Home > Sasiphattra Siriwato

ผลกระทบจาก COVID-19 ที่จะเปลี่ยนชีวิตผู้หญิงจากทั่วทุกมุมโลก

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มมีผู้ติดเชื้อคนแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม 2563 รัฐบาลจีนประกาศปิดนครอู่ฮั่น ให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้านงดเดินทางเข้าออกจากเมืองทั้งหมด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นการล็อกดาวน์บางพื้นที่ที่หลายประเทศนำไปใช้ในเวลาต่อมา ตั้งแต่วันแรกที่พบบุคคลที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 จนถึงวันนี้นับเป็นเวลากว่าปีแล้ว แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น แม้ว่าวัคซีนจากหลายบริษัทจะได้รับการรับรอง และนำมาฉีดให้กับประชาชนในหลายประเทศแล้วก็ตาม แต่จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ก็ยังคงเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อกว่าร้อยล้านคน และมีผู้เสียชีวิตกว่าสองล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่ง 3 ประเทศแรกที่จำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 115 จาก 221 ประเทศ ซึ่งอันดับของประเทศไทยนั้นมีการปรับขึ้นจากการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 ในช่วงเวลาหนึ่ง ปีที่ผ่านมา หลายประเทศเริ่มควบคุมการแพร่ระบาดของ

Read More

กฎหมายใหม่ “โควตาบังคับ” ในเยอรมนี เพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน

Column: Women in Wonderland จากรายงาน Global Gender Gap Report ประจำปี 2020 ซึ่งจัดอันดับเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศใน 4 ด้าน คือ โอกาสและการมีส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข และการเมือง จัดทำโดย World Economic Forum พบว่า 2 ประเทศที่ยังคงส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศมากที่สุดยังคงเป็นไอซ์แลนด์และนอร์เวย์ สำหรับเยอรมนีในปี 2020 อยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก จาก 153 ประเทศ แม้ว่าในปี 2020 เยอรมนีจะอยู่ในอันดับที่ 10 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีขึ้นถึง 4 ลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2018 แต่หากเทียบการจัดอันดับในแต่ละด้านจะพบว่า ตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา อันดับของเยอรมนีลดลงทุกปี ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้รัฐบาลของเยอรมนีเริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาความเท่าเทียมกันทางเพศในสังคมมากขึ้น นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีหญิง

Read More

สกอตแลนด์เป็นประเทศแรกในโลกที่ผู้หญิงใช้ผ้าอนามัยฟรี

Column: Women in Wonderland ผ้าอนามัย ของจำเป็นสำหรับสุขอนามัยของผู้หญิง แต่ละเดือนผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ย 6 วัน และใน 1 วันจะใช้ผ้าอนามัยประมาณ 6 แผ่น (เพื่อสุขอนามัยที่ดีควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมง) คือค่าใช้จ่ายสำหรับผู้หญิงในแต่ละเดือน ผ้าอนามัยมีหลากหลายรูปแบบให้ผู้หญิงเลือกใช้ แน่นอนว่าราคาก็แตกต่างกันไป ดังนั้นหากผู้หญิงคนไหนต้องการใช้ผ้าอนามัยที่ซึมซับได้มากเป็นพิเศษ หรือบางเป็นพิเศษ หรือยาวกว่าปกติทั่วไป หรือมีคุณสมบัติเฉพาะ ที่ช่วยให้รู้สึกสบายเวลามีประจำเดือน ราคาก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย Period Poverty หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน การขาดการศึกษาเกี่ยวกับสุขอนามัยที่ดีระหว่างมีประจำเดือน การขาดแคลนห้องน้ำ อุปกรณ์ล้างมือ และการจัดการของเสีย ในปัจจุบันมีผู้หญิงและเด็กหญิงทั่วโลกประมาณ 2.3 พันล้านคนที่เผชิญปัญหา Period Poverty เด็กหญิง 1 ใน 10 คนในทวีปแอฟริกาจะขาดเรียนทุกครั้งที่มีประจำเดือน เพราะโรงเรียนไม่มีห้องน้ำสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ 50% ของนักเรียนหญิงในประเทศเคนยา ไม่มีผ้าอนามัยใช้ และในประเทศอินเดีย ผู้หญิงประมาณ 12% ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อผ้าอนามัย องค์การ

