Home > 2012 > สิงหาคม

VDO : Towards Mega Portal Digital Contents

การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นที่ "ผู้จัดการ" ดูเหมือนว่าได้กลายเป็น talk of the town ที่ดำเนินผ่านการคาดการณ์และขยายผลไปอย่างรวดเร็ว ประกอบส่วนด้วยข้อเท็จจริงมากบ้างน้อยบ้างไปในทิศทางต่างๆ ตามแต่ความสามารถในการรับรู้และเป้าประสงค์ของผู้สื่อสาร

Read More

Green Passion

 การตัดสินใจเกษียณตัวเองเมื่ออายุ 50 ปี ทำสิ่งที่ชอบ แม้กระทั่งไปหอสมุดแห่งชาติ เพื่อใช้เวลากับการตามอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่ประวัติวัดพระแก้วมีธุรกิจอพาร์ตเมนต์ให้เช่าสำหรับชาวญี่ปุ่นที่ซอยทองหล่อ มีบ้านและที่ดินอีกหลายแปลงในทำเลที่มีพื้นที่จำกัดทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดฐานะทางสังคมในตอนนั้นเป็นถึงคุณนายผู้ว่าฯ แถมไม่เคยมีความรู้เรื่อง การผลิตไฟฟ้าสักนิด แต่สุดท้ายกลาย เป็นผู้บริหารของบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อ่าน “พลังงานแสงอาทิตย์กู้โลก” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ  ฉบับกรกฎาคม 2554)เรื่องราวของวันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) บุคคลที่มีหลักคิดว่าการจะทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จได้ “ต้องอย่าท้อถอย มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และต้องเชื่อว่าโอกาสคือสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองได้ ถ้าวันนี้พรุ่งนี้ยังไม่สำเร็จ วันหนึ่งในอนาคตก็ประสบความสำเร็จได้ถ้าไม่ย่อท้อเสียก่อน” บทบาทในฐานะผู้ริเริ่มพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับวงการ พลังงานไทย เป็นบทบาทใหม่ที่เกิดขึ้นจาก Passion ล้วนๆ เป็นการสร้างโอกาส ใหม่ที่เธอสร้างให้กับตัวเองและสังคมไทย จนได้รับการยกย่องจากธนาคารโลก (World Bank) ให้เป็นตัวแทนผู้หญิงคนเดียวจากเอเชียในฐานะ “ผู้สร้างโอกาสให้ตัวเอง” ในแคมเปญ “I am opportunity” เมื่อปี 2554มีมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรมองให้เป็นธรรมชาติและมีตรรกะ สิ่งที่เราเห็นคือมนุษย์ใช้ทรัพยากรจากใต้ดินมหาศาล แก๊ส น้ำมัน ฯลฯ โอกาสที่โลกฟอร์มตัวน้ำมันดิบต้องใช้เวลาเป็นพันๆ ปีการดึงของใต้ดินที่มีแรงดัน มีความหนาแน่นขึ้นมาใช้บนผิวโลก จะมีอะไรไปแทนที่ก็ย่อมเกิดผลกระทบ ตอนเด็กเคยสงสัยว่าเอาน้ำมันใส่รถแล้วมันหายไปไหน มันก็ระเหยไปในอากาศ เป็นการบอกให้เรารู้ว่าไม่มีสสารอะไรหายไปจากโลกนี้ถูกไหม มันแค่เปลี่ยนไปอยู่อีกรูปหนึ่งแล้วก็ไปบล็อกชั้นบรรยากาศที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เราเห็นภาพจากสิ่งที่เราสงสัยเล็กๆ น้อยๆ

