Home > 2012 (Page 9)

Let it Go, Let it Flow @ ลอยละล่อง

 “อย่างเดียวที่สะท้อนตัวตนของผมกับแฟนคือ ชื่อโรงแรม ตอนนั้นเรากำลังโหยหาอิสรภาพมาก เราอยู่ใน “กรง” มาตลอด แล้ววันหนึ่งที่หลุดออกมา เราก็คงอยากลอยไปเรื่อยๆ ใจเย็นๆ เปรียบเหมือนชีวิตที่ไหลขึ้นลงไปกับน้ำ ไหลไปเรื่อยๆ เอื่อยๆ แต่ไหลไปอย่างมีความสุข"คำบอกเล่าจากเจ้าของโรงแรมที่มีชื่อว่า “ลอยละล่อง” ซึ่งนอกจากบ่งบอกโลเกชั่นของโรงแรมที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อนี้ยังสะท้อนสิ่งที่หนุ่มใหญ่วัย 42 ปีคนนี้แสวงหามาตลอดชีวิต ที่ผ่านมาสราวุธ ศาสนนันทน์ เป็นอดีตครีเอทีฟในบริษัทเอเจนซี โฆษณาที่ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ในช่วงชีวิตการทำงานในวงการโฆษณาร่วม 20 ปี เขาฝากผลงานมาแล้วหลาย ร้อยชิ้นงาน เช่น เซ็นทรัลชุด “หนูผี”, สปอนเซอร์, ไวไวควิก, เคาน์เตอร์เซอร์วิส และหม่ำวอยซ์ เป็นต้นขณะที่เรือด่วนเจ้าพระยามุ่งหน้าสู่สาทรได้ขับพ้นท่าเรือ ราชวงศ์ไปได้สักพัก ผู้โดยสารที่ชีวิตไม่เร่งรีบและจดจ่อกับการ เดินทางจนเกินไป หลายคนที่เงยหน้าขึ้นมามองทิวทัศน์สองฝั่งน้ำจะได้ชื่นชมกับภาพเจดีย์จีนทรงแปลกตางดงาม นั่นคือที่ตั้งของสมาคมเผยแผ่คุณธรรม “เต็กก่า จีจินเกาะ”วิวฝั่งตรงข้ามเป็นบ้านไม้สองชั้นอายุ 30 ปี ลอยปริ่มอยู่ เหนือแม่น้ำเจ้าพระยา คือ “ลอยละล่อง” โรงแรมขนาด 7 ห้องพัก บนพื้นที่ที่เคยเป็นโรงงานน้ำปลา คลังสินค้า และท่าเรือทรงวาด ซึ่งอยู่ภายในรั้วของวัดปทุมคงคา ถนนทรงวาดเพราะมีบ้านอยู่ริมน้ำแถวบางลำพู ออฟฟิศอยู่ราชประสงค์ สราวุธชอบเดินทางด้วยเรือด่วน และทุกครั้งที่เห็นบ้านไม้หลังนี้ เขารู้สึกหลงใหล กระทั่งเจ้าของบ้านติดประกาศ ให้เช่า เขาจดเบอร์ไว้ แต่ก็นานกว่าที่จะได้โทรหา“วันที่มาดูบ้านเป็นวันอาทิตย์

