เห็นภาพข่าวที่น่าเศร้าสลดของเรือเฟอรรี่ “เซวอล” รวมถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ควบคู่กับข่าวแผ่นดินไหวที่เมืองไทยครั้งล่าสุดแล้ว ทำให้รู้สึกว่าพิบัติภัยจากธรรมชาติจะไม่ใช่ภัยคุกคามที่น่าสะพรึงกลัวอย่างเดียวของมนุษยชาติแล้วล่ะค่ะ หากยังมีภัยจากน้ำมือของมนุษย์นี่ล่ะ ที่กำลังคุกคามสวัสดิภาพของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างกว้างขวางและเพิ่มระดับความรุนแรงไปตามขีดขั้นของพัฒนาการด้านเทคโนโลยีไม่น้อยด้วยเช่นกัน ต้นเหตุของภัยร้ายที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากความประมาทหรือหากกล่าวให้ถึงที่สุดเป็นการละเลยที่จะดำเนินการตามมาตรฐานของความเป็นมืออาชีพ หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า โปรเฟสชั่นนอล เนคลิเจนซ์ (professional negligence) ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วถือเป็นเรื่องที่พร้อมจะนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย รุนแรง และเลวร้ายอย่างยิ่ง ตรรกะวิธีและหลักคิดว่าด้วยการกระทำผิดโทษฐาน “การละเลยของความเป็นมืออาชีพ” มาจากพื้นฐานที่ว่าบุคคลบางสาขาอาชีพย่อมต้องเป็นผู้มีทักษะและ/หรือได้รับการฝึกฝนให้มีความชำนาญอย่างยิ่งยวดเหนือกว่ามาตรฐานเฉลี่ยของสาธารณชนทั่วไป ซึ่งย่อมหมายถึงคุณภาพและมาตรฐานที่สูงกว่าระดับปกติที่พึงจะเป็น รวมถึงความคาดหวังทางสังคมที่ว่าบุคคลกลุ่มนี้จะสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ความล้มเหลวใดๆ ที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการตรวจสอบหรือแจ้งเตือนเหตุไม่พึงประสงค์ ที่นำไปสู่ความเสียหายต่อประโยชน์ของผู้รับบริการ จึงนำไปสู่การเรียกร้องค่าเสียหายได้อย่างไม่ยากเลย ก่อนหน้านี้ กรณีว่าด้วยการละเลยของมืออาชีพอาจจะพบเห็นได้บ่อยในกรณีของผู้ประกอบอาชีพในด้านการให้บริการสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล เพราะเกี่ยวเนื่องกับความเป็น-ความตายของคนไข้โดยตรง แต่ในปัจจุบันการฟ้องร้องในเรื่องดังกล่าวขยายไปสู่ผู้ประกอบการในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นนักกฏหมาย หรือแม้กระทั่งผู้รับเหมาก่อสร้าง หากบุคคลเหล่านี้เพิกเฉยหรือละเลยต่อประโยชน์ของลูกค้าและผู้รับบริการ รวมถึงสาธารณชนตามแต่กรณี ที่เป็นเช่นนี้ก็ด้วยเหตุที่ว่าภายใต้กฎหมายส่วนใหญ่ ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมถูกกำกับจากข้อกำหนดว่าด้วย หน้าที่ในการเอาใจใส่ดูแลต่อผลประโยชน์ของสาธารณชนผู้จ้างวาน เพราะสาธารณชนเหล่านี้ย่อมต้องพึ่งพาทักษะและความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ รวมถึงการแจ้งเตือนและป้องกันความเสียหายอย่างมีเหตุผลจากผู้ประกอบวิชาชีพด้วย ท่านผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินหรือพบเห็นข่าวโศกนาฏกรรมจากอุบัติเหตุเครื่องเล่นในสวนสนุกขัดข้อง หรือแม้กระทั่งเด็กติดหรือตกจากบันไดเลื่อนในศูนย์การค้ามาบ้างแล้ว กรณีเหล่านี้ในบางประเทศมีการฟ้องร้องข้อหาการละเลยของมืออาชีพกันอย่างเอิกเกริกและนำไปสู่การออกกฎข้อบังคับให้กับผู้ประกอบการเลยนะคะ ซึ่งในญี่ปุ่นก็เคยมีกรณีเช่นว่านี้ไม่น้อยเหมือนกัน กรณีที่น่าสนใจกรณีหนึ่งที่ทำให้มีการหยิบยก “การละเลยของมืออาชีพ” มาพิจารณาอย่างกว้างขวางในสังคมญี่ปุ่น คงหนีไม่พ้นเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2547 ในรอปปองงิ ฮิลล์ (Roppongi Hills) ซึ่งขณะนั้นนับเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของกรุงโตเกียว และกำลังจะฉลองวาระครบรอบขวบปีแรกของการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนนับล้านๆ คนจากทั่วทุกสารทิศได้เข้ามาสัมผัสความแปลกใหม่ แต่แล้วงานฉลองก็กลับกลายเป็นความเศร้า เมื่อเด็กชายวัย
Japan Read More