Read More

ความล้มเหลวด้านสาธารณสุขของซิมบับเว

Column: Women in wonderland ซิมบับเวเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 16 ล้านคน 98% เป็นคนพื้นเมืองผิวดำ ส่วนใหญ่เป็นชาวโซนา ซิมบับเวตกเป็นประเทศในอาณานิคมของอังกฤษ ได้รับเอกราชเมื่อปี 2537 ชาวซิมบับเวมีรายได้ต่อหัวประมาณ 1,027 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 33,891 บาท) ปัญหาใหญ่ของซิมบับเวคือ เงินเฟ้อ เมื่อรัฐบาลภายใต้ Robert Mugabe ออกกฎหมายใหม่ในการจัดสรรที่ดิน โดยได้ยึดคืนที่ดินไร่นาจากคนผิวขาว รัฐบาลอ้างว่าชาวอังกฤษยึดครองที่ดินโดยมิชอบตั้งแต่สมัยที่ซิมบับเวยังเป็นอาณานิคม หลังจากนั้นรัฐบาลก็นำที่ดินเหล่านี้มาแจกให้คนผิวดำไว้ทำกิน แต่รัฐบาลไม่ได้ให้องค์ความรู้กับประชาชนในการนำที่ดินที่ได้รับมาใช้ทำกินให้เกิดประโยชน์ นำไปสู่วิกฤตเงินเฟ้อร้ายแรงในประวัติศาสตร์โลก อาจเรียกได้ว่ารุนแรงเป็นอันดับ 2 ของโลก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในซิมบับเวนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแบงก์ชาติของซิมบับเวต้องออกธนบัตรใบละ 1 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 200 ล้านเท่า ส่งผลให้จำนวนคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 80% หลายคนตัดสินใจย้ายไปอยู่ประเทศอื่นเพื่อหางานทำ เช่น ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นต้น วิกฤตเงินเฟ้อในซิมบับเวไม่เพียงคนส่วนใหญ่จะว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ที่ได้รับผลกระทบมากไม่แพ้กันคือ ระบบสาธารณสุข ก่อนหน้าวิกฤตภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลของ

Read More

การทดสอบความบริสุทธิ์ของผู้หญิง

Column: Women in Wonderland องค์การสหประชาชาติกล่าวถึงการตรวจเยื่อพรหมจารีเพื่อดูความบริสุทธิ์นั้น ทำการตรวจได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ (1) ตรวจช่องคลอดโดยสูตินรีเวช โดยดูการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารี และ (2) การตรวจโดยใช้ “สองนิ้ว” สอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อดูว่าเยื่อพรหมจารีขาดไปหรือยัง และผนังช่องคลอดยังคงมีความคับแคบหรือหลวมเพียงใด หากหลวมก็อาจสันนิษฐานว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ เพราะการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารีมีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้มีเพียงแค่การมีเพศสัมพันธ์ องค์การสหประชาชาติเปิดเผยว่าความเชื่อเรื่องนี้ยังมีการทดสอบอยู่ประมาณ 20 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกาเหนือและแอฟริกาใต้ อย่างแอฟริกาใต้ ซิมบับเว และลิเบีย เป็นต้น ในเอเชียและตะวันออกกลางอย่างอินเดีย อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา อิหร่าน อิรัก และอินโดนีเซีย เป็นต้น และเวลานี้ก็มีในประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ อย่างฝรั่งเศส บราซิล สหราชอาณาจักร สเปน สวีเดน แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น เพราะมีผู้อพยพย้ายถิ่นเข้าไปอยู่จำนวนมาก แต่ก็ยังยึดกับประเพณีและความเชื่อเดิม ในการตรวจนั้นผู้หญิงจะถูกบังคับจากพ่อแม่ หรือคนที่จะเป็นสามี หรืออาจจะเป็นนายจ้าง

Read More

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อชีวิตผู้หญิงอินเดีย

Column: Women in wonderland การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเวลามากกว่า 10 เดือนแล้ว และสถานการณ์ในหลายประเทศก็ยังคงมีการแพร่ระบาดสูง หรือบางประเทศที่เริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้ดีระดับหนึ่ง อย่างนิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็เริ่มกลับมาแพร่ระบาดอีกตามเมืองใหญ่ๆ และยังไม่มีประเทศไหนที่ประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนออกมาใช้ได้ กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 คนแรกของประเทศเมื่อ 3 มีนาคม 2020 และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนพบผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 100 คน เมื่อ 27 มีนาคม 2020 และ 500 คน เมื่อ 4 เมษายน 2020 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในอินเดียเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ วันที่ 17 กรกฎาคม 2020 จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 1 ล้านคน ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง มีการยืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นกว่า 32,000 คน