Read More

เทศกาล “กินของเน่า” ยิ่งเน่า ยิ่งนัว

 หากร้านอาหารแห่งนี้เสิร์ฟ “แกงเขียวหวาน พริกแกงซากกุ้งเน่า” พร้อมขนมจีนน้ำยาป่าที่น้ำของปลานั้นเน่าค้างปี และน้ำพริกอ่องทำจากแผ่นถั่วรวมแบคทีเรีย ตบท้ายด้วยของหวานเป็นขนมถ้วยฟูที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์ญาติเชื้อรา คุณจะ...ลุกหนีหรือลุยต่อ!!!คุณกิน “ของเน่า”!!! คุณนั่นแหละกินของเน่า ยิ่งเน่าก็ยิ่งอร่อย ยิ่งเน่าก็ยิ่งกิน และคุณกินของเน่าเข้าไปแล้ว ...นี่คือประโยคทักทายแรกที่ผู้ชมจะได้พบทันทีที่ก้าวเข้าสู่ห้องนิทรรศการ “กินของเน่า” ภาพที่เห็นคือบรรยากาศร้านอาหารหรูย่านทองหล่อแทนที่ชั้นวางโหลใส่เส้นพาสต้าสีสันสวยงามตามร้านอาหารอิตาเลียน แต่ร้านจำลองแห่งนี้เลือกที่จะจัดโชว์โหลปลาเน่าปลาหมักที่มีทั้งแบบเป็นต่อนและไม่เห็นตัวปลา สีสันตุ่นๆ กลิ่นก็ฉุนแรง ซึ่งล้วนแล้วแต่คัดมาจาก ไหปลาร้านานาประเทศในประชาคมอาเซียนปลาร้าเขมรเรียก “ปราฮ็อก” ฟิลิปปินส์เรียก “บากุง” เวียดนามเรียกว่า “มาม” มาเลเซียเรียก “เปกาซัม” หรือ “เบลาคัน” ขณะที่อินโดนีเซียเรียก “บากาแช็ง” พม่าเรียก “งาปิ๊” ส่วนลาวและอีสานบ้านเราเอิ้น “ปลาแดก”ว่ากันว่าปลาร้าไหแรกที่มีหลักฐานความเก่าแก่ที่สุดในประเทศใน “ประชาคมปลาร้า” ในภูมิภาคนี้มีอายุราว 2,500 ปี พบในหลุมศพ นี่เป็นพยานยืนยันว่าการกินปลาร้าเป็นวัฒนธรรมที่ถูกสืบสานตกทอดกันมายาวนานแต่ไม่ใช่แค่ดินแดนสุวรรณภูมิ ปลาร้ายังเกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลก ด้วยเหตุที่มนุษยชาติ เพิ่งมีตู้เย็นใช้เมื่อไม่นาน แต่ผักปลาก็ไม่ได้มีสมบูรณ์ในทุกฤดูกาล คนรุ่นก่อนจึงจำเป็นต้อง หาวิธีถนอมอาหารไว้กินยามขาดแคลน โดยใช้สิ่งที่มีอยู่รอบตัว อย่างเกลือและข้าวในการหมักปลาเพื่อยืดอายุของปลา แต่ผลพลอยได้คือรสชาติก่อนจะไปชมส่วนอื่น เจ้าหน้าที่ประจำนิทรรศการในชุดพนักงานเสิร์ฟสีดำทำหน้าที่เชิญผู้ชมเข้านั่งที่โต๊ะอาหาร พร้อมกับยื่นเมนูบุฟเฟต์อร่อยไม่อั้นแบบ “เน่าๆ” ประกอบด้วย 4 รายการอาหารของเน่าที่เอ่ยมาข้างต้นไม่ว่าจะเต็มใจเลือกหรือไม่ ทันทีที่บริกรรับออร์เดอร์ เพียงไม่นาน “เชฟชาคริต แย้มนาม” ก็ออกมาพูดถึงวิธีปรุงเมนูดังกล่าวพร้อมอธิบายว่าทำไมอาหารทั้ง 4 เมนูจึงถูกเรียกว่าเป็น “ของเน่า” ผ่านจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ยกตัวอย่างเมนูแกงเขียวหวาน เพราะแกงเขียวหวานมีส่วนผสมของพริกแกงและกะปิ ซึ่งกะปิเกิดจากการหมักซากเคย (กุ้งตัวเล็ก) กับเกลือ โดยเกลือจะทำหน้าที่คัดกรองเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออก เพราะจุลินทรีย์เชื้อร้ายจำนวนมากจะไม่ทนต่อเกลือ จากนั้นก็คัดกรอง “เชื้อร้าย” อีกครั้งด้วยการตากแดด  ผ่านการคัดกรองสองชั้น จุลินทรีย์ที่เหลือรอดส่วนใหญ่ ซึ่งเป็น “เชื้อดี” จะทำหน้าที่ปราบ “เชื้อร้าย” ที่หลงเหลืออยู่ อันเป็นการยืดอายุให้อาหาร โดยหากยิ่งทิ้งไว้นาน เอนไซม์ในเคยและจุลินทรีย์ที่เหลือรอดจะช่วยทำหน้าที่ปรุงรสให้กะปิหอมและอร่อยยิ่งขึ้นขณะที่ “กะปิ” เป็นตัวแทน “ของเน่าพลิกโลก” จากภาคใต้ ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องแกงและน้ำพริกหลากหลายชนิด ภาคเหนือก็มี “ถั่วเน่า” ที่เป็นเครื่องปรุง รสชาติที่กลายเป็นอัตลักษณ์ของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ ส่วนภาคอีสานก็มี “น้ำปลาร้า” เป็นน้ำทิพย์ชูรสในแทบทุกเมนูอาหารพื้นบ้านทั้งวัตถุดิบและวิธีการในการทำกะปิ

