Home > Vanida Toonpirom (Page 25)

“คนจับปลา” จากชาวประมง ส่งตรงถึงผู้บริโภค คนอยู่ได้ ทะเลอยู่รอด

อาหารทะเลเป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่เคยสงสัยไหมว่า ปลาหนึ่งตัวที่อยู่บนโต๊ะอาหารนั้น มีที่มาอย่างไร ถูกจับมาจากที่ไหน โดยวิธีการอะไร และมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด นับเป็นความโชคดีที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่มีความหลากหลายและสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล ที่เป็นทั้งแหล่งอาหารให้กับคนในประเทศและสามารถส่งออกสร้างรายได้มหาศาล แต่ปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลที่มีอยู่กำลังถูกทำลาย ความอุดมสมบูรณ์ค่อยๆ ลดน้อยถอยลง การทำประมงเกินขนาดที่เน้นปริมาณและขาดความรับผิดชอบคือหนึ่งในตัวการที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล สัตว์น้ำวัยอ่อนที่สมควรได้เติบโตกลับถูกจับทั้งที่ยังไม่โตเต็มวัย ทำให้ทะเลไทยเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว และกำลังกลายเป็นวิกฤตอาหารทะเลที่ถูกซ่อนเอาไว้ จนผู้บริโภคไม่ทันได้ตระหนัก วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย ได้เปิดเผยถึงสถิติการจับสัตว์น้ำทะเลที่น่าสนใจไว้ว่า “ปี 2562 ประเทศไทยมีปริมาณการจับสัตว์น้ำทะเลโดยรวมกว่า 1,500,000 ตัน มาจากการประมงพาณิชย์ 1,249,203 ตัน และจากประมงขนาดเล็กหรือประมงพื้นบ้าน 161,462.36 ตัน จากปริมาณสัตว์น้ำจำนวนมหาศาลที่จับได้โดยการประมงพาณิชย์ พบว่ามีเพียง 50% เท่านั้นที่สามารถนำมาบริโภคได้ แต่อีก 50% กลับไม่ได้คุณภาพ เป็นสัตว์น้ำทะเลวัยอ่อนที่ยังไม่โตเต็มวัย ซึ่งจะถูกนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ในที่สุด นั่นทำให้อาหารทะเลมีราคาแพง ในขณะที่ผลผลิตจากการประมงพื้นบ้านเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณภาพถึง 90% แม้ผลผลิตที่ได้จะน้อยกว่ามากแต่กลับมีคุณภาพมากกว่า” ซึ่งนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทยมองว่า เราอาจไม่สามารถกล่าวได้ว่าประมงพาณิชย์คือตัวการสำคัญในการทำลายความสมบูรณ์ของทะเล แต่การทำประมงโดยใช้เครื่องมือที่ทำลายล้างและเกินขนาด อันเป็นการทำประมงที่ขาดความรับผิดชอบต่างหากคือตัวการแห่งความเสื่อมโทรมของท้องทะเลไทย คำถามต่อมาคือ เครื่องมือทำลายล้างเหล่านั้นมีอะไรบ้าง? เครื่องมือประมงที่ถือเป็นตัวทำลายล้าง ประกอบไปด้วย “อวนลาก”

Read More

“จิรศักดิ์ มีฤทธิ์” จากกองปราบปลา สู่ผู้พิทักษ์

“ผมเป็นชาวประมงอยู่กับทะเลมาตั้งแต่เกิด พ่อเป็นชาวประมง ตอนเด็กๆ เราเห็นเขาออกเรือหาปลาทุกวัน พออยู่ ป.5 ก็ตามพ่อไปออกทะเลหาปลากับเขาด้วย จนจบ ป.6 ก็ไม่ได้เรียนต่อแล้วครับ ออกมาเป็นชาวประมงเต็มตัวเหมือนพ่อ” ประโยคเริ่มต้นง่ายๆ ที่ จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ ชาวประมงอ่าวคั่นกระได จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แนะนำตัวเอง ก่อนที่บทสนทนาเกี่ยวกับเส้นทางชีวิตชาวประมงและจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเขาจะดำเนินต่อไป จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ หรือ “บุช” เป็นชาวเลแต่กำเนิด มีพ่อเป็นชาวประมง และเติบโตมากับการออกเรือหาปลาตั้งแต่เด็กๆ เขาเริ่มตามพ่อออกเรือไปหาปลาตั้งแต่ตอนอยู่ ป.5 อายุเพียง 11 ปี และหลังจากจบ ป.6 จิรศักดิ์ตัดสินใจไม่เรียนต่อ แต่เลือกที่จะออกมาเป็นชาวประมงเต็มตัว ซึมซับวิถีแห่งการประมงพื้นบ้านจากพ่อและพี่ชายเรื่อยมา ณ เวลานั้น หรือราวๆ 30 ปีก่อน ทะเลอ่าวคั่นกระได จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยังคงอุดมสมบูรณ์ ออกเรือไปเพียงแค่ 5 นาทีก็สามารถจับปลาได้แล้ว อีกทั้งยังไม่มีพ่อค้าคนกลาง เมื่อจับปลามาได้ แม่จะเป็นคนหาบปลาไปขายที่ตลาดในตอนตี 5 ของทุกวัน

