Home > 2012 > กรกฎาคม (Page 2)

ยุคสินค้าช่วยโลก

ดูปองท์ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจให้บริการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2345 (ค.ศ.1802) เน้นการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น ทำธุรกิจในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ธุรกิจเคมี อาหารและการเกษตร การก่อสร้าง การสื่อสาร และการขนส่ง ในระยะปัจจุบันเทรนด์การตลาดของดูปองท์เน้นไปในทิศทางเดียวกับองค์กร ส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการคิดสินค้าที่มีประโยชน์ต่อผู้คนในด้านต่างๆ ที่นำไป สู่การลดการพึ่งพิงการใช้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล และนำเสนอนวัตกรรมรักษ์โลกให้มากขึ้น เพราะตอบโจทย์ทั้งธุรกิจที่ต้อง การสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกระแสการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นไม่เว้น แม้แต่ตลาดไทย ในยุคที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีการขยายตัวมากขึ้นเพราะได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบของพลังงานที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด ทำให้ความต้องการ อุปกรณ์อย่างแผงเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ สูงขึ้นตามไปด้วย ดูปองท์ก็มีบริษัทในเครือ ชื่อ ดูปองท์ อพอลโล เริ่มเข้าไปผลิต PV หรือแผงโซลาร์โฟโต้โวลทาอิคแบบฟิล์มบางซิลิกอนในจีนทั้งที่ฮ่องกงและเซินเจิ้น เพื่อตอบสนองตลาดนี้ทันทีตั้งแต่ปี 2551 การเข้ามาตั้งฐานผลิตในจีนของดูปองท์ มีเป้าหมายที่จะส่งสินค้าเข้ามาทำ ตลาดในไทยโดยตรง เพราะศึกษานโยบาย ด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทยแล้วพบว่าไทยมีแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกในช่วงปี 2555-2564 ให้เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยมีการปรับเป้าหมายผลิตและใช้พลังงานทดแทนรวมจาก 20% เป็น 25% ซึ่งปัจจุบันการผลิตส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากน้ำมันและก๊าซเป็นหลัก

Read More

Eco Town มีอยู่จริง…หรือเปล่า

อุตสาหกรรมกับชุมชนอยู่รวมกันได้จริงหรือ ในที่นี้หมายถึงอุตสาหกรรมหนักประเภทโรงกลั่น ปิโตรเคมี ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมรีไซเคิล ซึ่งจะสะท้อนโอกาสของการสร้างอีโคทาวน์ (Eco Town) ในไทยว่าจะเป็นไปได้จริงไหม “จะเป็นอีโคทาวน์ควรจะคิดตั้งแต่ 30 ปีที่แล้วที่เริ่มโครงการมาบตาพุด แต่ตอนนี้แม้แต่ที่รัฐบาลบอกว่าควรจะลดเขตอุตสาหกรรมเก่า แต่พื้นที่อุตสาหกรรมยังขยายเพิ่มขึ้น” พัชรี ชาวบ้านจากบ้านชาก ลูกหญ้า หนึ่งในชุมชนของมาบตาพุด สะท้อนปัญหามาบตาพุด เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มคนมาบตาพุดที่รวมตัวกันแจ้งปัญหามลพิษจากนิคมต่อรัฐบาลเมื่อปี 2550 ร่วมยื่นฟ้องชะลอโครง การอุตสาหกรรม 76 โครงการ รวมถึงเรียกร้องให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศเขตควบคุมมลพิษ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ตามข้อเรียกร้อง เพียงแค่มีการปรับเปลี่ยนเป็นแผนลดและขจัดมลพิษของคนมาบตาพุดแทน ส่วนการควบคุมมลพิษและเฝ้าระวัง ที่เห็นเป็นรูปธรรมคือการติดตั้งสถานีตรวจคุณภาพอากาศเพิ่มขึ้นในพื้นที่รอบนิคม เป็น การตรวจวัดกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ VOC โดยกลุ่มอุตสาหกรรมร่วมกันเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ แต่กระนั้นสถานีตรวจ วัดเหล่านี้ก็ไม่ได้สร้างความไว้วางใจให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างพัชรีเท่าไรนัก ‘ตอนโรงงานบีเอสซีระเบิด สถานีตรวจวัดยังโชว์สัญลักษณ์หน้ายิ้ม (แสดงว่าอยู่ในภาวะปกติ) อยู่เลย” พัชรีบอก สิ่งที่เธอกังขามาตลอดในการอาศัยอยู่ในชุมชนใกล้นิคมก็คือเพราะเหตุใดหน่วย งานต่างๆ ยังทนเห็นความเจ็บป่วยของคนมาบตาพุดอยู่ได้ เธอบอกว่าทุกวันนี้พื้นที่ชุมชนมาบตาพุดยังมีค่าของสารเคมี 3 ตัวที่เกินมาตรฐานมาตลอด ได้แก่ ไวนีลคลอไรด์

