Home > 2013 (Page 2)

ปีใหม่แบบญี่ปุ่น (2)

 ในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวญี่ปุ่นก็คือเรื่องของการส่งความสุขให้กับผู้คนที่เคารพรัก และผูกพันถึงกันและกัน การส่งความสุขแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า Nengajo นี้ มีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นลำดับนับตั้งแต่สมัย Heian ก่อนจะคลี่คลายมาสู่รูปแบบการส่งความสุขด้วยไปรษณียบัตร ซึ่งเเกิดขึ้นในยุคสมัย Meiji (1868-1912) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งกิจการไปรษณีย์สมัยใหม่ในปี 1871 ควบคู่กับการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามแบบตะวันตกในปี 1873 บทบาทของ Nengajo ในรูปแบบของไปรษณียบัตรในห้วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นประหนึ่งการหยิบยื่นความเป็นสมัยใหม่ให้กระจายสู่ประชาชนทุกระดับอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ควบคู่กับการสร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นไปพร้อมกัน นอกเหนือจากถ้อยความและคำอวยพรปีใหม่ ซึ่งเป็นประเด็นหลักของไปรษณียบัตรเหล่านี้แล้ว ความเป็นไปของ Nengajo ในเวลาต่อมายังเป็นภาพสะท้อนเรื่องราวในสังคมญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลงพร้อมกับความบอบช้ำของญี่ปุ่น กิจการไปรษณีย์ได้ก้าวไปสู่การทำให้ Nengajo เป็นมากกว่าบัตรอวยพรความสุข หากผนวกเอาการหยิบยื่นโอกาส ด้วยการพิมพ์หมายเลขประจำไปรษณียบัตรแต่ละใบสำหรับการจับรางวัลแบบ lottery เข้าไปด้วย ท่านผู้อ่านอาจกำลังนึกถึงเงินรางวัล แบบที่ทำให้ผู้รับผันชีวิตให้กลายเป็นผู้มั่งคั่งในชั่วข้ามคืน ดุจเดียวกับที่ได้พบเห็นผู้โชคดีจากกิจกรรมส่งไปรษณียบัตรทายผลกีฬาหรือแม้กระทั่งฝาขวดเครื่องดื่มนานาชนิดในบ้านเรา หากแต่ในความเป็นจริงของรางวัลจาก Nengajo ในแต่ละช่วงบ่งบอกลำดับขั้นของการพัฒนาทั้งในมิติของเศรษฐกิจอุสาหกรรมและสังคมวัฒนธรรมของญี่ปุ่นอย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นจักรเย็บผ้าในช่วงทศวรรษ 1950 มาสู่โทรทัศน์และวิทยุทรานซิสเตอร์ ในช่วงทศวรรษ 1960 มาสู่เตาไมโครเวฟ ในช่วง 1980 รางวัลท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วง 1990 ไปสู่ทีวีจอแบน notebook รวมถึงชุด home

Read More

ตลาดไททุ่มงบมหาศาล ยกระดับเป็นฮับอาเซียน

 “ถ้าผมนั่งอยู่เฉยๆ คนอื่นก็จะเข้ามา จึงถือเป็นหน้าที่ของตลาดไทที่จะผลักดันให้เป็นฮับของอาเซียน” คำกล่าวของประดิษฐ์ ภัทรประสิทธ์ ประธานกรรมการ บริษัทไทย แอ๊กโกร เอ๊กซเชนจ์ จำกัด เจ้าของตลาดไท ในงานแถลงข่าวประกาศแผนการลงทุนครั้งใหญ่ ด้วยมูลค่าการลงทุนถึง 2,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบลงทุนสูงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์วงการตลาดพืชผลของไทย  ตลาดไทเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2540 รองรับสินค้าประมาณ15,000 ตันต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตในประเทศ บนพื้นที่  450 ไร่ หรือประมาณ 720,000 ตารางเมตร จำนวนร้านค้า 3,000ร้านและมีผู้ซื้อผู้ขายมากกว่า 100,000 คนเข้ามาทำการค้าขายในแต่ละวัน พร้อมเงินหมุนเวียนมากกว่า500ล้านบาทต่อวัน ตลาดไทจึงเป็นตลาดค้าส่งผักและผลไม้สดที่ใหญ่ที่สุด และเป็นศูนย์กลางในการค้าผักและผลไม้สดของประเทศไทย   ปัจจุบันตลาดไทและตลาดสี่มุมเมือง ซึ่งตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 10กิโลเมตร ถือเป็นตลาดพี่ตลาดน้องที่รองรับการค้าส่งผักและผลไม้สด โดยมีสินค้าเกษตรผ่านเข้าออกมากกว่า 15,000 ตันต่อวัน บ่งบอกถึงศักยภาพและโอกาสที่ดีมากของตลาดไทที่จะเดินหน้าเชิงรุกเพื่อก้าวสู่การเป็นฮับสำหรับการค้าในภาคส่วนนี้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ที่กำลังจะเกิดขึ้น    “กลยุทธ์ของเราคือต้องขยับตัวให้เร็ว และลงทุนให้หนัก โอกาสมีไม่บ่อยนัก ถ้าเราสูญเสียโอกาสนี้เท่ากับเสียการเป็นผู้นำในตลาดอาเซียน ซึ่งทุกวันนี้เราเป็นอยู่แล้ว เรามองไม่เห็นใครในอาเซียนนอกจากเวียดนาม ซึ่งตามมาเป็นอันดับ