Read More

ชื่อเล่น ชื่อจริง นามแฝง นามปากกา

 ประเด็นเรื่องชื่อเล่น ชื่อจริง นามแฝง หรือนามปากกา กลายเป็นประเด็นถกเถียงขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่เคยประทุขึ้นมาเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งถ้าย้อนอดีตไปในประวัติศาสตร์แล้ว ประเด็นนี้ก็ถูกถกเถียงอยู่ในแวดวงต่างๆ เรื่อยมากูเกิ้ลนำประเด็นนี้มาให้เราได้ถกเถียงอีกครั้ง เป็นความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าของกูเกิ้ลที่จะสร้างบรรทัดฐานให้เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ที่เราคงต้องร่วมวงไพบูลย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม แต่เหรียญมีสองด้านเสมอ การใช้ชื่อเล่น ชื่อจริง นามแฝง หรือนามปากกาก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันเช่นกันเรามาลองตามดูความพยายามของกูเกิ้ลกันหนึ่งในความพยายามของ YouTube ในการแก้ปัญหาเรื่องการแสดงความคิดเห็นที่อาจจะสร้างปัญหาโดยเฉพาะปัญหาที่ส่งผลต่อการดำเนินการเว็บไซต์ของ YouTube อย่างหนักหน่วงนั้นคือ การพยายามผลักดันให้ผู้ใช้งานยกเลิกการแสดงความเห็นโดยไม่เปิดเผยชื่อ ซึ่งเป็นวิธีการที่เหล่าอาชญากรออนไลน์ทั้งหลายใช้เมื่อต้องกระทำความผิดดังนั้น ทุกวันนี้การแสดงความคิดเห็น (Commenting) หรือการอัพโหลดภาพวิดีโอขึ้นบนเว็บไซต์ YouTube จึงมีการเรียกหาชื่อจริงเสียงจริงทุกครั้ง โดยมีการประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีของการแสดงชื่อจริงในบล็อกของ YouTube อย่างเป็นทางการ (สามารถดูได้จากhttp://youtube-global.blogspot.com/2012/06/choosing-how-youre-seen-on-youtube.html)ซึ่งการให้แสดงชื่อจริงของ YouTube ยังต่อเนื่องไปถึงการลิงค์ไปยังแอคเคาน์ของ Google+ ซึ่งกูเกิ้ลพยายามโปรโมต อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดีสำหรับคนที่ปฏิเสธไม่ใช้ชื่อจริงก็ต้องให้ เหตุผลกับทาง YouTube ด้วยว่า ทำไมถึงไม่ใช้ชื่อจริง อย่างเช่น แอคเคาน์นี้สำหรับใช้เพื่อทางธุรกิจเท่านั้น เป็นต้นสำหรับ YouTube แล้ว บริการการอัพโหลดไฟล์ภาพวิดีโอของ YouTube ค่อนข้างมีความเสี่ยงในการถูกใส่ข้อความ ที่ไม่ดีไม่งาม ทำให้ YouTube ติดอันดับเว็บที่มีการกำหนดข้อจำกัดในการแสดงความคิดเห็นหรือการใส่ข้อความต่างๆ ที่มีแนวโน้มไปในทางทำให้เกิดความขัดแย้งหรือเป็นประเด็นอ่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อชาติ ศาสนา และการเมืองล่าสุดกูเกิ้ลที่เป็นเจ้าของ YouTube ได้กำชับให้เว็บไซต์นี้ สรรหาวิธีที่จะช่วยลดการทำผิดในลักษณะต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ โดยก่อนหน้านี้ YouTube จัดการกับการละเมิดในลักษณะต่างๆ โดยอนุญาตให้คนที่อัพโหลดวิดีโอสามารถเซตไม่ให้รับคอมเมนต์ได้ ซึ่งโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการทำให้ YouTube ถูกตัดออกจากสังคมออนไลน์ไปจากการที่ YouTube ถูกมองว่าเป็นเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยการแสดงความคิดเห็นที่เลวร้ายที่สุดในอินเทอร์เน็ต ทำให้ YouTube พยายามพัฒนาระบบการคอมเมนต์ของตัวเอง อย่างน้อยเพื่อทำให้ผู้ที่ชื่นชอบการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายเชื่อฟังมากขึ้นสองปีก่อน YouTube แก้ปัญหาโดยการนำเอา “highlights view” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นก่อนหน้า “top comments” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยจะแสดงข้อความแสดงความคิดเห็นที่ได้รับการโหวต สูงสุดจากคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นใน YouTube นั้นๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นโดยอ้อมต่อการแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ แต่ YouTube ยังต้องพยายามอีกมากถ้าต้องการจะกำจัดปัญหาข้อความแสดงความคิดเห็นเลวร้ายที่สร้างปัญหาให้กับเว็บไซต์  โดยเว็บไซต์เองได้ รวบรวมไฟล์วิดีโอที่ดูดีซึ่งสร้างขึ้นโดยบริษัท