Read More

Mekong Stream กรกฎาคม 2555

จีน “สนามบินฉังสุ่ย” นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนัน เปิดใช้อย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อปลายเดือนมิถุนายน สนามบินฉังสุ่ยถือเป็นสนามบินฮับอันดับ 4 ของประเทศ รองจากสนามบินปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว แผ่ขยายไปยัง 14 เมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน 18 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ มีพื้นที่อาคารผู้โดยสารมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 38 ล้านคน จำนวนไปรษณีย์ขนส่งสิ่งของได้กว่า 950,000 ตัน เครื่องบินขึ้นลงกว่า 303,000 เที่ยว ในระยะยาวคาดว่าจะรับนักท่องเที่ยวได้กว่า 65 ล้านคน จำนวนขนส่งสินค้า 2,300,000 ตัน และเครื่องบินขึ้นลง 456,000 เที่ยว พม่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา เสนอชื่อเดเร็ค มิตเชลล์ ให้ดำรงตำแหน่งทูตสหรัฐฯ ประจำพม่า ถือเป็นการแต่งตั้งทูตไปประจำพม่าคนแรกในรอบ 2 ทศวรรษ หลังจากพม่าได้มีการปฏิรูป วุฒิสภาของสหรัฐฯ ต่างสนับสนุนการแต่งตั้งมิตเชลล์ ขณะเดียวกัน บรรดาวุฒิสมาชิกกำลังกดดันฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโอบามาให้พิจารณาอนุญาตให้บริษัทด้านพลังงานของสหรัฐฯ

Read More

เศรษฐกิจท้องทะเลเวียดนามต้องการสันติ

เวียดนามวางยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเอาไว้ โดยมีเป้าหมายให้มีสัดส่วนถึง 55% ของ GDP ในอีก 8 ปีข้างหน้า แต่ตัวแปรที่จะทำให้เป็นไปตามเป้าหมายได้คือ “สันติ” เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาประเทศเวียดนามมีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “เศรษฐกิจทะเลเวียดนาม” ครั้งที่ 3 ประจำปี 2555 ขึ้นที่จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ในกรอบงานสัปดาห์ทะเลและเกาะเวียดนาม สะท้อนวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน และวันมหาสมุทรโลก 8 มิถุนายน 2555 บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมงานเสวนา ได้นำเสนอภาพกว้างๆ เกี่ยวกับลักษณะพิเศษ กิจกรรมเศรษฐกิจทะเลของเวียดนาม และศักยภาพ รวมถึงจุดแข็งการพัฒนาเศรษฐกิจทะเล ตามยุทธศาสตร์ทะเลเวียดนามถึงปี 2563 บนเวทีเสวนามีการให้ความเห็นว่าเวียดนามต้องพัฒนาฐานเทคโนโลยีทางทะเลที่ทันสมัยและสามารถสัมฤทธิผล มีความสามารถบูรณาการสากล มีวิธีการจัดการทะเลโดยรวมตามช่วงเวลา และเครื่องมือวางผังทางทะเล ผู้แทนบางคนเสนอว่า เวียดนามต้องกำหนดนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจทะเล ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละเขต ผู้แทนกระทรวงแผนและการลงทุนได้กล่าวว่า ปีต่อๆ ไป เวียดนามยังคงต้อง ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะต้องการเงินทุนมากที่สุด คาดว่าประมาณหลายแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่แหล่งเงินลงทุนต่างประเทศ ซึ่งจดทะเบียนประกอบการในท้องถิ่นที่ติดกับทะเลในช่วงเวลาที่ผ่านมามีเพียงประมาณเกือบ 30,000

Read More

ภูวเรศ กองวัฒนาสุภา มืออาชีพที่ไม่เคยมีเจ้านายเป็นคนไทย

ปี 2000 (พ.ศ.2543) ที่สุกสะหมอน สีหะเทพ ได้ก่อตั้งบริษัทมะนียม ออโต กรุ๊ปขึ้นมานั้น เป็นปีที่ภูวเรศ กองวัฒนาสุภา เพิ่งเรียนจบบัญชีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภูวเรศเป็นชาวจังหวัดแพร่ที่เข้ามาเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ 4 ปีแรก หลังเรียนจบจากรามคำแหง เขาได้เข้าไปทำงานอยู่ในฝ่ายบัญชีของบริษัทหลายแห่ง แต่ทุกแห่งไม่ใช่บริษัทของคนไทย ล่าสุดก่อนย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทำงาน อยู่ใน สปป.ลาว ภูวเรศมีตำแหน่งเป็น CFO ให้กับออกซแฟม สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ในสังกัด มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เขาทำงานกับออกซแฟมอยู่ประมาณ 10 เดือน ทางบริษัท RMA Group ได้ติดต่อมาพร้อมเสนอตำแหน่งงานใน สปป.ลาวให้กับเขา (รายละเอียดของ RMA Group สามารถหาอ่านได้จากเรื่อง “RMA Laos สำหรับฟอร์ด ขอแค่ที่ 2” นิตยสารผู้จัดการ 360° ฉบับเดือนพฤษภาคม 2554 หรือใน

