Home > 2012 > กรกฎาคม (Page 4)

บทเรียนหน้าร้อน

วานนี้และวันนี้ปรอทในเขตชุมชนวัดได้ 46 องศาเซลเซียส ส่วนกลางทุ่งนาพุ่งขึ้นถึง 49.5 องศา บางพื้นที่ว่ากันว่าวัดได้ 52 องศา พาดหัวรองในหน้า หนังสือพิมพ์กรอบหนึ่งปลอบใจว่า “ยิ่งร้อนตับแลบเท่าไร ปีนี้น้ำท่าจะอุดมสมบูรณ์เท่านั้น” แต่อีกกรอบ บอกว่าวานนี้วันเดียว ในรัฐเบงกอลฯ มีผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อน 67 คน ในบ่ายวันเดียวกัน ข่าวสั้นของทุกสถานีรายงานการมาถึงของมรสุมฤดูฝน ซึ่งปีนี้พัดเข้าฝั่งรัฐเกรละช้าไปสี่วัน แต่สำหรับเบงกอลฯ ที่อยู่ทางตะวันออกคงต้องกลั้นใจรออีกสักสิบวัน แม้ฤดูร้อนในชนบทอินเดียจะหฤโหด และโหดเป็นพิเศษในปีนี้ เพราะถูกซ้ำเติมด้วยการขึ้นราคาน้ำมันและอาการร่วงกับร่วงของค่าเงินรูปี ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ 55 รูปีต่อดอลลาร์ แต่กลับมีหลายเรื่องให้เรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับคนที่โตมาในเมืองไทย มีชีวิตเคยชินกับความสะดวกของเมืองหลวง ไม่รู้จัก ร้อนรู้จักหนาว สามารถเลือกเดินจากห้องแอร์ห้องหนึ่งไปยังห้องแอร์อีกห้องหนึ่งได้เสมอ จนเรื่องที่ว่าเมืองไทยมีสามฤดูเป็นแค่ความรู้มือสอง และคำว่า “หน้ามะม่วง” หาได้บอกเดือนหรือฤดูในขุมประสบ การณ์ของคนรุ่นใหม่ ชีวิตชนบทที่ศานตินิเกตัน ในรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย คือการเผชิญหน้ากับกาลอากาศ ที่หมุนเวียนเปลี่ยนฤดู ฤดูหนาวที่นานราวสามเดือน ฤดูใบไม้ผลิสั้นๆ ไม่ถึงเดือน ฤดูร้อนแสนโหดที่เริ่มจากกลางเดือนมีนาคม แล้วเพิ่มองศาขึ้นเรื่อยๆ

Read More

“ซานไจ้” จาก C&D ถึง R&D (ตอนแรก)

คำว่า “ซานไจ้” หากแปลตรงตัวแล้วจะมีความ หมายว่าหมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา (Small Mountain Village) โดยคำว่า “ซาน “ นั้นแปลว่าภูเขา ส่วน “ไจ้ “ ก็แปลว่าหมู่บ้านเล็กๆ โดย “ไจ้หรือจ้าย” ตัวนี้เป็นตัวอักษรเดียวกับตัวอักษร “ไจ้” ในชื่อ “จิ่วไจ้โกว” สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันงดงามในมณฑล เสฉวนนั่นเอง กระนั้นความหมายของ “ซานไจ้” ที่ถูกนำมาใช้กันบ่อยครั้งที่สุดในสังคมจีนยุคปัจจุบันกลับไม่ได้มีความหมายว่า “หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา” แต่หมาย ความถึง “สินค้าลอกเลียนแบบ” หากจะอธิบายให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ ชาวจีนเปรียบเปรยว่าสินค้าจีนที่พยายามผลิตออกมาลอกเลียนแบบสินค้าชื่อดังของโลก โดยเป็นการ เลียนแบบทั้งชื่อ เลียนแบบทั้งรูปร่างหน้าตา (ดีไซน์) เลียนแบบคุณสมบัติการใช้งาน และอีกสารพัดเลียนแบบ (ยกเว้นอยู่สองอย่างที่ไม่สามารถเลียนแบบได้ก็คือ ไม่สามารถเลียนแบบคุณภาพ และไม่สามารถเลียนแบบราคาได้ แน่นอนว่าสินค้าซานไจ้ย่อมมีราคาถูกกว่าสินค้า ต้นฉบับมาก) เหมือนกับเป็นสินค้าคุณภาพต่ำที่ผลิตอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขาอันห่างไกล ชาวบ้านลงมือ

