Home > Vanida Toonpirom (Page 23)

ล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ปัญหาที่ไม่ควรถูกเมินเฉย

“การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก” เป็นข่าวคราวที่ไม่เคยห่างหายไปจากหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามสื่อออนไลน์ต่างๆ ทั้งที่เกิดจากคนในครอบครัว โรงเรียน หรือคนแปลกหน้า และนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ถือเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงและไม่ควรถูกเมินเฉยจากสังคม ตัวเลขเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายเท่าที่ปรากฏเป็นข่าวยังคงไม่ลดน้อยถอยลง และในบางกรณียังสร้างความสะเทือนใจให้เกิดขึ้นในสังคมเป็นอย่างมาก และเหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของเด็กโดยตรง และยังสร้างรอยแผลเป็นระยะยาวในชีวิตของเด็กจนเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวไว้ว่า เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรง การถูกทำร้าย การถูกละเลยทอดทิ้ง และการถูกแสวงประโยชน์ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก ตั้งแต่อาการบาดเจ็บทางกาย พัฒนาการ ความสามารถในการเรียนรู้ และผลการเรียนของเด็ก นอกจากนั้น ยังส่งผลเสียระยะยาวที่ติดตัวเด็กไปจนเป็นผู้ใหญ่ ในประเทศไทย มีเด็กที่ถูกกระทำรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ทั้งการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ถูกละเลยทอดทิ้งเป็นจำนวนไม่น้อย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในปี 2560 มีเด็กเกือบ 9,000 คนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากถูกทำร้าย โดยส่วนใหญ่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในขณะที่ ปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้เปิดเผยถึงสถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ของมูลนิธิฯ ประจำปี 2563 (ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 25 ธันวาคม 2563) รับเรื่องราวร้องทุกข์ทั้งสิ้น

Read More

CMO ขานรับนโยบายเปิดประเทศ เดินหน้าตามแผน เชื่อธุรกิจอีเวนต์ยังมีความหวัง

“ซีเอ็มโอ” ประกาศเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ขานรับนโยบายเปิดประเทศพร้อมเพิ่มทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ เชื่อธุรกิจอีเวนต์ยังไม่หมดหวัง ผู้ประกอบการต่างปรับตัวเน้นจัดกิจกรรมผ่านออนไลน์ หวังอีเวนต์ปลายปีกลับมาคึกคักรับไฮซีซัน มั่นใจปีหน้ารายได้กลับมาแตะ 1,400 ล้านบาท สถานกาณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2563 สร้างผลกระทบอย่างหนักหน่วงต่อธุรกิจอีเวนต์และซัปพลายเชน อย่างโรงแรม ศูนย์ประชุม ตลอดจนซัปพลายเออร์ที่ให้บริการเช่าอุปกรณ์ต่างๆ การจัดงานรูปแบบเดิมหรือออนกราวด์ถูกระงับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต้องปิดตัวลง หรือหยุดกิจการชั่วคราวเพื่อรอวันที่สถานการณ์คลี่คลาย และในขณะเดียวกันผู้ประกอบการต่างก็หาทางปรับตัวเพื่อให้กิจการอยู่รอดได้ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยปรับไปจัดงานในรูปแบบออนไลน์ หรือเวอร์ชวล อีเวนต์ (Virtual Event) แทน ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ไม่ว่าจะเป็นงานเปิดตัวสินค้า งานประชุม งานแฟชั่นโชว์ คอนเสิร์ต หรือแม้กระทั่งงานแฟนมีตติ้งระหว่างศิลปินและแฟนคลับ ซึ่งถึงแม้จะเป็นทางออกที่ดีในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งรายได้และอรรถรสของงานคงไม่สามารถเทียบเท่ากับการจัดงานในรูปแบบเดิมได้ แต่จากนโยบายการเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มีผลในวันที่ 1 พ.ย. ตลอดจนมาตรการคลายล็อกดาวน์และการยกเลิกเคอร์ฟิว ประกอบกับช่วงปลายปีที่ถือเป็นไฮซีซันและเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ถือเป็นสัญญาณบวกที่ทำให้ธุรกิจอีเวนต์เริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ผู้ประกอบการต่างคาดหวังการปลดล็อกสำหรับธุรกิจอีเวนต์ให้สามารถกลับมาจัดกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) หรือ CMO เปิดเผยว่า ก่อนการระบาดของโควิดธุรกิจอีเวนต์มีมูลค่าการตลาดหลักหมื่นล้านบาท หากสถานการณ์คลี่คลาย