Read More

โลกป่วย โรคติดต่อเบ่งบาน

 ทุกวันนี้สถานการณ์โรคติดต่อรุนแรงขึ้นทุกวัน ต้นเหตุของโรคติดต่อที่รุนแรงกลับมาเกิดขึ้นมากมายมีผลมาจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนสภาพธรรมชาติและการเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นที่แน่ชัดว่าโลกเราจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ มีการศึกษาคาดการณ์จากหลายสำนักหลายองค์กรทั่วโลกที่เตือนภัยคุกคามและสร้างความตระหนักที่จะตั้งรับในผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ในผลกระทบเหล่านี้มีผลต่อชีวิตมนุษย์โดยตรงก็คือภัยคุกคามที่เกี่ยวกับโรคติดต่อ ภาวะสุขอนามัย และแหล่งน้ำแหล่งอาหารนอกจากภาวะโลกร้อนแล้ว จำนวนประชากรโลกยังเพิ่มขึ้นและจะเพิ่มต่อไปเรื่อยๆ ต่อเนื่องไปอย่างน้อยก็อีก 50 ปีข้างหน้า ฉะนั้นความต้องการ สิ่งจำเป็นต่อชีวิตก็ย่อมเพิ่มขึ้นด้วย แต่แหล่งทรัพยากรที่เป็นปัจจัยเอื้ออำนวยก็มีอยู่จำกัดและยังถูกคุกคามด้วยภาวะโลกร้อนอีก ปัญหาจึงเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ และเป็นลูกโซ่เกี่ยวโยงกัน ตลอดเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างรวดเร็วรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น จากสภาพป่า สภาพธรรมชาติ มาเป็นเมือง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นเขื่อน เป็นถนนหนทาง เป็นอุตสาหกรรม เป็นเหมืองแร่ ฯลฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นความจำเป็น (แทรกซึมด้วยผลประโยชน์ ธุรกิจของคนบางกลุ่ม ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยอย่างไม่ยั่งยืน) แต่ก็ยังไม่เพียงพอการหวนกลับมาของโรคที่อาศัยพาหะในส่วนของโรคติดต่อที่แพร่ขยายขึ้นจากอุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้นและภัยพิบัติที่ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนไป โรคติดต่อที่อาศัยพาหะ เช่น ยุง แมลงวัน หรือตัวกลาง เช่น น้ำ อาหาร จะเกิดได้ง่ายและรวดเร็วมาก จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โรค ดังกล่าว เช่น มาลาเรีย อหิวาต์ ล้วนเป็นโรค ที่เมืองไทยรู้จักกันดี โรคเหล่านี้เคยถูกปราบปรามโดยยาและระบบสาธารณสุขอย่างได้ผล แต่กำลังจะหวนกลับมาอีกแน่นอน

Read More

บอละเวน ความสมบูรณ์แห่งลาวใต้

 หลายคนมองว่าจุดอ่อนของ สปป.ลาว คือเป็นประเทศที่มีดินแดนปิดเพราะไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่ถ้าพิจารณาในแง่ทรัพยากรธรรมชาติ หลายพื้นที่ของ สปป.ลาวเป็นดินแดนที่ให้คุณค่าแก่ธรรมชาติของภูมิภาคนี้อย่างเต็มที่อย่างไม่ปิดกั้นเลยทีเดียวดังเช่นที่ สปป.ลาวเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่เป็นผู้ให้สูงสุดแก่แม่น้ำโขง เพราะเป็นดินแดนที่ยังคงความสมบูรณ์ของป่าไม้ ไว้มากที่สุด ภูเขาปกคลุมด้วยป่าเป็นแหล่ง กำเนิดของสายน้ำน้อยใหญ่ต่างๆ ในลาว เป็นท่อน้ำที่ทำหน้าที่เติมเต็มความสมบูรณ์ ให้กับแม่โขงทั้งทางตรงและทางอ้อมปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มขึ้นขณะไหลผ่าน สปป.ลาว ทำให้แม่น้ำสายนี้ ยังคงไหลรินให้ความสมบูรณ์ต่อไปยังกัมพูชาและเวียดนามและหล่อเลี้ยงหลายพื้นที่ของไทย ถือเป็นการเผื่อแผ่ความสมบูรณ์ไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างไม่ปิดล็อกเหมือนลักษณะภูมิประเทศ เป็นความเอื้ออาทรตามธรรมชาติที่ลาวแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านมาแสนนานแม่น้ำโขงมีความยาว 4,480 กิโล เมตร ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงคนใน 6 ประเทศ ตั้งแต่จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ช่วงตอนกลางของลำน้ำที่ไหลผ่านประเทศไทย ทุกปีจะต้องประสบปัญหา สภาพน้ำแห้งขอด บางช่วงที่เป็นพรมแดนกั้นเขตไทย-สปป.ลาว กลายเป็นพื้นดินที่เดินถึงกันได้ในฤดูแล้ง จนเป็นที่หวั่นเกรงกันว่าแม่น้ำสายนี้จะยังคงไหลไปหล่อเลี้ยงทั้ง 6 ประเทศนี้ได้เหมือนเดิมอีกนานแค่ไหนนี่คือหนึ่งในความกังวลที่ทำให้การก่อสร้างเขื่อนในแขวงไซยะบุรีของลาว ซึ่งมีพื้นที่อยู่ติดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ต้องเผชิญ กับปัญหาระงับการก่อสร้างเพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการลดลงหรือสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผู้คนทั่วโลกตระหนักมากขึ้นทุกวันว่า มีคุณค่าต่อการดำรงอยู่ของชีวิตมนุษย์มากกว่าสิ่งก่อสร้างใดๆจากแขวงตอนเหนืออย่างไซยะบุรี 4

