ยุทธศาสตร์รถไฟ: สร้างรางเพื่อสร้างเมือง
ความพยายามของประเทศไทยที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าด้วยเรื่องการคมนาคมขนส่งให้ก้าวหน้าและสามารถรองรับกับการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ประสานกับบทบาทของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ระบุว่าการพัฒนาระบบรางของไทยมีความจำเป็น และกำลังศึกษารูปแบบที่เหมาะสมจากหลากหลายประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นแน่นอนว่าต้องมีญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในตัวแบบของการพัฒนาด้วย ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ แม้พัฒนาการของระบบรถไฟในประเทศยุโรปอีกหลายชาติจะมีความก้าวหน้าอย่างมาก และมีการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม โดยเฉพาะในกรณีของเยอรมนีที่บริหารโดย Deusche Bahn: DB หรือในกรณีของอังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งต่างเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและพร้อมจะส่งออกวิทยาการเหล่านี้ ไม่นับรวมจีนที่หมายมั่นปั้นมือที่จะเบียดแทรกเข้าสู่ตลาดนี้ด้วยเช่นกัน แต่ภายใต้การจำเริญเติบโตของเมืองในสังคมการผลิตแบบเอเชีย ที่มีความใกล้เคียงกันระหว่างไทยและญี่ปุ่น บางทีประสบการณ์จากญี่ปุ่นอาจให้คำตอบที่ใกล้เคียงกับความต้องการของสังคมไทยในห้วงยามนี้ พัฒนาการของโครงข่ายการคมนาคม ด้วยระบบรางในประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะจำเริญเติบโตจากผลของระดับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ซึ่งผลักดันให้ญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกิจการรถไฟอยู่ในระดับที่ก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกแล้ว กิจการรถไฟในญี่ปุ่นยังเป็นกรณีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับชาติอย่างยากจะแยกออก ระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ส่งผลให้กิจการรถไฟในญี่ปุ่น ก้าวข้ามบริบทของการเป็นเพียงบริการสาธารณะที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนสำหรับการเดินทางในประเทศไปอีกขั้น เมื่อนวัตกรรมที่เป็นผลผลิตจากระบบรถไฟของญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น MagLev (Magnetic levitation) หรือรถไฟความเร็วสูง (Bullet Train: Shinkansen) กำลังแปลงสภาพเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามหาศาลอีกชนิดหนึ่ง ที่พร้อมรุกเข้าสู่การรับรู้ของผู้คนในทุกภูมิภาคโดยเฉพาะการสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองทั่วอาเซียนในอนาคต ยุทธศาสตร์การพัฒนาของรถไฟความเร็วสูง หรือ Shinkansen ของญี่ปุ่นอาจให้ภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจและเป็นที่กล่าวถึง โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่ว่าการเดินทางระหว่างเมืองใหญ่สำคัญของญี่ปุ่นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีราคาย่อมเยากว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน แต่พัฒนาการที่ว่านี้คงเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการวางโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ความเป็นมาของกิจการรถไฟในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 1872 เมื่อเส้นทางการเดินรถไฟสายแรกระหว่าง Shinbashi ซึ่งเป็นทั้งย่านธุรกิจและคลังสินค้าขนาดใหญ่ในกรุงโตเกียวกับเมืองท่า Yokohama เปิดให้บริการ โดยมีพิธีเปิดอย่างเอิกเกริกที่สถานีต้นทางทั้งสองแห่ง ตลอดเส้นทางที่รถไฟสาย
Read More