Read More

Aged Society เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย

เมื่อไม่นานมานี้ “มิวเซียมสยาม” ได้จัดการประชุม Museum Forum 2021 ภายใต้หัวข้อที่น่าสนใจอย่าง “มิวเซียมสายตายาว มองการณ์ไกลเพื่อสังคมสูงวัย Far-sighted Museum: Sighting forward to Aging Society” เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และปฏิบัติการด้านพิพิธภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย ความจริงแล้วไทยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยมีประชากรผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 10.4% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึง ณ ปัจจุบัน ปี 2564 ไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยมีประชากรผู้สูงวัยในสัดส่วน 20% จากประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2578 อาจจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 30% องค์การสหประชาชาติแบ่งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึงมีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุ

Read More

“สาธร อุพันวัน” 16 ปี บนเส้นทางการศึกษา กับแนวคิด “EdTech & Lifelong Learning”

“เราเริ่มทำออนดีมานด์ในปี 2548 ด้วยความตั้งใจหลักคือต้องการพัฒนาการศึกษา สร้างโอกาสให้กับเด็กไทย และช่วยพัฒนาสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ออนดีมานด์ไม่ใช่แค่โรงเรียนกวดวิชา แต่มันคือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษาได้” บทสนทนาเริ่มต้นระหว่าง “ผู้จัดการ 360” กับ “สาธร อุพันวัน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด และผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ สถาบันกวดวิชาอันดับหนึ่งของประเทศ กับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาการศึกษาของไทยที่ดำเนินมากว่า 16 ปี จากบัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาธรเริ่มต้นการทำงานในภาคการเกษตรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ราวๆ 6-7 ปี ก่อนที่จะเบนเข็มสู่เส้นทางธุรกิจด้านการศึกษา จากคำชวนของ โหน่ง-สุธี อัสววิมล ผู้ที่มีบทบาทสำคัญและเป็นอีกหนึ่งผู้ร่วมก่อตั้งออนดีมานด์ สาธรเล่าว่า “เรามีโอกาสเข้าไปทำโปรเจกต์โรงเรียนในโรงงาน ไปช่วยสอนหนังสือพี่ๆ ป้าๆ ที่เป็นพนักงานในโรงงานดอกไม้ประดิษฐ์ที่โหน่งเขาทำอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ ปรากฏว่าผ่านไป 6 เดือน ป้าๆ สามารถอ่านออกเขียนได้ เหมือนเขาได้ชีวิตใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรามาทำงานด้านการศึกษาในรูปแบบการส่งเสริมการศึกษาในภาคเอกชน เพราะเราเชื่อว่าการศึกษามันช่วยพัฒนาสังคมได้” นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทั้งสองคนร่วมกันก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนดีมานด์ขึ้นในปี 2548 เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยเป็นโรงเรียนกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นรายแรกๆ ในเมืองไทย ซึ่งแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่ในยุคนั้น “ในสมัยนั้นอุปกรณ์ต่างๆ แพงมาก

