Home > Suwatcharee Pormbunmee (Page 35)

ธุรกิจลอจิสติกส์ตื่นตัว อานิสงส์ E-Commerce ไทยโต

ในยุคโลกดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ ช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวัน ธุรกรรม รวมไปถึงธุรกิจ การค้า การลงทุน ล้วนแล้วแต่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเทคโนโลยีทั้งสิ้น พัฒนาของเทคโนโลยีถูกเปลี่ยนให้เป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญทางธุรกิจ เมื่อมนุษย์ต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น นั่นทำให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตแบบก้าวกระโดด ชนิดที่เรียกได้ว่า ไม่ว่าใครที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ก็สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้ประเมินมูลค่าตลาด E-Commerce ในประเทศไทย และพบว่าในปี 2559 ตลาด E-Commerce มีมูลค่าตลาดประมาณ 2.52 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.2 ล้านล้านบาท หรืออาจกล่าวได้ว่ามีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 48 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นธุรกิจ E-Commerce หน้าใหม่ตบเท้าเดินเข้าสู่สังเวียนแห่งการต่อสู้ครั้งนี้ แม้จะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและรุนแรงก็ตาม หากแต่เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยที่เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญคือธุรกิจนี้ไม่จำเป็นต้องมีต้นทุนในเรื่องพื้นที่หน้าร้านสำหรับจัดวางสินค้าเพื่อรอให้ลูกค้าเดินทางมาเลือกซื้อ หากแต่เป็นการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่จะตอบสนองหรือนำเสนอบริการให้เข้าถึงผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ล่าสุดธุรกิจ E-Commerce สัญชาติสิงคโปร์ ShopBack เป็นอีกเจ้าที่เข้ามาทำการตลาดในประเทศไทย แม้ว่าจะเพิ่งเปิดบริการในประเทศสิงคโปร์ไปเมื่อเดือนกันยายน 2557 และเปิดให้บริการในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย

Read More

เมียนมาเร่งพัฒนาฝีมือแรงงาน รองรับงานการบริการ-ท่องเที่ยวบูม

สถานการณ์การท่องเที่ยวเมียนมาตั้งแต่ปี 2012-2015 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น น่าจะเป็นอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในและการเปิดประเทศ ที่เคยซ่อนเร้นความงดงามของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติเอาไว้จากสายตาคนภายนอก จากสถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศเมียนมาในปี 2012 จำนวน 1,058,995 คน และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2013 ที่จำนวน 2,044,307 คน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2014 และ 2015 ที่จำนวน 3,081,412 คน และ 4,681,020 คนตามลำดับ ทั้งนี้ภาคการท่องเที่ยวเมียนมาดูจะมีภาษีดีสุด เมื่อจำนวนอาคันตุกะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และยังสร้างรายได้ให้ประเทศ โดยปี 2011 เมียนมามีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 319 ล้านดอลลาร์ ปี 2012 มีรายได้ 534 ล้านดอลลาร์ ปี 2013 มีรายได้ 926 ล้านดอลลาร์ ปี 2014 มีรายได้ 1,789 ล้านดอลลาร์ และปี 2015