Read More

ปีแห่งความท้าทายของ KTC เร่งขยายสินเชื่อ-เป็นผู้นำครบวงจร

แม้จะเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจสินเชื่อและบัตรเครดิตที่สร้างผลกำไรนิวไฮมาตลอดหลายปี แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 และลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้บริษัทบัตรกรุงไทย หรือเคทีซี ต้องปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อระบบเศรษฐกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป พร้อมเร่งขยายธุรกิจสินเชื่อเพื่อกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและเพดานดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาลง การระบาดของโควิด-19 ในปีที่ผ่านมาทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ของเคทีซีได้รับผลกระทบ โดยเดือนเมษายน 2563 ยอดการใช้บัตรลดลงถึง 40% และกระทบในทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ อีกทั้งมาตรการลดเพดานดอกเบี้ยทั้งธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ ยังส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ของปี 2563 ลดลงกว่า 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ทำให้บริษัทต้องปรับตัวขนานใหญ่ ซึ่งปีที่ผ่านมา เคทีซีปรับตัวโดยเน้นการพัฒนากระบวนการทำงานทั้งระบบ (End to End Process Improvement) ลดความซ้ำซ้อนและซับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพ มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งมีการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น และปรับ Business Model โดยเดินหน้าสินเชื่อมีหลักประกันอย่าง “เคทีซีพี่เบิ้ม” ที่ครอบคลุมทั้งทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นหลัก เพื่อสร้างรายได้ทดแทนส่วนอื่น ทำให้ผลประกอบการ ณ สิ้นปี 2563 เคทีซียังคงสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 5,332

Read More

MBK จับมือ ดองกิ พัฒนาร้านคอนเซปต์ใหม่ Japan Town ยกระดับการช้อปปิ้งสไตล์ญี่ปุ่น

เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จับมือ ดองกิ ลงนามร่วมเป็นพันธมิตรเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ พัฒนาร้านคอนเซปต์ใหม่ Japan Town ยกระดับการช้อปปิ้งสไตล์ญี่ปุ่น ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ นำโดย นายสุเวทย์ ธีรวชิรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดองกิ (ประเทศไทย) จำกัด นำโดยนายโยซูเกะ ชิมานุกิ ประธานกรรมการ ร่วมลงนามเป็นพันธมิตรเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ระหว่างศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ และ ดองกิ ประกาศความพร้อมพัฒนาคอนเซปต์สโตร์รูปแบบใหม่ Japan Town ยกระดับการช้อปปิ้งสไตล์ญี่ปุ่นเป็นจุดศูนย์กลางของเทรนด์ใหม่ๆ จากญี่ปุ่น มัดใจนักช้อป พร้อมส่งต่อโอกาสสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนไทย นายสุเวทย์ ธีรวชิรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท

Read More

จาก Dine in the Dark สู่ Dots Coffee ทลายกรอบมุมมองต่อผู้พิการทางตา

ย้อนไปเมื่อปี 2555 ร้านอาหารที่มาพร้อมกับคอนเซ็ปต์รับประทานอาหารท่ามกลางความมืดสนิท โดยมีผู้พิการทางสายตาคอยให้บริการ อย่าง “Dine in the Dark” กลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ และอยู่ในความสนใจของสังคม เพราะนอกจากเป็นการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในมื้ออาหารแล้ว อีกทางหนึ่งยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของผู้พิการอีกด้วย จุดเริ่มต้นของ Dine in the Dark เกิดขึ้นที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1999 ก่อนขยายไปตามร้านอาหารต่างๆ ทั้งในเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ รวมถึงประเทศไทย โดยมี Mr. Julien Wallet-Houget เป็นผู้นำคอนเซ็ปต์ดินเนอร์ในโลกมืดนี้เข้ามาในเมืองไทย โดยเปิดครั้งแรกที่โรงแรมแอสคอท เมื่อ พ.ศ. 2555 ก่อนที่จะย้ายไปยังโรงแรมเชอราตันแกรนด์สุขุมวิท ในปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน คอนเซ็ปต์ของ Dine in the Dark คือการให้ลูกค้าได้ลองสัมผัสประสบการณ์อยู่ในโลกมืดของผู้พิการทางสายตา เพื่อเปิดประสาทรับรสและประสาทส่วนอื่นอย่างเต็มที่ โดยมีผู้พิการทางสายตาเป็นพนักงานเสิร์ฟ นำทาง และคอยให้คำแนะนำกับลูกค้า