Read More

คิดต่างอย่าง “OnDemand” กับคอนเซ็ปต์ที่เป็นมากกว่าโรงเรียนกวดวิชา

ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง มีผู้ประกอบการจำนวนมากทั้งรายใหญ่รายย่อยกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่จากวิกฤตโควิด-19 และการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้ธุรกิจกวดวิชาต่างได้รับผลกระทบและต้องเร่งปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในขณะที่โรงเรียนกวดวิชาหลายแห่งกำลังปรับตัว บางแห่งสามารถไปต่อได้ แต่บางแห่งจำเป็นต้องปิดตัวลงหรือยุบรวมสาขาเพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ “ออนดีมานด์” (OnDemand) สถาบันกวดวิชาเบอร์ต้นๆ ของเมืองไทย กลับยืนหยัดและยังคงศักยภาพในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางโจทย์ยากที่ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชากำลังเผชิญ “ตั้งแต่วันแรกที่เราตัดสินใจทำออนดีมานด์ เราไม่ได้วาดภาพของการเป็นโรงเรียนกวดวิชา แต่ออนดีมานด์คือช่องทางที่ทำให้เราในฐานะเอกชนสามารถเข้าสู่เส้นทางในการพัฒนาการศึกษาของเด็กไทยได้ เพราะฉะนั้นการออกแบบการเรียนการสอน การจัดรูปแบบองค์กร จึงแตกต่างจากโรงเรียนกวดวิชาทั่วไป” สาธร อุพันวัน ผู้ก่อตั้งออนดีมานด์ เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360” ถึงความเป็นมาของสถาบันกวดวิชาที่คิดต่างตั้งแต่เริ่มต้น ย้อนกลับไปในปี 2548 ในยุคสมัยที่รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่เป็นการเรียนในห้องเรียนหรือผ่านทีวี แต่ออนดีมานด์เป็นสถาบันกวดวิชาที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนแบบหนึ่งต่อหนึ่งรายแรกในเมืองไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับแวดวงกวดวิชาในยุคสมัยนั้น สาธรอธิบายแนวคิดของออนดีมานด์เพิ่มเติมว่า เพราะจุดตั้งต้นในการสร้างออนดีมานด์คือต้องการพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กไทย ดังนั้นจึงพยายามหาวิธีการเรียนการสอนที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนมากที่สุด จึงกลายเป็นที่มาของการใช้คอมพิวเตอร์ในการสอน เพราะเชื่อว่าเทคโนโลยีคือเครื่องมือที่สามารถช่วยพัฒนาระบบการศึกษาได้ การเรียนการสอนของออนดีมานด์นอกจากเรียนจากครูผู้สอนโดยตรงในห้องแล้ว ผู้เรียนยังสามารถเรียนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถกำหนดเวลาเรียน จะหยุดจะเริ่มตรงไหน ปรับความเร็ว/ช้า เหมือนปรับสปีดเวลาดูยูทูบได้ตามความต้องการของผู้เรียน ตรงตามคอนเซ็ปต์ของคำว่า “OnDemand” อีกทั้งยังมีทีมวิชาการที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชาคอยให้คำแนะนำและหาคำตอบให้กับผู้เรียนผ่านระบบหลังบ้านอย่าง “clear” เพียงผู้เรียนแคปเจอร์หน้าจอในบทเรียนที่ไม่เข้าใจส่งเข้าระบบ ทีมวิชาการจะเป็นผู้หาคำตอบและอธิบายเพิ่มเติมให้กับผู้เรียนตลอด 24 ชั่วโมง และคอยช่วยครูผู้สอนอีกทางหนึ่ง นอกจากภาควิชาการแล้ว สิ่งที่ทำให้ออนดีมานด์ต่างจากสถาบันกวดวิชาอื่นๆ คือ เพิ่มการแนะแนวให้กับเด็กๆ

Read More

ดับบลิวเอชเอ เดินหน้าธุรกิจโค้งสุดท้าย เชื่อมั่นเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อยอดขายที่ดินอุตสาหกรรมในประเทศไทยอันเนื่องมาจากการระงับการเดินทางชั่วคราว แต่ความต้องการที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมของกลุ่มลูกค้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่อง รายงานจากวิจัยกรุงศรี ระบุว่า ณ สิ้นปี 2563 ยอดขายและเช่าที่ดินนิคมอุตสาหกรรมสะสมทั่วประเทศรวมเป็นพื้นที่ 123,861 ไร่ หรือคิดเป็น Occupancy rate ที่ 76.4% ลดลงจาก 77.5% ในปี 2562 แต่คาดการณ์ว่าช่วงปี 2564-2566 ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเติบโต โดยคาดว่ายอดขายและให้เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม ช่วง 3 ปีข้างหน้าจะขยายตัวเฉลี่ย 20% ต่อปี เช่นเดียวกับรายได้จากการให้บริการสาธารณูปโภคต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ทั้งการค้าระหว่างประเทศ การส่งออก และการลงทุนจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป (WHA Group) หนึ่งในผู้นำในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมแบบครบวงจรรายใหญ่ของเมืองไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เร่งเครื่องธุรกิจในเครือลุยโค้งสุดท้ายของปี ทั้งโลจิสติกส์ สาธารณูปโภค พลังงาน และนิคมอุตสาหกรรม เตรียมพร้อมทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ตั้งเป้าปี 2564 เติบโต 30% “การดำเนินธุรกิจในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ถือเป็นเส้นทางที่มีความท้าทายแต่ก็เต็มไปด้วยโอกาสใหม่ๆ เรามองเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