Read More

อะไรคือเทคโนโลยี Cloud Computing

 คุณผู้อ่านอาจเคยได้ ยินคำว่า Cloud Computing กันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่รู้รายละเอียด วันนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับ Cloud Computing กันครับว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร และมีที่มาที่ไปอย่างไรCloud Computing หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นหลักการที่ได้ต่อยอดมาจากเทคโนโลยีด้าน Virtuali-zation หรือการสร้าง CPU (Central Processing Unit) เทียม เป็นการจำลองตัว CPU เล็กๆ ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ ได้ใช้งานตามต้องการหลักการทำงานที่เข้าใจง่ายๆ ของ Cloud Computing คือเอาทุกอย่างโยนเข้าไปที่เซ็นเตอร์ส่วนกลาง ซึ่งพื้นที่เซ็นเตอร์ส่วนกลางนี้ที่เราเปรียบได้เหมือนเมฆ (ซึ่งทำให้เป็นที่มาของคำว่า Cloud) เพราะฉะนั้นต่อไปเราไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์ราคาแพงๆ Spec แรงๆ ไว้ที่บ้าน แค่มีคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป RAM ไม่ต้องสูงมาก เวลาต้องการคำนวณหรือ ประมวลผลอะไรสูงๆ เราก็จะโยนไปฝากไว้ที่เซ็นเตอร์ส่วนกลาง ในเซ็นเตอร์ส่วนกลางนี้จะมี CPU จำนวนมากไว้คอยบริการ พวกนี้ถูกบริหารจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวเองได้ให้เหมาะกับสภาพการใช้งาน หมายความว่างานไหนต้องการพลังประมวลผลเยอะๆ ก็จะแบ่งทรัพยากรมาจำลอง CPU ให้เยอะๆ งานไหนใช้การประมวลผลน้อยๆ ก็แบ่งทรัพยากรมาให้พอแค่รันโปรแกรมได้โดยไม่ติดขัดก็จะประหยัดทรัพยากรในการประมวลผลลงไปได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นก็อาจจะคล้ายๆ พวกร้าน Internet Cafe ที่ไม่มี Hard Disk ที่เครื่องลูกข่าย (Client) เลย เพราะข้อมูลทั้งหมดเราจะโยนไปอยู่ที่ Server ส่วนกลางหมด เวลาจะอัพโหลดเกม อัพโหลดโปรแกรมก็ลงที่ Server ส่วน กลางเครื่องเดียว แล้วก็แชร์การใช้งานไปยังเครื่องลูกข่ายทั้งหมดแทน เพราะฉะนั้นถ้าในกรณีที่เป็นแค่การใช้งานระดับพื้นฐาน ที่ไม่มีการดึงข้อมูลจาก Hard Disk หนักๆ ตลอดเวลา Server เครื่องเดียวก็รองรับ Client ได้เป็นสิบเครื่องแล้ว ประหยัดค่า Hard Disk ไปได้อีกมาก มาย แถมยังควบคุมการใช้งานซอฟต์แวร์และไฟล์ต่างๆ

