Home > Vanida Toonpirom (Page 15)

สบู่มาดามหลุยส์ อีกหนึ่งธุรกิจของ “หลุยส์ เตชะอุบล”

“เตชะอุบล” เป็นอีกหนึ่งตระกูลใหญ่ที่เป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงนักธุรกิจและนักลงทุนของประเทศไทย คีย์แมนคนสำคัญของตระกูลคือ “สดาวุธ เตชะอุบล” นักธุรกิจเจ้าของอาณาจักร “คันทรี่ กรุ๊ป” โฮลดิ้ง คอมปานี ที่ลงทุนในธุรกิจหลากหลายประเภท รวมถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มูลค่านับหมื่นล้าน คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้ง มีบริษัทในเครืออย่างบริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ครบวงจรชั้นนำของประเทศไทย, บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC บริษัทจัดการกองทุนแห่งแรกของประเทศไทย, บริษัท คริปโตมายด์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ดำเนินธุรกิจชุมชนสินทรัพย์ดิจิทัลและบริษัทจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกภายใต้บริษัทลูก “Elkrem Capital” รวมไปถึงบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ที่รีแบรนด์มาจากบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ PDI เน้นลงทุนในธุรกิจโรงแรมและบริการ โดยโฟกัสที่โรงแรมระดับ upscale

Read More

ตลาดน้ำมันพืช โอกาสและความผันผวน

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์ราคาน้ำมันพืชทั้งไทยและทั่วโลกมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันสืบเนื่องมาจากปัญหาอุปทานตึงตัวจากความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน การระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มของผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างอินโดนีเซีย และอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง ปลายเดือนเมษายน 2565 ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด (Joko Widodo) ผู้นําอินโดนีเซีย ประกาศระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเพื่อการบริโภคในประเทศและควบคุมราคาน้ำมันประกอบอาหารไม่ให้สูงเกินไปจนส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของชาวอินโดนีเซีย โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เมษายน 2565 คำสั่งดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างหนักจากเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเพราะทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง เพราะเกษตรกรเสียโอกาสจากการทำกำไรตามกลไกของตลาดในช่วงเวลานั้นที่ราคาน้ำมันปาล์มกำลังปรับตัวสูงขึ้น จนในที่สุดรัฐบาลอินโดนีเซียต้องออกมายกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป แต่ถึงกระนั้นคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียได้สร้างความกังวลต่อประเทศผู้นำเข้าและสร้างความปั่นป่วนต่อตลาดน้ำมันพืชทั่วโลกอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง เนื่องจากน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่มีการบริโภคมากที่สุด โดยมีสัดส่วนคิดเป็น 1 ใน 3 ของตลาดน้ำมันพืชทั่วโลก อีกทั้งอินโดนีเซียยังเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกถึง 60% รองลงมาคือมาเลเซียที่ตามมาเป็นอันดับที่สอง ด้านวิจัยกรุงศรีระบุว่า ปี 2564 การผลิตและการบริโภคน้ำมันปาล์มทั่วโลกมีปริมาณ 72.9 ล้านตัน และ 73.5 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 36.3% และ 36.5% ของปริมาณการผลิตและการบริโภคน้ำมันจากพืชทุกชนิดตามลำดับ แหล่งผลิตน้ำมันปาล์มที่สำคัญอยู่ในภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย มีผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ

Read More

เจนฯ ใหม่ “เตมียเวส” กับการรุกตลาดน้ำมันพืช

“เอกภัท เตมียเวส” เป็นเพียงไม่กี่คนในตระกูลเตมียเวส ที่เลือกออกมาทำธุรกิจส่วนตัวแทนการอยู่ในแวดวงราชการหรือการเมืองเหมือนคนในครอบครัว แต่ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือการเลือกเข้าสู่ “ธุรกิจน้ำมันพืช” อีกหนึ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันที่เข้มข้น และยังมีผู้เล่นรายใหญ่จับจองตลาดอยู่ก่อนแล้ว แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ธุรกิจน้ำมันพืชนั้น เส้นทางบนถนนสายธุรกิจของ “เอกภัท” เจเนอเรชันใหม่แห่งเตมียเวสก็มีจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เอกภัท เตมียเวส ในวัย 37 ปี เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจกับ “ผู้จัดการ 360 องศา” ฟังว่า “ด้วยความที่ผมชอบการทำธุรกิจและการค้าขายมาตั้งแต่เด็กๆ พอมีโอกาสก็อยากทำธุรกิจของตัวเอง เลยเปิดบริษัทชื่อเตมียเวสกรุ๊ปทำอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าอย่างพวกอพาร์ตเมนต์ต่างๆ ทำธุรกิจเม็ดพลาสติก รวมถึงรับจ้างผลิตพวกขนมขบเคี้ยวแล้วส่งออกไปขายยังจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง เพราะส่วนตัวชอบรับประทานขนมอยู่แล้ว” แต่นอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการให้เช่า ผลิตเม็ดพลาสติก รับทำและจัดจำหน่ายสินค้าในกลุ่ม FMCG (Fast Moving Consumer Goods) แล้ว เตมียเวสกรุ๊ปยังเป็นผู้จัดจำหน่ายน้ำมันพืชยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่ธุรกิจน้ำมันพืชของเอกภัท “เราเป็นผู้จัดจำหน่ายน้ำมันพืชยี่ห้อหนึ่ง แต่สุดท้ายทางแบรนด์เขาก็เอามาขายด้วย มันก็ทับไลน์กัน เลยมานั่งคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้ทำไมเราไม่ผลิตน้ำมันพืชเป็นแบรนด์ของตัวเองไปเลย เพราะมูลค่าตลาดมันใหญ่มีโอกาสเติบโตสูง ณ ช่วงเวลาที่เราตัดสินใจลุยธุรกิจน้ำมันพืช ตอนนั้นเฉพาะในเมืองไทยตลาดน้ำมันพืชมีมูลค่าตลาดราวๆ 20,000 ล้านบาท และที่สำคัญเรามีพื้นฐานด้านช่องทางการจัดจำหน่ายจากธุรกิจต่างๆ ที่ได้ทำมา” นั่นคือจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ธุรกิจน้ำมันพืชของเอกภัท แต่อีกหนึ่งเหตุผลคือเขามองว่าอาหารคือหนึ่งในปัจจัย

Read More

เทรนด์การลงทุนปี 2566 กับโอกาสรับไชน่ารีโอเพ่น

แม้ภาพรวมของเศรษฐกิจและการลงทุนของปี 2565 อาจดูไม่สดใสนัก เพราะต้องเผชิญกับความผันผวนมาตลอดทั้งปี ทั้งสถานการณ์เศรษฐกิจโลก สภาวะเงินเฟ้อ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงความผันผวนของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ล้วนสร้างผลกระทบต่อบรรยากาศในการลงทุน ซึ่งความผันผวนดังกล่าวจะต่อเนื่องไปถึงปี 2566 แต่นักลงทุนต่างคาดการณ์ว่าภายใต้ความผันผวนที่จะลากยาวไปถึงปีหน้า ยังคงมีโอกาสทางการลงทุนที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ในช่วงเวลานี้ของปี บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนต่างออกมาคาดการณ์เศรษฐกิจและแนวโน้มการลงทุนของปีที่กำลังจะมาถึง “ประกิต สิริวัฒนเกตุ” หรือ อาจารย์ปิง นักลงทุนมืออาชีพและวิทยากรด้านการลงทุนของไทย เปิดเผยถึงความท้าทายและโอกาสของการลงทุนในปี 2566 ว่า “ความท้าทายของเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2566 คือสภาพคล่องทางเศรษฐกิจจะหายไปมากกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่โอกาสในการลงทุนยังมีอยู่แต่ก็จะยากกว่าสองปีที่ผ่านอย่างแน่นอน” โดยประกิตกล่าวเพิ่มเติมว่า สภาพคล่องทางเศรษฐกิจในปี 2566 ที่จะลดลงนั้น สาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ 1. ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ดอกเบี้ยมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งนั่นส่งผลต่อกิจกรรมทางการเงินต่างๆ อย่างการกู้ยืม การขอสินเชื่อจะยากมากขึ้น 2. บรรดาธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะดูดเงินกลับพร้อมกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากที่เคยปล่อยออกมาเพื่อเสริมสภาพคล่องทางเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีของการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เพิ่งดึงเงินกลับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพียงเดือนพฤศจิกายนเดือนเดียวดึงเงินกลับไปถึง 1.1 แสนล้านดอลลาร์ และน่าจะเป็นอย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าปีหน้าทั้งปีธนาคารกลางสหรัฐฯ จะดึงเงินกลับไปราวๆ