Read More

พะเยา: ฝันใหญ่ของเมืองเล็ก ตั้งเป้าท่องเที่ยว-ค้าชายแดนโต

หากจะเอ่ยถึงจังหวัดทางภาคเหนือของไทยที่มักถูกนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้ความสนใจและเลือกเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการท่องเที่ยว คงจะหนีไม่พ้นจังหวัดใหญ่ๆ อย่าง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย หรือน่าน พะเยา จังหวัดที่น้อยคนนักจะเลือกเดินทางเข้าไปสัมผัสเพื่อเพิ่มประสบการณ์ใหม่ แม้ว่าจะมีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบาย ความร่มรื่นที่มีผลมาจากความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่นับได้ว่า ยังคงความเขียวขจีอยู่มากกว่าบางจังหวัด ประกอบกับความเงียบสงบของเมืองซึ่งเหมาะแก่การหลบร้อนและพักผ่อน อาจเป็นเพราะด้วยความที่จังหวัดพะเยาถูกขนาบข้างด้วยเชียงรายและน่าน ที่ดูจะมีภาษีเหนือกว่าในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยว ที่เมื่อได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจนทำให้เกิดกระแส ผู้คนแห่แหนกันไปเพื่อเช็กอิน เก็บเกี่ยวประสบการณ์และแชร์การมาเยี่ยมเยือนลงบนโลกโซเชียล นั่นทำให้พะเยาเป็นเพียงทางผ่านในหลายๆ ครั้ง กระทั่งเมื่อมีการเปิดเผยแผนพัฒนาด่านบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ให้เปิดด่านถาวร จึงเป็นเสมือนการเปิดสวิตช์เครื่องจักร ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพัฒนาและปลุกศักยภาพของจังหวัดให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการค้าชายแดน เมื่อด่านบ้านฮวกมีเขตที่สามารถเชื่อมต่อกับแขวงไซยะบุรี ของ สปป.ลาว ได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนามและจีนตอนใต้ ซึ่งหากด่านบ้านฮวกถูกอนุมัติให้เป็นด่านถาวร อ. ภูซาง จ.พะเยา จะกลายเป็นอีกหนึ่งประตูและเส้นทางการค้าของภูมิภาคนี้ ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ปานทอง สระคูพันธ์ เปิดเผยว่า “จังหวัดได้งบประมาณจากรัฐบาลมา 500 ล้านบาท โดยจะนำงบประมาณดังกล่าวมาพัฒนากว๊านพะเยา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และแหล่งท่องเที่ยว เมื่อถนนที่เชื่อมไทย-ลาว แล้วเสร็จจะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่ทั้งสองฝั่ง” ทั้งนี้ด่านบ้านฮวกจะเป็นด่านชายแดนถาวรได้ภายในปีนี้ ซึ่งหากเป็นไปตามการคาดการณ์ของปานทอง สระคูพันธ์ นั่นหมายความว่า จังหวัดพะเยาคงต้องเร่งดำเนินการพัฒนาทั้งระบบเพื่อให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง เส้นทางโลจิสติกส์ที่น่าจะเป็นตัวเชื่อมสำคัญสำหรับการค้าการลงทุนระหว่าง

Read More

ส่งออกตัวแปรสำคัญ ฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังฟื้น?

สัญญาณการขยายตัวการส่งออกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 ที่กลับมาเป็นบวก โดยเพิ่มขึ้นทั้งด้านของราคาและปริมาณ นับเป็นอานิสงส์ที่ส่งต่อมายังไตรมาสแรกของปี 2560 ที่ทำให้ผู้ประกอบการหายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ที่สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระบุว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวดี เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง ด้านตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) มีการขยายตัวในระดับดีในหลายตลาด อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป และประเทศในกลุ่ม CLMV ขณะที่การส่งออกไปอาเซียนกลับหดหัวลง ดังนั้น ภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ในไตรมาส 1 ปี 2560 จึงมีการขยายตัวร้อยละ 6.2 ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป และ CLMV ที่ขยายตัว การส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยที่ปรับตัวดีขึ้น การเติบโตของตัวเลขส่งออกน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศช่วงไตรมาสแรก ปี

Read More

สัญญาณเตือนธุรกิจอสังหาฯ ระวัง!! ฟองสบู่แตก

การผุดขึ้นของที่อยู่อาศัยโครงการใหม่ๆ ในยุคปัจจุบันที่นับวันจะทวีจำนวนมากขึ้น ราวกับดอกเห็ดที่มักจะออกดอกในช่วงฤดูฝน การปักหมุดของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์กับโครงการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยแนวตั้งอย่างคอนโดมิเนียม ที่เรามักจะได้เห็นจนชินตาเสมือนทิวทัศน์ที่ประกอบส่วนไปตลอดตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทุกสาย ชนิดที่เรียกได้ว่า มีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นขนาบสองข้างของถนน เกิดคำถามที่ตามมาเพื่อให้บรรดานักวิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ได้ขบคิดกันต่อว่า ดีมานด์กับซัปพลายของที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีความสมดุลกันจริงหรือไม่ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจไทยบนรากฐานความเป็นจริงที่ว่า ยังอยู่ในช่วงของความไม่คงเส้นคงวานัก แต่หลายฝ่ายกำลังโหมกระพือบทวิเคราะห์และการคาดการณ์ในอนาคตว่า สถานการณ์เศรษฐกิจกำลังดีขึ้นนั้นก็เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดี โดยหวังจะสร้างแรงกระตุ้นในกลุ่มนักลงทุนที่กำลังอยู่ในช่วงของการพิจารณาตัดสินใจที่จะตบเท้าเข้ามาลงทุนธุรกิจในประเทศไทย กระนั้นตัวเลขที่น่าจะสร้างเสริมให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในห้วงเวลาแห่งความอึมครึมนี้ กลับเป็นตัวเลขของการส่งออกที่ดูท่าว่าตัวเลขนี้จะทำให้ผู้ประกอบการพอจะยิ้มออกได้บ้าง เมื่อสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยตัวเลขสถานการณ์การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2560 ล่าสุดว่า มีการขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หากมองสถานการณ์ตลาดโดยรวมถือได้ว่าเติบโตร้อยละ 10-15 ทั้งนี้หลายหน่วยงานที่รับหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์ตลาด แสดงการคาดการณ์ไม่แตกต่างกันมากนักว่า ในครึ่งปีหลังภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ น่าจะยังมีช่องทางการเติบโตได้อยู่ ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าทุกสถานการณ์ไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ ทั้งปัจจัยด้านลบ ปัจจัยด้านบวก ที่จะเป็นตัวบอกหรือกำหนดทิศทางความเป็นไปได้ กระนั้นทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคต้องดำเนินธุรกิจและตัดสินใจซื้อหรือลงทุนในอสังหาฯ ด้วยความไม่ประมาท โดยปัจจัยที่น่าจะหนุนนำส่งเสริมให้แวดวงของอสังหาฯ ไทย มีทิศทางที่น่าจะมองหาความสดใสเจอนั้น น่าจะมาจากโครงการลงทุนด้านคมนาคมของรัฐบาลในปี 2560 ที่มีมากถึง 43 โครงการ ด้วยเงินลงทุนกว่า 1.77 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นโครงการในแผนการลงทุนเดิมปี 2560 จำนวน 36 โครงการ

