Home > 2012 (Page 10)

สามอารมณ์ทดสอบ new BMW 320d

ฟ้ากว้าง ทางสวยที่เต็มไปด้วยเนินถนนสูงต่ำ ระหว่างเส้นทางตรัง-กระบี่ เหมาะสมกับการทดสอบรถสปอร์ตซีดาน the all-new BMW 320d สีแดงเพลิงคันใหม่หรูปราดเปรียวและโฉบเฉี่ยว เพียงเสียงสตาร์ทก็บ่งบอกเครื่องพลังทวินพาวเวอร์เทอร์โบ 4 สูบ วิ่งไปราวชั่วโมงถึงที่หมาย รถคันนี้กินน้ำมันดีเซลเพียง 22.7 กม.ต่อลิตรเท่านั้น ระดับการปล่อยของเสียคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาตรฐาน EU คือเฉลี่ยเพียง 117 กรัม/กิโลเมตร ความมั่นใจจากเครื่องยนต์ที่โดดเด่น เทคโนโลยี Twin Power Turbo 4 สูบ เร่งความเร็วได้สูงสุดถึง 230 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราเร่งทันใจพุ่งจาก 0-100 กม/ชม.ใน 7.6 วินาที และสามารถเปลี่ยนระบบเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีดได้ฉับไว ถือเป็นค่ายรถยนต์แรก ที่ติดตั้งไว้ในรถพรีเมียมระดับกลาง เมื่อนึกอยากจะเปลี่ยนโหมดขับแบบสปอร์ตก็แค่ตบเปลี่ยนเกียร์ในระยะสั้นๆ ทำให้การขับรถคันนี้เร้าใจและนิ่มนวลตามใจต้องการ รูปลักษณ์ภายนอกของ the all-new BMW 320d ตัวถังกว้างกว่าเดิมประมาณ +93

Read More

100 ปี “ไททานิค” มากกว่าเรื่องเรือล่ม

เรื่องราวของผู้โดยสาร 11 คน ต่างที่มาต่างจุดประสงค์ แต่เดินทางสู่จุดหมายเดียวกัน ทว่ากลับมีจุดจบบนเรือโดยสารลำเดียวกัน นี่คือเรื่องสั้นที่ชื่อ “หลายชีวิต” แต่สำหรับผู้โดยสารกว่า 1,500 ชีวิตที่จบชีวิตในเรือ “ไททานิค” นี่คือประวัติศาสตร์และโศกนาฏกรรมของโลก ที่ยังมีเรื่องราวของหลายชีวิตให้ค้นหา เมื่อ 15 ปีก่อนผู้คนทั่วโลกเริ่มรู้จักเรื่องราวของผู้โดยสาร บางส่วนบนเรือ “ไททานิค” ผ่านภาพยนตร์ของผู้กำกับ James F. Cameron ซึ่งถ่ายทอดหายนะของเรือลำใหญ่ที่ได้ชื่อว่า เป็น สิ่งก่อสร้างเคลื่อนที่ได้ที่มีขนาดใหญ่สุดของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ภาพ Leonardo DiCaprio ในบทบาทของแจ๊ค ผู้โดยสารชั้น 3 กับ Kate Winslet ผู้สวมบทโรส สาวตระกูลผู้ดีอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้โดย สารชั้น 1 ที่ยืนกางแขนที่หัวเรือไททานิค และบทพูดของแจ๊คที่ยัง ประทับใจใครหลายคน “You jump, I jump” ยังเป็นฉากแห่ง