Read More

สงคราม “กล่อง” RS-GMM เร่งชิงตลาด Pay TV

 เมื่อราว 30 ปีก่อน “อาร์เอส” และ “แกรมมี่” เคยต้องสู้กันอย่างดุเดือดเพื่อแย่งชิงฐานผู้ฟังในธุรกิจเพลง นับจากนั้นทั้งสองค่ายก็ฟาดฟันทางธุรกิจในฐานะ “Content Provider” ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย เรื่อยมาแม้กระทั่งถึงยุคที่อุตสาหกรรมสื่อของเมืองไทยก้าวมาถึง “จุดเปลี่ยน” สำคัญ  “อนาคตการแข่งขันของอุตสาหกรรมทีวีจะเปลี่ยนไป วันนี้เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม เป็นเพียงการนิยามด้วยเทคโนโลยี แต่ในมุมมองของผู้บริโภค แยกเพียง 2 ส่วน คือฟรีทีวี และเพย์ทีวี ขณะที่กลุ่มผู้ชมคือกลุ่มเดียวกัน อยู่ที่ใครจะสร้างคอนเทนต์และดึงความสนใจของผู้ชมได้” คำกล่าวของผู้บริหารแห่ง “ค่ายเพลงเบอร์สอง” ของเมืองไทย สอดรับกับแนวทางของ “ค่ายเพลงเบอร์หนึ่ง” ที่มองว่า ในช่วงแรกวงการทีวีดาวเทียม คือการให้บริการช่องรับชมฟรี หรือ Free to Air แต่ก้าวต่อไปของวงการนี้คือการให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก หรือ Pay TV ซึ่งถือเป็นภาคต่อของตลาดทีวีดาวเทียมนับจากนี้ไป ความพยายามเข้าสู่ธุรกิจเพย์ทีวีของ RS เริ่มต้นจากการส่งกล่องรับสัญญาณ “ซันบ็อกซ์” เข้าสู่ตลาดเมื่อปีที่แล้ว เพื่อรองรับคอนเทนต์ “ลาลีกา” ก่อนที่จะถึงฤดูกาลฟุตบอลโลก 2014 ที่จะเริ่มเตะจริงในเดือน

