรีย ทว่าสงครามทำให้โครงการไม่แล้วเสร็จ ฮิตเลอร์เตรียมการไว้ล่วงหน้าไว้แล้วว่าหากยึดอัมสเตอร์ดัม บรัสเซลส์ และปารีสแล้ว จะฉกฉวยงานศิลป์ชิ้นใดบ้าง โดยเขาทำรายการไว้  อย่างไรก็ตาม ทุกประเทศที่มองเห็นมหันตภัยของนาซี พลันที่มีการประกาศสงครามในปี 1939 ในฝรั่งเศสได้มีการโยกย้ายงานศิลป์ชิ้นสำคัญๆ ไปเก็บซ่อนไว้ตามพิพิธภัณฑ์ในต่างจังหวัดหรือตามปราสาทของเอกชนในภาคตะวันตกและภาคตะวันตกเฉียงใต้ การโยกย้ายนั้นเต็มไปด้วยความยากลำยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นงานศิลป์ขนาดใหญ่  พลันที่ฝรั่งเศสลงนามยอมแพ้เยอรมันในเดือนกรกฎาคม 1940 การปล้นงานศิลป์ก็เริ่มขึ้น จากการยึดพิพิธภัณฑ์รัฐมาเป็นฉกฉวยจากพ่อค้างานศิลป์และเอกชนที่เป็นชาวยิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกอัครราชทูตเยอรมันที่กรุงปารีสทำบัญชีรายชื่อผู้ที่น่าจะเป็นเป้าหมายแรกๆ เช่น ครอบครัว

Read More