Read More

Dirty Coffee ความเปรอะเปื้อนที่กลมกล่อม

“Dirty Coffee ต้องใช้เวลาสักครู่นะครับ” เสียงตอบกลับจากบาริสต้าประจำร้าน เมื่อได้รับออเดอร์เป็น Dirty coffee เมนูกาแฟชื่อแปลกหูแต่แฝงไว้ด้วยรสชาติที่กลมกล่อม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กาแฟชื่อชวนสงสัยแก้วนี้ได้รับความนิยมจากบรรดาคอกาแฟเป็นอย่างมาก ร้านกาแฟหลายร้าน โดยเฉพาะร้านกาแฟประเภท Specialty coffee หรือกาแฟพิเศษ ต่างบรรจุเมนูนี้ไว้ในลิสต์เพื่อดึงดูดลูกค้า จนกลายเป็นตัวชูโรงให้กับบางร้านไปเลยทีเดียว แต่หลายคนคงมีคำถามผุดขึ้นในใจว่า Dirty Coffee คืออะไร ทำไมใช้คำว่า dirty ที่แปลว่า สกปรก มาผสมกับเครื่องดื่มอย่างกาแฟ และทำไมถึงกลายเป็นที่นิยมชมชอบอยู่ในชณะนี้ จริงๆ แล้ว Dirty Coffee คือกาแฟนมที่เสิร์ฟแยกชั้นกันอย่างชัดเจนและต้องเสิร์ฟมาในแก้วใสแช่เย็นไม่ใส่น้ำแข็ง ด้านล่างเป็นชั้นสีขาวของนมสดที่แช่มาจนเย็น ส่วนด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้มของ espresso shot หรือ ristretto shot ที่ค่อยๆ ไหลแทรกซึมเข้ากับชั้นของนมด้านล่าง ก่อให้เกิดลวดลายเฉพาะตัว เขรอะนิดๆ อาร์ตหน่อยๆ อันเป็นที่มาของชื่อ Dirty Coffee เมนูกาแฟที่โดดเด่นทั้งรูปลักษณ์และรสสัมผัสที่มีเอกลักษณ์ ต้นกำเนิดของกาแฟแก้วพิเศษนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก โดยมาจากการสร้างสรรค์ของ “คัตซึยูกิ ทานากะ”

Read More

Staycation หย่อนใจ ใกล้บ้าน

การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมในการพักผ่อนหย่อนใจที่เป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆ คน แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้การเดินทางมีข้อจำกัด อีกทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้เราต้องหันมารัดเข็มขัดและคุมเข้มกับการจับจ่ายใช้จ่ายกันมากขึ้น รูปแบบการท่องเที่ยวจึงต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เที่ยวใกล้บ้าน เดินทางง่าย สบายกระเป๋า ตามสไตล์ “Staycation” จึงกลายมาเป็นตัวเลือกที่กำลังมาแรงในหมู่คนชอบเที่ยวอยู่ในขณะนี้ Stay + Vacation = Staycation “Staycation” มาจากคำว่า “Stay” บวกกับ “Vacation” คำ 2 คำที่มีความหมายที่ดูขัดกัน แต่เมื่อนำมาผสมเข้าด้วยกันกลับกลายเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวและพักผ่อนที่มีเสน่ห์ในตัวเอง Staycation เป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนในละแวกท้องถิ่นที่เราอยู่ เดิมทีหมายถึงการพักร้อนอยู่กับบ้าน โดยอาจจะปรับเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน ทำกิจกรรมใหม่ๆ แต่ในระยะหลังยังหมายรวมถึงการท่องเที่ยวในเมืองและในท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ด้วยเช่นกัน เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เราได้หันมาทำความรู้จักกับพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ด้วยมุมมองใหม่ เหมือนเราเป็นนักท่องเที่ยวในบ้านของตัวเอง ไลฟ์สไตล์แบบ Staycation เริ่มเป็นที่แพร่หลายในหมู่อเมริกันชนในช่วงเกิดวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hamburger Crisis ซึ่งเกิดในช่วงปี 2007-2010 วิกฤตครั้งนั้นทำให้คนอเมริกันต้องระมัดระวังเรื่องการใช้เงิน เลยหันมาเที่ยวในเมืองที่อาศัยอยู่แทนเพราะค่าใช้จ่ายไม่สูง เช่นเดียวกับทางฟากเกาะอังกฤษ ซึ่งความนิยมในการพักผ่อนแบบนี้เกิดขึ้นในราวๆ ปี 2009 เป็นช่วงที่เงินปอนด์อ่อนค่าลง ทำให้ชาวอังกฤษเลือกที่จะ Staycation แทนการเดินทางไป Vacation ในที่ไกลๆ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