Read More

นครแห่งการศึกษา โอกาสหรือมหันตภัยทางปัญญาในภูฏาน

 เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา ข่าวเรื่องแป๊ะเจี๊ยะได้เขย่าวงการศึกษาไทยอย่างหนัก แม้เราจะทราบว่าปัญหาดังกล่าวได้กัดกินการศึกษาไทยมานานแล้วก็ตาม ในขณะที่การศึกษาไทยก็ยังเดินต่อไปส่วนจะดีจะร้ายอย่างไรเราก็ต้องสู้กันต่อไป ส่วนจะสู้กับใคร ค่อยมาว่ากันทีหลัง ในฉบับนี้ผมขอพูดถึงประเทศภูฏานกับการศึกษาที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ช่วงที่ผมไปเยือนประเทศภูฏาน ผม และทีมงานของมหาวิทยาลัยรังสิตมีโอกาสได้เข้าพบบริษัท Druk Holding ซึ่งเป็นบริษัท ของรัฐบาลภูฏานที่ได้รับ Royal Charter ให้ เป็นบริษัทในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าจิกมี ผู้บริหารของ Druk Holding ได้สนทนา กับผู้บริหารของ Druk Holding เกี่ยวกับเมกกะโปรเจ็กต์ชื่อ Education City กล่าวคือบริษัทดรุกจะทำการปรับภูเขาระหว่างกรุงทิมพูและเมืองพาโรเพื่อสร้างเมืองการศึกษาโดยเชิญชวนให้มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม บริษัทห้างร้านมาเช่า และร่วมกันสร้างเมืองเพื่อนักเรียน โดยทำสัญญาเช่าระยะยาวราวๆ 50 ปี ซึ่งนับว่าเป็นความเสี่ยงหลายประการด้วยกัน บริษัทดรุกหวังว่าการสร้างนครแห่งการศึกษาจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและอนาคตของประเทศภูฏาน รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคทางตอนเหนือของเอเชียใต้ การฟังโปรเจ็กต์ดังกล่าวทำให้ผมเดินทางไปเยี่ยมชมสถาบันการศึกษาหลายแห่งในภูฏานและพบปัญหาที่ประเทศของเขากำลังประสบอยู่การศึกษาในระดับประถมและมัธยม ศึกษาโดยรวมในเมืองใหญ่อย่างพาโรหรือทิมพู ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่างจากโรงเรียนในประเทศอื่นๆ นัก แม้ว่าอาจจะไม่มีอุปกรณ์มากเท่าที่ควร แต่ในชนบทของประเทศภูฏาน ปรากฏว่าคนจำนวนมากไม่มีการศึกษา โดยประชากรที่มีการศึกษาของภูฏานนั้นต่ำอย่างน่าตกใจ เพราะอยู่ที่ 47% และผู้หญิงเพียง 34% มีการศึกษา ในขณะที่เราด่าการศึกษาบ้านเรา ประเทศไทยมีประชากรถึง 92.6% ที่มีการศึกษาและอัตราส่วนระหว่างชายหญิงต่างกันราวๆ 2-4% แม้ไม่ได้สูงถึง 99% อย่างประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศไทยก็ไม่ขี้เหร่ นัก

Read More

ไตรภัค สุภวัฒนา “เสื้อเหมือนป้ายโฆษณา”