Read More

“แดรี่โฮม” กับ Green Factory เราเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ที่โรงงานผลิตนม

“เราเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ที่โรงงานผลิตนม” คือคำกล่าวของ “พฤฒิ เกิดชูชื่น” ผู้ก่อตั้งบริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ที่ชวนให้ผู้อ่านหลายคนตั้งข้อสงสัย “แดรี่โฮม” ถือเป็นผู้ผลิตนมออแกนิกรายแรกของเมืองไทย ที่ไม่เพียงผลิตนมคุณภาพดีปลอดสารตกค้าง แต่ยังให้ความสำคัญต่อกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นต้นแบบโรงงานสีเขียว หรือ Green Factory ไม่มีการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และมีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ แต่การบำบัดน้ำเสียที่เคยทำๆ กันอยู่อาจจะดูธรรมดาเกินไป เพราะแดรี่โฮมพัฒนาไปมากกว่านั้น โดยนำน้ำเสียมาเข้ากระบวนการบำบัดจนกระทั่งสามารถนำกลับมาใช้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ พฤฒิเปิดเผยว่า “เนื่องจากเราทำเรื่องออแกนิกและ Zero Waste มาตั้งแต่ต้น แต่เรามองว่าของเสียมันยังมีคุณค่าและน่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อยู่ อย่างน้ำล้างเครื่องจักรของเรามันคือน้ำผสมนม ถ้าทิ้งลงไปต้องบำบัดก่อน สิ้นเปลืองพลังงานในการบำบัด แต่ถ้าเราแยกเอาสารอาหารที่อยู่ในนั้นออกมาใช้ประโยชน์ก่อนมันจะเป็นการเพิ่มมูลค่าขึ้นได้อีกมาก” โดยแดรี่โฮมจะนำน้ำเสียจากการล้างเครื่องจักรมาเข้ากระบวนการสกัดสารอาหารออกมาก่อน ซึ่งสารอาหารที่ได้จะนำไปเลี้ยงสาหร่ายคลอเรลลา (Chlorella) หลังจากนั้นจึงนำสาหร่ายคลอเรลลาที่เลี้ยงได้ไปเลี้ยงไรทะเลอาร์ทีเมีย (Artemia) อีกต่อหนึ่ง ก่อนที่จะนำไรทะเลอาร์ทีเมียไปเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในที่สุด ซึ่งเป็นวิธีการที่แดรี่โฮมต่อยอดมาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “เราเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ 2 ล็อตแล้วครับ ตอนนี้ขนาดอยู่ที่ 5 ตัว/โล เป้าหมายของเราคือ 3 ตัว/โล คาดว่าปีหน้าจะสามารถบรรจุเมนูกุ้งในร้านแดรี่โฮมได้” นอกจากนั้น แดรี่โฮมยังพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy

Read More

เปิดแนวคิด “พฤฒิ เกิดชูชื่น” ผู้บุกเบิกนมออแกนิกรายแรกในไทย

ในแวดวงการทำฟาร์มโคนมแบบออแกนิก ชื่อของ “พฤฒิ เกิดชูชื่น” น่าจะเป็นชื่อที่ถูกพูดถึงเป็นคนแรกๆ ทั้งในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้บุกเบิกการทำฟาร์มโคนมแบบออแกนิกในเมืองไทย แต่ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ผู้ผลิตนมออแกนิกรายใหญ่ภายใต้แบรนด์ “แดรี่โฮม” ที่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมานานกว่า 2 ทศวรรษอีกด้วย “พฤฒิ เกิดชูชื่น” ถือเป็นผู้ที่คร่ำหวอดในแวดวงฟาร์มโคนมมาอย่างยาวนาน โดยหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสัตวบาล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คุณพฤฒิเริ่มต้นชีวิตการทำงานที่องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยเป็นแห่งแรก ในตำแหน่งนักวิชาการสอนปรับปรุงพันธุ์โคนม ทำงานด้านวิจัยการผสมเทียมและริเริ่มศูนย์ผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนมแช่แข็ง หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการทำฟาร์มโคนมมากว่า 10 ปี ปี 2535 เขาตัดสินใจผันตัวเองออกมาทำธุรกิจส่วนตัว โดยเริ่มจากการร่วมหุ้นกับเพื่อนทำธุรกิจปลูกหญ้าเลี้ยงวัว ก่อนที่จะหันไปจำหน่ายอาหารวัวสำเร็จรูป และธุรกิจขายกากเบียร์เป็นลำดับ แต่เนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจมาก่อน เส้นทางธุรกิจของเขาจึงไม่ราบรื่นนัก จนกระทั่งปี 2542 คุณพฤฒิได้ทดลองสร้างธุรกิจเล็กๆ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จากการจุดประกายของลูกสาวตัวน้อยที่อยากมีร้านขายของในช่วงวันหยุด “จุดเริ่มต้นหนึ่งคือลูกสาวของผมเขาอยากมีร้านขายของเล็กๆ ด้วยความที่ผมอยู่ในแวดวงโคนมเลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเรามาเปิดร้านขายนมกันดีกว่า แต่ที่สำคัญคือต้องเป็นนมที่ปลอดสารและมีคุณภาพดีเท่านั้น” นี่คือสารตั้งต้นเล็กๆ ของ “แดรี่โฮม” แต่ที่มากไปกว่านั้นคือความต้องการที่จะยกระดับการทำฟาร์มโคนมในประเทศไทยแบบเดิมไปสู่การทำฟาร์มที่มีผลผลิตนมที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษตกค้าง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพเกษตกรผู้เลี้ยงโคนม จากประสบการณ์ในแวดวงฟาร์มโคนมมาตลอด 10 ปี

Read More

“เซ่งชง” ร้านเครื่องหนัง 6 แผ่นดิน ในมือทายาทรุ่น 4 “อาจฤทธิ์ ประดิษฐบาทุกา”