Read More

เสริมสร้างการลงทุนระหว่างกัน

 ก่อนหน้าการผลัดกันเยือนของแกนนำประเทศ ทั้งลาวและเวียดนามเพียงวันเดียว ที่นครโฮจิมินห์ของเวียดนามมีการประชุมสัมมนาส่งเสริมการค้า-การลงทุนเข้าเวียงจันทน์และจำปาสัก เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์การค้า-การลงทุนระหว่างเวียดนามและลาว โดยมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ในนครโฮจิมินห์ของเวียดนาม นครหลวงเวียงจันทน์และแขวงจำปาสักของลาวผู้เข้าประชุมมีรองนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ทองลุน สีสุลิด และเลขาธิการคณะพรรคนครโฮจิมินห์ เล ทาญ หาย พร้อมด้วยแกนนำท้องถิ่น และนักธุรกิจของทั้งสองประเทศกว่า 150 คนที่ประชุมบรรดานักธุรกิจได้รับการจัดหาข่าวสารที่ทันสมัยเกี่ยวกับนโยบายเพื่อให้เกิดความมั่นใจการพัฒนาเศรษฐกิจโดยภาพรวมของเวียดนาม-ลาว และในนครโฮจิมินห์ เวียงจันทน์ และแขวงจำปาสัก ในปีต่อๆ ไปบนรากฐานความสัมพันธ์การเมืองที่ดีงาม เวียดนามและลาวไม่หยุดเสริมสร้างความร่วมมือในช่วงเวลาปัจจุบัน ในนั้นเศรษฐกิจเป็นขอบเขตหนึ่งที่เต็มไปด้วยศักยภาพด้านการค้า ตัวเลขการค้าของทั้งสองฝ่ายในปี 2554 มีมูลค่ารวม 734 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 49.8% จากปี 2553 และในไตรมาสแรกปีนี้มูลค่า 135.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 66.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สองประเทศต่างวางเป้าหมายทำให้การค้าทวิภาคีบรรลุ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ บรรลุ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 และ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563ด้านการลงทุน