Read More

สถาบันการเงินปรับตัว เสริมสภาพคล่อง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงชะงักงัน อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงไม่คลี่คลาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้น ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กและเอสเอ็มอี หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงินและภาครัฐต่างเร่งเสริมสภาพคล่องเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่มีอยู่รอบด้าน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงสภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ของปี 2563 พบจีดีพี -12.2% ต่อปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1 ที่ผ่านมา และคาดว่าทั้งปีจะปรับตัวลดลง -7.8% ถึง -7.3% ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดไว้ว่าจะหดตัวอยู่ที่ -5.5% ต่อปี สถานการณ์การจ้างงานไตรมาส 2 ผู้มีงานทำมีจำนวน 37.1 ล้านคน โดยตัวเลขการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราว่างงานปกติ ถือเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2552 โดยสาเหตุหลักมาจากการเลิกจ้างและธุรกิจปิดกิจการ ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไตรมาส 2

Read More

ระเฑียร ศรีมงคล เร่ง Re-engineering องค์กร นำ KTC ฝ่าวิกฤต

“วิกฤตครั้งนี้หนักกว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 อาจจะหนักที่สุดในรุ่นอายุของเรา และที่สำคัญมันทำให้ธุรกิจบัตรเครดิตเปลี่ยนไปอย่างถาวร” ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบัตรกรุงไทย (เคทีซี) กล่าวกับผู้จัดการ 360 องศา ถึงการระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อธุรกิจบัตรเครดิตอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างและซึมลึกจนหลายฝ่ายมองว่าแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้อาจจะกลายเป็นสึนามิทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลก หลายธุรกิจที่ไม่สามารถทนต่อบาดแผลทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ ต้องประกาศล้มละลายหรือปิดตัวลง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจที่ยังอยู่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เช่นเดียวกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “เคทีซี” ผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรนิวไฮมาได้ต่อเนื่องถึง 7 ปีซ้อน แต่วิกฤตโควิดครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรไม่น้อยเช่นกัน ทำให้ต้องเร่ง Re-engineering องค์กร หากลยุทธ์ที่จะนำพาเคทีซีฝ่าวิกฤต โดยบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึงต้องเตรียมรับมือกับโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จากการแพร่ระบาดของไวรัสและการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และภาคการใช้จ่ายของประชาชน ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีและการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้ลดลง ยอดการใช้บัตรในเดือนเมษายน 2563 ลดลงถึง 40% โดยกระทบทุกเซกเมนต์ของธุรกิจ ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจด้าน

Read More

เรียนออนไลน์ สะท้อนความเหลื่อมล้ำ หรือโอกาสของการศึกษาไทย?

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อชีวิตผู้คนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังฉายภาพความเหลื่อมล้ำในมิติต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ในสังคมให้เห็นอย่างเด่นชัด ทั้งในแง่ของคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาอันเป็นฐานรากที่สำคัญของสังคม แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบริบทของการศึกษาของไทยด้วยเช่นกัน การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้รัฐบาลในหลายประเทศประกาศปิดสถานศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด สำหรับประเทศไทยคณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนการเปิดเทอมออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 พร้อมปรับการเรียนการสอนจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ในช่วงที่นักเรียนยังไม่สามารถไปเรียนที่โรงเรียนได้ตามปกติ เพื่อให้การเรียนรู้ไม่เกิดการชะงักงัน แต่ภาพการเรียนออนไลน์ที่เกิดขึ้น กลับเป็นไปบนความไม่พร้อมของทั้งบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน เทคโนโลยี ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็น อีกทั้งยังสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรให้เห็นเด่นชัด มีนักเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนรูปแบบใหม่นี้ได้ ข้อมูลที่น่าสนใจจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ระบุว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์และการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัลอยู่ในระดับต่ำ ยิ่งไปกว่านั้นนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน ยังอยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เมื่อผนวกกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัส การจัดหาอุปกรณ์สื่อสารเพื่อให้ลูกหลานเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้จึงดูจะเป็นไปได้ยากยิ่ง มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์สื่อสารที่จำเป็นและอินเทอร์เน็ตที่เพียงพอสำหรับนักเรียน รวมไปถึงการเร่งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการศึกษาชนิดที่ต้องเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว แต่อีกนัยหนึ่งยังถือเป็นการเปิดโอกาสในการปรับตัวและพัฒนาระบบการศึกษาของไทยในอนาคตอีกด้วย การเรียนออนไลน์ซึ่งเป็นมาตรการที่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นรูปแบบทางการศึกษาที่หลายฝ่ายเล็งเห็นความสำคัญและพยายามพัฒนานวัตกรรมขึ้นมารองรับ โดยที่จริงแล้วการเรียนออนไลน์นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียว ที่ผ่านมาประเทศที่มีการศึกษาชั้นนำอย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ยุโรป ต่างมีการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษา

Read More