Read More

อัฟกานิสถาน ประเทศที่ผู้หญิงไม่มีตัวตน

Column: Women in Wonderland คงเคยได้ยินประโยคที่ว่า อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่แย่สุดในการอยู่อาศัยถ้าหากคุณเป็นผู้หญิง เพราะอัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้กฎหมายของศาสนาอิสลามในการปกครองประเทศ ทำให้ผู้หญิงถูกลิดรอนสิทธิ์ต่างๆ และยังมีความเชื่อในวัฒนธรรมบางอย่างที่ทำให้ผู้หญิงถูกลิดรอนสิทธิ์มากกว่า ผู้เขียนเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านอาจคิดว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นนานมาแล้ว และปัจจุบันผู้หญิงน่าจะมีสิทธิต่างๆ ในสังคมเหมือนกับหลายประเทศที่ใช้กฎศาสนาอิสลามเป็นกฎหมายประจำชาติ แต่ก็เริ่มจะมีการแก้กฎหมาย เพื่อให้สิทธิ์กับผู้หญิงมากขึ้น เช่น ซาอุดีอาระเบีย ก็มีแก้กฎหมายและอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถขับรถเองได้แล้วตั้งแต่มิถุนายน ปี 2018 เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง ผู้หญิงในอัฟกานิสถานยังคงไม่ได้รับสิทธิใดๆ เหมือนกับผู้หญิงมุสลิมในประเทศอื่น ประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายประจำชาติอย่างอัฟกานิสถานนั้น ผู้หญิงจะไม่ได้รับอนุญาตให้ไปไหนคนเดียว ต้องมีญาติที่เป็นผู้ชายเดินทางด้วยตลอดเวลา หากผู้หญิงต้องการเดินทางไปต่างประเทศจะต้องมีหนังสืออนุญาตจากสามีหรือบิดาจึงจะสามารถทำหนังสือเดินทางและเอกสารต่างๆ ได้ ผู้หญิงมุสลิมจะต้องแต่งกายมิดชิดไม่เปิดเผยอวัยวะในร่างกายให้คนอื่นได้เห็นนอกจากคนในครอบครัว เราจึงเห็นผู้หญิงแต่งตัวมิดชิดปกคลุมใบหน้า ที่เรียกว่า “ฮิญาบ” ซึ่งในประเทศที่เคร่งมากอย่างซาอุดีอาระเบีย ผู้หญิงจะใส่ฮิญาบเพื่อปกปิดทั้งใบหน้า มีเพียงดวงตาเท่านั้นที่คนอื่นสามารถมองเห็นได้ ในอัฟกานิสถานผู้หญิงจะต้องใส่ฮิญาบเพื่อปกปิดทั้งใบหน้าเช่นเดียวกัน และต้องมีผ้าตาข่ายเพื่อปกปิดดวงตาด้วย ในบางประเทศผู้หญิงจะไม่ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สิน เพราะตามหลักศาสนาแล้วหากผู้หญิงแต่งงานไปก็ถือเป็นทรัพย์สินของสามีหากยังไม่แต่งงานก็ถือเป็นทรัพย์สินของบิดา จึงทำให้ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งในอัฟกานิสถานก็เช่นเดียวกัน ผู้หญิงไม่สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินใดๆ ได้แม้แต่ลูกของตัวเอง กรณีที่หย่าร้างผู้หญิงอาจได้รับสิทธิ์เลี้ยงดูลูก แต่หากผู้หญิงแต่งงานใหม่จะต้องส่งคืนลูกให้สามีเก่าเป็นผู้เลี้ยงดู แม้สามีเก่าอาจไม่ต้องการและไม่เคยเลี้ยงดูลูกของตัวเองเลยก็ตาม ประเทศที่เคร่งครัดกฎหมายศาสนาอิสลามมาก อย่างซาอุดีอาระเบียและอัฟกานิสถานนั้น ผู้หญิงมักจะถูกผู้ชายทำร้ายร่างกายหากปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม เพราะเชื่อว่านี่คือการสั่งสอนให้พวกเธอปฏิบัติตัวให้ดี เชื่อฟัง และจะไม่ทำให้พวกเขาเสื่อมเสียเกียรติ และการถูกทำร้ายร่างกายจากคนในครอบครัวนั้น บางประเทศไม่ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

Read More

ผลกระทบการทำแท้งแบบถูกกฎหมาย หลังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19