 “ไตรภัค สุภวัฒนา” หนึ่งในดีไซเนอร์ยุคแรกๆ ของ “ERR-OR DESIGN” ถือเป็นจุดขายและเอกลักษณ์หนึ่งที่ทำให้เสื้อยืดธรรมดาไม่ธรรมดา เพราะลายเสื้อทุกชิ้นล้อเลียนและเสียดสีสังคม โดยเฉพาะการต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม คอลเลกชั่น “Foodland” ซึ่งไม่ต่างจากอาชีพนักเขียนการ์ตูนที่ไตรภัคพยายามนำเสนอผลงานในฐานะนักเขียนการ์ตูนไทยท่ามกลางการ์ตูนญี่ปุ่นที่ล้นทะลักตลาด แม้มี “โทริยาม่า อากิระ” ซึ่งโด่งดังจากการ์ตูนเรื่อง “ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่” และ “ดราก้อนบอล” เป็นไอดอลในดวงใจก็ตาม“ผมทำเสื้อเพื่อบอกเล่าอะไรบางอย่าง เสื้อเป็นสื่ออย่างหนึ่ง เป็นป้ายโฆษณา เพื่อบอกความชอบส่วนตัว ผมสร้างเสื้อที่บอกความชอบและแสดงจุดยืน ผมคิด ถึงอาหารก่อน ผมต่อต้านบริโภคนิยม ผมนำเสนอลายข้าวหน้าหมู แต่เป็นข้าวหน้า หมูจานใหญ่มากที่คนกินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ไม่รู้จักพอ เขียนถึงฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังให้วัยรุ่นที่กำลังเห่อว่าเรากินมันและเรากำลังถูกมันกินเช่นกัน”ทุกครั้งที่ทำลายเสื้อ ไตรภัคมักมีคำอธิบายเล็กๆ เพื่อสื่อทัศนคติ เป้าหมาย ไม่ใช่ยับยั้งระบบ เพราะในความจริง ตัวเขากินฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ดังๆ เช่นกัน แต่แนวคิด “Foodland” อยากให้เด็กวัยรุ่นมองอาหารต่างชาติราคาแพงเหล่านี้เป็นเพียงอาหารมื้อหนึ่งที่กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่ค่านิยม ไม่ใช่แฟชั่น ไม่ใช่เครื่องประดับ กินแล้วดูเท่กว่าข้าวแกงจานละ 25 หรือ 30 บาทสำหรับคอลเลกชั่นใหม่ เขาเตรียมทำลายเสื้อนำเสนอทัศนคติเกี่ยวกับ “คนไร้บ้าน” เนื่องจากเป็นปัญหาที่สะท้อนสภาพ สังคมหลายอย่าง ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจในระดับประเทศ การบริหารของ รัฐบาล การกระจายรายได้ที่ล้มเหลว ซึ่งเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้สึกจากการไปเฝ้าดูกลุ่มคนเหล่านี้ที่สนามหลวง เยาวราช แต่ทำเนื้อหาให้สนุกขึ้นแม้ไม่ใช่ลูกค้าทั้งหมดที่ชอบ ERR-OR DESIGN แต่เสื้อยืดสไตล์ไตรภัคนี่แหละ ที่มัดใจแฟนขาประจำได้ชะงัดนัก

