Home > 2014 > สิงหาคม (Page 3)

Citigold Private Dinner

ผู้จัดการใหญ่อาวุโสฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ (คนกลาง) จัดงาน “Citigold Private Dinner” ด้วยความร่วมมือกับบริษัท ซาวิลส์ ผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก นำเสนอแนวคิดและความเข้าใจในการลงทุนเรื่องของธุรกิจเฮลท์แคร์ระดับโลกและทางเลือกในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศอังกฤษให้กับลูกค้าคนสำคัญ โดยมี มร.มาร์ค ไพรซ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซาวิลส์ พร้อมด้วย ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.กรุงศรี เข้าร่วมงาน ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ เมื่อเร็วๆ นี้ # # # # # คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาโอกาสการลงทุนที่เหนือกว่า – Global

Read More

พิษปักเป้า

 ในบรรดาอาหารเลิศรสของญี่ปุ่น เชื่อว่าเมนูปลาปักเป้าจะกลายเป็นเมนูที่ก่อให้เกิดความฉงนสนเท่ห์เมื่อได้รับรู้รับเห็นจากผู้คนจากแดนไกลมากที่สุดเมนูหนึ่งนะคะ เหตุที่เป็นดังนั้นก็คงเป็นเพราะในแต่ละขวบปีจะมีชาวญี่ปุ่นถูกหามส่งโรงพยาบาล เพราะไปรับประทานเนื้อปลาปักเป้าที่มีพิษรุนแรง โดยจำนวนมากที่ได้รับพิษจากปลาปักเป้าจนมีอาการปางตาย แต่ก็มีบางรายไม่ได้โชคดีหรือรอดชีวิตให้มีโอกาสมาลิ้มรสชาติของปลาพิษร้ายชนิดนี้อีกเลย แม้จะมีความเสี่ยงและต้องผจญภัยมากถึงขนาดนี้ แต่ผู้นิยมบริโภคและลิ้มลองของแปลกบางรายกลับมองว่า ความรู้สึกชาๆ ที่ปรากฏขึ้นที่ริมฝีปาก ซึ่งเกิดจากการได้รับพิษของปลาปักเป้า ถือเป็นเสน่ห์ที่ชวนหลงใหลในการลิ้มลองเมนูพิสดารที่ว่านี้ แต่อาการชา ซึ่งเกิดจากสารเทโทรท็อกซินจากปลาปักเป้านี้ อาจทวีความรุนแรง และเพิ่มระดับอาการจากการชาที่ปลายประสาท ไปสู่การเข้าสู่ภาวะที่เป็นอัมพาต และเลยเถิดไปสู่การทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้เลยนะคะ ความรุนแรงและน่าสะพรึงกลัวของพิษจากการบริโภคปลาปักเป้า มีมากถึงกับที่สำนักงานอาหารและยาในสหรัฐอเมริกาเสนอรายงานการวิจัยที่ระบุว่า การบริโภคปลาปักเป้าอาจทำให้เกิดพิษรุนแรงภายใน 4-6 ชั่วโมง โดยเหยื่อซึ่งอยู่ในภาวะที่เป็นอัมพาตทั้งตัว จะยังมีสติและสามารถรับรู้ความทรมานจากพิษอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนที่จะเสียชีวิตในเวลาอีกไม่นานต่อมา ข้อมูลที่มีผลการวิจัยสนับสนุนดังกล่าวนี้ ทำให้เมนูปลาปักเป้า หรือ ฟุกุ (Fugu) ที่ชนชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคนี้ กลายเป็นเมนูอาหารที่ได้รับการกล่าวถึงในฐานะเมนูอาหารที่อันตรายมากที่สุดจานหนึ่งของโลกไปโดยปริยายอีกตำแหน่งหนึ่ง ในความเป็นจริง เนื้อปลาปักเป้าไม่มีมีพิษหรอกนะคะ หากแต่ปลาปักเป้าได้สะสมพิษร้ายไว้ในตับ ซึ่งหากผู้ปรุงปลาปักเป้าไม่มีความชำนาญ พิษจากตับก็จะแผ่ซ่านไปทั่วตัวปลา ตรงนี้ล่ะค่ะคือความอันตรายที่แท้จริง แต่เมนู ฟุกุ ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากปลาปักเป้า หรือ Torafugu ซึ่งคนไทยเรียกขานในนามปลาปักเป้าเสือ นี้ ก็ไม่ใช่เมนูที่จะหารับประทานกันได้ง่ายๆ นะคะ ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะปลาชนิดนี้มีจำนวนน้อยหรือหาได้ยากแต่อย่างใด หากแต่เป็นเพราะในกระบวนการปรุงปลาชนิดนี้ ต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญการของพ่อครัวที่มีใบอนุญาตให้ประกอบอาหารจากปลาปักเป้าเท่านั้น ซึ่งทำให้เมนูปลาปักเป้ากลายเป็นเมนูที่มีสนนราคาแพงไปด้วยเช่นกัน กระบวนการเพื่อคัดสรรพ่อครัวให้มาปรุงปลาปักเป้านี้ ต้องผ่านการฝึกและการสอบอย่างเข้มงวด จากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ได้พ่อครัวที่มีความรู้เกี่ยวกับปลาปักเป้า รู้วิธีที่จะชำแหละเพื่อให้ได้เนื้อปลาที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค ซึ่งจะต้องสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยพ่อครัวคนเก่งของเราจะต้องปรุงและทดลองชิมปลาชนิดนี้ด้วย

