Home > 2012 (Page 14)

แค่ “ทราย” กับ “ทะเล” ไม่โรแมนติก ยังชีพไม่ได้

“ทรายกับทะเล” เป็นคำพูดที่ชวนให้นึกถึงภาพบรรยากาศสวยงามโรแมนติก แต่สำหรับคนชุมชนบ้านกลาง ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา คือภาพแห่งความทรงจำอันเจ็บปวด เป็นภาพที่คนในชุมชนต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปี ลบภาพนั้นทิ้งไป พวกเขาตั้งใจจะไม่ปล่อยให้ภาพนั้นกลับมาเกิดขึ้นอีก ภาพล่าสุดที่ป่าชุมชนบ้านกลางวันนี้ พื้นทรายบริเวณกว้างที่สุดเป็นเพียงลานพักผ่อนริมทะเลขนาดไม่กี่ตารางเมตร สำหรับให้ชาวชุมชนมาทำกิจกรรมหรือพาลูกหลานมาเล่นหรือพักผ่อนชมวิวในยามแดดร่มลมตกหลังว่างจากกิจการงาน ขณะที่พื้นที่ส่วนที่เหลือแปรสภาพกลับมาเป็นป่าชายเลนแนวหนาทึบ จากแผ่นดินยื่นไปในทะเลมากกว่า 300 เมตร รวมพื้นที่กว่า 3,100 ไร่ ทำหน้าที่เป็นแนวชายฝั่งชั้นยอดให้กับชุมชน ทั้งการป้องกันภัยพายุ หรือแม้แต่สึนามิที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก กับการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ แหล่งรายได้ของชุมชนบ้านกลางให้ชุมชน หาเลี้ยงตัวเองได้อย่างอยู่ดีมีสุข ไม่ต้องทิ้งถิ่นไปทำงานรับจ้างให้เกิดภาวะขาดแคลนความอบอุ่นในครอบครัว “อาชีพหลักของคนในหมู่บ้านก็จับปลา หาปู วันหนึ่งออกไปไม่กี่ชั่วโมงกลับมาได้เงินเกือบ 2 พันบาท ไม่ต้องไป ทำงานที่อื่นได้อยู่กันพร้อมหน้าครอบครัว” แม่บ้านวัย 30 ปีรายหนึ่งเล่าด้วยสีหน้าเปี่ยมสุข เธอเล่าว่าสมัยที่เธอยังเด็ก สภาพของชุมชนผิดกับตอนนี้ ไม่มีป่าชายเลน เพราะมีนายทุนเข้ามาทำสัมปทานเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าชายเลน มองไปทางไหนมีแต่ ทรายที่ถูกแยกแร่ออกไปแล้วพ่นเป็นกองดำเลอะไปหมด คนในหมู่บ้านก็มีรายได้จากการเป็นลูกจ้างทำงานในเหมืองแร่ บางรายก็ถึงกับเฟื่องฟู รวมทั้งพ่อของเธอ แต่เมื่อเหมืองแร่เก็บของกลับบ้านก็ทิ้งไว้แต่ ทะเลทราย

Read More

การเข้าถึงตลาดพม่าของสินค้าเวียดนาม

นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นขึ้นเรื่อยๆ เวียดนามกำลังวิเคราะห์อย่างจริงจังถึงการส่งสินค้าเพื่อเข้าไปตีตลาดอันกว้างใหญ่ในพม่า เว็บไซต์หนังสือพิมพ์อุตสาหกรรมการค้า (เวียดนาม) รายงานว่าตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงทุกวันนี้ ข่าวการปฏิรูปในพม่า ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนจากทุกประเทศทั่วโลกมากที่สุด บวกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรของออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา จึงเหมือนการเพิ่ม พลังดึงดูดให้แก่ตลาดนี้ นักลงทุนหลายราย กำลังรอคอยคว้าโอกาส “กระโดด” เข้าพม่า นักธุรกิจเวียดนามไม่ยอมหลุดจากแนวโน้มนี้ สินค้าเวียดนามได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ตามสถิติของสถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำพม่า 2-3 ปีมานี้ แต่ละปี มีคณะธุรกิจเวียดนามไปพม่ากว่า 200 คณะ ซึ่งเป็นบรรดาคณะทางการอาศัยการสนับ สนุนช่วยเหลือของสถานเอกอัครราชทูตได้แนะนำคู่ค้า แต่ยังไม่รวมถึงคณะปลีกย่อยที่เดินทางไปด้วยตนเอง ดังนั้นเฉลี่ย 2-3 วัน จึงมีหนึ่งคณะที่เดินทางไปเพื่อพบปะติดต่อ การค้า ฝ่าม ถิ โห่ง ทาญ รองอธิบดีกรมเอเชีย-แปซิฟิก กระทรวงอุตสาหกรรมการค้าเวียดนามเปิดเผยว่าตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ ระเบิดที่งานนิทรรศการนานาชาติแห่งหนึ่งเมื่อปี 2548 ประเทศนี้ก็ไม่อนุญาตให้องค์กรต่างประเทศจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในพม่า ตั้งแต่ปี 2553-2555 ทุกปี เวียดนามจะได้รับอนุญาตให้เปิดงานแนะนำสินค้าในพม่า ยิ่งกว่านั้น สินค้าเวียดนามได้รับการต้อนรับจากคนพม่าอย่างอบอุ่น