Read More

กิจกรรมที่จัดไม่เพียงภายในประเทศ

 ในโอกาสรำลึกวันสถาปนาความสัมพันธ์การทูตครบรอบ 50 ปี และวันลงนามสนธิสัญญามิตรภาพความร่วมมือเวียดนาม-ลาวครบรอบ 35 ปี วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำไทย จัดพบปะ แลกเปลี่ยนความสัมพันธ์มิตรภาพระหว่างเจ้าหน้าที่และพนักงาน สถานเอกอัครราชทูต และหน่วยงานประจำสถานเอกอัครราชทูตสองประเทศ เวียดนาม-ลาวประจำไทยสุนทรพจน์ในงานพบปะเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มเวียดนามประจำไทย โง ดึ๊ก ทั้ง กล่าวว่าเวียดนามและลาวเป็นสองประเทศพี่น้อง มีความสัมพันธ์มิตรภาพประเพณีเป็นพิเศษ ในภารกิจการทูตประจำประเทศที่ตั้งสำนักงาน สถานเอกอัครราชทูตเวียดนามและลาวสงวนความร่วมมือมิตรภาพจริงใจให้กันและกันเสมอปีนี้เป็นปีมิตรภาพเวียดนาม-ลาว ดังนั้นทั้งสองฝ่ายต่างเสริมสร้างกิจกรรมประสานงานจัดกิจกรรมวัฒนธรรมหลายครั้ง มุ่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างเจ้าหน้าที่ พนักงานสถานเอกอัครราชทูตสองประเทศเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่ง สปป.ลาว ประจำไทย ลี บุนคำกล่าวว่า สถานเอกอัครราชทูตสองประเทศในไทยมีประเพณีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นี่เป็นประเพณีของสองประเทศ“อยู่ที่นี่พวกเราก็สงวนความร่วมมืออันมีค่าสูงยิ่งนั้นไว้เสมอ โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีที่สองประเทศรำลึกสองเหตุการณ์ใหญ่ด้วย”ในช่วงค่ำสถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำไทยได้เปิดงานเลี้ยงรับรองเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตลาว หลังงานเลี้ยงเป็นส่วนงานแสดงแลกเปลี่ยนศิลปะ ซึ่งจัดขึ้นในบริเวณสถานเอก อัครราชทูตเวียดนามประจำไทย เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม-ลาวทั้งหมด เคียงข้างกันร้องเพลงมิตรภาพ-สามัคคี ความเป็นมิตรเสมอต้นเสมอปลายเวียดนาม-ลาว ไม่ว่าอยู่ที่ใด ยังคงเป็นความสามัคคีพิเศษและไม่มีวันจืดจางไป

Read More

วีเพ็ด สีหาจักร Lifestyle Setter ของลาว

 ทรู คอฟฟี่ เดอะ พิซซ่า สเวนเซ่นส์ ล้วนเป็นสิ่งใหม่ที่ปรากฏขึ้นในลาวไม่กี่ปีมานี้ วีเพ็ด สีหาจักร คือผู้อยู่เบื้องหลังการเข้ามาของแฟรนไชส์เหล่านี้แต่ก็มิใช่แค่ร้านเหล่านี้เท่านั้นที่เขานำเข้ามา ความภาคภูมิใจในความสำเร็จของนักฟุตบอลทีมชาติจนทำให้กีฬาฟุตบอลเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนลาวในทุกวันนี้ เป็นวิถีใหม่ที่เขามีส่วนสำคัญผลักดันให้เกิดขึ้นบรรยากาศแห่งความยินดี งานเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นทั่วนครหลวงเวียงจันทน์ หลังจากทีมฟุตบอลชาติลาวสามารถเข้ารอบลึกถึงรอบตัดเชือกกับทีมชาติมาเลเซียในการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ เมื่อปลายปี 2552 ที่ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพ อาจถือเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการฟุตบอลลาว รวมถึงกระตุ้นความนิยมในกีฬาฟุตบอลของคนลาวให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ“ตอนนี้กีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของคนลาว ก็คือฟุตบอล การแสดงถึงความรักองค์กร หรือกระชับมิตรกันระหว่างองค์กร ส่วนใหญ่คือชวนกันเตะบอล เพราะฉะนั้นสนาม ฟุตบอลที่เปิดให้เช่ามีคิวจองเต็มเกือบทุกวัน” ชาวเวียงจันทน์หลายคนยืนยันในทิศทางเดียวกันกับคำพูดข้างต้นในความเป็นจริงคนลาวมิใช่เพิ่งจะมานิยมกีฬาฟุตบอล หลังจากที่ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์เมื่อเกือบ 3 ปีที่แล้วเท่านั้นความนิยมในกีฬาฟุตบอลของคนลาวมีอย่างต่อเนื่องมานานแล้ว และค่อยๆ มีพัฒนาการขึ้นมา เป็นลำดับลำเนา สิงโต ถือเป็นตัวอย่างของนักฟุตบอลชาวลาว ที่ยืนยันถึงพัฒนาการของวงการฟุตบอลลาวได้เป็นอย่างดี“ลำเนา สิงโต เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2531 เป็นชาวเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว เริ่มเล่นฟุตบอลในระดับสโมสรกับทีมกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง ซึ่งเป็นทีมสโมสรของรัฐบาลลาว ย้ายมาเล่นฟุตบอลในประเทศไทยในดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2550 กับทีมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ผลงานของทีมไม่ดีนักเมื่อได้อันดับ สุดท้ายของตารางและตกชั้นเมื่อจบฤดูกาลหลังจบฤดูกาล