ผลิตภัณฑ์เครื่องหนังไม่ว่าจะเป็นรองเท้า กระเป๋า หรือเข็มขัด ถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีอยู่อย่างมากมายในท้องตลาด และมีหลากหลายแบรนด์ให้ผู้บริโภคได้เลือกสรร ตั้งแต่แบรนด์เล็กๆ แบบงานคราฟต์ไทยๆ ไปจนถึงแบรนด์ต่างชาติสุดหรู ท่ามกลางตัวเลือกที่มีอยู่อย่างมากมาย เครื่องหนังจากร้าน “เซ่งชง” ร้านเครื่องหนังร่วมสมัยที่มีอายุกว่า 126 ปี ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีกลุ่มลูกค้าที่เหนียวแน่น และยังเป็นธุรกิจครอบครัวที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน จากร้านตัดรองเท้าหนังยุคแรกๆ ที่คนไทยเพิ่งเริ่มสวมรองเท้า สืบทอดกิจการจนมาถึงปัจจุบัน “อาจฤทธิ์ ประดิษฐบาทุกา” หรือ คุณกานต์ ทายาทรุ่นที่ 4 ที่เข้ามารับไม้ต่อธุรกิจของครอบครัว ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของ “ร้านเซ่งชง” ร้านตัดรองเท้าหนังร้านแรกของเมืองไทยให้ “ผู้จัดการ 360 องศา” ฟังว่า “ถ้าพูดถึงประวัติของร้านเซ่งชงคงต้องย้อนกลับไปราวๆ ปี พ.ศ. 2435 ตอนนั้นคุณทวดของผม ‘เซ่งชง แซ่หลิว’ ท่านเป็นชาวจีน ได้เดินทางจากมณฑลกวางตุ้งมายังเมืองไทยเพื่อมาหาชีวิตที่ดีกว่า พร้อมกับนำทักษะด้านการทำเครื่องหนังติดตัวมาด้วย เพราะท่านเป็นคนจีนแคะซึ่งมีความชำนาญด้านงานฝีมือ อย่างการทำรองเท้า การทำหนัง และเสื้อผ้า คุณทวดเลยมาเปิดร้านรองเท้าและเครื่องหนังขึ้นที่พระนคร โดยใช้ชื่อร้านตามชื่อของท่านคือร้านเซ่งชง” “ร้านเซ่งชง” เปิดกิจการครั้งแรกในปี 2439 เป็นตึกแถวเล็กๆ บริเวณสามยอด

Read More

เส้นทางธุรกิจของ “มิตรดนัย สถาวรมณี” ปั้นแบรนด์ Plantae จากธุรกิจปุ๋ยสู่ผู้นำโปรตีนทางเลือก

จากยอดขายหลักพันบาทในเดือนแรก ใช้เวลาเพียงไม่นาน ยอดขายเฉลี่ยของ Plantae กลับพุ่งทะยานถึง 30 ล้านบาทต่อเดือน ขึ้นแท่นเครื่องดื่มโปรตีนจากพืชอันดับหนึ่งในท้องตลาด เติบโตกว่า 284 เท่า จนกลายเป็นสตาร์ทอัปที่น่าจับตามอง นี่คือเหตุผลที่ทำให้ “ผู้จัดการ 360 องศา” มาพูดคุยกับ “มิตรดนัย สถาวรมณี” ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Plantae เครื่องดื่มโปรตีนทางเลือกที่มาแรงแห่งยุค เส้นทางสายธุรกิจของผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรงอย่าง “มิตรดนัย สถาวรมณี” หรือ คุณพอร์ต เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมโยธา University of Wisconsin at Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลับมาเมืองไทยเพื่อเข้ามารับช่วงต่อธุรกิจของครอบครัวอย่างธุรกิจปุ๋ยในชื่อ “SV Group” “หลังจากเรียนจบผมถูกส่งไปอยู่โรงงานปุ๋ยที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นก้าวแรกที่ทำให้รู้จักกับคำว่า ‘เกษตร’ โดยเข้ามาดูเรื่องการตลาดและการขายเป็นหลัก ช่วง 5 ปีแรกมีโอกาสเดินทางไปเจอกับเกษตรกรเยอะมาก ในหนึ่งเดือนผมอยู่ต่างจังหวัดไปแล้ว 25 วัน ค่ำไหนนอนนั่น แต่ทำไปทำมามันไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร ด้วยรูปแบบธุรกิจค้าปุ๋ยในไทยมันมีปัจจัยหลายอย่าง” มิตรดนัยเล่าต่อไปว่ารูปแบบธุรกิจปุ๋ยในเมืองไทยถ้าจะให้ขายดีจะต้องขายผ่าน

Read More

“ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป” พร้อมทรานส์ฟอร์มสู่เทค คอมพานี