Read More

สัญญาณจากดอย “ไตแลง”

กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางบรรยากาศการตั้งโต๊ะเจรจาสันติภาพระดับสหภาพ ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุม บก.ภาคสามเหลี่ยม เมืองเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ระหว่างสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of Chan State: RCSS) และกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ (Shan State ARMY: SSA) ซึ่งมี พล.ท.เจ้ายอดศึกในฐานะประธาน RCSS เป็นหัวหน้าคณะกับตัวแทนรัฐบาลพม่า มี พล.อ.โซวิน รอง ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. และรองประธานคณะทำงานฝ่ายรัฐบาลพม่าคนที่ 1 เป็นหัวหน้าคณะ ก่อนที่ผู้นำ RCSS/SSA จะเดินทางต่อจากเชียงตุงไปตามเส้นทาง R3b เข้า หารือร่วมกับเจ้าจายลืน หรือจายเริญ ผู้นำเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ 4 (เมืองลา) บริเวณพรมแดนพม่า-เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน สาธารณรัฐ ประชาชนจีนที่มีข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาล พม่ามาแล้ว 23 ปี

Read More

“โออิชิ” ยึดตู้แช่ ข้ามสายพันธุ์ ข้ามตลาด

ประมาณกันว่าคนไทยทั้งประเทศ 60 ล้านคน เป็นลูกค้า "โออิชิ" มากกว่า 30 ล้านคน เป็นลูกค้าในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และเจาะเข้าถึงครอบครัว ประมาณกันว่าตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (Non-Alcohol) มูลค่า 160,000 ล้านบาท ถ้าไม่นับตลาดหลักๆ อย่างน้ำดื่ม เครื่องดื่มชูกำลังและโซดาแบ่งเป็นตลาดเครื่องดื่ม อัดลม 35,000 ล้านบาท เครื่องดื่มน้ำผลไม้เกือบ 10,000 ล้านบาท และเครื่องดื่มชาเขียวอีก 8,000 กว่าล้านบาท ทั้งสามกลุ่มคือเป้าหมายที่โออิชิกำลังเร่งส่งเครื่องดื่มข้ามสายพันธุ์จากฐานหลัก “ชาเขียว” เข้าสู่ตลาดที่มีเม็ดเงินเกือบ 60,000 ล้านบาท รออยู่และยังต้องการขยายสู่สินค้าไลน์ใหม่ๆ ที่วางจำหน่ายอยู่บนชั้นตู้แช่ทั้งหมด เป็นเป้าหมายของ “ไทยเบฟ” ตั้งแต่วันแรกที่ซื้อกิจการโออิชิกรุ๊ปเมื่อปี 2551 เพื่อรุกเข้าไปในตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ที่เปรียบเสมือนบลูโอเชี่ยนตัวใหม่ของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” นอกจากการมีบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย การลดความเสี่ยงจากการปรับภาษีของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ในฐานะผู้ผลิต เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่แค่เหล้าเบียร์