Read More

“อิคาโน่” ปักธง “เมกาซิตี้” สร้าง “ฮับ” รุกสี่มุมเมือง

 หลังจากปักหมุดแรกผุดศูนย์การค้า “เมกาบางนา” มูลค่าลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท เนื้อที่กว่า 250 ไร่ พื้นที่ 400,000 ตารางเมตร กลายเป็นศูนย์การค้าแนวราบระดับภูมิภาคแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2555 ล่าสุด “อิคาโน่ กรุ๊ป” เดินหน้าแผนขยายบิ๊กโปรเจ็กต์ต่อเนื่อง โครงการ “เมกาซิตี้” เนื้อที่อีก 150ไร่ เพื่อใช้จุดยุทธศาสตร์ “บางนา” สร้าง “ฮับ” และรุกเครือข่ายสาขาใหม่ยึดสี่มุมเมืองของกรุงเทพฯ  แน่นอนว่าศักยภาพของทำเลย่านบางนาไม่ใช่แค่ที่ตั้งชุมชนมากกว่า 3 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางระดับบน มีกำลังซื้อและมีแนวโน้มการขยายตัวของผู้คนระดับนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ไม่อยากอุดอู้อยู่ในบ้านหรือคอนโดมิเนียมในเมือง แต่เลือกที่จะซื้อบ้านหลังใหญ่ในทำเลที่เดินทางเข้าออกเมืองได้สะดวก  ตามผังเมืองใหม่ที่กำหนดให้โซนบางนาเป็นพื้นที่ศูนย์พาณิชยกรรม การเติบโตของกรุงเทพฯ ช่วง 5 ปีข้างหน้าจึงมีแนวโน้มขยายตัวไปทางทิศตะวันออกจากหลายปัจจัย การมีสนามบินสุวรรณภูมิ มีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอสอ่อนนุช-แบริ่ง และจะขยายจากแบริ่งไปสถานีสำโรง รวมถึงกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยังต้องการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) สาย LRT สุวรรณภูมิ-บางนา เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ระยะทาง 18 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี

Read More

ปีใหม่แบบญี่ปุ่น (1)

 ช่วงปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ท่านผู้อ่านเตรียมดำเนินกิจกรรมอะไรบ้างคะ หลายท่านอาจเดินทางท่องเที่ยว เติมพลังให้ชีวิต ขณะที่หลายท่านอาจปักหลักอยู่บ้านทบทวนวันปีที่เพิ่งผ่านไป แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นช่วงปีใหม่ถือเป็นช่วงเวลาที่มีกิจกรรมต่างๆ หนาแน่น ซึ่งล้วนแต่อุดมด้วยเรื่องราวที่สะท้อนความลุ่มลึกและร่ำรวยของคติและวิธีคิดที่แหลมคมไม่น้อย เริ่มที่มิติของอาหารสำหรับปีใหม่กันก่อนดีไหม สำรับอาหารชุดพิเศษของชาวญี่ปุ่นในช่วงปีใหม่ ที่เรียกว่า Osechi Ryori นี้ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัย Heian หรือกว่าพันปีมาแล้ว เพื่อนชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่งซึ่งมีพื้นเพเดิมเป็นชาวเมืองเกียวโต เคยเชื้อเชิญให้ผู้เขียนและครอบครัวไปร่วมรับประทานอาหารปีใหม่สำรับพิเศษนี้ร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ของเขาที่บ้าน Osechi Ryori ในครั้งนั้น นอกจากจะเต็มไปด้วยบรรยากาศของมิตรภาพอันอบอุ่น และรสชาติอาหารอันโอชะแล้ว ยังทำให้ได้รับความรู้จากอรรถาธิบายถึงความหมายและที่มาที่ไปของอาหารที่ทุกคนในครอบครัวช่วยกันลงมือทำสำรับนี้มากขึ้นด้วย ท่านผู้อ่านซึ่งคุ้นเคยกับอาหารญี่ปุ่น คงจะทราบดีว่าอาหารญี่ปุ่นมีจุดเด่นอยู่ที่ความสดใหม่ของวัตถุดิบในการปรุงเป็นหลัก หรือหากจะกล่าวให้ถูกต้อง ควรต้องเรียกว่าสดจนไม่ต้องปรุง แต่ Osechi-Ryori จะให้ความรู้สึกที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เพราะคติของชาวญี่ปุ่นแต่เดิมนั้น ถือว่าตลอด 3 วันแรกของการขึ้นปีใหม่ ที่เรียกว่า Oshoogatsu เป็นช่วงเวลาที่ไม่ควรประกอบอาหารใดๆ ยกเว้นเพียงการปรุงซุป Ozoni ซึ่งเป็นซุปใสที่ประกอบด้วยก้อนแป้งข้าวเหนียว (โมะจิ : mochi) ผัก และอาหารแห้งอื่นๆ ที่เป็นอาหารพิเศษสำหรับปีใหม่อีกชนิดหนึ่ง การเตรียมสำรับอาหาร Osechi จึงต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันสิ้นปี ด้วยเหตุนี้ Osechi ในยุคแรกๆ จึงถูกจำกัดให้เป็นเพียงชุดอาหารที่ประกอบส่วนด้วยผักต้มผักดอง เท่าที่ความรู้เกี่ยวกับการถนอมอาหารในขณะนั้นจะเอื้อให้จัดเตรียมได้ ความหลากหลายที่มีเพิ่มเติมเข้ามาในสำรับ Osechi ในเวลาต่อมา ในด้านหนึ่งจึงเป็นประหนึ่งเครื่องบ่งชี้ความสามารถในการสรรหาวัตถุดิบและความก้าวหน้าในการถนอมอาหารของชาวญี่ปุ่นไปในตัว ขณะเดียวกันองค์ประกอบของสำรับ