Read More

วิชัย ทองแตง พลิกกลยุทธ์ ปรับฐาน

 ช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ วิชัย ทองแตง พลิกกลยุทธ์ปรับฐานการลงทุนครั้งใหญ่ เป็นก้าวจังหวะที่รวดเร็วฉับไว แต่ทุกเกมล้วนอยู่บนพื้นฐานการคิดคำนวณปัจจัยต่างๆ ซึ่งหวังผลทั้งระยะสั้นและการยึดกุมธุรกิจในระยะยาว ดีลแรก วิชัย ทองแตง ในฐานะประธานกรรมการบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) ผนึกเป็นพันธมิตรกับ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดแนวรบธุรกิจเพย์ทีวี โดยลงนามสัญญาข้อตกลงการรวมบริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีในปัจจุบัน  ทั้งนี้ บริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด จะเข้าถือหุ้น 100% ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี

Read More

ซีทีเอช-แกรมมี่ เกมรุก “ผูกขาด-กินยาว”

 หลังจากดีเดย์ประกาศสงครามเพย์ทีวีพร้อมกัน 3 ค่ายเมื่อ 3 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นกล่องดาวเทียม GMM Z ของค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, กล่อง Sun Box จากค่ายอาร์เอส หรือการปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่ของ “เคเบิลไทยโฮลดิ้ง” ดึงขาใหญ่อย่าง “วิชัย ทองแตง” และ “ยิ่งลักษณ์ วัชรพล” เข้ามาเสริมทัพความแข็งแกร่งแปลงร่างเป็น “ซีทีเอช” แต่สุดท้ายได้รับบาดเจ็บถ้วนหน้า จนต้องพลิกสถานการณ์เพื่ออยู่รอดและคืนชีพอีกครั้ง การประกาศความร่วมมือระหว่างบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) โดยรวมบริษัท ซีทีเอช แอล ซี โอ จำกัด กับบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด บริษัทลูกของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีในปัจจุบันผ่านวิธีแลกหุ้นระหว่างกัน คือ ซีทีเอช แอล

Read More

เคทีซีจับมือเพชรยูบิลลี่ สร้างปรากฏการณ์ “พ้อยท์แลกเพชร”

นายณัฐสิทธิ์ สุนทราณู ผู้อำนวยการ – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ นางสาวอัญรัตน์ พรประกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมการตลาด “พ้อยท์แลกเพชร” ครั้งแรกในวงการบัตรเครดิตที่เปิดโอกาสให้สมาชิกนำคะแนนสะสม Forever Rewards เพียง 9 คะแนนมาแลกรับส่วนลดสูงสุด 50% เมื่อซื้อสินค้าเพชรยูบิลลี่รุ่นยอดนิยมที่ร่วมรายการตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2557 สมาชิกใช้คะแนนสะสม Forever Rewards เพียง

Read More

จีเอ็มเอ็ม แซท ร่วมกับ TWZ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย

คุณฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ หน่วยงาน แพลตฟอร์ม บริษัท แซท เทรดดิ้ง จำกัด ร่วมกับ คุณปิยะนุช รังคสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TWZ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย กล่อง GMM Z HD LITE (จีเอ็มเอ็มแซท เอชดี ไลท์) ให้สะดวกกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ในร้าน TWZ พร้อมจัดโปรโมชั่นสุดพิเศษเมื่อลูกค้าลงทะเบียนซื้อแพคเกจ CTHZ Premier League Plus HD (ซีทีเอช แซท พรีเมียร์

Read More

มหากาพย์ “เพย์ทีวี” วังวนของมิตรและศัตรู

 เส้นทางมากกว่า 20 ปี เปลี่ยนผ่านจากยุคธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกสู่สงครามกล่องเต็มรูปแบบ แท้จริงแล้วมีผู้เล่น “ขาใหญ่” และ “หน้าเดิม” อยู่ไม่กี่ราย เริ่มตั้งแต่ปี 2532 เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จับมือกับ วิลเลียม ไลล์มอนซัน นักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้บริหารบริษัท เคลียร์วิว ไวร์เลส จำกัด ก่อตั้งบริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชันส์ จำกัด หรือ “ไอบีซี” ไอบีซีคว้าสัมปทานธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก จากองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) โดยให้บริการผ่านคลื่น, บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง (เอ็มเอ็มดีเอส) ผ่านระบบไมโครเวฟ และจานรับสัญญาณดาวเทียม เครือข่ายเคยู-แบนด์ ทั้งระบบอนาล็อกและดิจิตอล เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2532 เป็นเวลา 20 ปี จนถึงวันที่ 16 เม.ย. 2552 และมีการขยายระยะเวลาสัมปทานอีก

Read More