Read More

Umbrella campaign น้ำ = เบียร์

“Umbrella campaign” ยุทธศาสตร์ใหม่ของเครื่องดื่มแบรนด์ “ช้าง” มีเบียร์เป็นกลุ่มสินค้าหลักในตลาดรวมที่มีเงินสะพัดมากถึง 1 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดน้ำดื่มมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท และตลาดโซดาอีกกว่า 5,000 ล้านบาท ยุทธศาสตร์การทำตลาด 360 ํ ที่พลิกสถานการณ์ตามเงื่อนไขกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ พ.ศ.2551 โดยเฉพาะการคุมเข้มกิจกรรมผ่านการเป็นผู้สนับสนุนกีฬาและดนตรี ซึ่งกลายเป็นกลยุทธ์หลักทางการตลาดของสินค้าเหล่านี้ไปเสียแล้ว การทุ่มเงินถึง 500 ล้านบาท เซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ (Official Partnership) กับ 2 สโมสรฟุตบอลระดับโลก บาร์เซโลนาและเรอัล มาดริดระยะเวลา 3 ปี และงบทำการตลาด อีก 500 ล้านบาท ซึ่งไทยเบฟมีสิทธิ์นำทีม และโลโกของทั้งสองสโมสรมาใช้ในเชิงพาณิชย์กับผลิตภัณฑ์ของช้าง ต่อยอดจากทีมเอฟ เวอร์ตัน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีสัญญาผ่านมาแล้ว 7 ปีและต่อสัญญาอีก 2 ปี จึงเป็นความพยายามใช้สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งดึงดูดกลุ่มลูกค้าแบบอยู่หมัด ภายใต้

Read More

จากนักปรุงสูตรลับสู่ “Mixologist”

อาณาจักรธุรกิจอันใหญ่โตของ “เจริญ สิริวัฒนภักดี” มีจุดเริ่มจาก “สุราแม่โขง” เจริญเปลี่ยนจากคนขายของโชห่วยกลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจเหล้าขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เส้นทางเริ่มต้นตั้งแต่การจัดส่งสินค้าให้โรงงานสุราบางยี่ขัน ซึ่งทำให้ได้รู้จักกับจุล กาญจนลักษณ์ ผู้คิดค้นสูตรสุราแม่โขง และเถลิง เหล่าจินดา แห่งกลุ่มสุราทิพย์ จนสามารถยึดครองกลุ่มสุรามหาราษฎรของกลุ่มเตชะไพบูลย์ ชื่อบริษัท “ที.ซี.ซี.กรุ๊ป” แท้จริงมาจากชื่อภาษาอังกฤษของทั้งสามคน คือ เถลิง จุลและเจริญ ว่ากันว่า เจริญสามารถกวาดเหล้าคู่แข่งทุกยี่ห้อ ไม่ว่าแม่โขง หงส์ทอง กวางทอง และแสงโสม เข้ามาอยู่ในกำมือ แต่สูตรการปรุง “แม่โขง” ยังเป็นสูตรลับที่ไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ นอกจากจุล จนมาถึง “เดชพงศ์ กาญจนลักษณ์” ทายาทคนเดียวที่จบปริญญาโทวิศวกรรมจากสหรัฐอเมริกาและมารับช่วงต่อในการปรุงสูตรสุราให้ไทยเบฟเวอเรจ ความจริงแล้ว ประเสริฐ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้คิดค้นสูตรสุราแม่โขง ขณะที่จุลเป็นเพียงเภสัชกรที่ถูกขอยืมตัวมาจากกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อมาเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านผลิตสุราในตอนนั้น ปี 2489 ประเสริฐออกจากโรงงานสุราบางยี่ขันพร้อมทั้งสูตรแม่โขงด้วย จนกลายเป็นเหตุพิพาทกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งประเสริฐอ้างว่า สูตรแม่โขงเป็นของตัวเอง