Read More

สำรวจสงคราม “สี” ชิงพื้นที่ตลาด 2 หมื่นล้าน

  ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองร้อนระอุในช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งปกติจะเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับการซ่อมแซมบ้านเพื่อรับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเดินทางมาถึงในช่วงปีใหม่ ที่ทำให้ตลาดวัสดุก่อสร้างมีความเคลื่อนไหวที่น่าตื่นตาตื่นใจหลายประการเลยทีเดียว                ตลาดสีทาบ้านเป็นอีกตลาดหนึ่งที่มีการแข่งขันกันอย่างอย่างรุนแรงและดุเดือด ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แรงซื้อในตลาดค่อนข้างหดตัว จากภาวะหนี้สินครัวเรือนที่พุ่ง การเมืองที่ร้อนแรง ส่งผลให้ในปีนี้ตลาดสี ที่มีมูลค่าประมาณ 20,000  ล้านบาท อาจลดลงเหลือประมาณ17,000  ล้านบาท แต่กระนั้นเหล่าบรรดาแบรนด์ค่ายสีต่างๆ  ต่างออกกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขาย ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพของสี  นวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น หรือโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ เป็นเครื่องมือกระตุ้นต่อมความต้องการของลูกค้าเพื่อออกมาจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น ในขณะที่เบอร์หนึ่งของตลาดสี  TOA  ที่ครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 50% พร้อมกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตอกย้ำความเป็นผู้นำเทคโนโลยีสีด้วยการ เปิดตัว TOA Color World เครื่องผสมสีอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Tinting System)  เครื่องผสมสีนี้ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของร้านค้าที่ช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันทีในเรื่องความหลากหลายของเฉดสี พร้อมกับนวัตกรรมใหม่ ที่ถือเป็นจุดขายสำคัญ อย่างหนึ่งของเครื่องผสมสีเพื่อสุขภาพ คือสามารถลดการปล่อยสาร VOCs (Volatile Organic Compounds) สารระเหยที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและก่อมะเร็ง

Read More

“อิเกีย” บุกเมือง ดาวกระจายขยายฐาน

 แม้ “อิคาโน่กรุ๊ป” กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่จากสวีเดนและเจ้าของเชนสโตร์ค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ครบวงจร “อิเกีย” จับมือกับค่ายสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ ทุ่มทุนกว่า 12,000 ล้านบาท สร้างไฮบริดจ์มอลล์ “เมกาบางนา” และผุด “อิเกียสโตร์” สาขาแรกในไทย บนเนื้อที่กว่า 254 ไร่ เลียบถนนบางนา-ตราด กลายเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่ดึงดูดผู้คนมากกว่าปีละ 4 ล้านคน แต่ 2 ปีที่ผ่านมา “อิเกีย” กลับช่วงชิงส่วนแบ่งได้น้อยมากชนิด “ไม่ติดฝุ่น” คู่แข่ง จนล่าสุดต้องงัดกลยุทธ์ “บุกเมือง” เพื่อขยายฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด ตามแผน “Market Leader” ภายใน 5 ปี  ประมาณกันว่า เม็ดเงินในตลาดค้าวัสดุมีมูลค่าเกือบ 400,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนอยู่ในตลาดเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน หรือ “โฮมเซ็นเตอร์” กว่า 60,000 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มอัตราขยายตัวสูงต่อเนื่องตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เติบโตอย่างร้อนแรง  แม้ “อิเกีย” เป็นชนวนสำคัญที่จุดระเบิดในสมรภูมิธุรกิจโฮมเซ็นเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบการขยายสาขาของคู่แข่งที่เน้นความใหญ่