Read More

บี.กริม เดินเครื่องดับบลิวเอชเอ 1 รองรับอุตสาหกรรมขยายตัว

“จากการคาดการณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยน่าจะมีการขยายตัวจากปี 2559 ประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์” ปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าว และนี่เองที่น่าจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญในการเปิดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม บี.กริม เพาเวอร์ ดับบลิวเอชเอ 1 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดชลบุรี เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา การเลือกพื้นที่ก่อตั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของ บี.กริม ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ดูจะประจวบเหมาะกับแผนนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ที่จะผลักดันเมืองชายแดนให้มีความกระเตื้องด้านเศรษฐกิจมากกว่าที่เป็นอยู่ จนท้ายที่สุด ภายใต้การนำทัพของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจอย่าง ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development: EEC) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ด้วยเป้าหมายที่ประชาชนทั้งประเทศได้ยินแต่ยังไม่เข้าใจเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ถึงความหมายที่แท้จริงเกี่ยวกับการนำประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่หวังว่านโยบายดังกล่าวจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นการนำไปสู่แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อรองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมหลัก เป้าหมายที่รัฐบาลเรียกขานว่า First S-curve

Read More

บี.กริม รุกคืบจาก CLMV สู่ AEC ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา

หลังการสร้างความเชื่อมั่นด้วยชื่อชั้นของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 100 ปี ประกอบกับการเลือกหมากในการเดินเกมธุรกิจในแต่ละครั้งได้ถูกจังหวะ แม้ว่าเคยล้มลุกคลุกคลานและเจ็บตัวมาไม่น้อยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลับไม่ทำให้ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจลดทอนลงไปแม้แต่น้อย แม้ในช่วงยามนี้ที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยยังมองหาเสถียรภาพมั่นคงได้ยากเต็มที กระนั้น บี.กริม ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการที่นับว่าเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับตัวเองไม่น้อย ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจการไฟฟ้าที่มีทั้งคู่แข่งขันที่เป็นเจ้าตลาดยึดครองพื้นที่ส่วนแบ่งอยู่เดิม และนักลงทุนหน้าใหม่ที่เริ่มเสนอตัวเข้ามาในสนามประลองแห่งนี้ด้วย บี.กริม เพาเวอร์ เลือกปักหมุดโรงไฟฟ้า 13 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของไทยและเวียดนาม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ สวนอุตสาหกรรมบางกะดี นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เบียนหัว ความมั่นใจในศักยภาพและผลงานของ บี.กริม ดูจะเข้าตาบรรดานักลงทุนจากต่างแดน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านไม่น้อย ที่อาจเป็นก้าวย่างสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นการปลดล็อกและเปิดโอกาสให้บี.กริม ที่เรียกตัวเองว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ได้เข้าไปเป็นผู้ถือสัมปทานและพัฒนาโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะใน สปป.ลาว ที่ความเอื้ออำนวยของทรัพยากรและเป้าประสงค์ของรัฐบาลลาวที่ต้องการจะเป็น Battery of Asean ทำให้บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ ได้เข้าไปรับผิดชอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวได้หลายโครงการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะปณิธานของผู้บริหารอย่าง ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม

Read More

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร หมุดหมายแห่งปัญญา-ความรู้

ก้าวย่างของกาลเวลาที่ดำเนินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและไม่เคยอิดออดรอสิ่งใด การมาถึงของเทคโนโลยีอันทันสมัยส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนที่ดูจะเร่งเร้าให้เท่าทันตามจังหวะของการพัฒนา กระนั้นดูเหมือนว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้น อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ในหลากหลายมิติ และแม้ว่าในบางแง่มุมของการพัฒนาจะทำให้วัฏจักรบางอย่างไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างที่ควรเป็น และในทางกลับกัน เสมือนว่าสิ่งนั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เป็นการนับถอยหลังเข้าสู่ช่วงเวลาสุดท้ายของเส้นทางที่เดิน การพัฒนาที่ว่าส่งผลต่อวัฒนธรรมบางอย่างที่เรามักคุ้นชินในสังคม ให้ค่อยๆ ถูกกลืนหายพร้อมกับการมาถึงของความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี จากสังคมการอ่านเพื่อประเทืองปัญญา เข้าสู่สังคมก้มหน้าเพื่อค้นหาความบันเทิงที่มีมากล้นเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละคน แม้ว่าการปฏิเสธเทคโนโลยีจะเป็นเรื่องที่ดูจะทำได้ยากยิ่งในสังคมยุคดิจิทัล เมื่อสาระความรู้ หรือข่าวสารบางอย่างสามารถสืบเสาะค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต อีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญของเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อโลกใบใหญ่ให้ดูเล็กลงไปถนัดตา และแน่นอนว่าอะไรก็ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ขณะที่สภาพทางสังคม วิถีชีวิตของผู้คนที่กำลังหมุนเปลี่ยนไปอย่างชนิดนาทีต่อนาที หลายหน่วยงาน หลายองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากมองเห็นผลเสียที่ตามมา ทั้งในด้านการถูกลดทอนศักยภาพในตัวของเยาวชนไทยที่ดูจะเป็นความหวังใหม่ของสังคม ทำให้เกิดความพยายามที่จะรังสรรค์สังคมแห่งการอ่าน “หนังสือ” ให้กลับมาเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยอีกครั้ง “ราชดำเนิน” ถนนที่อุดมไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติ ที่น่าเรียนรู้ จดจำ อาคารที่ตั้งอยู่ตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางหลายอาคารถูกปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย โดยเฉพาะอาคารที่บัดนี้กลายเป็น “หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร” ซึ่งอาคารหลังนี้มีความเป็นมาแรกเริ่มภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระราชวังดุสิต โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs Elysees ในประเทศฝรั่งเศส การก่อสร้างบนถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 ส่วนอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2480 การก่อสร้างอาคารดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ต่อเนื่องมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2482- 2491 อาคารบริเวณถนนราชดำเนินประกอบด้วย อาคารพาณิชย์ โรงแรม และโรงมหรสพ รูปแบบเป็นศิลปะสไตล์อาร์ตเดคอร์