Read More

เลียบเลาะ “บางยี่ขัน 2” House of Mekhong

ประตูโรงงานสุราบางยี่ขัน 2 เปิดต้อนรับ ผู้จัดการ 360 ํ เพื่อเก็บเกี่ยวประวัติศาสตร์การผลิตเหล้าไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 70 ปี แม้ที่นี่ไม่ใช่โรงเหล้าแห่งแรกแต่ถือเป็นมรดกที่ตกทอดจาก “บางยี่ขัน” และปัจจุบันยังคงเป็นโรงงานผลิต “แม่โขง” ออกสู่ตลาดโลก ขณะที่ “แม่โขง” ขวดแรกผลิตที่โรงงานสุราบางยี่ขัน ปากคลองบางยี่ขัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเขตบางกอกน้อย ในเวลานั้นมีเป้าประสงค์เพื่อทดแทนการนำเข้าวิสกี้และบรั่นดีในช่วงกระแสชาตินิยม ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ โรงงานสุราบางยี่ขันแห่งแรกเดินเครื่องจักรผลิตเหล้าตั้งแต่ครั้งเริ่มสร้างกรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้นถือเป็นสมบัติของนายอากร ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ผูกขาดผลิตสุราขาวหรือ “เหล้าโรง” ออกจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร การผลิตดำเนินเรื่อยมาจนถึงยุคที่ประเทศไทยเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส เกิดกรณีพิพาทกัน หลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์เพลงปลุกใจคนไทยให้รักชาติและกล้าเข้าสู่สมรภูมิ ชื่อว่า “ข้ามโขงไปสู่แคว้นแดนไทย” และ “โขงสองฝั่งเหมือนฝั่งเดียวกัน” กรมสรรพสามิตจึงตั้งชื่อสุราปรุงพิเศษ 35 ดีกรีที่ผลิตขึ้นใหม่ในปี 2484 ว่า “แม่โขง” นับตั้งแต่นั้นมา โรงงานบางยี่ขันเปลี่ยนผ่านสังกัดจากกระทรวงการคลังมาขึ้นอยู่กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเข้าสู่ยุคที่รัฐบาลเปิดให้เอกชนประมูลเช่าโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเมื่อปี 2503 ผู้เช่ารายแรกคือ บริษัท สุรามหาคุณ จำกัด โดยจ่ายอัตราค่าเช่าปีละ

Read More

แม่โขงรีเทิร์น

การประกาศนำสุรา “แม่โขง” กลับเข้ามาทำตลาดในปี 2555 ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจในการรีแบรนด์สุราไทยที่มีอายุยาวนานกว่า 70 ปี หลังจากเจอเหล้านอกไหลทะลักเข้ามากินส่วนแบ่งตลาดสุราสี จนยอดขายลดวูบและหยุดจำหน่ายไปนานเกือบ 5 ปี ในปี 2548 ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด เคยเปิดเกม “Re-positioning” ครั้งแรกโดยใช้ “ค็อกเทล” เป็นตัวนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของแม่โขง ไม่ใช่เหล้าของผู้ชายวัย 40-50 ปี รสชาติบาดคอ ต้องผสม น้ำหรือโซดา แต่เปลี่ยนรูปแบบการดื่มเพื่อ หาลูกค้ากลุ่มใหม่ตามช่องทางผับ บาร์และโรงแรมระดับห้าดาว เป็นการปรับตำแหน่งทางการตลาดขึ้นเทียบชั้นเหล้านอกแบรนด์หรูอย่างเรดเลเบิ้ลในตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ปี 2550 แม่โขงสลัดภาพเก่า เปิดตัว “Mekhong” โฉมใหม่อย่างเป็นทางการ เพื่อลุยตลาดโลก เริ่มจากตลาดยุโรปที่ประเทศอังกฤษและสวีเดน ปีต่อมาแม่โขงขยายตลาดเข้าสู่โซน อเมริกา พร้อมกับเปิดตัวเบียร์ช้างในต่างประเทศอย่างเป็นทางการที่นิวยอร์กและลอสแองเจลิส โดยวางตำแหน่งเหล้าแบรนด์ พรีเมียมจากเมืองไทยและใช้กลยุทธ์การผสมเครื่องดื่ม “ค็อกเทล” เป็นตัวสื่อสารหลัก มีการว่าจ้างบริษัท