Read More

ธุรกิจที่เริ่มต้นจากมินิมาร์ท

ตามความเชื่อของนักธุรกิจชาวลาวส่วนหนึ่งนิยมนำชื่อของ ภรรยามาใช้เป็นชื่อของกิจการ เพราะเขาเหล่านั้นเชื่อว่าหากทำเช่นนี้แล้วกิจการที่ตั้งขึ้น จะเจริญรุ่งเรือง สุกสะหมอน สีหะเทพ ก็เช่นกัน ชื่อ “มะนียม” ที่เขานำมาใช้เป็นชื่อกิจการในธุรกิจรถยนต์ ของเขาก็มาจากชื่อของภรรยาเขาเอง สุกสะหมอนเป็นคนปากเซ เมืองหลักของแขวงจัมปาสัก ทางภาคใต้ของ สปป.ลาว จบการศึกษามาจากเวียดนาม ช่วงที่ สปป.ลาวเริ่มเปิดประเทศ ตามวิสัยทัศน์ “จินตนาการใหม่” ของท่านไกสอน พมวิหาร ในช่วงทศวรรษ 1990 นั้น สุกสะหมอนได้เริ่มต้นธุรกิจของตัวเองด้วยการเปิดร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดในลักษณะคล้ายมินิมาร์ท แต่ด้วยความที่มีใจชอบรถยนต์เป็นการส่วนตัว เขาหารายได้ เสริมด้วยการซื้อรถใช้แล้วในลาวขณะนั้นมาจอดขายหน้าร้านมินิมาร์ท “ตอนนั้นก็ซื้อรถมาทีละคันสองคัน มาจอดโชว์ที่หน้าร้าน พอทำแล้วก็เห็นว่าไปได้ดี ก็คิดว่าน่าจะถูกกับอาชีพนี้ ก็เลยแยกออก มาทำเป็นร้านซื้อขายแลกเปลี่ยนรถ”สุกสะหมอนเคยให้สัมภาษณ์ผู้จัดการ 360 ํ เอาไว้เมื่อปลายปี 2010 (พ.ศ.2553) ปี 1995 (พ.ศ.2538) สุกสะหมอนได้ตั้งบริษัทมะนียม ออโต้ เซอร์วิสขึ้นเพื่อทำธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถ นอกจากรถมือสอง แล้วยังขายรถใหม่ด้วยการเป็นซับดีลเลอร์ให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยี่ห้อต่างๆ ที่มีอยู่ในลาวขณะนั้น “สมัยก่อนร้านขายรถในเวียงจันทน์มีอยู่

Read More

“มะนียม กรุ๊ป” เมื่อตัดสินใจก้าวขึ้นเวทีระดับภูมิภาค

ต่อไปชื่อ “มะนียม” จะยิ่งสะดุดหูคนฟังที่กำลังสนใจตลาดรถยนต์ในลาวมากขึ้นในฐานะบริษัทที่เป็นเจ้าของโชว์รูม Chevrolet ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่ในเวียงจันทน์ จากเจ้าของมินิมาร์ทเล็กๆ ที่ใจรักเรื่องรถยนต์ เริ่มก้าวเข้าสู่ธุรกิจยานยนต์ด้วยการซื้อรถเก่า มาจอดหน้ามินิมาร์ทเพื่อขายต่อ ครั้งละคันสองคันเมื่อ 17 ปีก่อน 2 ปีมานี้ มะนียม ออโต กรุ๊ปได้เข้ามาสู่ช่วงของการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ประมาณมูลค่าเม็ดเงินที่สุกสะหมอน สีหะเทพ ประธานบริษัทมะนียม ออโต กรุ๊ปได้ควักกระเป๋าลงทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) และยังมีโครงการต่อเนื่องที่ยังต้องใช้เงินลงทุนอีกจำนวนมาก มะนียม ออโต กรุ๊ป เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี 2000 (พ.ศ.2543) ประกอบธุรกิจเป็นผู้นำเข้ารถยนต์อิสระ โดยสั่งรถจากแหล่งผลิตทั่วโลกเข้ามาจำหน่ายใน สปป.ลาว (รายละเอียดอ่าน “ธุรกิจที่เริ่มต้นจากมินิมาร์ท” ประกอบ) ด้วยสภาพตลาดรถยนต์ในลาวที่เริ่ม ขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี 2005 (พ.ศ.2548) ส่งผลให้กิจการของมะนียมขยายตัวสูงขึ้นตามสภาพตลาด ก่อนปี 2010 (พ.ศ.2553) ชื่อมะนียม