Read More

กรุมหาสมบัติในมือจุฬาฯ

 เป็นเรื่องไม่ยากที่จะเป็นเศรษฐีที่ดิน ถ้าต้นตระกูลคุณมีที่ดินในกรุงเทพฯ ทิ้งไว้ให้สัก 100 ไร่ หรือแค่ 10 ไร่ก็พอ สำหรับที่ดินใจกลางเมือง หรือแค่ 5 ไร่ สำหรับที่ดินกลางเมืองที่ติดรถไฟฟ้า หรือแค่ไร่เดียวก็พอ หากเป็นที่ดินติดสถานีรถไฟฟ้า ณ สยามสแควร์ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (Agency for Real Estate Affairs: AREA) ได้สำรวจราคาประเมินที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ ปี 2554 พบว่าย่านสยามสแควร์ถือเป็นบริเวณที่มีที่ดินราคาสูงสุด โดยตกเฉลี่ยตารางวาละ 1.4 ล้านบาท หรือไร่ละ 560 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากราคาตลาดในปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ 640,000 บาทต่อตารางวา หรือ 256 ล้านบาทต่อไร่ด้วยความเป็นย่านศูนย์การค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะความเป็นแหล่งแฟชั่นสำหรับวัยรุ่นในเมือง บวกกับความเป็นย่านการค้าที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และมีการใช้ที่ดินในเชิงธุรกิจอย่างเข้มข้น เหล่านี้ล้วนส่งผลให้มูลค่าอสังหา ริมทรัพย์ของสยามสแควร์ได้รับการประเมินไว้สูงขึ้น ไม่เพียงมูลค่าตลาดของที่ดิน

Read More

ดิจิตอล เกตเวย์ ประตูสู่สยามสแควร์ของ “เจริญ”

 ปฐมบทของโครงการ “ดิจิตอล เกตเวย์” เริ่มต้นจากการประมูลพื้นที่โครงการ Center Point เดิม ในช่วงกลางปี 2550 ซึ่งสามารถเรียกความสนใจจากสังคมได้ไม่น้อยไม่เพียงพื้นที่ที่ทำการประมูลจะอยู่ในทำเลที่ถือได้ว่าดีที่สุดของสยามสแควร์ เพราะติดกับบันไดทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้าสยาม แต่ความน่าสนใจยังเกิดจากกลุ่มผู้เข้าประมูลทั้ง 6 ราย ที่ต่างก็มุ่งมั่นในการชิงกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนเล็กเพียง 1 ไร่แปลงนี้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ระดับประเทศอันประกอบด้วยกลุ่มพันธุ์ทิพย์ พลาซา ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี, กลุ่มสยามพิวรรธน์ ร่วมกับเอ็มบีเค, กลุ่มธนายง, กลุ่มซีพี, กลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และกลุ่มพรไพลิน ผู้เช่ารายเดิมสำหรับผู้ชนะการประมูลคือ บริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด ในเครือของบริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอล แลนด์ ของเจ้าสัวเจริญที่มีจุดขายอยู่ที่ความเป็น “ดิจิตอล ซิตี้” โดยผู้บริหารจุฬาฯ มองว่าเป็นสิ่งที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่และวิสัยทัศน์ของจุฬาฯ ว่ากันว่าการประมูลครั้งนี้ทำให้จุฬาฯ ได้รับผลตอบแทนสูงถึง 1,400 ล้านบาท ในระยะเวลา 15 ปี ขณะที่ผลตอบแทนที่ “กลุ่มเจริญ” จะได้นั้นนอกจากพื้นที่ให้เช่าในย่านทำเลที่ดีที่สุด “แบรนด์ช้าง” ยังได้อยู่ในจุดโฆษณาที่มีสนนราคาแพงที่สุดจุดหนึ่ง ในสยามสแควร์ เพราะมี “ทราฟฟิก (traffic)” เข้าออกบริเวณนี้มหาศาลหลายคนเชื่อว่า จุฬาฯ ยังมีอีกเหตุผล (ไม่) ลับที่เลือกกลุ่ม เจ้าสัวเจริญ ก็เพราะต้องการหานายทุนหน้าใหม่เข้ามาเพิ่มในย่าน