Read More

สุขใจในบ้านศตวรรษที่ 16

ฉันยังจำความรู้สึกขณะมองลอดเข้าไปตามบานหน้าต่างทั้งที่ยังไม่ได้เข้าไปในตัวบ้านด้วยซ้ำว่า “บ้านนี้แหละ... ใช่เลย” Kay Hill เล่าเหตุการณ์ย้อนหลังเมื่อ 12 ปีก่อน เมื่อเธอกับ David สามีคู่ชีวิตได้เห็นกระท่อม Kent หลังนี้เป็นครั้งแรก ตอนนั้นครอบครัวของทั้งคู่มีบ้านอยู่ห่างออกไปเพียง 20 นาทีเท่านั้น แต่ก็ยังตัดสินใจย้ายบ้านเพื่อให้ลูกทั้งสองได้เรียน ที่โรงเรียนใกล้บ้าน “จริงๆ แล้วบ้านเดิมของเราก็ดีเยี่ยมสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว แต่เรามองในระยะยาวว่า การย้ายบ้านหมายถึงได้อยู่บ้านสไตล์คันทรีที่มีแต่เรื่องราวในประวัติศาสตร์และเต็มไปด้วยเอกลักษณ์” กระท่อมหลังนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานจริงเสียด้วย สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16 เริ่มแรกเป็นบ้านโล่งๆ ชั้นเดียว แต่ถูกต่อเติมในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาจนกลายเป็นบ้านสองชั้นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม กระท่อมโบราณนี้ยังมีโครงสร้าง ดั้งเดิมหลงเหลืออยู่มากมาย อาทิ คานไม้ที่โค้งงอตามธรรมชาติ เตาผิงที่มีม้านั่งข้างเตา หน้าต่างที่ใช้ไม้แบ่งหน้าต่างกระจกออกเป็นช่องๆ ตามอย่างโบสถ์ฝรั่ง และพื้นปูด้วยอิฐและแผ่นกระดาน ไม้โอ๊กขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาจากอายุของบ้านแล้วต้องถือว่าน่าทึ่งเป็นที่สุด ที่โครงสร้างยังแข็งแรง แทบไม่จำเป็นต้องบูรณะหรือซ่อมแซมอะไรเลย ดังที่ Kay ยืนยันว่า “ฉันมีสามีเป็นผู้อำนวยการบริษัทก่อสร้าง แน่นอนว่าเขาพร้อมที่จะลงมือบูรณะซ่อมแซมบ้านได้ตลอดเวลา แต่กับบ้านหลังนี้ เรากลับไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพียงเน้นงานตกแต่งตามแนวทาง ที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเท่านั้น”

Read More

เหล้ากับศาสนา

ระหว่างการประกอบพิธีมิสา ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า แมซ (messe) มีขึ้นตอน commu- nion อันมีขนมปังและไวน์เป็นสำคัญ บาทหลวงผู้ประกอบพิธี จะมอบขนมปังชิ้นเล็กให้คริสต์ศาสนิกชนผู้เคยผ่านพิธีรับศีลจุ่ม (bapteme) มาก่อน ส่วนไวน์นั้นให้แต่บาทหลวงรูปอื่นๆที่อยู่ในพิธีหรือผู้ใกล้ชิดทำงานให้โบสถ์เท่านั้น ดื่มแล้วต้องเช็ด ขอบแก้วไวน์ด้วย แล้วจึงส่งต่อ ขนมปังและไวน์นั้นมิใช่มาจากท้องตลาดทั่วไป เพราะจะมีแหล่งผลิตพิเศษ เป็นขนมปังกลมๆ แบนๆ ชิ้นเล็กที่บาทหลวงจะใส่ในปากหรือวางบนมือ ไวน์ที่ใช้ในพิธีมิสาเป็นเหล้าที่ทำจากองุ่นเท่านั้น โบสถ์ที่ตั้งในแถบที่มีการผลิตไวน์จะสั่งกับผู้ผลิตโดยตรง ผู้ผลิตบาง รายจัดส่งไวน์ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ถือเป็น การรับใช้ศาสนา พวกนักบวชชอบไวน์ที่มีรสอ่อน ออกหวาน และหากจะขายก็ราคา ถูกมาก Nicolas เป็นเชนขายเหล้าและไวน์ ที่มีอยู่ทั่วฝรั่งเศส ส่งเหล้าให้โบสถ์และวัดทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังมีขายตามร้านค้าของวัดต่างๆ ด้วย เหล้านั้นพันผูกกับนักบวชมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังเช่นเหล้าชาร์เทริซ (chartreuse) ซึ่งเป็นเหล้าหลังอาหารเพื่อช่วยย่อยก็เป็นเหล้าที่นักบวชสาย Chartreuse de Vauvert ได้รับสูตรมาจากนายพลเอสเทรส์ (Estrees) แล้วส่งต่อให้ la Grande Chartreuse

Read More