ที่ผ่านมายักษ์ใหญ่ด้านนิคมอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ของไทย อย่างบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป มีความเคลื่อนไหวทางธุรกิจออกมาให้ได้เห็นเป็นระยะๆ แต่หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองเป็นพิเศษคือการประกาศทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ความเป็น “Tech Company” ภายในปี 2567 ภายใต้การนำทัพของผู้บริหารหญิงแกร่งอย่าง “จรีพร จารุกรสกุล” ปัจจุบัน “Tech Company” (เทค คอมพานี) บริษัทกลุ่มเทคโนโลยีหรือบริษัทที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งในแวดวงธุรกิจ และกำลังกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคนี้ นั่นทำให้หลายองค์กรต่างต้องปรับตัวนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้และขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น เพื่อการอยู่รอด สร้างการเติบโต และเพื่อไม่ตกขบวน รวมถึง ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ที่ออกมาประกาศพร้อมทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่การเป็นเทค คอมพานี ให้ได้ภายในปี 2567 ด้วยเช่นกัน สำหรับ ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป (WHA Group) ถือเป็นยักษ์ใหญ่ด้านนิคมอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ของไทย โดยประกอบธุรกิจใน 4 กลุ่มหลัก คือ ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ธุรกิจระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน และธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมในเครือปักหมุดในทำเลยุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั้งในเขต EEC

Read More

“แดรี่โฮม” ธุรกิจเพื่อสังคม เปลี่ยนวิถีการทำโคนมสู่ความเป็นออแกนิก

ในอดีตการทำฟาร์มโคนมของไทยมักประสบปัญหาทั้งคุณภาพและกระบวนการผลิต มีการปนเปื้อนของสารจำพวกยาปฏิชีวนะในน้ำนม ปัญหาความยั่งยืนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ต้องแบกรับต้นทุนในการทำฟาร์มที่สูง โดยส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเรื่องยาและอาหารวัว อีกทั้งการทำฟาร์มแบบอุตสาหกรรมที่เน้นปริมาณเป็นวิถีการผลิตที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ และที่สำคัญไม่สามารถทำให้เกษตรกรผู้ผลิตมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบยั่งยืนได้ นั่นคือสิ่งที่ “พฤฒิ เกิดชูชื่น” ผู้ที่คลุกคลีกับฟาร์มโคนมมากว่า 10 ปี มองเห็นและพยายามหาทางแก้ไข เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์นมในประเทศไทย และเพื่อหาทางรอดให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในระยะยาว จนนำมาสู่การก่อตั้ง “แดรี่โฮม” ขึ้นในปี 2542 ณ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อผลักดันให้เกิดการผลิตน้ำนมอินทรีย์ หรือ นมออแกนิก ที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร ได้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และนับเป็นผู้บุกเบิกการผลิตนมออแกนิกรายแรกของเมืองไทย โดยแดรี่โฮมได้พัฒนาวิถีการเลี้ยงโคนมอินทรีย์ที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมในเมืองไทย เลิกใช้เคมีเกษตรโดยสิ้นเชิง หญ้าซึ่งเป็นอาหารหลักของวัวและอาหารอื่นๆ จะต้องปลอดสารเคมี ต้องมีพื้นที่ให้วัวเดินได้อย่างอิสระ เป็นการเลี้ยงวัวที่ยึดความสุขของวัวเป็นหลัก ทำให้วัวมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข ซึ่งจะส่งผลต่อน้ำนมที่ได้ ซึ่งแดรี่โฮมการันตีว่าเป็นน้ำนมออแกนิกเต็มไปด้วยสารอาหารทั้งวิตามิน โปรตีน ไขมัน และไม่มีสารก่อภูมิแพ้ ทางรอดของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม การทำฟาร์มโคนมแบบเดิมแม้จะสร้างรายได้จำนวนมากให้กับเกษตรกร แต่ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็สูงตามไปด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะใช้ไปกับค่าอาหารวัวและค่ายา นั่นทำให้เกษตรกรโคนมจำนวนไม่น้อยไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ อีกทั้งแดรี่โฮมยังมองว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2568

Read More