Read More

Big Data

หนึ่งในเทรนด์ของโลกไอทีในยุคนี้เทรนด์หนึ่งที่เป็นที่กล่าวขวัญกันมาพักหนึ่งแล้ว คือเรื่อง Big Data โดย Big Data เป็นความหมายแบบหลวมๆ ที่ใช้อธิบายถึงกลุ่มข้อมูล (data set) ที่มีขนาดใหญ่มากและซับซ้อนจนทำให้เป็นเรื่องยากที่จะนำไปใช้งานโดยใช้เครื่องมือบริหารจัดการฐานข้อมูลที่มีอยู่ในทุกวันนี้ ความยากในการใช้งานได้แก่ การจับข้อมูล (capture), การเก็บข้อมูล, การค้นหาข้อมูล, การแบ่งปันข้อมูล, การวิเคราะห์ ข้อมูล และ visualization ซึ่งแนวโน้มที่ทำให้เกิดกลุ่มข้อมูลขนาด ใหญ่นี้เกิดขึ้นจากข้อมูลที่เพิ่มขึ้นที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องขนาดมโหฬารจำนวนเดียวนั่นเอง เมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดเล็กกว่าหลายๆ กลุ่มข้อมูล ซึ่งรวมกันเป็นจำนวนข้อมูลมหาศาลขนาดเท่าๆ กัน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมโหฬารนี้เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ (Correlations) ของแนวโน้มของธุรกิจ, การป้องกันโรค และการป้องกันอาชญากรรม แนวโน้มนี้เกิดขึ้นจากข้อจำกัดหลายๆ อย่างโดยเฉพาะข้อจำกัดเรื่องการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ๆ โดยในปัจจุบัน (ถึงเดือนเมษายน 2012) ยังไม่มีระบบการเก็บข้อมูลใดที่สามารถจัดการ ข้อมูลขนาด zettabyte ได้ 1 zettabyte นี่ขนาดเท่าไร นึกออกไหมครับ จริงๆ แล้ว 1 zettabyte

Read More

งานวิจัยโลกเสมือนผสานโลกจริง โลกแห่ง Augmented Reality

ผมเคยพูดเกริ่นในเรื่องโลกเสมือนผสานโลกจริง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Augmented Reality” ไปแล้วครั้งหนึ่ง วันนี้จะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ Augmented Reality ให้มากยิ่งขึ้นครับ ว่าความสนุกของ Augmented Reality มีมากกว่าที่หลายๆ คนคิด ก่อนอื่นขอย้อนกลับไปที่คำจำกัด ความของ Augmented Reality ก่อนเลยละกัน เพื่อที่จะให้คุณผู้อ่านเข้าใจก่อนว่าอะไรคือ Augmented Reality ก็ง่ายๆ เลยครับ คำว่า Augmented แปลว่าเพิ่มหรือเติม ส่วน Reality แปลว่าความจริง เมื่อเอาสองคำมารวมกันแล้วความหมายก็ค่อนข้างตรงตัว นั่นก็คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุดจนแยก ไม่ออก เช่น เราอาจจะมีถ่ายวิดีโอฉากใดฉากหนึ่งมา แล้วทำการสร้างรูปกราฟิกภาพ 3 มิติผสมลงไปในฉากวิดีโอที่เราถ่ายมาให้ดูเสมือนกับว่าภาพ 3 มิตินี้เป็นส่วนหนึ่ง ของวิดีโอจริงๆ เทคโนโลยีการผสมผสานกันนี้แหละครับที่เราเรียกว่า โลกเสมือนผสานโลกจริง