Read More

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด

เป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋องและอาหารแมวบรรจุกระป๋อง โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ คือปลาโอดำ (Tonggol) และปลาโอลาย (Bonito) ผลิตประมาณ 6 ตันต่อวัน หรือ 3 ล้านกระป๋อง อย่างไรก็ดี บริษัทมีบทบาทในการผลิต 2 ส่วน คือรับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) และผลิตให้กับสินค้าในเครือ แบรนด์ Chicken of the sea ในสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการผลิตอย่างละครึ่ง 50:50 ผลิตภัณฑ์ 98% จะส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศเป็นหลัก ส่งออกไปทุกทวีปทั่วโลก สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง อเมริกาใต้ และตลาดเอเชีย ส่วนในประเทศขายเพียง 2% ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋องตราซีเล็คในน้ำมัน น้ำเกลือ และปลาทูน่าพร้อมปรุงตามสูตรอาหารไทย เช่น แกงเขียวหวานทูน่า ทูน่าผัดพริก

Read More

แรงงาน ความเสี่ยงอนาคต

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทในเครือของ บมจ.ทียูเอฟมีแรงงานพม่า เขมร จำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ จากพนักงานทั้งหมด ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต อาจกลายเป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด (TUM) ก่อตั้งเมื่อปี 2520 ในจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋องและอาหารแมวบรรจุกระป๋อง เป็นบริษัทในเครือของ บมจ.ทียูเอฟ ทำหน้าที่ส่งออกสินค้า 98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 2 เปอร์เซ็นต์จำหน่ายในประเทศ จากจุดเริ่มต้นของการผลิตบริษัทมีพนักงานเพียง 120 คน แต่ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานทั้งหมด 8,000 คน ซึ่งเติบโตไปตามการขยายธุรกิจของกลุ่มทียูเอฟที่มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะรายได้เติบโตปีละ 40 เปอร์เซ็นต์ หากมองในมุมการเจริญเติบโตของธุรกิจจะเห็นว่าค่อนข้าง ดี แต่มิได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เพราะสิ่งที่กลุ่มทียูเอฟกำลังเผชิญหน้าอยู่ขณะนี้คือค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และแรงงานต่างชาติ ค่าแรงขั้นต่ำกำลังส่งผลกระทบให้ต้นทุนการบริหารงานขยับตัวสูงขึ้น ในขณะที่แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในโรงงานส่วนใหญ่จะมาจากประเทศพม่าและกัมพูชา อย่างเช่นบริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม

Read More

ไกรสร จันศิริ วัย 77 ปี ยังสนุกกับการทำงาน

แม้ว่าวัยของไกรสร จันศิริ จะ 77 ปีแล้วก็ตาม แต่เขาก็ยังสนุกกับการทำงานร่วมกับธีรพงศ์ ผู้บริหารรุ่น 2 ทำให้ทุกวันนี้ เขายังทำงานอยู่ ไกรสร จันศิริ ประธานกรรมการ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือทียูเอฟ แม้วัยจะล่วงเลย 77 ปี แต่ความจำและสุขภาพของเขายังแข็งแรง ทำให้เขายังร่วมทำงานกับธีรพงศ์ จันศิริ วัย 47 ปี ทายาทคนโต และมีความสุขกับการได้เห็นความ สำเร็จขององค์กรที่สามารถไปยืนอยู่ในตลาดโลกได้อย่างภาคภูมิ จนทำให้เขาได้รับรางวัลบุคคลแห่งปี 2554 จากมูลนิธิสัมมาชีพ ชีวิตของไกรสรผู้ก่อตั้งทียูเอฟผ่านความยากลำบาก มีทั้งหยาดเหงื่อและน้ำตา เริ่มจากเป็นเด็กชงน้ำชา หุงข้าว ส่งหนังสือ พิมพ์ และพนักงานขายผ้าในสำเพ็ง แต่ด้วยความขยันขันแข็งทำให้เขาสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวเริ่มมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก่อตั้งบริษัท มีโรงงานรับจ้างผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง ธุรกิจเริ่มต้นจากพนักงาน 150 คน ปัจจุบันมี 30,000 คน รายได้จาก 1

Read More