Column: Women in wonderland ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ โดยระบุว่า 25% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะจบการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง และในช่วงเวลาหนึ่งปีมีผู้หญิงประมาณ 25 ล้านคน ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่เสียชีวิตระหว่างตั้งครรภ์ ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เสียชีวิตประมาณ 4.7%-13.2% สาเหตุก็มาจากการทำแท้งแบบผิดกฎหมาย และที่น่าตกใจกว่าคือ มีเด็กผู้หญิงช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี ประมาณ 3 ล้านคนที่ทำแท้งแบบผิดกฎหมาย โดยไม่ได้คิดถึงผลเสียที่ตามมา การทำแท้งถูกกฎหมายเป็นเรื่องที่ถกเถียงในสังคมมานาน โดยทั่วไปแล้วการทำแท้งถูกกฎหมายสามารถทำได้ในทุกประเทศในกรณีการตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลถึงอันตรายต่อชีวิต ถูกข่มขืน หรือมีการตรวจยืนยันว่าเด็กมีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ บางประเทศอนุญาตให้การทำแท้งถูกกฎหมาย โดยผู้หญิงสามารถทำแท้งได้หากระยะเวลาครรภ์อยู่ในช่วงที่กฎหมายกำหนดให้ทำแท้งได้ เพราะรัฐบาลเล็งเห็นแล้วว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ที่ทำแท้งแบบถูกกฎหมายนั้นน้อยกว่าหลายสิบเท่าเมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่จะต้องมีในกรณีทำแท้งเถื่อนและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งร้ายแรงที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้ นี่ยังไม่รวมเด็กที่คลอดแล้วพ่อแม่ไม่สามารถดูแลได้ กลายเป็นหน้าที่ของรัฐ การอนุญาตให้ทำแท้งจึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ในขณะเดียวกันหลายประเทศก็ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าการให้ทำแท้งถูกกฎหมายจะเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้วัยรุ่นไม่รู้จักการป้องกัน เพราะหากตั้งครรภ์ก็สามารถทำแท้งได้รวมไปถึงความเชื่อทางศาสนาที่ทุกศาสนาสอนไม่ให้ฆ่าคนตาย และการทำแท้งก็ถือเป็นการฆ่าคนด้วยเช่นกัน ดังนั้นประเทศที่การทำแท้งไม่สามารถทำแบบถูกกฎหมายได้ ผู้หญิงหลายคนที่มีเหตุจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์จึงจำเป็นต้องทำแท้งผิดกฎหมาย ทั้งที่รู้ว่าเป็นอันตรายและอาจส่งผลต่อสุขภาพของตัวเอง แต่ไม่มีทางเลือก เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2019

Read More

ชีวิตของผู้หญิงที่เปลี่ยนไป หลังการแพร่ระบาด COVID-19

Column: Women in wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้นยังคงมีไปทั่วโลก บางประเทศผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง บางประเทศเริ่มควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ แต่ก็กลับมามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก และในขณะเดียวกันบางประเทศก็เริ่มที่จะไม่มีผู้ที่ติดเชื้อแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่ที่ 7.4 ล้านคน และเสียชีวิตแล้ว 414,780 คน โดยประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ สหรัฐฯ บราซิล และรัสเซีย สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อ 2.1 ล้านคน ส่วนบราซิลและรัสเซียมีผู้ติดเชื้อ 742,084 คน และ 493,657 คน ตามลำดับ เสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรกคือ สหรัฐฯ 114,267 คน สหราชอาณาจักร 40,883 คน และอันดับสามคือบราซิล 38,497 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10

Read More

ปรากฏการณ์ Baby Boom ในอีก 9 เดือนข้างหน้าที่สหรัฐอเมริกาเป็นไปได้หรือไม่

Column: Women in Wonderland การระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มียอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกทะลุกว่า 282,000 คนไปแล้ว และจำนวนผู้ติดเชื้อกว่า 4 ล้านคน (พ.ค. 63) ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูงสุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อกว่า 1.3 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่า 79,000 คน จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 นั้นมีมากกว่าทหารสหรัฐฯ ที่เสียชีวิตในสนามรบช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งมีทหารเสียชีวิต 58,220 นาย เวลานี้สถานการณ์ในสหรัฐฯ ผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีแนวโน้มลดลง แต่กลับเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้ว่าการรัฐ 42 รัฐจาก 50 รัฐประกาศภาวะฉุกเฉินและมีมาตรการปิดเมือง โดยให้ประชาชนอยู่บ้าน แต่ประธานาธิบดี Donald Trump กลับแถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2020 ว่า สหรัฐฯ วางแผนที่จะเปิดประเทศในเร็วๆ นี้ เนื่องจากมาตรการปิดเมืองทำให้มีคนตกงานมากกว่า

Read More