Read More

รูปีครันช์ที่ภูฏาน ปัญหาการเงินในเมืองสวรรค์

ฉบับก่อนผมพูดถึงประเทศภูฏาน จากภาพรวม เราอาจเรียกตามนิยายว่าแชงกรีลา ดินแดนลึกลับทางตะวันตกของคุนลุ้น เป็นสวรรค์บนดิน อย่างไรก็ตามบนโลกของความจริงอันโหดร้าย สวรรค์บนดินหรือแชงกรีลาก็ไม่ได้แตกต่างจากเมืองอื่นๆ บนโลก ผมไปภูฏานในเวลาไม่นานแต่อาจจะตอบคำถามได้ในระดับหนึ่งเพราะผมเป็นคนชอบศึกษา ชอบอ่านหนังสือจึงทราบว่าภูฏานกำลังเผชิญปัญหา เศรษฐกิจ เมื่อบอกกับคนที่เคยไปหรือเคยอ่าน เกี่ยวกับภูฏานต่างพบว่าหลายคนออกจะตกใจ ว่าประเทศเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะมีลักษณะแบบพอเพียงกันจนนักวิชาการอิสระหลายคนออกมายกว่าควรเป็นโมเดลของไทยกลับเจอมรสุมเศรษฐกิจ ในสายตาผมไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ประชาชนประหยัดกันเพียงใด ถ้าเจอปัญหาเศรษฐกิจ อย่างไรก็หนีไม่พ้น ขนาดนิวซีแลนด์ ที่ประชาชนแสนจะขี้เหนียวก็ยังเคยลอยค่าเงิน ดอลลาร์มาแล้ว ก่อนที่ผมจะเล่าโครงสร้างเศรษฐกิจของภูฏาน ผมขอพูดถึงแนวคิดทางเศรษฐกิจในอดีตของภูฏานก่อน ภูฏานเป็นประเทศที่มีแนวทางปฏิบัติที่ค่อนข้างอนุรักษนิยม เศรษฐกิจ ของภูฏานในอดีตขึ้นอยู่กับปศุสัตว์และกสิกรรม โดยพื้นฐานภูฏานจะไม่ขายเนื้อสัตว์ เพราะการ ฆ่าสัตว์หรือการค้าสัตว์ให้เขาเอาไปฆ่าถือว่าเป็นการผิดศีลทั้งปาณาติบาตและอาชีวตะมะกะศีล ทำให้เศรษฐกิจของประเทศภูฏาน ไม่มีสินค้าในตลาดนอกจากสิ่งทอพื้นฐาน ในอดีตบ้านเมืองของภูฏานจะไม่มีชุมชนเมือง เนื่องจากมีลักษณะเป็นสังคมชนบท มืองที่เห็นเช่น ทิมพู หรือพาโรต่างเป็นเมืองใหม่ที่ก่อสร้างได้ไม่นาน ในขณะที่เมืองหลวงเก่าอย่างภูนาคา กลับมีลักษณะเป็น ป้อมปราการและปราสาท ดังนั้นโครง สร้างพื้นฐานเศรษฐกิจของภูฏานจะขาดความพร้อมอย่างมาก แม้แต่ในระดับ ประเทศ เงินตราภูฏานที่เรียกว่า นูทรัมหรืองูทรัม เริ่มใช้เมื่อปี 2517 โดยรัฐบาล ภูฏานผูกค่าเงินนูทรัมไว้กับเงินรูปีของอินเดีย ทำให้เศรษฐกิจของสองประเทศนั้นผูกกันโดยปริยาย

Read More

นีโอ สุกี้ ทำธุรกิจ สู้ยิบตา

หากเอ่ยถึงสุกี้ ในใจคนไทยคงมีเพียงไม่กี่แบรนด์ที่ติดตลาดในขณะนี้ และอยู่ในแทบทุกห้าง ในขณะที่นีโอ สุกี้ แม้จะก่อกำเนิดมา 10 กว่าปี แต่ชื่อเสียงเรียงนามต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่แทบจะไม่รู้จักด้วยซ้ำ แต่สามารถไปเปิดตลาดใน AEC นีโอ สุกี้ เป็นแบรนด์สินค้าที่ก่อตั้งขึ้นโดยบริษัท นีโอ สุกี้ ไทยเรสเทอรองส์ จำกัด เมื่อปี 2542 เพื่อให้บริการอาหารสุกี้ในรสชาติที่หลากหลาย มีสาขาที่เปิดใน ประเทศไทยในขณะนี้เพียง 7 แห่ง และในต่างประเทศอีก 5 แห่งเท่านั้น ปริมาณสาขาที่มีไม่มากและไม่สามารถเข้าไปเปิดในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือห้างโมเดิรน์เทรดได้นั้นเป็นเพราะพื้นที่ดังกล่าวถูกยักษ์ใหญ่อย่างเอ็มเคยึดครองไปเกือบทั้งหมด ซึ่งมีสาขามากกว่า 1 พันแห่ง อุปสรรคที่นีโอ สุกี้ประสบอยู่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งที่บริษัทพยายามหาจุดขายให้กับตัวเอง เพราะเส้นทางของบริษัทตั้งแต่ก่อนเริ่มทำธุรกิจเต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรคมากมาย สกนธ์ กัปปิยจรรยา รองประธาน บริษัท นีโอ สุกี้ ไทยเรสเทอรองส์ จำกัด เจ้าของธุรกิจเล่าให้ผู้จัดการ 360 ํ ฟังว่า แนวคิดเริ่มต้นทำธุรกิจเกิดก่อนที่จะมีนีโอ

