เมื่อสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีข่าวอุบัติเหตุไฟไหม้โรงงานผลิตเสื้อผ้าในบังกลาเทศ มีผู้หญิงเสียชีวิตด้วยกันถึง 7 คน เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นทำให้หลายฝ่ายเริ่มวิตกกังวลถึงความปลอดภัยของแรงงานหญิงเหล่านี้ เพราะประเทศในแถบเอเชียใต้อย่าง บังกลาเทศ และปากีสถานนั้น เป็นที่ตั้งของโรงงานเสื้อผ้าเป็นจำนวนมาก และเจ้าของโรงงานเหล่านี้ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของพนักงาน ภายในโรงงานไม่มีการติดตั้งบันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินไว้ ไม่มีแม้กระทั่งถังดับเพลิงเพื่อไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน และไม่มีการฝึกซ้อมหนีไฟให้กับพนักงาน ดังนั้นพนักงานที่ทำงานในโรงงานเหล่านี้ในแต่ละวันล้วนแต่ทำงานไปพร้อมกับความเสี่ยงอันตราย โรงงานเย็บผ้าที่เป็นเหมือนความฝันที่จะเปลี่ยนชีวิตจึงกลายเป็นโรงงานนรกที่ต้องทำงานด้วยความเสี่ยงทุกวันแทน ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทของประเทศบังกลาเทศและปากีสถานส่วนใหญ่นั้นจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบาก จึงไม่เป็นที่แปลกใจนักที่พวกเธอเหล่านี้จะย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองหลวงเพื่อหางานทำและมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และเพราะพวกเธอเหล่านี้มีการศึกษาน้อย อาชีพในฝันของพวกเธอที่จะทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก็คือ การทำงานในโรงงานเย็บเสื้อผ้า ที่ไม่ได้ต้องการคนที่มีการศึกษาสูง แต่โรงงานเย็บผ้าเหล่านี้ไม่ได้เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการทำงานเลย เพราะโรงงานเหล่านี้ไม่เคยสนใจเรื่องความปลอดภัยและสวัสดิการของพนักงาน สิ่งเดียวที่พวกเขาสนใจคือ ต้องการจ่ายค่าจ้างแรงงานถูก อย่างเช่นที่เมืองธากา (Dhaka) ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกในการผลิตเสื้อผ้านั้น ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงจากชนบทย้ายเข้ามาในเมืองหลวงประมาณ 400,000 คน เพื่อทำงานในโรงงานเย็บผ้า พวกเธอเหล่านี้ต้องทำงานกันทุกวันโดยที่ไม่มีวันหยุด รวมไปถึงวันหยุดราชการด้วย พวกเธอต้องทำงานอย่างน้อยวันละ 8 - 12 ชั่วโมง และได้รับเงินเดือนเพียงแค่ 31 เหรียญต่อเดือน (ประมาณ 930 บาท) และถ้าพวกเธอทำงานตอนกลางคืนหรือทำงานล่วงเวลาก็จะได้เงินเดือนเพิ่มเป็น 37 เหรียญต่อเดือน (ประมาณ 1,110
Read More