Read More

“เจ็ทส์ ฟิตเนส” ปรับตัวรุกตลาดองค์กร ใช้เทคโนโลยีก้าวข้ามความท้าทายยุคโควิด

ฟิตเนสเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องปิดให้บริการชั่วคราวตามข้อกำหนดของภาครัฐในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่การแพร่ระบาดระลอกแรกจนถึงระลอกล่าสุดที่ฟิตเนสต้องปิดให้บริการมาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2564 และเพิ่งได้รับการอนุญาตให้กลับมาเปิดได้อีกครั้งในวันที่ 1 ต.ค. ส่งผลให้ผู้ประกอบการฟิตเนสต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ขณะที่บางรายอาจต้องปิดกิจการถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตโควิด แต่กระนั้นฟิตเนสยังคงเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติ เพราะการแพร่ระบาดของโควิดที่เกิดขึ้นทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการฟิตเนสในการปรับตัวและมองหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อก้าวข้ามความท้าทายและข้อจำกัดต่างๆ และพร้อมเดินหน้าหลังการแพร่ระบาดของโควิดคลี่คลายลง เจ็ทส์ ฟิตเนส (jetts fitness) ฟิตเนสสัญชาติออสเตรเลีย ที่ทำการตลาดด้วยจุดขาย “24 hour fitness” เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการฟิตเนสที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดเช่นกัน ทำให้ต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อก้าวข้ามวิกฤตครั้งนี้ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการรุกตลาดองค์กรเพื่อรับกับกระแส Corporate Wellness ที่กำลังมาแรง มร.เดน แคนท์เวล กรรมการผู้จัดการ เจ็ทส์ ฟิตเนส ประเทศไทย เปิดเผยกับ “ผู้จัดการ 360” ว่า “เราเชื่อมั่นว่าไม่มีอะไรสามารถทดแทนประสบการณ์การออกกำลังกายในฟิตเนสคลับได้ สำหรับกลุ่มคนรักการออกกำลังกายและสมาชิกฟิตเนสต่างเข้าใจดีว่า การออกกำลังกายในรูปแบบอื่นยังไม่สร้างแรงจูงใจได้เท่ากับการออกกำลังกายในคลับ เนื่องจากฟิตเนสเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์ และเต็มไปด้วยบรรยากาศที่สร้างแรงจูงใจในการสร้างสุขภาพที่ดี เราจึงเชื่อว่าอุตสาหกรรมฟิตเนสมีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตหลังจากกลับมาเปิดได้อีกครั้ง ซึ่งเห็นได้จากการกลับมาของสมาชิกและการสมัครสมาชิกใหม่ที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากการแพร่ระบาดโควิดระลอก 2 ในไทย” การปรับตัวในช่วงล็อกดาวน์นั้น

Read More

เมื่อโควิดทำให้เราโหยหาการเดินทาง

“อยากไปนั่งชิลล์ริมทะเล” “อยากไปเดินป่า” “คิดถึงภูเขา” “เปิดประเทศเมื่อไหร่จะไปญี่ปุ่น” (และนานาประเทศ) รวมถึงการโพสต์ภาพท่องเที่ยวแล้วตบท้ายด้วยคำว่า “เที่ยวทิพย์” และอีกหลากหลายประโยคบนโซเชียลมีเดียที่บ่งบอกถึงการโหยหาการท่องเที่ยว ในยุคที่โควิด-19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวไม่สามารถทำได้ดั่งใจหวัง เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่เราต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นภัยพิบัติของทั้งโลก การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันถูกระงับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ไม่ต้องพูดถึงการเดินทางท่องเที่ยว แม้แต่การเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่ต่างจังหวัดยังเป็นไปได้ยาก หลายคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ลดการเดินทาง กิจกรรมที่เคยทำไม่สามารถทำได้ บางคน work from home มาหลายระลอกตั้งแต่การระบาดรอบแรกเมื่อปีที่แล้ว ไม่ได้ออกไปไหนไกล ไม่ได้ไปเที่ยว ต้องอยู่แต่ในบ้าน และยิ่งแล้วใหญ่เมื่อผนวกกับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่นิยมอยู่คอนโดมิเนียม กลายเป็นโดนจำกัดให้อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมไปเสียอย่างนั้น ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเครียด กังวล เบื่อหน่าย และไร้พลัง จนโหยหาการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาเยียวยาหัวใจและคลายความเครียด การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย เพิ่มความสุข และช่วยให้เราสามารถหลีกหนีจากความเครียดในชีวิตได้ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ในทางจิตวิทยาการท่องเที่ยวยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ช่วยพัฒนากระบวนการคิด ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ การท่องเที่ยวส่งผลดีต่อหัวใจ การท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นเที่ยวชมเมืองหรือชมวิวธรรมชาติ ทำให้เราได้เดิน ได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องออกแรง เป็นการได้ออกกำลังกายไปในตัว ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจและสุขภาพโดยรวม เพิ่มสารแห่งความสุขและเติมเต็มรอยยิ้มให้กับชีวิต เพราะการท่องเที่ยวคือความสนุก ยามที่เราได้ออกไปเที่ยว เพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมใหม่ๆ พบเจอวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม แม้กระทั่งได้กินอาหารอร่อยๆ ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมา ทำให้เราผ่อนคลายสบายใจ และแน่นอนว่ารอยยิ้มย่อมเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และยิ่งยิ้มมากเท่าไรชีวิตก็สดใสมากขึ้นเท่านั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน ความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นสิ่งที่ประสบพบเจอได้เป็นประจำ