Read More

เศรษฐกิจโลกในกำมือผู้หญิงชื่อ Angela Merkel

เศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายและจะรอดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้หญิงเพียงคนเดียว “ทุกคน ไปที่เรือชูชีพเดี๋ยวนี้!!!!” คือสัญญาณอันตรายที่ตลาดกำลังส่งออกมาว่าเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายอย่าง ใหญ่หลวง นักลงทุนจึงพากันเร่งรีบกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่าง สหรัฐฯ เยอรมนี และประเทศที่ถูกมองว่า “ปลอดภัย” ซึ่งมีเพียงหยิบมือเดียว และยังลดจำนวนลงเรื่อยๆ ในขณะที่นักลงทุนยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 2 ปี และเต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลอเมริกัน ที่ต้องถือนานถึง 10 ปี ด้วยดอกเบี้ยหน้าตั๋วเพียงน้อยนิดไม่ถึง 1.5% นั้น นักลงทุนเหล่านั้นกำลังแสดงว่าพวกเขากลัวว่าเศรษฐกิจโลกจะซบเซา หรือจะเกิดภาวะเงินฝืดไปอีกนานหลายปี ไม่ว่าสิ่งที่นักลงทุนกลัวจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือมีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติมากๆ กำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกอยู่ในขณะนี้ “อะไรบางอย่าง” นั้นคือเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตราย และหายนะครั้งใหญ่ทางการเงินโลกกำลังจะเกิดขึ้น ขณะนี้เศรษฐกิจ กำลังอ่อนแอทั่วโลก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในกลุ่มประเทศ euro zone กำลังดิ่งลึก ตัวเลขคนมีงานทำที่เบาหวิวติดต่อกัน 3 เดือนของ สหรัฐฯ แสดงว่าการฟื้นตัวของสหรัฐฯ ก็กำลังมีปัญหา หันไปทางประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ ก็ดูเหมือนหัวจะชนเพดานแล้วเช่นกัน GDP ของบราซิลขณะนี้โตช้ากว่าของญี่ปุ่นเสียอีก ส่วนอินเดียก็กำลังแย่เลยทีเดียว แม้กระทั่งจีน

Read More

“ศูนย์กลางการค้าข้าว” เส้นทาง “ข้าวไทย” ในตลาดโลก

คำถามที่เกี่ยวเนื่องกับการก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ.2558 ที่น่าสนใจประการหนึ่งอยู่ที่ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวของโลกจะใช้โอกาสนี้ในการปรับตัวและยกระดับสถานะการผลิต การค้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมข้าวไทยได้อย่างไร ทำอย่างไรที่จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรม ข้าวของไทยทั้งระบบ โดยเฉพาะชาวนาไทยที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ ข้าวเปลือก สามารถมีความมั่นคง และศักดิ์ศรีในอาชีพนี้ นอกเหนือจากการส่งออกข้าวคุณภาพดี ซึ่งเป็นที่ต้องการทั่วโลก สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศทั้งในแง่จำนวนและมูลค่า สุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (สายธุรกิจข้าวและอาหาร) และกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด ให้ทัศนะว่า AEC มีหลายมุมมองที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องให้ความสนใจ เพราะที่ผ่านมากลุ่มประเทศผู้นำเข้าอย่างประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีนโยบายให้หน่วยงานของรัฐผูกขาดการนำเข้า ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นประหนึ่งการปิดกั้นการทำการตลาด ข้าวไทยคุณภาพดี ระหว่างภาคเอกชนของไทยและภาคเอกชนของประเทศเหล่านั้น เพราะหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จะนำเข้าข้าวคุณภาพปานกลาง คือ ข้าวขาว 10-25% แทนที่จะนำเข้าข้าวหอมมะลิที่เป็นสินค้าคุณภาพจากไทย หากมีการเปิดเสรีทางการค้าจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนของไทยร่วมมือกับภาคเอกชนของประเทศเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น และสามารถสร้างตลาดข้าวคุณภาพดี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ ซึ่งอยากจะรับประทานข้าวหอมมะลิไทย ขณะเดียวกันในกรณีข้าวเปลือกและข้าวสารของประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศกัมพูชา ซึ่งผลิตได้ล้นเหลือจากการบริโภค

Read More

คาดเอเชียนำเข้าเพิ่มขึ้น

เอชเอสบีซีเผยบทวิเคราะห์การค้าโลก คาดอินเดียและจีนจะมีมูลค่าการนำเข้าเติบโตแซงหน้ามูลค่าการส่งออกในอีก 5 ปีข้างหน้า และมองว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลัก การคาดการณ์ของเอชเอสบีซี สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกที่เริ่มเห็นได้ชัดว่าตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตจากการส่งออกจะกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าในระดับโลก และเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโต ของเศรษฐกิจโลก จุฑามาส เรืองวณิช ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเครือข่ายธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ระบุว่าจีนและอินเดียเป็นคู่ค้าหลักของประเทศในแถบเอเชียรวมทั้งไทย การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของสองเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ในเอเชียจึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการเติบโตธุรกิจการค้ากับจีนและอินเดีย มูลค่าการนำเข้าของจีนจะเติบโตแซงหน้ามูลค่าการส่งออก ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5.1 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ เป็นผลจากความต้องการสินค้าทั่วไปและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกของจีนไปยังประเทศ ที่พัฒนาแล้วมีมูลค่าลดลง ขณะเดียวกันอินเดียจะกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกและนำเข้าที่เติบโตเร็วที่สุดของเอเชีย โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 5 และร้อยละ 7 ตามลำดับ ทั้งนี้จีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยมูลค่าส่งออก ของไทยไปจีนคิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าส่งออกรวม ซึ่งสูงกว่า การส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอย่างมาก การนำเข้าที่เติบโตเพิ่มขึ้นของจีนจะช่วยกระตุ้นการส่งออกของไทย ในครึ่งปีหลัง ในช่วงเวลาที่สหภาพยุโรปยังอยู่ในภาวะถดถอย การนำเข้าของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจหลักของ เอเชียเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลงทุนเพื่อก่อสร้างและฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์น้ำท่วม รวมทั้งการลงทุนใหม่ โดยกระทรวงพาณิชย์เผยมูลค่าการส่งออกของไทย

Read More