Read More

Rio+20 Earth Summit for Sustainable Development คืออะไร

"Sustainable Development" (SD) มีความหมายอย่างไรกันแน่ แม้จะเป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง เป็นหลักคิดแนวใหม่ในวงการบริหารปกครองและวิชาการ แต่ในสังคมของคนธรรมดาทั่วไปก็มีน้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายอันแท้จริง SD หรือ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" คือ แนวทางการพัฒนาประเทศชาติที่สนองความต้องการทั้งของคนรุ่นปัจจุบัน คำนึงถึงคนรุ่นต่อไปในอนาคต SD จะต้องรักษาคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ให้คงอยู่สืบต่อไป โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและควบคุมให้อยู่ในขีดจำกัดที่ให้ได้ของแหล่งทรัพยากร ขณะที่การพัฒนายังคงเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง SD สามารถนำไปปฏิบัติได้ถ้ามีการ วางแผนอย่างรอบคอบ บูรณาการกิจกรรมและการพัฒนาต่างๆ ให้สอดคล้องต้องกัน โดยหาวิถีทางดำเนินการให้เกิดสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ฟังดู! แม้จะเป็นอุดมการณ์ที่เข้าใจยาก เข้าถึงได้ยาก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่าน มามีการนำหลักการนี้มาปฏิบัติกันบ้างแล้วทั่วโลก ถึงจะไม่สัมฤทธิผลตามเป้าหมายแต่ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาขับเคลื่อน เช่น Rene-wable energy technologies ต่างๆ และกลไกทางการค้าทางเศรษฐกิจขึ้นมา เช่น eco-taxes และ carbon trading, carbon-footprint การดำเนินงานของ Rio Earth Summit ที่ผ่านมา และที่จะเป็นไปในอนาคต Earth Summit เริ่มจัดตั้งขึ้นโดย องค์การสหประชาชาติและกลุ่ม NGOs ต่างๆ

Read More

ซีเอสอาร์ 3 ขาของ AIA

สุขภาพ การศึกษา และชุมชน เป็น 3 ขาหลักในการทำซีเอสอาร์ของบริษัท เอไอเอ ประเทศไทย จำกัด เริ่มต้นพัฒนามาจากพฤติกรรมตัวแทนในการติดตามดูแลลูกค้า แล้วนำเสนอเป็นไอเดียสู่การช่วยเหลือสังคมที่กว้างขึ้นจนเป็น 3 รูปแบบกิจกรรมที่บริษัทเลือกดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ปีนี้เอไอเอประเทศไทยอายุ 75 ปี เริ่มต้นทำซีเอสอาร์ยุคแรกๆ ด้วยการให้ทุน การศึกษากับเด็กตั้งแต่ประมาณ 40 ปีก่อน เริ่มจากให้โดยคัดเลือกกันเองผ่านตัวแทนในชุมชนต่างๆ ที่แนะนำมา ก่อนจะปรับเข้าสู่การส่งเสริมอย่างเป็นระบบ "ตอนหลังเราจับมือกับมูลนิธินักเรียนขาดแคลนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้มูลนิธิเป็นผู้คัดเลือกเด็ก ปีหนึ่ง 48 ทุน เป็นทุนแบบต่อเนื่องจนจบระดับมหาวิทยาลัย ก็หลายคน ตอนนี้มีเด็กที่จบโดยทุนเกิน 2,000 คน" สุทธิ รจิตรังสรรค์ รองประธาน อาวุโสฝ่ายบริหารกล่าว ทำได้ประมาณ 10 ปี ก็เริ่มคิดทำซีเอสอาร์กับชุมชนโดยตรง ด้วยการบริจาค สร้างแท็งก์น้ำคอนกรีตสำหรับชุมชน เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ในชุมชนที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ทำเรื่อยมาจนปัจจุบัน แต่เปลี่ยนรูปแบบแท็งก์ให้เหมาะสมตามยุคสมัย จากแท็งก์คอนกรีตที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ดูแลรักษาความสะอาดยาก เปลี่ยนเป็นโอ่งดินปั้นขนาดใหญ่ และยุคล่าสุดคือถังไฟเบอร์ที่รักษาความสะอาดง่ายขึ้น จนกระทั่งปี 2548 เอไอเอเริ่มมอง