Read More

“สถานีถัดไป” ของสยามสแควร์

 ถ้าเปรียบเป็นคนวัย 50 ปีคงเป็นวัยเริ่มต้น การทำใจสู่การเกษียณอายุและยอมรับต่อ “ความเสื่อม” ทั้งหลาย แต่สำหรับ “สยามสแควร์” ดูเหมือนความขลังในการเป็นศูนย์รวมวัยรุ่นและศูนย์รวมธุรกิจยังไม่เคยเสื่อมคลาย กลับยิ่งเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะอย่างหลัง จนต้องลุ้นว่า “สถานีหน้า” ณ ครึ่งศตวรรษใหม่ของสยามสแควร์จะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างไรใครไม่รู้จัก “สยามสแควร์” ยกมือขึ้น...เงียบ!เคยมีคนกล่าวว่า คนกรุงเทพฯ ร่วมสมัยที่เกิด ตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา โดยเฉพาะคนในวัย 40 ปีลงมาจนถึงวัย 14 ปี แทบทุกคนน่าจะเคยมีฉากตัวเอง กับสยามสแควร์อย่างน้อยสักครั้ง“เด็กสยามฯ” บางคนยอมรับว่า แม้จะเบื่อสยามสแควร์แต่ก็ยังนิยมนัดพบปะเพื่อนฝูงที่นี่บ่อยๆ เพราะยังไม่เห็นว่าจะมีที่ไหนที่เป็นแหล่งวัยรุ่นแท้จริง ได้เหมือนที่นี่ว่ากันว่า “สยามสแควร์” เป็นแหล่งเปิดกว้างให้วัยรุ่นได้แสดงออกอย่างอิสระมากที่สุดในประเทศไทย เป็นเสมือนโลกไร้กรอบที่พวกเขาสบายใจที่จะแสดงออกและค้นหาตัวตนของตัวเอง ที่นี่จึงได้ชื่อว่าเป็น “เมืองหลวงของวัยรุ่น” และเป็นเสมือนแหล่งพักพิงสำหรับเหล่าวัยรุ่น ก่อนที่พวกเขาจะไปเติบโตตามสถานที่ต่างๆสยามสแควร์เป็นศูนย์การค้าแนวราบเนื้อที่ 63 ไร่ ตั้งอยู่หัวมุมถนนพระราม 1 ช่วงระหว่าง ถนนพญาไทและอังรีดูนังต์ (ระหว่างสี่แยกปทุมวันกับสามแยกเฉลิมเผ่า) เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินย่านปทุมวันที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันเหลือพื้นที่ราว 1,153 ไร่สำหรับ “พื้นที่เขตพาณิชย์” หรือที่ดินสำหรับจัดหาผลประโยชน์เพื่อนำรายได้มาบำรุงการศึกษา มีอยู่ราว 385 ไร่ อยู่ภายใต้ความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ (อ่านเพิ่มเติมใน “กรุมหาสมบัติในมือจุฬาฯ”) โดยสยามสแควร์ถือเป็นพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในแง่มูลค่าทางธุรกิจ มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ และภาพลักษณ์การตลาด“สืบสานพระราชปณิธานของ ร.6 ซึ่งได้พระราชทานที่ดินให้จุฬาฯ โดยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า ให้เอาที่ดินไปหาผลประโยชน์เพื่อนำเงินรายได้มาบำรุงการศึกษา มีพระราชกระแสรับสั่งชัดเจนเลย ผู้บริหารยุคก่อนก็เลยตอบสนองด้วยการจัดสรรพื้นที่ให้เอกชนไปลงทุน” รองอธิการบดีจุฬาฯ

Read More