Read More

น้ำตกตาดเยือง ปราสาทวัดพู มนต์เสน่ห์แห่งลาวใต้

ความพยายามที่จะเป็น Battery of Asean ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ด้วยปัจจัยหลักของความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และความต้องการที่จะผลักดันประเทศให้หลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจนและด้อยพัฒนา ภายในปี 2563 จึงไม่น่าแปลกใจที่ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะได้เห็นและรับรู้ข่าวสารจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน เกี่ยวกับนโยบายการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นเป็นเป้าหมายสำคัญที่ สปป.ลาว วางเอาไว้ว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นให้ได้ถึง 12,500 เมกะวัตต์ นอกจากความพรั่งพร้อมด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่เป็นตัวแปรสำคัญของการผลิตพลังงานไฟฟ้าแล้ว ความงดงามที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้น รวมไปถึงสถานที่สำคัญที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์น่าจะเป็นแม่เหล็กชั้นดีที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาสัมผัสมนต์เสน่ห์ของ สปป.ลาวได้ไม่ยาก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ดูเหมือนจะกลายเป็นฟันเฟืองตัวสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้ แม้ว่าการเคลื่อนไปข้างหน้าของระบบเศรษฐกิจจะดำเนินไปอย่างล่าช้าไปสักหน่อยเมื่อเทียบกับประเทศไทย แต่ผลสรุปดูจะเป็นที่น่าพอใจอยู่ไม่น้อย และหากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการที่จะปลุกเร้าศักยภาพที่มีอยู่ให้มีความพร้อมทั้งด้านการบริการและระบบการจัดการที่ดี เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะหนุนนำและส่งเสริมให้ฟันเฟืองชิ้นนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น น้ำตกตาดเยือง จุดท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญของเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก อีกหนึ่งสถานที่ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาสัมผัสความงาม จำนวนนักท่องเที่ยวที่เริ่มหนาตาประหนึ่งว่าเสียงขับขานแห่งสายธารกำลังเรียกร้องเชิญชวน สายน้ำทิ้งตัวตามความสูงชันของหน้าผา ไหลลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก มวลน้ำรวมตัวกับความเร็วของกระแสแห่งธารก่อให้เกิดฟองน้ำสีขาวสะอาดตา สายลมที่พัดผ่านมาตามช่องเขานำพาเอาละอองน้ำปลิวมากระทบสรรพสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง ไม่เว้นแม้แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางฝ่าด่านทดสอบของธรรมชาติลงไปสัมผัสกับความเย็นฉ่ำที่งดงามของน้ำตกสายนี้ ยามเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนตัวสูงขึ้น และทอแสงส่องลงมาทำมุมกับละอองน้ำที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ องศาของแสงที่ตกกระทบลงบนความพอดีที่ลงตัวปรากฏสายรุ้งขนาดเล็กชวนให้ผู้พบเห็นตื่นตาตื่นใจเสพความสวยงามตรงหน้าจนอิ่มเข้าไปถึงใจ เบื้องหลังกระแสธารแม้จะเป็นผาหินที่แข็งแกร่ง หากแต่พืชพรรณสีเขียวที่อาศัยความชื้นขึ้นปกคลุมโขดหินที่ตั้งตระหง่านอย่างมั่นคง เหมือนมีใครสักคนนำผ้าแพรสีเขียวมาห่อหุ้ม ช่วยให้บรรยากาศโดยรอบชวนมองมากขึ้น จึงไม่แปลกใจที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมาเพื่อที่จะสัมผัสพร้อมทั้งเก็บเกี่ยวบรรยากาศที่มากไปด้วยอรรถรส และเสพสุนทรีที่รังสรรค์ขึ้นจากธรรมชาติ แม้การเดินทางมายังน้ำตกตาดเยืองจะไม่ยากลำบาก หากแต่การเดินไต่ระดับลงไปเพื่อสัมผัสกับน้ำตกเบื้องล่าง นักท่องเที่ยวต้องเดินด้วยความระมัดระวังเมื่อบันไดที่ทอดตัวลงไปด้านล่างนั้นมีทั้งบันไดที่เป็นไม้ และโขดหินที่มีตะไคร่ขึ้นประปราย ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวของเมืองไทยเองก็มีน้ำตกที่งดงามหลายแห่ง และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันเลื่องชื่อ แต่ที่น่าสังเกตคือ พื้นที่บริเวณโดยรอบของน้ำตกตาดเยือง แม้จะมีร้านรวงที่ตั้งขึ้นเพื่อขายสินค้าที่ระลึก

Read More

บี.กริม สยายปีกธุรกิจไฟฟ้า กับเป้าหมาย Battery of Asean ของลาว

  หลังจากเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าอมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 4 และ 5 ที่จังหวัดระยองไปเมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พร้อมๆ กับการเตรียมความพร้อมในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ในเดือนพฤษภาคม ที่จะถึงนี้ นับได้ว่าจังหวะการก้าวย่างของ บี.กริม เพาเวอร์ ที่กำลังดำเนินไปอยู่ในขณะนี้จะผ่านการวางแผนอย่างเป็นระบบมาแล้ว รวมไปถึงกลยุทธ์ที่เปิดเผยว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า บริษัทมีการตั้งเป้าหมายที่ค่อนข้างยิ่งใหญ่ว่าต้องการจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าให้ได้ 5,000 เมกะวัตต์ และดูจะเป็นไปได้มาก แม้ว่า บี.กริม จะมองว่าตัวเองเป็นเพียงนักลงทุนธุรกิจพลังงานขนาดเล็กเท่านั้น เพราะเมื่อพิจารณาจากโครงการที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในมือที่มีอยู่ 43 โครงการ ที่มีกำลังการผลิต 2,357 เมกะวัตต์ และโครงการที่ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว 28 โครงการ โดยมีกำลังการผลิต 1,626 เมกะวัตต์ ทำให้เห็นว่าเป้าหมายของ บี.กริม ดูจะไม่ไกลเกินเอื้อมเลย นอกจากโครงการโรงไฟฟ้าที่ บี.กริม ดำเนินการอยู่ในประเทศไทยแล้ว สปป.ลาว ถือเป็นอีกหนึ่งจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ บี.กริม เลือกในการวางหมากรุกตลาดพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากความสมบูรณ์ด้านทรัพยากร และนโยบายของรัฐบาล สปป.ลาวที่ต้องการจะเป็น Bettery of Asean

Read More