Read More

ขบวนการมนุษย์ 5 สี Err-or design

 จากเด็กนักศึกษาขายเสื้อยืดแบกะดินแถวถนนข้าวสารเมื่อ 5 ปีก่อน วันนี้ “ERR-OR DESIGN” แปลงร่างกลายเป็นแบรนด์เสื้อยืดแนวกราฟกดีไซน์ที่ฮอตฮิตที่สุดในกลุ่มเด็กวัยรุ่น มีชอปในตลาดนัดจตุจักร ในย่านแฟชั่นสตรีทอย่างสยามสแควร์ ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ เทอร์มินอล 21 และเซ็นทรัลพลาซา พระราม 9 รวมทั้งกำลังบุกหนักขยายตลาดในต่างจังหวัดและตลาดออนไลน์ขบวนการมนุษย์ 5 สีที่หุ้นส่วนทั้ง 5 คนมักบอกกับใครๆ เริ่มจากหัวเรือใหญ่ วุฒิพณ สุขเจริญนุกูล หรือ “จิ๊ง” ซึ่งเวลานั้นเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดไอเดียชวนเพื่อนคู่หู พัชรดนัย ศรีธนะขัณฑ์ หรือ “เป้า” และวิชญะ วิเศษสรรโชค หรือ “แนท” ลงขันทำเสื้อยืดขาย เริ่มจากการขายแบกะดินแถวถนนข้าวสาร ตลาดนัดจตุจักร เสื้อส่วนใหญ่ตอนนั้นใช้ลายกราฟิกที่ค้นจากอินเทอร์เน็ตบ้าง ลายของนักออกแบบบ้างจนกระทั่งเรียนจบ จิ๊งไปฝึกงานที่บริษัท Drugstore the design guru ซึ่งเป็นบริษัทกราฟิกดีไซเนอร์ที่รวมกลุ่มพี่ๆ ที่จิ๊งชื่นชอบผลงานอย่างมากเขาเกิดความคิดว่าทำไมเมืองไทยไม่มีใครทำอย่างเมืองนอกที่นำเอากราฟิกดีไซน์มาต่อยอดบนเสื้อผ้าและให้เครดิตชื่อ เจ้าของผลงานเพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ใช้สินค้ารู้ ให้แฟนๆ ติดตาม ซึ่งนั่นกลายเป็นที่มาของโปรเจ็กต์ “ERR-OR DESIGN” โดยดึงเพื่อนอีก 2 คนเข้ามาร่วมทีมคือ ชาติเชื้อ เชื้อชาติ หรือ “เดียร์” และ สิทธวัชร์ นิลศรี หรือ “นนท์”“จิ๊ง แนท เป้า เป็นเพื่อนเรียนอัส-สัมชัญด้วยกัน

Read More

วันดี กุญชรยาคง “โอกาสของชีวิตอยู่ที่เราสร้างขึ้นเอง”

 วันดี กุญชรยาคง จบบัญชีจากกรุงเทพการบัญชี จบมาไม่เคยทำบัญชีเป็นอาชีพ เพราะมองว่าเป็นงานที่ไม่มีอะไรท้าทาย จึงไปเรียนต่อกฎหมาย เคยทำงานขายแผงโซลาร์เซลล์ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟใช้นี่คือประวัติย่อๆ จากวันดีที่ดูไม่อยาก เล่าย้อนอดีตมากเท่ากับพูดถึงสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันเช่นเดียวกับที่ไม่เคยให้ข่าวว่าสามีเป็น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก (สุรพงษ์ จุลเจริญ) ซึ่งทำให้เธอมีตำแหน่งเป็นนายกสภากาชาดจังหวัดโดยปริยาย แต่ด้วยความผูกพันในหน้าที่ก็ยังคอยสนับสนุนกลุ่มแม่บ้าน ของจังหวัดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีสถานะเป็นเหมือนลูกสาวใหญ่ของหลวงพ่อแคล้ว เจ้าอาวาสวัดดอนเมือง เพราะมีผู้ใหญ่แนะนำ ให้รู้จักมาหลายสิบปีก่อนหน้านั้นช่วงน้ำท่วมปี 2554 เลยมีหน้าที่ส่งไข่ ส่งข้าวกล่องไปช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนผ่านวัดดอนเมืองจำนวนมากมีลูกสาว 1 คนเรียนจบและทำงานเลี้ยงดูตัวเองแบบเดียวกับที่คุณแม่ทำช่วงปี 2548-2549 วันดีเคยตัดสินใจเกษียณจากการทำธุรกิจเพื่อไปใช้ชีวิตตามใจต้องการ“คิดว่าผู้หญิงทำงานถึง 50 ปีก็พอแล้ว ผู้หญิงต้องรักษาร่างกาย ตอนนั้นน้ำหนัก 70 กิโลกรัม พอหยุดงานก็ไปออกกำลังทุกวัน เข้าสปา ลดเหลือ 60 กิโล ไม่ได้ทำงานก็กลัวบ้าเหมือนกัน ต้องหากิจกรรมทำ ไปหอสมุดแห่งชาติ สนใจเรื่องอะไรก็ไปหาอ่าน ชอบที่มีสาระเติมเต็มความรู้ บทสัมภาษณ์ดีๆ ในนิตยสารก็อ่าน เพราะทำให้เราเข้าใจว่าแต่ละคนมีการดำเนินชีวิตแบบไหน”ธุรกิจที่วันดีทำไว้เลี้ยงตัวหลังเกษียณ หลักๆ ได้แก่ อาคาร Capital Residence ในซอยทองหล่อ เป็นอพาร์ตเมนต์ให้เช่าเน้นกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่น