Read More

ทิศทางอสังหาฯ ไทย ในสายตาผู้นำตลาด

 พลันที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังระบุว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทยมีมูลค่าคิดเป็น 5-6% ของ GDP ซึ่งมีมูลค่ารวม ณ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านล้านบาท นั่นก็หมายความว่ามูลค่าธุรกิจอสังหาฯ สูงถึงราว 6 แสนล้านบาทเลยทีเดียว  ข้อมูลนี้ถูกนำเสนอผ่านเวทีสัมมนาที่มีชื่อว่า “ทิศทางเศรษฐกิจ-อสังหาริมทรัพย์ไทยในสายตาผู้นำ” โดยไฮไลต์ของงานนี้ อยู่ที่การบรรยายของอนันต์ อัศวโภคิน ประธานและกรรมการผู้จัดการ บมจ. แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่นานๆ จึงจะยอมออกงานที่ไม่ใช่พิธีเปิดธุรกิจของบริษัทในเครือตนเอง  อนันต์สรุปถึงกุญแจสำคัญที่นำมาความสำเร็จของ L&H เอาไว้ 2 ประการ ได้แก่ การลดต้นทุนคงที่ หรือ ต้นทุนค่าโสหุ้ย (Overhead Cost) และการเพิ่มยอดขาย เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกคนน่าจะตระหนักถึงความสำคัญของ ‘กุญแจ’ 2 ดอกนี้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่น่าสนใจอยู่ที่แนวทางการปฏิบัติในแบบฉบับของ L&H มากกว่า “ดูจากตัวเลขไตรมาส 3 ของหลายๆ บริษัทจดทะเบียนอัตรากำไรขั้นต้น (margin) เหมือนกันหมดคือประมาณ 35% แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต่างกันเยอะมากคือ Overhead Cost บริษัทที่มีต้นทุนต่ำสุดคือ

Read More

HOLY LAND: ฐานถิ่นแห่งความขลัง

 ช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะได้ยินได้ฟังข่าวเกี่ยวกับเรื่องนิรโทษกรรมแล้ว อีกข่าวที่น่าสนใจไม่น้อยเพราะเป็นประหนึ่งรูปการณ์จิตสำนึกและเข็มมุ่งในแนวนโยบายแห่งรัฐ ก็เห็นจะเป็นเรื่องของมหกรรมสินค้า OTOP ที่รวบรวมของดีจากทุกสารทิศมาให้ได้เลือกซื้อเลือกชม ข่าวเกี่ยวกับ OTOP หรือรายการโทรทัศน์ประเภทของดีทั่วถิ่นไทย ทำให้บทสนทนาบนโต๊ะอาหารที่บ้านช่วงวันหยุด ดำเนินไปท่ามกลางการหวนรำลึกบรรยากาศเมื่อครั้งที่สมาชิกในบ้านมีโอกาสได้พักอาศัยและร่วมตะลอนทัวร์ ไปทัศนศึกษาความเป็นไปของเมืองต่างๆ ในญี่ปุ่นเป็นกำลัง โดยเฉพาะการไล่เรียงอาหารรสเด็ดบ้างไม่เด็ดบ้างที่ได้เคยมีโอกาสลิ้มลอง แต่เหนือสิ่งอื่นใดนอกเหนือไปจากรสชาติของอาหารที่ได้ลิ้มลองดังกล่าวก็คือการได้ไปเยือนถิ่นที่เป็นประหนึ่งดินแดนศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลังของอาหารแต่ละชนิดกันเลยทีเดียว ถึงจะไม่ได้มีการกำหนดให้เป็นคำขวัญประจำถิ่น แต่อาหารหลายชนิด รวมถึงผลิตผลทางการเกษตรที่หลากหลายก็กลายเป็นสินค้าเลื่องชื่อและสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นไปโดยปริยาย พร้อมกันนี้การสถาปนาเมืองหลวงหรือสร้างดินแดนศักดิ์สิทธิ์ให้กับอาหารแต่ละชนิดในด้านหนึ่งยังดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับลักษณะท้องถิ่นนิยมที่ลุ่มลึกไม่น้อย เมื่อครั้งที่มีโอกาสเดินทางไป Hiroshima อาหารที่เราลงมติว่าสมควรต้องใช้เวลาเพื่อขจัดความหิวและเติมเต็มพลังงานให้กลับคืนมาก็คือ Okonomiyaki ซึ่งหลายท่านอาจเรียกว่าเป็น pizza ญี่ปุ่น แต่หากจะแปลความตามตัวอักษรอาหารชนิดนี้ก็จะมีความหมายว่า as you like itนี่แหละ แม้อาหารชนิดนี้จะมีชื่อเรียกขานดังกล่าว จากผลของส่วนประกอบที่หลากหลายเปิดโอกาสให้ผู้ปรุงและผู้ทานสามารถเลือกใส่เลือกปรุงได้ตามแต่ใจปรารถนา ในลักษณะที่ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่เพราะ Hiroshima ได้รับการสถาปนาให้เป็นประหนึ่งเมืองหลวงของ Okonomiyaki โดยแท้ และชาวบ้านร้านถิ่นในเมืองนี้ ก็พร้อมจะระบุว่าการปรุงในแบบ Hiroshima คือ Okonomiyaki สูตรต้นตำรับเสียด้วย ขณะเดียวกันก็มีข้อถกเถียงกันอยู่ไม่น้อยว่า Okonomiyaki ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างไรและเริ่มต้นในพื้นที่แห่งใดก่อนกันแน่ เพราะที่ Osaka เอง ก็พยายามจะบอกว่า Okonomiyaki มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่นั่นเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่า Osaka จะได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นทางและเมืองหลวงของ