Read More

Buddy HomeCare จากมูลนิธิสู่โมเดลธุรกิจ พร้อมดูแลผู้สูงวัยและสร้างโอกาสให้กับเยาวชน

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จากการคาดการณ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวภายในปี 2565 และในปี พ.ศ. 2573 ประชากรสูงวัยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 26.9 ของประชากรทั้งประเทศ สัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง การเตรียมรับมือกับสังคมผู้สูงวัยเป็นประเด็นสำคัญที่ใกล้ตัว แต่ในขณะเดียวกันปัญหาเยาวชนกลุ่มเปราะบางที่ขาดโอกาสทางการศึกษาก็ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องการการแก้ไขอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน ถึงแม้จะเป็นประเด็นปัญหาต่างวาระ แต่ทั้งสองประเด็นสามารถแก้ไขและเตรียมรับมือไปพร้อมกันได้ ดังที่ “บัดดี้ โฮมแคร์” (Buddy HomeCare) ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่เล็งเห็นความเป็นไปได้ จึงได้พยายามพัฒนารูปแบบจากการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุแบบมูลนิธิสู่โมเดลธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ รวมถึงแก้ปัญหาเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ควบคู่ไปกับการเตรียมรับมือกับสังคมผู้สูงวัยไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบันธุรกิจดูแลผู้สูงอายุเกิดขึ้นอย่างมากมายตามจำนวนประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น และมีหลากหลายบริการให้เลือก “บัดดี้ โฮมแคร์” ถือเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินธุรกิจนี้เช่นกัน แต่สิ่งที่ทำให้บัดดี้ โฮมแคร์ แตกต่างจากโฮมแคร์ทั่วๆ ไป อยู่ที่พนักงานที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็นเยาวชนที่ขาดโอกาสด้านการศึกษาทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่น่าเป็นห่วง “บัดดี้ โฮมแคร์” ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่และศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางภาคเหนือของไทย อย่าง “เชียงใหม่” เป็นธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

Read More

เคทีซีปรับกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจสินเชื่อ ท่ามกลางสถานการณ์แห่งความไม่แน่นอน

สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ตลาดสินเชื่อมีความไม่แน่นอนและเปราะบางสูง แม้ยังมีความต้องการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายเพื่อดำรงชีพ แต่จากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มซบเซาได้ส่งผลกระทบต่อรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้การขับเคลื่อนธุรกิจสินเชื่อท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและเต็มไปด้วยความท้าทาย ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ไตรมาสแรกของปี 2564 ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันปรับตัวลดลง -2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ผู้บริโภคเกิดความระมัดระวังในการใช้จ่ายและการขอสินเชื่อมากขึ้น บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซี หนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต ยอมรับว่าการทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลในปี 2564 ไม่ใช่เรื่องง่ายและท้าทายสูงในการที่จะผลักดันให้พอร์ตลูกหนี้เติบโตท่ามกลางวิกฤต ควบคู่ไปกับการบริหารคุณภาพลูกหนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งในปีนี้เคทีซียังมุ่งรักษาเสถียรภาพของคุณภาพพอร์ตลูกหนี้เป็นหลัก จึงปรับเกณฑ์การอนุมัติให้รัดกุมมากขึ้น ทำให้ยอดลูกหนี้ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลของเคทีซี ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ 29,480 ล้านบาท ในขณะที่ภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 637,849 ล้านบาท ลดลง 2.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีจำนวนสมาชิกอยู่ที่ 802,971 ราย ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 4.6% และ NPL เท่ากับ 3.0% ซึ่งต่ำกว่าอุตสาหกรรมที่อยู่ที่ 3.5% โดยยอดการปล่อยสินเชื่อในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาลดลงกว่า

Read More