Read More

ทำบ้านทั้งหลังเป็นระเบียง

ในหนังสืออัตชีวประวัติปี 1932 ของ Frank Lloyd Wright บรมครูงานสถาปัตยกรรมแนวธรรมชาติตลอดกาล กล่าวว่า “เราพูดไม่ได้ว่าปลูกบ้านบนเนินเขาหรือบนอะไรก็แล้วแต่ บ้านหลังนั้นควรเป็นส่วนหนึ่งของเนินเขา เพื่อว่าเนินเขาและบ้านจะดำรงอยู่อย่างมีความสุข” สถาปนิกและนักออกแบบมากมาย โดยเฉพาะในยุคที่โลกอ่อนไหวต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก พากันเห็นด้วยกับคำพูดนี้ จึงทำให้เราได้เห็นผลงานที่แสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างสิ่งแวด ล้อมที่สร้างขึ้นกับที่ดินผืนนั้นในรูปแบบของสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น การใช้สีที่กลมกลืน การออกแบบโคมไฟระย้ารูปกิ่งไม้ หรือโต๊ะทำด้วยไม้ซุง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งพยายามสร้างสรรค์งานให้กลมกลืน เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติมากขึ้น บ้าน Montana บนเนื้อที่ 1,200 เอเคอร์นี้ปลูกบนทำเลทองบริเวณที่ทุ่งหญ้าแพร์รีที่ยังเต็มไปด้วยความงดงามบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ มาบรรจบกับหุบเขาที่มีแม่น้ำ Gallatin ไหลผ่าน สถาปนิก David Lake กับมัณฑนากร Madeline Stuart ผู้มีผลงานแนวสร้างสรรค์ให้กลมกลืนกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น จึงออกแบบให้บ้านหลังนี้มีโครงสร้างตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ พูดง่ายๆ คือ ให้ธรรมชาติเป็นผู้กำหนดทั้งรูปแบบ วัสดุก่อสร้าง และจิตวิญญาณของบ้านนั่นเอง Lake เล่าแรงบันดาลใจว่า “โครงการนี้ยึดคำขวัญ “ง่ายๆ ไม่สละสลวย” โดยเน้นงาน ออกแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

Read More

นิทรรศการเอดวาร์ด มุงค์ จิตรกรทันสมัย

ปลายปีที่แล้วได้ไปชมนิทรรศการ Edvard Munchou l’anti-Cri ที่ Pinacotheque แถวปลาซ เดอ ลา มาดแลน (Place de la Madeleine) มิใช่เพราะชื่นชอบผลงานของจิตรกรผู้นี้ แต่เพื่อหาคำตอบให้ตนเองว่าทำไมผลงานของเอดวาร์ด มุงค์จึงถูกขโมยบ่อยๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้คำตอบ แต่จะให้ปักใจชอบ ก็ไม่ถึงขนาดนั้น จะให้ไม่ชอบก็กระไรอยู่ เพราะผลงานจำนวนหนึ่งก็สวยทีเดียว หากไม่นับส่วนที่ดูน่ากลัว อดแปลกใจไม่ได้ว่าในฤดูใบไม้ร่วง 2011 ศูนย์ศิลป-วัฒนธรรมแห่งหรือชาติจอร์จส์ ปงปิดู (Centre national d’art et de culture Georges Pompidou) จัดนิทรรศการเอดวาร์ด มุงค์อีก จะไม่กระชั้นไปหน่อยหรือ หากก็ได้พบว่าเป็นนิทรรศ-การที่มองเอดวาร์ด มุงค์ในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงต้องตามไปดูให้เป็นที่ประจักษ์ เอดวาร์ด มุงค์ (1863-1944) เป็นชาวนอร์เวย์ ชีวิตเต็มไปด้วยความโศกเศร้า ด้วยว่าเมื่ออายุ 5 ขวบ

Read More