Read More

ยุคสินค้าช่วยโลก

ดูปองท์ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจให้บริการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2345 (ค.ศ.1802) เน้นการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น ทำธุรกิจในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ธุรกิจเคมี อาหารและการเกษตร การก่อสร้าง การสื่อสาร และการขนส่ง ในระยะปัจจุบันเทรนด์การตลาดของดูปองท์เน้นไปในทิศทางเดียวกับองค์กร ส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการคิดสินค้าที่มีประโยชน์ต่อผู้คนในด้านต่างๆ ที่นำไป สู่การลดการพึ่งพิงการใช้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล และนำเสนอนวัตกรรมรักษ์โลกให้มากขึ้น เพราะตอบโจทย์ทั้งธุรกิจที่ต้อง การสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกระแสการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นไม่เว้น แม้แต่ตลาดไทย ในยุคที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีการขยายตัวมากขึ้นเพราะได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบของพลังงานที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด ทำให้ความต้องการ อุปกรณ์อย่างแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ สูงขึ้นตามไปด้วย ดูปองท์ก็มีบริษัทในเครือ ชื่อ ดูปองท์ อพอลโล เริ่มเข้าไปผลิต PV หรือแผงโซลาร์โฟโต้โวลทาอิคแบบฟิล์มบางซิลิกอนในจีนทั้งที่ฮ่องกงและเซินเจิ้น เพื่อตอบสนองตลาดนี้ทันทีตั้งแต่ปี 2551 การเข้ามาตั้งฐานผลิตในจีนของดูปองท์ มีเป้าหมายที่จะส่งสินค้าเข้ามาทำ ตลาดในไทยโดยตรง เพราะศึกษานโยบาย ด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทยแล้วพบว่าไทยมีแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกในช่วงปี 2555-2564 ให้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยมีการปรับเป้าหมายผลิตและใช้พลังงานทดแทนรวมจาก 20% เป็น 25% ซึ่งปัจจุบันการผลิตส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก

Read More

Eco Town มีอยู่จริง…หรือเปล่า

อุตสาหกรรมกับชุมชนอยู่รวมกันได้จริงหรือ ในที่นี้หมายถึงอุตสาหกรรมหนักประเภทโรงกลั่น ปิโตรเคมี ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมรีไซเคิล ซึ่งจะสะท้อนโอกาสของการสร้างอีโคทาวน์ (Eco Town) ในไทยว่าจะเป็นไปได้จริงไหม “จะเป็นอีโคทาวน์ควรจะคิดตั้งแต่ 30 ปีที่แล้วที่เริ่มโครงการมาบตาพุด แต่ตอนนี้แม้แต่ที่รัฐบาลบอกว่าควรจะลดเขตอุตสาหกรรมเก่า แต่พื้นที่อุตสาหกรรมยังขยายเพิ่มขึ้น” พัชรี ชาวบ้านจากบ้านชาก ลูกหญ้า หนึ่งในชุมชนของมาบตาพุด สะท้อนปัญหามาบตาพุด เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มคนมาบตาพุดที่รวมตัวกันแจ้งปัญหามลพิษจากนิคมต่อรัฐบาลเมื่อปี 2550 ร่วมยื่นฟ้องชะลอโครง การอุตสาหกรรม 76 โครงการ รวมถึงเรียกร้องให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศเขตควบคุมมลพิษ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ตามข้อเรียกร้อง เพียงแค่มีการปรับเปลี่ยนเป็นแผนลดและขจัดมลพิษของคนมาบตาพุดแทน ส่วนการควบคุมมลพิษและเฝ้าระวัง ที่เห็นเป็นรูปธรรมคือการติดตั้งสถานีตรวจคุณภาพอากาศเพิ่มขึ้นในพื้นที่รอบนิคม เป็น การตรวจวัดกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ VOC โดยกลุ่มอุตสาหกรรมร่วมกันเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ แต่กระนั้นสถานีตรวจ วัดเหล่านี้ก็ไม่ได้สร้างความไว้วางใจให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างพัชรีเท่าไรนัก ‘ตอนโรงงานบีเอสซีระเบิด สถานีตรวจวัดยังโชว์สัญลักษณ์หน้ายิ้ม (แสดงว่าอยู่ในภาวะปกติ) อยู่เลย” พัชรีบอก สิ่งที่เธอกังขามาตลอดในการอาศัยอยู่ในชุมชนใกล้นิคมก็คือเพราะเหตุใดหน่วย งานต่างๆ ยังทนเห็นความเจ็บป่วยของคนมาบตาพุดอยู่ได้ เธอบอกว่าทุกวันนี้พื้นที่ชุมชนมาบตาพุดยังมีค่าของสารเคมี 3 ตัวที่เกินมาตรฐานมาตลอด ได้แก่ ไวนีลคลอไรด์

Read More