Read More

ค้าปลีก ดิ้น-สู้-ฟัด เร่งชิงพื้นที่เสริมจุดขาย

 ความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการค้าปลีกไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นับว่ามีความน่าสนใจและสะท้อนภาพการแข่งขันในธุรกิจที่ดำเนินไปอย่างเข้มข้นและทวีความหนักหน่วงยิ่งขึ้นไปทุกขณะ การประกาศแผนการลงทุนของ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ที่จะใช้เงินลงทุนจำนวนมากถึงกว่า 2 หมื่นล้านบาทในการสร้าง Shopping District เป็นตัวอย่างหนึ่งของความพยายามในการช่วงชิงพื้นที่และสร้างจุดขายครั้งใหม่ ท่ามกลางการเปิดแนวรุกของคู่แข่งขันหลักจากเครือเซ็นทรัลที่ดำเนินต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์การขยายตัวของเดอะมอลล์ กรุ๊ป และเครือเซ็นทรัลเป็นกรณีเปรียบเทียบที่น่าสนใจศึกษาอย่างมาก เพราะในขณะที่เครือเซ็นทรัลโดย เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN และเซ็นทรัลรีเทลคอร์ป CRC จะดำเนินมาตรการเชิงรุกด้วยการขึงตรึงพื้นที่ในเขตย่านที่มีศักยภาพสูงในทุกทิศทางของเมือง ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ลาดพร้าว ปิ่นเกล้า พระราม 2 พระราม 3 แจ้งวัฒนะ รามอินทรา รัตนาธิเบศร์ รังสิต พระราม 9 รวมถึงกระจายตัวสู่หัวเมืองต่างจังหวัดอย่างกว้างขวาง เดอะมอลล์ กรุ๊ป ซึ่งจากเดิมเคยถูกปรามาสว่าเป็น “ห้างท้องถิ่นหัวเมือง” กลับพยายามเน้นภาพลักษณ์การเป็นผู้ประกอบการศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ หลังจากประสบความสำเร็จในการเบียดแทรกเข้ามาลงทุนในย่านสุขุมวิทด้วย ดิ เอ็มโพเรียม และตอกย้ำด้วยการร่วมลงทุนในสยามพารากอนในเวลาต่อมา ก่อนที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข่าวเกี่ยวกับการขยายการลงทุนใหม่ๆ ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป จะห่างหายไปจากหน้าสื่อหลัก ท่ามกลางความพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารและการเสริมสร้างพันธมิตรธุรกิจ ก่อนที่จะเปิดแผนการลงทุนครั้งใหม่เมื่อต้นสัปดาห์ก่อน พัฒนาการทางความคิดของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ที่สะท้อนออกมาตามแผนการลงทุนครั้งใหม่นี้

Read More